Centipede bite

Centipede bite ตะขาบกัด

Quick dx :ปวดมาก บวมแดง รอยเขี้ยว 2 รอยห่างประมาณ 1 cm เห็นเป็นจุดเลือดออกเล็กๆ

การรักษา: supportive treatment

ชื่อสามัญ: Scolopendra

Venom พิษตะขาบ

พิษตะขาบออกมาจาก เขี้ยวด้านหน้ามี 2 เขี้ยว ซึ่งมีต่อมพิษอยู่ที่โคนของเขี้ยว

เมื่อกัดแล้วจะฉีดพิษเข้าสู่เนื้อเยื่อของเหยื่อพิษ

พิษตะขาบประกอบด้วยสารหลายชนิด ได้แก่

- 5-hydroxytryptamine หรือ cytolysin

- hemolytic phospholipase A และ

- Cardiotoxic protein

พิษเหล่านี้จะทำลายเซลล์ ทำให้เกิดการอักเสบ เจ็บปวดมาก มีอาการบวม แดง ร้อน

อาการ

หลังถูกกัด จะมีอาการปวดมาก บริเวณที่ถูกกัดจะบวมแดง ปวดร้าวขึ้น อาจปวดถึงบริเวณต่อมน้ำเหลืองได้ บางรายอาจมีอาการคันร่วมดัวย นอกจากนี้อาจมีใจสั่น ปวดศีรษะ คลื่นไส้อาเจียน

อาการแสดง

ปวดบวมเฉพาะที่รอบๆที่ถูกกัด อาจพบรอยเขี้ยวเป็นจุดเล็กๆ 1- 2 รอยก็ได้ อาจพบลักษณะ lymphagitis หรือมี lymphadenopathy ร่วมด้วยได้ มีบางรายอาจมี tissue necrosis บริเวณที่ถูกกัดเป็นรอยดำๆได้

การตรวจทางห้องปฏิบัติการ

Lab สำคัญที่ควรตรวจในกรณีที่มีอาการมาก

UA: ดูว่ามี proteinuria, myoglobinuria จาก rhabdomyolysis ซึ่งผู้ป่วยจะมีอาการปวดบวมที่แขนหรือขาข้างที่ถูกกัด และ หากมีสิ่งบ่งชี้ว่าเป็น rhabdomyolysis ควรตรวจ electrolyte, CPK และ renal function ด้วย

ECG: ตรวจเมื่อผู้ป่วยมีอาการเจ็บหน้าอก, ความดันตก หรือมีประวัติโรคหัวใจ

Diffential diagnosis

Scorpian envenomation

Snake bite

Wasp sting

การรักษา

เบื้องต้น

– ล้างแผลให้สะอาดป้องกันติดเชื้อ ประคบเย็นลดบวม ประคบร้อนลดปวด

Emergency care

1.Pain ให้ยาแก้ปวด- Systemic analgesics: Paracetamal, tylenal with codeine, NSAIDS, tramadal เป็นต้น- Local anesthesia : regional nerve block โดยฉีด lidocaine หรือ bupivacaine

2. Tetanus toxiod ถ้ายังไม่เคยฉีดควรให้

3. Prophylactic antibiotic ไม่จำเป็นยกเว้น มี secondary infection

4. หากเป็นไปได้ สังเกตอาการประมาณ 4 ชั่วโมงเพื่อดู systemic toxicity

5. แผล ดูแลแผลให้สะอาด สังเกตลักษณะของ secondary infection และ necrosis

6. ยาทาหากให้ เป็นกลุ่ม steroid ทาเฉพาะที่ลดอาการแพ้คัน

Complication

1. Secondary infection

2. Wound necrosi s พบได้น้อย

3. Rare: compartment syndrome, myoglobinuria และ acute renal failure

4. Coronary spasm พบได้น้อย

Mortality/morbility

โดยส่วนใหญ่แล้วไม่รุนแรงมาก แต่มีหลายรายงานที่รุนแรงและบางรายเสียชีวิต

- เด็กหญิง 7 ขวบ ถูกกัดที่ศีรษะเสียชีวิต (Filipino girl: ตะขาบฟิลิปปิน Scolopendra subspinipes:ตัวยาว 23 cm )

- ผู้ชาย 60 ปี EKG เป็น ischemic heart หลังถูกกัด (Turkey:ตัวยาว12-cm) ตรวจเลือดพบ CK-MB and myoglobin สูงขึ้น ส่วน troponin I, troponin T ปกติ ECG กลับสู่ปกติ 2-3 ชั่วโมง

- ผู้ชาย 20 ปี Turkey มาด้วยอาการเจ็บหน้าอก 24 ชั่วโมงหลังถูกกัด ตรวจ ECG: inferior ST-segment elevation, ตรวจเลือดพบ CK-MB และ troponin T สูงขึ้น ECG หายเป็นปกติเองโดยรักษาแบบประคับประคอง น่าจะเป็นเรื่องของ coronary vasospasmและ inflammatory changes

- report อื่นๆพบอาการ Rhabdomyolysis, compartment syndrome และ acute renal failure รักษาโดย temporary hemodialysis: กัดโดยตะขาบทะเลทรายScolopendra heros

ข้อระวัง

หากขาหรือแขน ปวดบวมมาก อาจมี rhabdomyolysis จากพิษตะขาบได้

ควร admit ดูแลเรื่อง myoglobinuria และ compartment syndrome ด้วย

ยกบริเวณที่เป็นให้สูงขึ้น และพิจารณาทำ fasciotomy เมื่อเห็นสมควร

Ref.

1.http://emedicine.medscape.com/article/769448-overview

2. Ozsarac M, Karcioglu O, Ayrik C, et al. Acute coronary ischemia following centipede envenomation: case report and review of the literature. Wilderness Environ Med. 2004;15(2):109-12. [Medline].

3.Yildiz A, Biceroglu S, Yakut N, et al. Acute myocardial infarction in a young man caused by centipede sting. Emerg Med J. Apr 2006;23(4):e30. [Medline].

4.ข้อมูลตะขาบไทยhttp://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view2.aspx?id=8866