Shoulder Pain

อาการปวดไหล่ (Shoulder pain)

การซักประวัติ

เพื่อสืบหาแหล่งกำเนิดของอาการปวดไหล่ว่าเกิดจากพยาธิสภาพบริเวณหัวไหล่ซึ่งอาจเกิดจากอาการปวดร้าวมาจากพยาธิสภาพบริเวณกระดูต้นคอพยาธิสภาพภายในทรวงอกหรือช่องท้อง หรือเป็นพยาธิสภาพของข้อไหล่หรือพยาธิสภาพที่เกิดกับโครงสร้างรอบๆข้อ

แนวทางในการซักประวัติ

1. ต้องซักประวัติให้แน่ใจก่อนว่าอาการปวดไหล่นั้นไม่ใช่อาการปวดที่ร้าวมาจากแหล่งอื่นหรือเกี่ยวข้องโรคของระบบอื่นที่อาจเป็นอันตรายถึงแก่ชีวิตหากวินิจฉัยพลาด เช่นประวัติเบาหวาน, Raynaud’s phenomenon หรือ claudication, กระดูกคอเสื่อม, ประวัติการเป็นอัมพฤกหรืออัมพาต และประว้ติโรคหัวใจ

2. ซักประวัติเพื่อระบุลักษณะของพยาธิสภาพบริเวณไหล่เอง ได้แก่

2.1 ประวัติได้รับบาดเจ็บที่ข้อไหล่

2.2 ตำแหน่งและลักษณะของอาการปวดไหล่

การดู

1. สังเกตตั้งแต่ขณะที่ผู้ป่วยกำลังถอดเสื้อ ดูว่ามีความยากลำบากหรือมีข้อจำกัดในการเคลือน

ไหวของข้อไหล่อย่างไร

2. ตรวจหารอยช้ำบริเวณหัวไหล่

3. ตรวจดูว่าร่องรอยของอาการบวมหรือไม่ (พบได้ไม่บ่อยนัก) ถ้าเป็นการอักเสบของข้อไหล่

แท้ๆ (glenohumeral joint) จะบวมบริเวณหน้าหัวไหล่

4. ตรวจดูว่ามีภาวะผิดรูปที่หัวไหล่หรือบริเวณใกล้เคียงอย่างไรบ้าง เช่น

- สังเกตเห็นรอยแยกที่ acromioclavicular joint

- กระดูกไหปลาร้าหรือกระดูกต้นแขนหักผิดรูป

- ดูลักษณะของหัวไหล่เปรียบเทียบกับข้างที่ไม่มีอาการ เช่นไหล่ยก ไหล่ตก หรือไหล่ คุ้มงอผิดปกติ

- ดูลักษณะของกล้ามเนื้อและกระดูกบริเวณต้นคอ

- ดูที่กล้ามเนื้อ biceps ว่ามีก้อนบวมผิดปกติหรือไม่ (rupture long head of bicepsX

- ดูลักษณะฝ่อลีบของกล้ามเนื้อบริเวณไหล่ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นผลสืบเนื่องจาก cervical และ bracheal neuropathy หรือการมีพยาธิสภาพที่ rotator cuff แบบเรื้อรัง

5. ให้ผู้ป่วยกางแขนออกหรือยกแขนขึ้นเหนือศีรษะ สังเกตจังหวะการเคลื่อนไหวของ

scapulohumeral และ scapulothoracic joints

6. ให้ผู้ป่วยยืนหันหน้าเข้าหากำแพงห่างประมาณ 1 ก้าวแล้วเอนตัวใช้มือยันกำแพงในลักษณะ

ศอกเหยียดตรง เพื่อตรวจหา wing scapular ระหว่างกระดูกสะบักทั้งสองข้าง

การคลำ

ตรวจหาจุดกดเจ็บ (tenderness) บวม (swelling) ตามตำแหน่งสำคัญ และตรวจดูความมั่นคงของข้อไหล่

ปุ่มกระดูกและตำแหน่งอ้างอิงในการหาจุดกดเจ็บบริเวณหัวไหล่

1. แนวของกระดูก Clavicle ที่วิ่งจากกระดูก sternum ทางด้าน medial สิ้นสุดที่ acromion

process

2. Acromion process บริเวณยอดไหล่

3. Acromioclavicular joint รอยต่อระหว่างปลายด้านนอกของกระดูก clavicle กับ acromion

process

4. Sternoclavicular joint รอยต่อระหว่างปลายด้านในของกระดูก clavicle กับ sternum

5. Coracoid process บริเวณหน้าหัวไหล่ อยู่ใต้ปลายด้านนอกของกระดูก clavicle

6. Glenohumeral joint เป็นร่องซึ่งอยู่ถัดจาก coracoid process ไปทางด้านข้างและต่ำลงมา

อีกเล็กน้อย

7. Bicipital groove ร่องบนหัวกระดูก humerus อยู่ถัดจาก glnohumeral joint ไปทางด้านข้าง

8. Greater tuberosity ปุ่มนูนของหัวกระดูก humerus ถัดจาก bicipital groove ไปทางด้านข้าง

9. Lesser tuberosity ปุ่มนูนของหัวกระดูก humerus อยู่ระหว่าง glenohumerus กับ bicipital

groove

การขยับข้อ

ควรเริ่มเป็นขั้นตอนตามลำดับ

1. ทำการเปรียบเทียบความแตกต่างของ active และ passive movement โดยให้ผู้ป่วยขยับข้อให้ดูก่อน (active movement) หลังจากนั้นแพทย์จับแขนผู้ป่วยขยับในลักษณะเดียวกัน (passive movement) movement ถ้าตรวจพบว่ามี passive movement ปกติพยาธิสภาพไม่ควรจะอยู่ที่ glynohumeral joint

2. ทดสอบความตึงของโครงสร้างที่อยู่ทางด้านหลังของหัวไหล่ (ซึ่งได้แก่ posterior capsule และ external rotator cuff) เพื่อตรวจดูว่ามีพยาธิสภาพของ rotator cuff แบบเรื้อรังหรือไม่

วิธีการ : ให้ผู้ป่วยเหยียดแขนออกไปทางด้านหน้า บิดแขนคว่ำฝ่ามือจนสุด (full internal rotation) แล้วหุบแขนเข้า (adduction) ผ่านหน้าทรวงอกไขว้ไปด้านตรงข้ามให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้

3. การตรวจโดยให้ต้านแรง เพื่อตรวจสอบอาการอ่อนแรงของกล้ามเนื้อและเส้นเอ็นแต่ละกลุ่ม

4. ควรตรวจเพื่อประเมินการเคลื่อนไหวของกระดูกต้นคอทุกรายในผู้ป่วยที่มีอาการปวดไหล่

การตรวจร่างกายพิเศษ

เป็นการตรวจร่างกายเฉพาะอย่างเพื่อสนับสนุนการวินิจฉัยพยาธิสภาพที่สงสัย

การวินิจฉัยแยกโรค

แบ่งออกเป็น 3 กลุ่มใหญ่ๆโดยดูจากการตรวจดูพิกัดการเคลื่อนไหวพร้อมการตรวจหาจุดกดเจ็บ

สาเหตุของอาการปวดบริเวณหัวไหล่ที่เกิดจาก non articular rheumatism

more common

Rotator cuff tendinitis (Impingement syndrome)

Bicipital tendinitis

Adhesive cspsulitis (Frozen shoulder)

less common

Suprascapular neuropathy

Long thoracic nerve paralysis

Bracheal Pexopathy

Thoracic outlet syndrome

การวินิจฉัยแยกโรคผู้ป่วยที่มาด้วยอาการปวดบริเวณหัวไหล่

การวินิจฉัยแยกโรคผู้ป่วยที่มีอาการปวดบริเวณข้อศอก

การวินิจฉัยแยกโรคผู้ป่วยที่มีอาการปวดข้อมือหรือมือ

ที่มา

www.ped.si.mahidol.ac.th/site_data/mykku_med/701000019/Shoulder%20pain.doc