หน่วยที่ 1

ประวัติการประกันภัย

หัวข้อเรื่อง

  1. ประวัติการประกันภัยในต่างประเทศ

  2. ประวัติการประกันภัยในประเทศไทย

  3. ประวัติการประกันชีวิตในประเทศไทย

  4. การควบคุมกิจการประกันภัยโดยรัฐ

  5. การเปิดเสรีการค้าบริการกับการประกันภัยของไทย

  6. รูปแบบการเจรจาการค้าบริการ

สาระสำคัญ

การประกันภัยเริ่มมีขึ้นตั้งแต่เมื่อไรไม่มีหลักฐานปรากฏที่ชัดเจนและได้มีการพัฒนาขึ้นตามลำดับ ในปัจจุบันการประกันภัยมีการรับเสี่ยงภัยที่กว้างขวางมากขึ้นและมีรูปแบบให้เลือกมากขึ้นด้วย ทั้งนี้เพื่อให้เหมาะสมกับความเจริญก้าวหน้าของเทคโนโลยีและการเปลี่ยนแปลงสภาวะต่าง ๆ ของโลกและสังคม

การประกันภัยเป็นวิธีหนึ่งที่มนุษย์ใช้แก้ปัญหาเกี่ยวกับการเสี่ยงภัย ซึ่งเริ่มขึ้นเมื่อประมาณ 3,000 ปี ก่อนคริสต์ศตวรรษ โดยชาวบาบิโลเนียน (Babylonians) และชาวฮินดูได้ทำสัญญาให้กู้ยืมเงินซึ่งมีลักษณะคล้ายการรับประกันภัยในปัจจุบันคือ ยอมให้เอาเรือหรือสินค้าของตนเป็นประกันเงินกู้ที่ต้องกู้ยืมจากนายทุนมาจัดซื้อสินค้า เรียกว่า“Bottomry” และ “Respondentia”

“Bottomry” เป็นสัญญากู้ยืมเงินที่ลูกหนี้ซึ่งเป็นเจ้าของเรือพาณิชย์สัญญาว่าถ้าเรือที่เดินทางค้าขายแล้วกลับท่าโดยปลอดภัย ลูกหนี้จะใช้เงินต้นพร้อมดอกเบี้ยให้แก่เจ้าหนี้โดยจะจ่ายดอกเบี้ยให้ในอัตราสูงกว่าปกติ แต่ถ้าเรือที่เดินทางค้าขายนั้นเกิดล่มสูญหายในทะเล ลูกหนี้จะพ้นจากภาระหนี้สินทั้งปวงด้วยวิธีการให้กู้ยืมเงินดังกล่าว จะเห็นได้ว่าดอกเบี้ยส่วนเกินที่ลูกหนี้จะต้องจ่ายนั้นมีลักษณะเหมือนเบี้ยประกันภัยในปัจจุบันซึ่งจ่ายไปเพื่อคุ้มครองความเสียหายที่จะเกิดขึ้นต่อตัวเรือในการเดินทางค้าขายในทะเล

“Respondentia” เป็นสัญญาเกี่ยวกับสินค้าหากสินค้าที่บรรทุกเรือเกิดเสียหายเจ้าหนี้จะไม่เรียกต้นเงินและดอกเบี้ยเลย นับได้ว่าการประกันภัยทางทะเลได้เริ่มขึ้นในระยะนี้และมีการจัดตั้งเป็นสถาบันการประกันภัยทางทะเลในกรุงเอเธนส์สมัยนั้นการประกันภัยในรูปแบบที่เป็นอยู่ปัจจุบันนี้ได้เริ่มขึ้นประมาณคริสต์ศตวรรษที่ 15เมื่อการค้าขายทางทะเลได้ขยายตัวอย่างกว้างขวางโดยเฉพาะในแถบทะเลเมดิเตอร์เรเนียนความจำเป็นที่จะต้องมีความมั่นคงในทางการเงิน จุดกำเนิดคือ ร้านขายกาแฟในกรุงลอนดอนประเทศอังกฤษของ Edward Lioyd ในเวลาต่อมาคือ Lioyds of London ที่มีชื่อเสียงทั่วโลก

ทางด้านการประกันชีวิตไม่มีหลักฐานแน่นอนว่าเริ่มมีขึ้นตั้งแต่เมื่อใด ทราบกันเพียงว่าชาวกรีกและชาวโรมันในสมัยโบราณใช้วิธีช่วยบริจาคเงินในการทำศพ โดยการเก็บเงินจากคนที่ไปโบสถ์ในวันอาทิตย์คนละเล็กละน้อยเป็นรายเดือน เพื่อเป็นการช่วยเหลือในการทำศพผู้ตาย และต่อมาได้จัดตั้งสมาคมรับประกันในหมู่พวกทหารขึ้น สมาชิกที่ตายจะได้รับเงินสำหรับทำศพและจะได้รับเงินบำนาญเมื่อถึงวัยชรา เป็นต้น พฤติกรรมเหล่านี้ถือได้ว่าเป็นการเริ่มต้นของการประกันชีวิตแล้วในสมัยโบราณ

ประวัติการประกันภัยในประเทศไทย

สำหรับประเทศไทยเริ่มรู้จักการประกันภัยเมื่อประมาณ พ.ศ.2368 ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ในขณะนั้นพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงผนวชอยู่ ได้ทรงสั่งซื้อเครื่องพิมพ์จากประเทศอังกฤษและได้เอาเครื่องพิมพ์ที่ทรงซื้อประกันภัยระหว่างการขนส่งในนามของพระองค์เองต่อมาในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ประเทศไทยมีการติดต่อค้าขายกับชาวต่างชาติมากขึ้นได้มีชาวต่างชาติเข้ามาตั้งห้างค้าขายในประเทศไทยเพิ่มมากขึ้น และในจำนวนห้างฝรั่งเหล่านั้น ก็มีห้างที่เป็นตัวแทนของบริษัทประกันภัยต่างประเทศด้วย เท่าที่ปรากฏมีดังนี้

1. ห้างบอเนียว เป็นตัวแทนของ Netherlands lndia Sea and Fire lnsuranceCompany รับประกันภัยทางทะเลและเป็นตัวแทนของ North China lnsurance Companyรับประกันอัคคีภัย

2. ห้างสก๊อต เป็นตัวแทนของ Ocean Marine lnsurance Company

3. ห้างบิกเกนแบ๊ก เป็นตัวแทนของ Colonial Sea and Fire lnsurance Company

ประวัติการประกันชีวิตในประเทศไทย

ในสมัยรัชกาลที่ 5 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ได้มีคณะทูตจากประเทศอังกฤษได้ขอพระบรมราชานุญาตให้บริษัทอิ๊สเอเชียติกจำ กัด ของชาวอังกฤษดำ เนินธุรกิจรับประกันชีวิตประชาชนคนไทยและชาวต่างชาติในประเทศไทยในฐานะตัวแทนของบริษัทเอควิตาเบิล ประกันภัยจำ กัด แห่งกรุงลอนดอน ซึ่งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงอนญุ าตโดยมสี มเดจ็ พระบรมมหาศรสี รุ ยิ วงศ์เป็นผ้ถู อื กรมธรรม์เป็นคนแรกในสมัยนั้นกรมธรรม์ต้องจัดทำ และส่งมาจากประเทศอังกฤษ นอกจากบริษัทอิ๊สเอเชียติกจำ กัดแล้วยังมีห้างฝรั่งที่ตั้งในประเทศไทยอีกหลายห้างที่เป็นตัวแทนของบริษัทประกันชีวิตของต่างประเทศ เช่น ห้างสยามฟอเรสต์ เป็นตัวแทนของ Commercial Union AssuranceCompany เป็นต้น แต่ในยุคสมัยนั้นยังไม่มีการตราพระราชบัญญัติมาบังคับใช้ จนถึงในสมัยรัชกาลที่ 6 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตรากฎหมายแพ่งและพาณิชย์ขึ้น เพื่อใช้บังคับเกี่ยวกับการประกันภัยและประกันชีวิต เมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.ศ.2467 (ค.ศ.1924)

ในปี พ.ศ. 2471 ได้มีการตราพระราชบัญญัติควบคุมกิจการค้าขาย อันกระทบกระเทือนถึงความปลอดภัยของสาธารณชน ซึ่งจากพระราชบัญญัตินี้มีผลให้รัฐบาลมีอำนาจที่จะตั้งเงื่อนไขและออกกฎหมายเพื่อควบคุมกิจการประกันภัยได้ ทำให้บุคคลที่ต้องการประกอบกิจการประกันภัยต้องได้รับอนุญาตจากรัฐบาลก่อนจึงจะดำเนินกิจการได้ในปี พ.ศ. 2473 มีบริษัทต่างประเทศได้รับอนุญาตให้ดำเนินกิจการประกันชีวิต4 บริษัทตามลำดับดังนี้

1. เกรต อิสเตอร์น ไลฟ์ แอสชัวรันซ์ คัมปานี ดำเนินกิจการเมื่อวันที่ 31 พ.ค.2473

2. แมนูแฟคเจอร์เรอส์ ไลฟ์ อินชัวร์รันซ์ คัมปานี ดำเนินกิจการเมื่อวันที่6 มิ.ย. 2473

3. ไชน่า อันเดอร์ไรเตอร์ ลิมิเตด ดำเนินกิจการเมื่อวันที่ 23 มิ.ย. 2473

4. ซันไลฟ์ แอสชัวร์รันซ์ คัมปานี ออฟ แคนาดา ดำเนินกิจการเมื่อวันที่25 มิ.ย. 2473

ในปี พ.ศ. 2485 เมื่อเกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 ขึ้น บริษัทประกันภัยของต่างประเทศต้องหยุดประกอบกิจการเกือบทั้งหมดเพราะญี่ปุ่นเข้ายึดครอง ดังนั้น คนไทยจึงมีโอกาสเริ่มประกอบธุรกิจประกันชีวิตและบริษัทประกันชีวิตของคนไทยที่ได้จดทะเบียนเป็นบริษัทแรกในปี พ.ศ. 2485 คือ บริษัทไทยเศรษฐกิจประกันภัยจำกัด และบริษัทไทยประกันชีวิตตามลำดับ ต่อมาในปี พ.ศ. 2491 ก็มีบริษัทที่ได้รับการจดทะเบียนเป็นบริษัทที่ 3 คือ บริษัทไทยประสิทธิ์ประกันภัยและคลังสินค้า จำกัด (ปัจจุบันเปลี่ยนชื่อเป็นบริษัทไทยประสิทธิ์ประกันภัย จำกัด) และในปี พ.ศ. 2492 ได้มีการจดทะเบียนเพิ่มขึ้นอีก 1 บริษัท คือ บริษัทนครหลวงประกันชีวิตจำกัด จึงกล่าวโดยสรุปได้ว่าในช่วง ปี พ.ศ. 2485 - พ.ศ. 2492 ได้มีบริษัทประกันชีวิตของคนไทยเปิดดำเนินการรวม 4 บริษัท

การควบคุมกิจการประกันภัยโดยรัฐ

การประกอบธุรกิจประกันภัยในประเทศไทยต้องดำเนินการภายใต้การกำกับดูแลของภาครัฐเนื่องจากธุรกิจประกันภัยมีผลกระทบต่อประชาชน ระบบเศรษฐกิจ และสังคมในระยะแรกที่การประกันภัยเข้ามาเปิดดำเนินการในประเทศไทย การก่อตั้งบริษัทประกันภัยต้องได้รับพระราชทานพระบรมราชานุญาติเท่านั้น ต่อมาได้มีการมอบหมายให้หน่วยงานของรัฐมีหน้าที่ควบคุมและกำกับดูแลกิจการประกันภัยตามลำดับ ดังนี้

กองการประกันภัย (พ.ศ. 2472)

โดยอาศัยอำนาจจากพระราชบัญญัติควบคุมกิจการค้าขายอันกระทบถึงความปลอดภัยหรือผาสุกแห่งสาธารณชน พ.ศ. 2471 ได้มี “ประกาศผู้แทนเสนาบดีกระทรวงพาณิชย์และคมนาคม” ลงวันที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2472 กำหนดเงื่อนไขการขออนุญาตประกอบธุรกิจประกันชีวิตและประกันวินาศภัยขึ้นและกำหนดให้ต้องจดทะเบียนประกอบธุรกิจกับ “กองการประกันภัย” ซึ่งตั้งขึ้นเป็นครั้งแรก เมื่อวันที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2472 สังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์และคมนาคม

กองควบคุมบริษัทประกันภัย (พ.ศ. 2476)

ภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์เป็นระบอบประชาธิปไตย กระทรวงพาณิชย์และคมนาคมได้เปลี่ยนชื่อเป็นกระทรวงเศรษฐีการและได้มีพระราชกฤษฎีกาจัดวางระเบียบราชการสำนักงานและกรมในกระทรวงเศรษฐีการใหม่

“กองการประกันภัย” ได้ถูกเปลี่ยนชื่อเป็น “กองควบคุมบริษัทประกันภัย” ย้ายไปสังกัดกรมทะเบียนการค้ากระทรวงเศรษฐีการ ทั้งนี้เพราะนอกจากการขอจดทะเบียนเพื่อประกอบธุรกิจประกันภัยแล้วบริษัทนั้น ๆ จะต้องขอจดทะเบียนเป็นบริษัทจำกัดเสียก่อน ดังนั้นเพื่อความสะดวกรวดเร็วจึงให้กองควบคุมบริษัทประกันภัยสังกัดกรมทะเบียนการค้า

แผนกควบคุมบริษัทประกันภัย (พ.ศ. 2484)

ในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 บริษัทประกันชีวิตและประกันวินาศภัยของชาวต่างชาติซึ่งตกอยู่ในฐานะประเทศคู่สงครามต่างก็เลิกกิจการและได้นำบัญชีและเงินเบี้ยประกันของคนไทยหนีกลับประเทศตนเอง จึงทำให้งานควบคุมมีน้อยเป็นสาเหตุให้กองควบคุมบริษัทประกันภัยถูกยุบลงมาเป็นเพียงแผนกควบคุมบริษัทประกันภัย ขึ้นกับกองหุ้นส่วนบริษัท กรมทะเบียนการค้า กระทรวง เศรษฐกิจ

กองประกันภัย (พ.ศ. 2495)

เมื่อสงครามโลกครั้งที่ 2 สงบแล้ว ธุรกิจต่าง ๆ มีการฟื้นฟูตนเองอีกครั้งหนึ่งมีผู้ขอรับใบอนุญาตประกอบธุรกิจประกันภัยมากขึ้น แผนกควบคุมบริษัทประกันภัยจึงได้รับการยกฐานะเป็นกองประกันภัยอีกครั้งหนึ่ง สังกัดกรมทะเบียนการค้ากระทรวงเศรษฐกิจต่อมาในปี พ.ศ. 2511 ได้โอนไปสังกัด สำนักงานปลัดกระทรวงเศรษฐกิจ

สำนักงานประกันภัย (พ.ศ. 2515)

ในปี พ.ศ. 2515 กองการประกันภัย เปลี่ยนชื่อเป็น สำนักงานประกันภัยแต่ยังคงมีฐานะเป็นกอง สังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ตามประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่265 ลงวันที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2515 เปลี่ยนชื่อกระทรวงเศรษฐกิจเป็นกระทรวงพาณิชย์และต่อมาเมื่อวันที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2522 สำนักงานประกันภัยได้รับการยกฐานะขึ้นเป็นหน่วยงานระดับกรมมีฐานะเป็นนิติบุคคลตามกฎหมายและได้เปลี่ยนชื่อเป็นกรมการประกันภัยมีอธิบดีกรมการประกันภัยเป็นผู้รับผิดชอบบริหารงาน โดยมีอำนาจเช่นเดียวกับสำนักงานประกันภัย เมื่อวันที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2533

สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย

(พ.ศ. 2550)

ในปัจจุบันการประกอบธุรกิจประกันภัยอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย ทั้งนี้ตามพระราชบัญญัติคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย พ.ศ. 2550 ซึ่งมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่1 กันยายน พ.ศ. 2550 เป็นต้นไป และให้จัดตั้งสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกันภัยทำหน้าที่รับผิดชอบงานธุรการของคณะกรรมการฯ และการกำกับส่งเสริมและพัฒนาการประกอบธุรกิจประกันภัยตามนโยบายและมติของคณะกรรมการฯ ตลอดจนหลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไข และแนวปฏิบัติที่คณะกรรมการกำหนด พร้อมทั้งย้ายไปสังกัดกระทรวงการคลังโดยเหตุผลว่าปัจจุบันการประกอบธุรกิจประกันภัยได้พัฒนาขึ้นอย่างรวดเร็วรูปแบบการประกันภัยมีหลากหลาย มีเงินทุนหมุนเวียนในธุรกิจนี้หลายหมื่นล้านบาทในแต่ละปีและผู้เอาประกันภัยได้เพิ่มจำนวนขึ้นอย่างมาก การประกอบธุรกิจประกันภัยจึงมีลักษณะเป็นธุรกรรมทางการเงินประเภทหนึ่งซึ่งมีผลกระทบโดยตรงต่อระบบเศรษฐกิจและการเงินของประเทศและต่อผู้เอาประกันซึ่งเป็นผู้บริโภค

สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.)

เป็นหน่วยงานของรัฐที่ไม่เป็นส่วนราชการและไม่เป็นรัฐวิสาหกิจ มีฐานะเป็นนิติบุคคลโดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังแต่งตั้งเลขาธิการเป็นผู้รับผิดชอบบริหารงาน (การแต่งตั้งเลขาธิการของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังโดยการเห็นชอบของรัฐมนตรีจากบุคคลที่คณะกรรมการคัดเลือก) และกำหนดให้วันที่ 1 กันยายน ของทุกปีเป็นวันประกันภัยไทย

องค์ประกอบของคณะกรรมการฯ

คณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย ประกอบด้วย

1. ปลัดกระทรวงการคลัง เป็นประธานกรรมการ

2. ปลัดกระทรวงพาณิชย์

3. เลขาธิการคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค

4. ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย

5. เลขาธิการสำนักงานหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์

6. ผู้ทรงคุณวุฒิไม่น้อยกว่า 6 คน แต่ไม่เกิน 8 คน ซึ่ง (รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังแต่งตั้งโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี) ซึ่งประกอบด้วยผู้เชี่ยวชาญด้านต่าง ๆ ดังนี้

6.1 ด้านกฎหมาย

6.2 ด้านบริหารธุรกิจการเงิน

6.3 ด้านเศรษฐศาสตร์

6.4 ด้านการประกันภัยซึ่งผู้เชี่ยวชาญที่แต่งตั้งในแต่ละด้านไม่เกิน 2 คน

7. เลขาธิการสำนักงาน คปภ. เป็นกรรมการและเลขานุการโดยกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิมีวาระอยู่ในตำแหน่ง 3 ปี และอาจได้รับแต่งตั้งอีกได้แต่ไม่เกิน 2 วาระติดต่อกัน

การเปิดเสรีการค้าบริการกับการประกันภัยของไทย (จุดประสงค์เชิงพฤติกรรมข้อที่ 5)

จากการเจรจาการค้าบริการด้านการเงินภายใต้กรอบของ World TradeOrganization (WTO) ได้มีการพัฒนาการมาจากการเจรจาการค้าบริการภายใต้กรอบของการเจรจารอบอุรุกวัย ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2538 ให้ประเทศสมาชิกทั้งหลาย (ประเทศไทยเป็นสมาชิกผู้ร่วมก่อตั้ง เมื่อวันที่ 1 มกราคม 2538) จะต้องดำเนินการให้มีการเปิดเสรีในสาขาต่างๆ ตามความตกลงทั่วไปว่าด้วยการค้าบริการ (General Agreement on Trade inServices: GATS) ซึ่งใช้เป็นกฎเกณฑ์และกติกาสำหรับการเจรจาเปิดเสรีการค้าบริการ (Tradein Services) ซึ่งได้กำหนดสาขาของการค้าบริการที่ประเทศสมาชิกจะต้องดำเนินการเปิดเสรีไว้ 12 สาขา ประกอบด้วย

1. สาขาการบริการด้านธุรกิจ

2. สาขาการบริการด้านสื่อสารและโทรคมนาคม

3. สาขาการบริการด้านการก่อสร้างและวิศวกรรมที่เกี่ยวเนื่อง

4. สาขาการบริการด้านการจัดจำหน่าย

5. สาขาการบริการด้านการศึกษา

6. สาขาการบริการด้านสิ่งแวดล้อม

7. สาขาการบริการด้านการเงิน

8. สาขาการบริการด้านการท่องเที่ยว

9. สาขาการบริการด้านการขนส่ง

10. สาขาการบริการด้านสุขภาพและบริการทางสังคม

11. สาขาการบริการด้านนันทนาการ

12. สาขาการบริการอื่นๆ

ทั้งนี้ในส่วนของธุรกิจประกันชีวิตได้ถูกนับรวมให้เป็นส่วนหนึ่งของสาขาการเงิน เช่นเดียวกับธุรกิจประกันวินาศภัย ธุรกิจธนาคาร ธุรกิจบริหารจัดการกองทุน และธุรกิจหลักทรัพย์

รูปแบบการเจรจาการค้าบริการ

ในการเจรจาการค้าบริการรอบโดฮา ที่เริ่มมีการเจรจาตั้งแต่ปี 2543 ได้ใช้ GATSเป็นกรอบในการเจรจา ซึ่งได้แบ่งออกเป็น 2 แนวทาง คือ

1. การเจรจาเพื่อเปิดตลาด (Negotiations on Market Access)

2. การเจรจาเพื่อจัดทำกฎเกณฑ์การค้าบริการ (Negotiations on GATS Rule)

เนื่องจากประกันภัยถูกกำหนดให้เป็นส่วนหนึ่งของสาขาบริการด้านการเงิน ดังนั้นจึงจำเป็นต้องมีการเจรจาเพื่อกำหนดกรอบในการเปิดเสรีทางการค้าตามที่ WTO ได้กำหนดไว้ ซึ่งในส่วนของประกันภัยนี้ได้ถูกแบ่งออก เป็นดังนี้

- การประกันภัยโดยตรง (รวมไปถึงการประกันภัยร่วม) ประกอบด้วย การประกันชีวิตและการประกันวินาศภัย (Life and Non-Life Insurance Service)

- การประกันภัยต่อและการประกันช่วง (Reinsurance and Retrocession)

- ตัวกลางประกันภัย เช่น นายหน้าและตัวแทน

- บริการที่สนับสนุนการประกันภัย (Services auxiliary to insurance) เช่น การให้คำปรึกษา นักคณิตศาสตร์ประกันภัย การประเมินความเสี่ยง และการบริการจัดการเรียกร้องตามสิทธิ

ประเด็นที่ประเทศไทยถูกผลักดันให้เปิดตลาดบริการประกันภัย คือ

1. เสนอขอให้ยกเลิกมาตรการที่เป็นอุปสรรคต่อการเข้าสู่ตลาด มีดังนี้

- ขอให้เปิดเสรีบริการข้ามพรมแดน

- ขอให้ผ่อนปรนหรือยกเลิกข้อจำกัดเรื่องสัดส่วนการถือหุ้นของคนต่างชาติ

- ขอให้ยกเลิกการจำกัดสัญชาติของผู้บริหาร

2. เสนอขอให้ยกเลิกมาตรการเลือกปฏิบัติ มีดังนี้

- ขอให้สาขาของบริษัทประกันภัยต่างประเทศสามารถขยายงานโดยการจัดตั้งสาขาในภูมิภาคต่างๆ ของประเทศได้

- ขอให้ยกเลิกมาตรการกำหนดมูลค่าขั้นต่ำที่ต้องทำประกันภัยต่อภายในประเทศก่อนซื้อประกันภัยต่อจากต่างประเทศ

3. เสนอขอให้นำระบบความโปร่งใสมาใช้ในการกำกับดูแลธุรกิจ

สรุป

การประกันภัยเริ่มขึ้นเมื่อประมาณ 3,000 ปีก่อนคริสต์ศตวรรษ โดยชาวบาบิโลเนียนBottomry เป็นสัญญากู้ยืมเงิน

Respondentia เป็นสัญญาเกี่ยวกับสินค้าการประกันภัยในรูปแบบที่เป็นอยู่ปัจจุบันนี้ เริ่มขึ้นประมาณคริสต์ศตวรรษที่ 15จุดกำเนิดคือ ร้านขายกาแฟในกรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษของ Enward Lioydในเวลาต่อมา คือ Lioyds of London

สำหรับประเทศไทยการประกันภัยเริ่มเป็นที่รู้จักในสมัยรัชกาลที่ 3 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์เป็นการประกันวินาศภัยแต่การประกันชีวิตในประเทศไทยเริ่มครั้งแรกในรัชกาลที่ 5 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์

การควบคุมกิจการประกันภัยโดยภาครัฐ

พ.ศ. 2472 โดยกองการประกันภัย สังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชและคมนาคม

พ.ศ. 2476 โดยกองควบคุมบริษัทประกันภัย กระทรวงเศรษฐการ

พ.ศ. 2484 โดยแผนกควบคุมบริษัทประกันภัย กระทรวงเศรษฐการ

พ.ศ. 2495 โดยกองประกันภัย กระทรวงเศรษฐการ

พ.ศ. 2515 โดยสำนักงานประกันภัย กระทรวงพาณิชย์

พ.ศ. 2550-ปัจจุบัน โดยสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย กระทรวงการคลังทุกวันที่ 1 กันยายน ถือเป็นวันประกันภัยไทย

องค์ประกอบของ คปภ.

1. ปลัดกระทรวงการคลัง เป็นประธาน

2. ปลัดกระทรวงพาณิชย์

3. เลขาธิการคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค

4. ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย

5. เลขาธิการสำนักงานหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์

6. ผู้ทรงคุณวุฒิไม่น้อยกว่า 6 คน แต่ไม่เกิน 8 คน

7. เลขาธิการสำนักงาน คปภ. เป็นกรรมการและเลขานุการ