เนื้อหาจากการบรรยาย
สอนโดย ครูฟาร์
ฟารีดาห์ หะยีสามะ
บรรดาผู้ศรัทธาทั้งหลาย! การถือศีลอดนั้นได้ถูกกำหนดแก่พวกเจ้าแล้ว เช่นเดียวกับที่ได้ถูกกำหนดแก่บรรดาผู้ก่อนหน้าพวกเจ้ามาแล้วเพื่อว่าพวกเจ้าจะได้ยำเกรง (อัลกุรอาน ซูเราะฮฺอัล-บะเกาะเราะฮฺ 183)
อัลลอฮฺทรงมีเป้าประสงค์ที่จะให้เราถือศีลอด เพื่อจะให้เราได้รับความยำเกรง
หัวใจของเดือนรอมฎอนคือ การที่เรามีพัฒนาการเรื่องความยำเกรง ที่ดียิ่งขึ้นกว่าเดิม รอซูลุลลอฮฺได้ชี้ไปที่หน้าอก “ความยำเกรงอยู่ที่ตรงนี้ ที่หัวใจ”
เราจะพัฒนาหัวใจให้มีความยำเกรงอย่างไรบ้าง
ท่านรอซูลุลลอฮฺ กล่าวว่า “แท้จริงแล้ว การถือศีลอดในเดือนแห่งความอดทนและสามวันในแต่ละเดือนนั้น สามารถเอาออกซึ่งความสกปรกหรือมลทินในหัวใจได้” หะดีษเศาะฮีหฺ รายงานโดยอิหม่ามอะหมัด และเชคอัลบานีย์
รอซูลุลลอฮฺกล่าวว่า “เดือนรอมฎอนคือเดือนแห่งความอดทน”
การถือศีลอดเป็นการอดทนทำในสิ่งที่พระองค์สั่งใช้ ทิ้งในสิ่งที่พระองค์ห้าม
ความยำเกรงคือ การทำตามคำสั่งใช้ของพระองค์โดยไม่เป๊ะๆ ไม่ดัดแปลง เราสอดแทรกความเป็นตัวเองเข้าไปในสิ่งที่พระองค์สั่งใช้หรือไม่ เช่น อัลลอฮฺกำหนดให้มุสลิมะห์ปกปิดเอาเราะฮฺ แต่เราตกแต่งฮิญาบให้แวว
การถือศีลอด คือ การอดทนในสิ่งที่เราเลือกไม่ได้
หัวใจหลักของการถือศีลอด คือ การอดความอยากและอดความโกรธ
ความอยากไม่ใช่แค่อดข้าวอดน้ำ แต่รวมถึงพยายามอดทำตามใจตัวเอง
อารมณ์และความโกรธเป็นตัวกระตุ้นให้ทำสิ่งที่ฝ่าฝืน
เช่น ในช่วงที่ถือศีลอด เราใช้เวลาว่าง เลือกทำในสิ่งที่อยากทำแม้เป็นเรื่องฮาลาล เช่น ดูเมนูอาหาร ทั้งที่เดือนนี้เป็นเดือนที่สำคัญมาก
การฝึกไม่ทำตามใจตัวเอง มันจะเป็นตัวเพิ่มอานุภาพความยำเกรง คือทำในสิ่งที่อัลลอฮฺพอพระทัย
กระไดขั้นแรกที่จะนำไปสู่การทำบาปคือ การทำตามใจตัวเอง เช่น คนที่โกง เพราะต้องการเงิน
ผู้ศรัทธาจะคิดคำนวณทุกนาทีให้ได้ผลบุญ
การต่อสู้กับนัฟซูคือฟันเฟืองของความยำเกรง
การถือศีลอดจะไปตัดเชื้อเพลิงของการใช้ชีวิต คือ อาหารและเครื่องดื่ม การกินดื่มไปลดการคิดถึงโลกหน้า จึงควรกินให้น้อยลง
การทำตามใจตัวเองในการกินอาหารที่เราชอบตอนละศีลอด
การถือศีลอดที่ดีที่สุด คือ การเลือกไม่ทำตามใจตัวเอง เช่น กินพออิ่ม กินที่มี ไม่เสาะแสวงหาของที่อยากกินตามที่ต่างๆ จะกลายเป็นคนที่พอใจในสิ่งที่อัลลอฮฺให้
การถือศีลอด เป็นการเข้าใกล้อัลลอฮฺมากยิ่งขึ้น
ตระหนักเสมอว่าอัลลอฮฺมองดูเราอยู่
คิดหน้าคิดหลังทุกเรื่องในสิ่งที่เราทำ เกรงใจเจ้าของชีวิตว่าพระองค์ทรงพอพระทัยในสิ่งที่เราเป็นหรือไม่
ท่านรอซูลุลลอฮฺกล่าวว่า “ใครก็ตามที่ถือศีลอดด้วยความศรัทธา และมีการคิดคำนวณ หวังรางวัลตอบแทนจากอัลลอฮฺ พระองค์จะให้อภัยในทุกบาปที่เขามี”
ตัวชี้วัดหนึ่งที่จะบอกว่าเราเป็นบ่าวที่ดีของอัลลอฮฺ คือ ระยะห่างระหว่างเรากับอัลลอฮฺ
ปัญหาหนึ่งที่เว้นช่องว่างระหว่างเรากับอัลลอฮฺคือ บาปที่เรามี ถ้าเรามีบาปมาก แสดงว่าเราใกล้กับดุนยา ง่ายต่อการถูกดึงดูดจากดุนยา
ผู้ศรัทธาจะตรวจสอบตัวเองว่า เรามีบาปอะไรที่เป็นตัวกั้นระหว่างเขากับอัลลอฮฺ
เรากำลังถูกลดบาปทั้งวันจนกระทั่งละศีลอด
ตัวกระตุ้นที่ทำให้เรายำเกรงน้อยลง หรือแต่ละคนมีความยำเกรงน้อยมากต่างกัน คือ ความสกปรกในหัวใจ
เช่น ความอิจฉา ความโกรธ ซึ่งเป็นเชื้อโรค ทำให้คนๆ หนึ่งพัฒนาความตักวายาก
เชื้อโรคเหล่านี้มาจากการใช้ชีวิตประจำวัน รอมฎอนคือช่วงเวลาของการสร้างเซลล์ใหม่ของหัวใจ
การให้อาหารกับเซลล์ที่ดีคือการทำอิบาดะฮฺ
ตัวถ่วงคะแนนในการถือศีลอดคือ การทำตามใจตัวเอง และการไม่จัดการอารมณ์
ลองให้รอมฎอนนี้เป็นเดือนที่เรา “ฝึกไม่ทำตามใจตัวเอง และควบคุมอารมณ์”
จะเกิดบททดสอบในเรื่องการจัดการอารมณ์ในแต่ละวัน เช่น การไปซื้อแกง หรือตอนไปละหมาด จับจุดให้ได้ว่าบททดสอบอยู่ตรงนี้
หัวใจของความยำเกรง คือ
ใช้ชีวิตอย่างระมัดระวัง
อะไรที่อัลลอฮฺ (ซ.บ.) ให้เราทำ เราทำอย่างจริงจังและเคร่งครัด
อะไรที่พระองค์ไม่อยากให้เราทำ เรารีบละทิ้ง หรือไม่เข้าใกล้มันเลย
ตัวเรา ความปรารถนาของเราที่เป็นตัวถ่วงความยำเกรง