PostTraumatic epilepsy

Posttraumatic epilepsy (PTE)

Quick treatment : ไม่จำเป็นต้องให้ยาเพื่อป้องกัน

หมายถึง การชักแบบซ้ำๆกัน เชื่อว่าเกิดจากการบาดเจ็บต่อเนื้อสมอง เนื่องจากอุบัติเหตุหรือการผ่าตัด ต้องแยกจากภาวะposttraumatic seizure(PTS) เป็นการชักเกิดตามมาจากบาดเจ็บของสมอง ถ้าชักภายใน 24 ชั่งโมงหลังเกิดการบาดเจ็บเรียกว่า immediate PTS ถ้าเกิดภายใน 1 สัปดาห์เรียก early PTS และหากมีอาการชักหลัง 1 สัปดาห์ เรียก late PTSประมาณ 20 % ของผู้ป่วยส่วนใหญ่ที่เกิด late PTS มักจะไม่เกิดเป็นซ้ำอีก และไม่ควรเรียกผู้ป่วยในกรณีนี้ว่าเป็น PTE

Pathophysiology

กลไกการเกิดการบาดเจ็บต่อเนื้อสมองแล้วทำให้เกิดอาการชักยังไม่ทราบ แต่รู้ว่าสมองส่วน cortical มีความสำคัญในการกำเนิดของการชัก การชักในระยะ early กับ late จะมี pathogenesis แตกต่างกัน โดยใน early เกิดจากการตอบสนองไม่จำเพาะเจาะจงของร่างกายที่มีปัญหา

Incidence

อัตราการเกิดโรคลมชักในกลุ่มประชากรทั่วไป มีประมาณ 0.5-2 %

สำหรับผู้ป่วยที่ได้รับบาดเจ็บทางสมองทั้งหมด มีประมาณ 2-2.5% และเพิ่มเป็น 5 % สำหรับผู้ป่วยศัลยกรรมสมองที่อยู่โรงพยาบาล

กรณีที่ได้รับบาดเจ็บทางสมองรุนแรง GCS<9 การเกิด PTE พบประมาณ 10-15% ในผู้ใหญ่และ 30-35 % ในเด็ก และในส่วนของ penetrating head injury อาจเกิด PTE ได้ถึง 50 %

Mortality/Morbidity

ประมาณ 80 % ของการเกิด PTS ครั้งแรกมักเป็นภายใน 2 ปีหลังเกิดการบาดเจ็บ

ลักษณะทางคลินิก

ประวัติด อาการชักอาจเป็น focal หรือ generalized tonic-clonic ก็ได้ หรืออาจพบร่วมั้งสองแบบ โดยส่วนใหญ่แล้วสำหรับearly PTS มักจะเป็น focal seizures และ late PTS ยิ่งเป็นบางส่วนของ PTE แล้วมักจะเป็น generalized

การตรวจร่างกายมักเป็นปกติ

สาเหตุที่เป็นปัจจัยที่ทำให้เกิดการชักเพิ่มขึ้นในผู้ป่วยที่ได้รับการบาดเจ็บทางสมองได้แก่

  • Severity of trauma

  • Penetrating head injuries

  • Intracranial hematoma

  • Depressed skull fracture

  • Hemorrhagic contusion

  • Coma lasting more than 24 hours

  • Early PTS

การวินิจฉัยแยกโรค

การตรวจทางห้องปฏิบัติการ

ผู้ป่วยที่ได้รับการบาดเจ็บทางสมองแล้วมีอาการชักขณะอยู่โรงพยาบาล ควรดูว่าเกิดจาก intracranial bleeding และดูภาวะelectrolyte ร่วมด้วย

การทำ MRI จะดีกว่า CT สำหรับ PTS

การรักษา

PTE ไม่จำเป็นต้องนอนโรงพยาบาลยกเว้นเป็น status epilepticus

การให้ยาเพื่อป้องกันใน acute phase ไม่ได้ช่วยลดอัตราตายหรือความพิการ และการรักษา early PTS ไม่ได้ลดช่วยลดอัตราการเกิด late PTS

การผ่าตัดอาจเป็นทางเลือกสำหรับผู้ป่วยที่ไม่ตอบสนองต่อการใช้ยา

รักษาโดยการตัด epileptogenic focus นั้นจะทำได้ยากกว่าใน ผู้ป่วยโรคลมชักทั่วไป

การใช้ยา

early PTS รักษาโดยการใช้ยา phenytoin, sodium valproate หรือ carbamazepine iv. ส่วนรายที่พักฟื้นแล้วมีอาการชักควรให้ phenyltoin iv. เป็น drug of choice

การให้ยากันชักเพื่อป้องการเกิด late PTS นั้นไม่จำเป็น(หรือเกิดการชักแต่ไม่บ่อย)

แต่จะใช้ในกรณีที่เกิด PTE แล้วเท่านั้น

ยาป้องกันการชัก ที่ใช้มีอยู่ 3 ชนิด

Sodium valproate(Depakin)

600 mg/d แบ่ง bid เพิ่มครั้งละ 200 mg/d q 3 วัน ไม่เกิน 2.5 gm/day(20-30mg/kg/day)

Carbamazepine(Tegretol)

100-200 mg qd/bid ค่อยๆเพิ่มช้าๆ 0.8-1.2 g/d ไม่เกิน 1.6-2 g/day

Phenytoin(Dilantin)

iv loading dose 10-15 mg/kg rate < 50 mg/min(elderly<25 mg/min) maintenance 4-7 mg/kg/day PO/IV

Prognosis

ความเสี่ยงของ PTS จะลดลงเรื่อยๆ และจะเท่ากับประชากรทั่วไปเมื่อเวลาผ่านไป 5 ปีหลังเกิดการบาดเจ็บที่สมอง