Inhalation injury

Inhalation injury

จากไฟไหม้ แบ่งได้ 3 กลุ่ม mild, moderate, severe

การบาดเจ็บจากการสำลักเขม่าควันมีกลไก 3 อย่างหลักๆ

1. การหายใจเอา heat gas or stream เข้าไป

2. หายใจเอา incomplete product of combustion หรือเขม่าควันเล็กๆ เข้าไป ซึ่งตัวนี้อาจจะมีปัญหามากในผู้ป่วยกลุ่มนี้

3. สูดหายใจเอา toxic substance เข้าไป

ระยะเวลาหลังสำลักควันและความสัมพันธ์กับพยาธิสภาพ

ระยะแรกใน 0-36 ชั่วโมง มีใบหน้าบวม ทางเดินหายใจบวม และอาจพบเขม่าควันตามใบหน้า รูจมูก ปาก ต้องระวังให้มาก และควรใส่ท่อหายใจเนิ่นๆ

ระยะที่สอง 24-72 ชั่วโมง การแลกเปลี่ยนกาซของปอดเสียไป มี mucous plug มากมายใน alveoli ของปอด และมีการทำลาย epithelium ของทางเดินหายใจ

ระยะที่สาม 3-10 วัน ระยะนี้ เกิดจากภาวะ brochopheumonia, respiratory failure, ARDS จากการสำลักเขม่าควันหรือสารเคมีเล็กๆเข้าไปใน lower respiratory tract

การรักษา

รีบเคลื่อนย้ายจากที่เกิดเหตุ ABC หากเริ่มมีอาการทางเดินหายใจต้องรีบใส่ tube หากล่าช้าอาจใส่ไม่ได้และเสียชีวิต

ระยะแรกต้องระวังการสูดสาร CO carbonmonoxide ทำให้เกิด hypoxia ได้ รักษาโดยการให้ 100% O2 จะสามารถลดhalflife ของ CO ได้ จาก 320 นาทีที่ ใช้อากาศธรรมดาเหลือ 80นาที และจะเร็วกว่านี้ถ้าใช้ hyperbaric oxygen

พิษของสารไซยาไนด์ ให้การรักษาโดย supportive มากกว่า โดยให้ supplement humidified oxygen เพื่อลดการระคายเคืองทางเดินหายใจ , preoxygenation and suction , postural drainage, inhal bronchodilator, antibiotic ส่วน antidote มักให้ในกรณีที่มี evidence ว่าได้รับไปมากจริงๆ

การให้ ventilation เป้าหมายคือ maintain airway and alveolar patency แต่เนื่องจากปอดค่อนข้างจะขาดความยืดหยุ่น อาจเกิดปอดแตกได้ง่าย ต้องระวังในการปรับ ventilator ให้มาก การใช้เทคนิกต่างๆเช่น high frequency percussive ventilation(HFPV) , airway pressure ventilation(APRV), extracorporeal membrane oxygenation (ECMO)

ภาวะแทรกซ้อน

ระยะ acute คือ barotraumas และการติดเชื้อ

ระยะยาว hoarseness or dysphonia