FAST

FAST [ The Focused Assessment with Sonography in Trauma]

EFAST [The Extended FAST for Pneumothorax ]FAST+หา pneumothoraxอย่างรวดเร็วด้วย

คือ การทำอัลตราซาวนด์ช่องท้องในผู้ป่วยที่ได้รับอุบัติเหตุ

วัตถุประสงค์ หาของเหลวในตำแหน่งที่ไม่ควรพบ ได้แก่ ช่องท้อง ในเยื่อหุ้มหัวใจ และในช่องปอด

การวางหัว Probeให้วางดูทั้งหมด 4 ตำแหน่ง

ข้อบ่งชี้

1.Acute blunt or penetrating torso trauma

2.Trauma in pregnancy

3.Pediatric trauma

4.Subacute torso trauma อุบัติเหตุบาดเจ็บบริเวณลำตัวที่เกิดขึ้นนานเกิน 24 ชั่วโมง

5.Undifferentiated hypotensionหาสาเหตุไม่พบ

ภาวะเดียวที่ไม่ควรทำการตรวจ FAST คือ การตรวจอาจทำให้ผู้ป่วยเสียโอกาสหรือล่าช้าในการเข้ารับการผ่าตัด

ข้อดี แม่นยำ เร็ว ประหยัด ปลอดภัย

ข้อเสีย ขึ้นกับความสามารถผู้ตรวจ ตรวจยากใน คนอ้วน มีลมมาก ผู้ป่วยมี ascites หรือมี subcutaneous emphysema ไม่สามารถประเมินการบาดเจ็บกระบังลม ลำไส้ หรือ retroperitoneum ได้ดีนัก

ปริมาณของเหลวที่สามารถตรวจพบได้ 200-650 ml (เทียบกับ CT 100-250ml,DPL 20 ml)

เทคนิคการตรวจ

1.หัว probe 3.5 Mz ดู 4 ตำแหน่ง วางหัว marker point ของ probe ไปทางศีรษะและให้อยู่ด้านขวาเสมอ

1.1 RUQ viewข้างลำตัวใต้ชายโครงขวา: ดูของเหลวระหว่างตับและไต

-hepatorenal space(Morison’s pouch) ซึ่งท่านอนหงายในตำแหน่งนี้จะอยู่ต่ำที่สุด ดูว่ามีน้อยปานกลางหรือมาก

-rt supramesocolic space

1.2 LUQ viewข้างลำตัวใต้ชายโครงซ้าย : ดูของเหลวระหว่างม้ามและไต กระบังลม-ปอดด้วย

-Splenorenal space

-ระหว่างกระบังลมปอดกับม้าม

ตรวจดู pleural effusion โดยดูของเหลวเหนือกระบังลม ความไว 96% จำเพาะ 100%

สามารถแยกได้ว่าเป็นน้ำหรือpleural thickeningหรือ lung contusion ได้

1.3 Suprapubic view

-suprapubic view ดูของเหลวใน Cul-de-sac และการตั้งครรภ์มดลูกได้

ข้อจำกัด คือ ต้องมีปัสสาวะอยู่เต็มกระเพาะปัสสาวะเพื่อให้เกิด acoustic window หากกระเพาะปัสสาวะทะลุจะตรวจได้ไม่ชัดเจน

1.4 Subxiphoid viewประเมินหัวใจและเยื่อหุ้มหัวใจด้วย แต่จะตรวจยากหากผู้ป่วยอ้วน กระเพาะอาหารขยายมาก หรือมี peritonitis

วืธีรายละเอียด ขั้นตอน ทั้งภาพและyoutube

FAST: http://www.fpnotebook.com/ER/Rad/FstExm.htm

http://www.fpnotebook.com/Lung/Rad/LngUltrsnd.htm

EFAST = FAST+หา pneumothoraxอย่างรวดเร็วด้วย

1.ตรวจปกติคือ ไม่พบ sliding sign และ comet tail artifacts ตามแนวของเยื่อหุ้มปอด(ไว80-98% จำเพาะ91-99%)

2.M-mode พบ stratosphere sign(มีลมรั่ว) ปอดปกติจะพบเป็น เส้นขนานเหนือแนวเยื่อหุ้มปอดและต่ำกว่าเยื้อหุ้มปอดคือเนื้อปอด เรียก seashore sign(ปอดปกติ)

3.ตรวจด้วย color power Doppler(CPD) ปอดปกติพบ สีเพิ่มขึ้นมาที่แนวเยื่อหุ้มปอด มีการเคลื่อนตามการหายใจ เรียก power slide

4.ขนาดของปอดรั่ว สามารถระบุได้โดยตำแหน่งที่เปลี่ยนไป เรียก the lung point (ไว66% จำเพาะ100%)

การตรวจในแต่ละภาวะ

1.Blunt injuryแบบเฉียบพลันที่ท้องหรือลำตัว

การตรวจพบของเหลวในช่องท้อง สาเหตุบอกถึงการบาดเจ็บของอวัยวะภายในได้ดี sen 70-90% spec95-100%

แต่ส่วน retroperitoneum นั้นจะตรวจพบยากและมีความไวต่ำกว่า

ปัจจุบันทำ DPL เฉพาะเมื่อไม่มีอัลตร้าซาวด์เท่านั้น ส่วน CT ควรทำเฉพาะเมื่อผู้ป่วยมี vital sign ปกติ

กรณี FAST positive: ผ่าตัด หรือ ตรวจเพิ่มโดย abdominal CT ขึ้นอยู่กับอาการ

กรณี FAST negative ร่วมกับผู้ป่วยมีอาการปวดท้อง ตรวจร่างกายผิดปกติ : ควรทำ CT หรือ สังเกตอาการร่วมกับการทำ serial FAST

2.Penetrating injury : แบบเฉียบพลันที่ท้องหรือลำตัว

การตรวจจะมีความไวเมื่อถูกแทงด้านหน้าอกหรือหน้าท้อง ส่วนด้านหลังจะตรวจยากไวต่ำ

3.Solid organ injury

การตรวจมีความไวไม่มากนัก 41%

การฉีดสารทึบแสงก่อนทำจะช่วยในการตรวจมากขึ้น

ใช้หัว probe 7.5MHz linear array probe จะตรวจพบง่ายขึ้น

การตรวจด้วย CT มีความไวกว่า FAST มากและบอกขอบเขตการเสียหายได้

การอัลตร้าซาวด์ ต้องดู รูปร่างลักษณะของอวัยวะนั้นด้วย : echogenicity, intraparenchymal หรือ subcapsular hemorrhages , crescent shaped hypoechoic stripe

4.อุบัติเหตุในหญิงตั้งครรภ์ มีหลักสำคัญดังนี้

การตรวจ FAST ในหญิงตั้งครรภ์จะต้องคำนึงถึงว่าอวัยวะภายในช่องท้องจะเปลี่ยนตำแหน่งไปจากปรกติ เนื่องจากมดลูกที่มีขนาดใหญ่ขึ้น

การตรวจพบของเหลวผิดปรกติในช่องท้องอาจเป็นของเหลวที่มาได้ทั้งจากอวัยวะภายในช่องท้องของมารดาฉีกขาด มีเลือดออก หรือเป็นน้ำคร่ำจากมดลูกฉีกขาด หรือทั้งสองอย่างก็เป็นได้

ต้องประเมินการมีชีวิตของทารกในครรภ์และอายุครรภ์คร่าว ๆ

อัตราการตายของทารกจะเพิ่มสูงขึ้นในมารดาที่มีภาวะช็อก

หากตรวจ FAST แล้วไม่พบความผิดปรกติใด ๆ ก็ยังไม่สามารถสรุปได้ว่าไม่มีการบาดเจ็บเกิดขึ้นกับทารกและส่วนของการตั้งครรภ์ (cannot rule out fetoplacental injury)

5.อุบัติเหตุในเด็ก

ความไว 40-93% ความจำเพาะ 79-100% จะน้อยกว่าผู้ใหญ่ การอัลตราซาวนด์เป็นแค่การตรวจคัดกรอง (screening tool) เนื่องจากในเด็กจำนวนมากที่มีการบาดเจ็บของอวัยวะในช่องท้อง แต่ไม่มีของเหลวผิดปรกติในช่องท้อง

ควรทำ CT ในกรณี ตรวจ FAST พบผิดปรกติ (positive FAST) หรือ ตรวจร่างกายมีหลักฐานของการบาดเจ็บในช่องท้อง มีร่องรอยช้ำหรือเลือดออกบริเวณลำตัว มีความดันเลือดต่ำหรืออาการทางระบบประสาทบกพร่องไปจากเดิม

6. อุบัติเหตุบาดเจ็บบริเวณลำตัวที่เกิดขึ้นนานเกิน 24 ชั่วโมง (Subacute torso trauma)

มักจะมาที่ ER ด้วยอาการเจ็บหน้าอกหรือปวดท้อง ซึ่งสาเหตุที่พบบ่อยคือ hemothorax, hemoperitoneum or subcapsular organ hemorrhage

การดูแลผู้ป่วยกลุ่มนี้ คือ

-ถ้าคิดถึงการบาดเจ็บของอวัยวะในช่องท้องก็ควรส่งตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ไปเลย

-แต่ถ้าคิดถึงน้อยก็อาจเลือกทำการตรวจ FAST หรืออัลตราซาวนด์ เพื่อยืนยันว่าไม่มีความผิดปรกติในท้องได้

7.ภาวะความดันเลือดต่ำที่ยังหาสาเหตุไม่พบ (Undifferentiated Shock)

BP ต่ำหรือเป็นลม หลังได้รับอุบัติเหตุมาก่อนที่จะมีอาการ

ควรดูแลผู้ป่วยแบบกลุ่มผู้ป่วยช็อกที่เกิดจากการเสียเลือด จนกว่าจะพิสูจน์หาสาเหตุอื่นได้

อัตราการรอดชีวิตของผู้ป่วยกลุ่มนี้ขึ้นอยู่กับความเร็วในการวินิจฉัยสาเหตุที่แท้จริงและรักษาตรงสาเหตุ

การตรวจ FAST จึงเป็นการตรวจวิธีหนึ่งที่เหมาะสม และควรตรวจประเมินการทำงานของหัวใจ (qualitative cardiac assessment: estimate LVEF, cardiac wall motion) ตรวจหาลักษณะของ ruptured Aortic aneurysm) และตรวจ degree of IVC collapse with inspiration เพื่อประเมิน intravascular volume status

http://www.medicthai.net/detail.php?idDetail=5095&tableName=news

http://www.medicthai.net/admin/news_detail.php?id=5124

http://www.errama.com/system/spaw2/uploads/files/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%9A%E0%B8%B2%E0%B8%94%E0%B9%80%E0%B8%88%E0%B9%87..%E0%B8%9B%E0%B8%B2%E0%B8%93%E0%B8%B4%E0%B8%AA%E0%B8%A3%E0%B8%B2.pdf

http://www.doctorsiam.com/article-162-FAST%20(The%20Focused%20Assessment%20with%20Sonography%20in%20Trauma).html

http://www.narenthorn.or.th/node/63

http://medinfo.psu.ac.th/smj2/27_6_09/27_6pdf/04-prasit.pdf