เนื้อหาจากการบรรยายในยูทูบ
เรื่อง สัญญาณที่บอกว่าอัลลอฮฺรักฉัน
ในตัฟซีร ซูเราะฮฺที่ 90 อัลบะลัด
สอนโดย อ.อิลยาส วารีย์
คลิปมีในตัฟซีร 9 ตอน
ตอนที่ 15/35 อธิบายข้อ 1-3
ตอนที่ 17/35 อธิบายข้อ 4-5
ตอนที่ 20/35 และ 21/35 อธิบายข้อ 8
ตอนที่ 24/35 สรุปและเน้นข้อ 5 (ประวัตินบีอัยยูบ)
ตอนที่ 25/35 ดุอาอฺให้อัลลอฮฺทรงรัก
สัญญาณที่บอกว่าอัลลอฮฺรักและเมตตาบ่าวคนนั้น มีดังนี้ (คลิกอ่านเรื่องที่สนใจได้เลย)
เมื่ออัลลอฮฺให้เขามีความสุขที่เป็นมุสลิม พอใจที่ได้เป็นมุสลิม
เมื่อถูกลงโทษตั้งแต่ดุนยา ให้มีสติ ได้คิด ได้กลับเนื้อกลับตัว
เมื่อเขารักที่จะปฏิบัติตามซุนนะฮฺนบี (หน้าเดียวกับข้อ 6)
สมาชิกในครอบครัวมีความเมตตา อ่อนโยน ให้กันและกัน บนพื้นฐานของศรัทธา นั้นแสดงว่าอัลลอฮฺรักเขา
ท่านรอซูลุลลอฮฺกล่าวว่า "เมื่ออัลลอฮฺรักครอบครัวใด พระองค์ให้มีความอ่อนโยนในระหว่างครอบครัวเขา" (หะดีษเศาะฮีหฺญามิอฺ)
ถ้าครอบครัวของผู้ปฏิเสธศรัทธาใด มีความรักใคร่กันดี คุยกันดี นั้นคือ อัลลอฮฺทรงประทานความเมตตาให้กับเขา แต่ถ้าเป็นครอบครัวผู้ศรัทธา อัลลอฮฺรักเขา
นักวิชาการให้ความหมายความอ่อนโยนว่า เป็นความอ่อนโยนทั้งคำพูดและการกระทำ ถึงเวลาจะบังคับ/โต้แย้งก็ด้วยรูปแบบที่เบาที่สุด
ถ้าไม่ใช่ทั้งครอบครัว อย่างน้อยที่สุด ถ้าตัวของเราเองมีความอ่อนโยนกับคนในครอบครัวของเรามากที่สุด ก็ถือว่าอัลลอฮฺรักพี่น้องเช่นเดียวกัน
ท่านรอซูลุลลอฮฺกล่าวว่า "ความอ่อนโยนจะไม่เข้าไปอยู่ในสิ่งๆ ใด นอกจากความอ่อนโยนจะทำให้สิ่งนั้นงดงาม และใครก็ตามที่ถูกดึงเอาความอ่อนโยนออกไปจากเขา มันไม่ได้เพิ่มอะไรนอกจากความบกพร่องในตัวเขา" (หะดีษเศาะฮีหฺ บันทึกโดย บุคอรี)
ท่านรอซูลุลลอฮฺกล่าวว่า "อัลลอฮฺรักความอ่อนโยนในทุกๆ เรื่อง" (หะดีษเศาะฮีหฺ บันทึกโดย บุคอรี)
ท่านรอซูลุลลอฮฺกล่าวว่า "ใครก็ตามถูกห้ามจากความอ่อนโยน เขาถูกห้ามจากความดีงามทั้งหมด"
งดงาม คือ มีบารอกะฮฺ เช่น อ่อนโยนในการค้าขาย คบค้าสมาคม การช่วยเหลือ การสอน
อัลลอฮฺอธิบายถึง 4 คุณลักษณะของผู้ที่มีความอ่อนโยน
1) อยู่กับผู้ศรัทธาด้วยกัน ให้ทำตัวต้อยต่ำ จะไม่ยกตนข่มท่าน
2) อยู่กับผู้ปฏิเสธศรัทธา เขาก็จะมีเกียรติ คือ ทำตัวให้รู้ว่า เขามีจุดยืนที่มั่นคง มีคำพูดที่ชัดเจน แข็งแกร่ง แต่ไม่ใช่หยาบกระด้าง
3) เขาพร้อมที่จะทุ่มเท เสียสละ เพื่ออัลลอฮฺ
4) คนที่จะไม่เกรงกลัวคำครหานินทา ติฉินใดๆ ทั้งสิ้น
2. เมื่ออัลลอฮฺทรงปกป้องเขาให้พ้นจากฟิตนะห์ของดุนยา
เมื่อใดก็ตามที่การทำความชั่วมันยากสำหรับเรา นั่นแหล่ะแปลว่าอัลลอฮฺรักเรา
จะทำสิ่งที่ชั่วก็ทำไม่ได้ หรืออยากได้สิ่งนั้นแต่ไม่เหมาะสมกับเรา เช่น คนที่คิดว่าเป็นคู่ครอง
เมื่ออัลลอฮฺให้พวกเรามีความสุขที่เป็นมุสลิม พอใจที่ได้เป็นมุสลิม นั่นแปลว่าอัลลอฮฺรัก
เมื่อใดก็ตามที่เรารู้สึกรักศาสนาอิสลาม มีความสุขที่ได้เป็นมุสลิม รู้สึกดีมากๆ ที่ได้ทำตามคำสั่งใช้ของอัลลอฮฺ นั้นก็แปลว่าอัลลอฮฺรัก เขาต้องมี 5 อย่าง
1) เขาต้องรักที่จะเรียนรู้เพื่ออัลลอฮฺตลอด
2) เขาจะต้องพยายามรู้จักอัลลอฮฺให้มากขึ้นไปเรื่อยๆ เพราะอัลลอฮฺจะเอาคนที่พระองค์รักเข้าสวรรค์
รอซูลลุลลอฮฺกล่าวว่า "พระนามของอัลลอฮฺนั้นมีเก้าสิบเก้าพระนาม ผู้ใดสามารถจดจำได้จะได้เข้าสวรรค์” (หะดีษเศาะฮีหฺ บันทึกโดยบุคอรี เลขที่ 2736, บันทึกโดยมุสลิม เลขที่ 2677)
หมายถึง เข้าใจและปฏิบัติตนสอดคล้องกับพระนามของพระองค์
3) เขารักคำพูดของพระองค์อัลลอฮฺสุดหัวใจของเขา
4) เขารักที่จะได้คิดถึงพระองค์
5) เขารักที่จะได้ทำตามที่อัลลอฮฺสั่งใช้
ท่านรอซูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัย ฮิวะสัลลัม กล่าวว่า “แท้จริงอัลลอฮฺผู้ทรงสูงส่งได้ตรัสว่า ‘ผู้ใดที่เป็นศัตรูกับวลี (คนรัก) ของข้า แท้จริงข้าได้ประกาศสงครามกับเขาผู้นั้น ไม่มีบ่าวของข้าคนใดที่ (ปฏิบัติตน) เข้าใกล้กับข้าด้วยการงานหนึ่งที่ข้ารักยิ่งไปกว่าการปฏิบัติในสิ่งที่ข้า กำหนดเป็นฟัรฎูแก่เขา และบ่าวของข้านั้นก็ยังคง (ปฏิบัติตน) เข้าใกล้ข้าตลอดเวลาด้วยการปฏิบัติสิ่งที่เป็นซุนนะฮฺต่างๆ จนกระทั่งข้ารักเขา ครั้นเมื่อข้ารักเขาแล้ว ข้าก็จะเป็นดั่งผู้ระวังรักษาหูของเขาที่เขาใช้ฟัง เป็นผู้ระวังรักษาตาของเขาที่เขาใช้มอง เป็นผู้ระวังรักษามือของเขาที่เขาใช้ฟาดฟัน (ต่อสู้) และเป็นผู้ระวังรักษาเท้าของเขาที่เขาใช้เดิน แน่นอนหากเขาขอสิ่งใดจากข้า ข้าย่อมให้เขา และหากเขาขอความคุ้มครองจากข้า ข้าก็จะให้ความคุ้มครองเขาอย่างแน่นอน” (หะดีษ (กุดซีย์) เศาะฮีหฺ บันทึกโดยบุคอรี เลขที่ 6502)
เมื่อใดก็ตามที่การช่วยคนอื่นนั้น ง่ายสำหรับเขา นั่นแสดงให้เห็นว่า อัลลอฮฺรักคนๆ นั้นเช่นเดียวกัน
การช่วยเหลือทุกรูปแบบ ช่วยเหลือได้เป็นประจำ โดยมีความบริสุทธิ์ใจเพื่ออัลลอฮฺ ตะอาลา
ไม่ใช่ว่าคนทุกคนจะทำได้ ถ้าอัลลอฮฺไม่ตักดีรให้เรา เราช่วยไม่ได้หรอก
ครั้งหนึ่งท่านนบี (ซ.ล.) ได้กล่าวไว้ว่า "คนที่เป็นที่รัก ณ อัลลอฮฺที่สุด คือ คนที่สร้างประโยชน์ให้กับมนุษย์มากที่สุด"
นบีกล่าวต่อไปว่า "การงานที่เป็นที่รัก ณ อัลลอฮฺมากที่สุด คือ การทำให้มุสลิมคนหนึ่งมีความสุข หรือขจัดปัดเป่าความทุกข์ ความลำบากใจ ปัญหาในชีวิตของเขา หรือการให้อภัยในหนี้สินของเขา การปลดหนี้ของเขา หรือการให้อาหารคนๆ หนึ่งที่หิวโหย
จริงๆ แล้ว การที่ฉันได้เดินเข้าไปช่วยพี่น้องที่ต้องการความช่วยเหลือ มันเป็นสิ่งที่ฉันรักที่จะทำมัน ยิ่งกว่าการพาตัวฉันเองเข้าไปอยู่ในมัสญิดมาดีนะห์เป็นเวลาหนึ่งเดือน
และใครก็ตามที่กลืนความโกรธของเขา อัลลอฮฺจะช่วยปกปิดความผิดพลาดของเขา และใครก็ตามที่ข่มความโมโหของเขา แม้ว่าเขาสามารถจะเอาคืนได้ก็ตาม แล้วอัลลอฮฺจะช่วยปกป้องหัวใจของเขาในวันพิพากษา และใครก็ตามที่เดินร่วมทางกับพี่น้องในการเติมเต็มความจำเป็นของคนๆ นั้น จนกระทั่งคนๆ นั้นได้ปลอดภัย แล้วอัลลอฮฺจะทำให้การเดินของเขาข้ามสะพานศิรอตในวันอาคิเราะฮฺเป็นความมั่นคง"
(หะดีษศอเฮียะห์ รายงานโดย อิบนุอุมัร)
เมื่อไหร่ก็ตามที่เราถูกทดสอบ ทั้งๆ ที่เราทำความดี คิดไม่ออกจริงๆ ว่าทำผิดตรงไหน แต่เรายังถูกทดสอบอยู่ นั้นแสดงว่า อัลลอฮฺรักคนๆ นั้นเช่นเดียวกัน
ท่านรอซูลุลลอฮฺกล่าวว่า "แท้จริงผลตอบแทนที่ยิ่งใหญ่จะมาพร้อมกับการทดสอบที่ยิ่งใหญ่ และแท้จริงอัลลอฮฺนั้นเมื่อพระองค์ทรงรักกลุ่มชนใด พระองค์จะทรงทดสอบพวกเขา ผู้ใดที่พอใจเขาก็จะได้รับความพอพระทัย และผู้ใดที่โกรธเขาก็จะได้รับความกริ้วโกรธ" (หะดีษหะสัน บันทึกโดย อัตติรมีซีย์)
รายงานจากท่าน สะอัด บิน อบีวักกอศ เราะฎิยัลลอฮุ อันฮุว่าท่านได้ถามท่านนบีศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัมว่า ใครคือผู้ที่ถูกทดสอบมากที่สุด? ท่านนบีศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัมกล่าวว่า “คือบรรดานบีต่างๆ หลังจากนั้นก็คือผู้ที่ใกล้เคียงที่สุดกับบรรดานบีบุคคลหนึ่งจะถูกทดสอบตามระดับการยึดมั่นในศาสนาของเขา หากเขามีความเข้มแข็งในศาสนาเขาก็จะถูก ทดสอบหนัก และหากการยึดมั่นของเขาอ่อนเขาก็จะถูกทดสอบตามระดับการยึดมั่นในศาสนาของเขา บะลาอฺการทดสอบจะประสบแก่มนุษย์จนทําให้เขาเดินอยู่บนหน้าแผ่นดินโดยไม่มีบาปกรรมใดเหลืออยู่อีก” (หะดีษ สุนัน อัต-ติรมิซีย์ เลขที่ 2398 อิมาม อัต-ตัรมิซีย์กล่าวว่าเป็นหะดีษที่หะสันเศาะฮีหฺ)
ฟังประวัติของนบีอัยยูบ เพื่อเป็นเกราะป้องกันเมื่อเจอบททดสอบแล้ว จะได้คิดดีต่อพระองค์
นบีอัยยูบ ท่านรู้ว่าบททดสอบมาจากอัลลอฮฺ ไม่เคยคิดไม่ดีต่ออัลลอฮฺเลย เมื่อถึงช่วงท้ายของบททดสอบท่านรู้สึกว่ามันหนัก ไม่ไหว ซึ่งเป็นความรู้สึกที่มาจากชัยฏอนให้คอยยุแหย่
ภรรยาของนบีอัยยูบตัดสินใจขายผม (การขายผมเป็นวิธีที่หะรอม) เมื่อเกิดความจำเป็นจริงๆ จึงเป็นสาเหตุที่ท่านนบีโกรธและสาบานว่าจะตีภรรยาเมื่อหายดี
6. เมื่อถูกลงโทษตั้งแต่ดุนยา ให้เขามีสติและได้คิด ได้กลับเนื้อกลับตัว
เมื่อไหร่ก็ตามที่เราถูกลงโทษตั้งแต่ดุนยา ให้เรามีสติและได้คิด ได้กลับเนื้อกลับตัว นั่นแสดงให้เห็นว่าอัลลอฮฺรัก
7. เมื่อเขารักที่จะปฏิบัติตามซุนนะฮฺนบี (ซ.ล.)
เมื่อไหร่ก็ตามที่เรารักที่จะปฏิบัติตามซุนนะฮฺนบี (ซ.ล.) เรารู้ว่าอะไรคือสิ่งที่นบีทำ แล้วเราอยากจะทำไปซะหมดทุกอย่าง นั่นแสดงว่าอัลลอฮฺรักคนๆ นั้น
เชค ฮุซัยมี บอกถึงสัญญาณที่บอกให้รู้ว่าคุณรักนบีมุฮัมมัด (ซ.ล.) อย่างแท้จริง คือ เมื่อไหร่ก็ตามที่พ่อแม่คุณ หรือคนที่คุณรักมากๆ สั่งใช้คุณให้ทำสิ่งที่ค้านกับนบีบอก คุณจะเลือกละทิ้งคำพูดนั้น แล้วเลือกปฏิบัติตามนบี
เรียนประวัติท่านนบีให้มากขึ้น ศึกษาหะดีษให้มากขึ้น
ทำไมถึงต้องรักนบีให้มากกว่าพ่อแม่ เพราะสิ่งที่ท่านนบีทำมากกว่าที่พ่อแม่ทำให้เรา เหตุที่จะพิสูจน์ว่านบีรักเรายิ่งกว่าพ่อแม่รักเรา
1) ท่านนบีไปเจรจาต่อรองกับอัลลอฮฺ ผู้ที่ท่านนบีรักและเกรงกลัวมากที่สุด เรื่องละหมาด มีหะดีษได้เล่าถึงท่านนบีมุฮัมมัด (ซ.ล.) เดินทางขึ้นสู่ชั้นฟ้า (รับคำบัญชาเรื่องนมาซ) ดังนี้
“...อัลลอฮฺได้ประทานวะฮีย์แก่ฉันและกำหนดหน้าที่ให้ฉันต้องนมาซห้าสิบเวลาทั้งกลางวันและกลางคืน
เมื่อฉันกลับลงมายังมูชา เขาถามว่า “พระเจ้าของท่านสั่งอะไรแก่อุมมะฮฺของท่าน?" ฉันตอบว่า "นมาซห้าสิบครั้งในกลางวันและกลางคืน” เขากล่าวว่า “กลับไปหาพระเจ้าของท่านและขอพระองค์ให้ทรงลดจำนวนเวลานมาชลงมา เพราะอุมมะฮฺของท่านไม่สามารถปฏิบัติ เพราะฉันได้ทดสอบพวกบนูอิสรออีลแล้ว (และพบว่าพวกเขาอ่อนแอ เกินกว่าที่จะแบกรับภาระอันหนักนี้)”
ฉันจึงได้กลับไปหาพระผู้อภิบาลของฉันและกล่าวว่า “ข้าแต่พระผู้อภิบาล โปรดทำให้มันเบาลงสำหรับอุมมะฮฺของฉัน” พระองค์จึงได้ทรงลดให้แก่ฉัน ห้าครั้ง ฉันลงมาหามูซาอีกและกล่าวว่า “พระองค์ทรงลดให้ฉันห้าครั้ง” มูซากล่าวว่า “อุมมะฮฺจะไม่สามารถแบกรับภาระนี้ได้ กลับไปหาพระผู้อภิบาลของท่านและขอให้พระองค์ทรงลดลงกว่านี้อีก”
ดังนั้น ฉันจึงขึ้นไปและลงมาระหว่างพระผู้อภิบาลของฉันกับมูซาจนกระทั่งพระองค์ทรงกล่าวว่า “มุฮัมมัด มีการนมาซห้าเวลาทุกกลางวันและกลางคืน การนมาซแต่ละครั้งเท่ากับสิบเพื่อที่จะเป็นห้าสิบครั้ง ใครที่มีเจตนาทำความดีและยังไม่ได้ทำ มันจะถูกถือว่าเป็นหนึ่งความดี และถ้าเขาทำตามที่เจตนา มันจะถูกบันทึกไว้เป็นสิบเท่า ส่วนใครที่มีเจตนาทำชั่ว แต่ไม่ได้ทำ มันจะไม่ถูกบันทึกไว้ แต่ถ้าเขาทำชั่วตามที่เจตนา มันจะถูกบันทึกไว้เป็นหนึ่งความชั่ว”
หลังจากนั้น ฉันได้ลงมาและเมื่อมายังมูชา เขากล่าวว่า “กลับไปหาพระผู้อภิบาลของท่านและขอให้พระองค์ทรงลดลงกว่านี้อีก” เมื่อได้ยินเช่นนั้น ท่านรอซูลุลลอฮฺจึงกล่าวว่า “ฉันกลับไปหาพระผู้อภิบาลของฉัน ครั้งแล้วครั้งเล่าจนฉันรู้สึกละอายพระองค์แล้ว”
(ส่วนหนึ่งจากหะดีษเศาะฮีหฺ บันทึกโดย บุคอรี เลขที่ 7517 และมุสลิม เลขที่ 162)
2) ในวันกิยามะฮฺ 1 วันในโลกแห่งการสอบสวนเทียบเท่ากับ 50,000 ของดุนยา ท่านนบีเก็บคำขอดุอาอฺเอาไว้ในโลกหน้าให้กับประชาชาติของท่านในวันกิยามะฮฺ (ท่านนบีท่านอื่นได้ใช้คำขอไปแล้ว)
3) ในวันกิยาฮฺหลังจากที่ชาวนรกลงนรกไปแล้ว ชาวสวรรค์เข้าสวรรค์ไปแล้ว ท่านนบีขอดุอาอฺให้ได้ไปพบพ่อแม่ของชาวนรกที่โดนลงโทษเพราะทำผิดกับพ่อแม่ และขอให้พ่อแม่ยกโทษให้เขา และท่านนบีได้ขอให้อัลลอฮฺให้พ่อแม่ได้เห็นว่าลูกเขาถูกทำโทษอย่างไร จนกระทั่งพ่อแม่อภัยให้
8. เมื่อไหร่ก็ตามที่เขารักที่จะได้พบเจออัลลอฮฺ
เมื่อไหร่ก็ตามที่เขารักที่จะได้พบเจออัลลอฮฺ นั่นแหล่ะอัลลอฮฺก็รักเขา
ใครก็ตามที่อัลลอฮฺให้เขามีจุดจบที่งดงาม คนๆ นั้นเป็นคนที่อัลลอฮฺรักแน่นอน
ท่านรอซูลุลลอฮฺกล่าวว่า "เมื่อพระองค์อัลลอฮฺรักใคร พระองค์จะให้ความหอมหวาน (ความงดงาม) แก่เขา" ศอฮาบะฮฺถามว่าอะไรคือความหอมหวาน ท่านนบีตอบว่า "พระองค์อัลลอฮฺจะเปิดโอกาสได้ทำการงานที่ดี ก่อนที่เขาจะเสียชีวิต แล้วพระองค์อัลลอฮฺจะเก็บวิญญาณของเขาไปในสภาพที่เขาได้ทำความดี" หะดีษ บันทึกโดย อิหม่ามอะหฺหมัด
ตราบใดก็ตามที่มีความรู้สึกว่า อยากกลับเนื้อกลับตัวเพื่อให้อัลลอฮฺรัก เราอยากจะทุ่มชีวิตเพื่อทำสิ่งที่ดีที่สุด นั่นเป็นสัญญาณที่แสดงให้เห็นว่าพระองค์ทรงรักเรามาก โดยไม่แคร์ว่าในอดีตเราจะเป็นใคร เราทำอะไรมา เราจะผ่านอะไรมาบ้าง ที่สำคัญที่สุดคือ ณ เวลานี้ นับจากนี้ ต่อไปจนถึงวันที่ชีวิตของเรานั้นจะจากดุนยา
อบู ฮุรอยเราะฮฺ เล่าว่า ท่านรอซูลุลลอฮฺกล่าวว่า "หากอัลลอฮฺทรงรักบุคคลใด (อัลลอฮฺจะทรงให้) ญิบรีลประกาศว่า 'แท้จริงอัลลอฮฺทรงรักบุคคลนั้น (โอ้ญิบรีล) ท่านจงรักเขาด้วย' ซึ่งญิบรีลก็จะรักเขา ต่อจากนั้นญิบรีลก็จะประกาศกับชาวฟากฟ้าว่า แท้จริงอัลลอฮฺทรงรักบุคคลคนนั้น ดังนั้น พวกท่านทั้งหลายจรักเขาด้วย ซึ่งชาวฟากฟ้าทั้งหมดก็จะรักเขา ต่อจากนั้นเขาก็จะได้รับการตอบสนอง (พึงใจ) จากชาวแผ่นดิน"
ดุอาอฺขอความรักจากองค์อัลลอฮฺ
ดุอาอฺท่านนบีมุฮัมมัด ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม
اللَّهُمَّ ارْزُقْنِي حُبَّكَ، وَحُبَّ مَنْ يَنْفَعُنِي حُبُّهُ عِنْدَكَ
“โอ้พระผู้เป็นเจ้าของข้า โปรดประทานความรักต่อพระองค์แก่ข้า และ(โปรดประทาน) ความรัก (แก่ข้า) ต่อผู้ที่ความรักที่ข้ามีต่อเขายังประโยชน์ต่อข้า ณ พระองค์”
(หะดีษที่หะสัน บันทึกโดยอัต-ตัรมิซีย์ เลขที่ 3557)