หน่วยที่ 2 ประเภทหรือรูปแบบของการค้าปลีกและการค้าส่ง

ทำแบบทดสอบก่อนนะครับ

สาระสำคัญ

ธุรกิจค้าปลีกเป็นธุรกิจที่ขายสินค้าให้แก่ผู้บริโภคคนสุดท้ายโดยตรง และจะเป็นคนกลางระหว่างผู้ค่าส่งหรือผู้ผลิตกับผู้บริโภคคนสุดท้าย ส่วนธุรกิจค้าส่งเป็นธุรกิจที่มีคนกลางเป็นผู้ดำเนินการ โดยที่ผู้ผลิตขายสินค้าต่อให้แก่คนกลางและผู้ใช้ในอุตสาหกรรมและพาณิยชกรรมเป็นจำนวนครั้งละมากๆแต่อย่างไรก็ตามเพื่อให้การดำเนินงานของธุรกิจทั้งสองชนิดจึงควรมีกฏระเบียบวิธีปฏิบัติตามกฏหมายเข้ามาเกี่ยวข้องเพื่อเป็นแนวปฏิบัติไปในทิศทางเดียวกัน นอกจากนี้ยังมีปัจจัยต่าง ๆ ที่เข้ามาเกี่ยวข้องอีกจำนวนมากที่ผู้ประกอบการธุรกิจค้าปลีกและค้าส่งควรจะศึกษาและทำความเข้าใจจนนำไปสู่การปฏิบัติที่ถูกต้อง


การดำเนินกิจการค้าปลีกและกิจการค้าส่ง - chantana

1.1 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการประกอบอาชีพค้าปลีกค้าส่ง

ผู้ค้าปลีกจำเป็นต้องรู้จักหน้าที่ที่มีผู้ต่อผู้บริโภค และผู้ค้าส่งจำเป็นต้องรู้จักหน้าที่ที่มีต่อผู้ผลิตและผู้ค้าปลีก

- ลักษณะของการค้าปลีก

1. วิธีการค้าปลีก ได้แก่ โดยร้านค้าปลีก โดยทางจดหมาย โดยใช้พนักงานขายตามบ้าน และโดยใช้

เครื่องจำหน่ายอัตโนมัติ

2. อาชีพการค้าปลีก จำเป็นจะต้องมีความรอบรู้มีความสามารถในการด้านการจัดการ การบริหาร

การขาย การตัดสินใจ การบัญชี การบริหารสินค้า สินค้าคงเหลือ การวิจัย การเงิน การตลาด การ

โฆษณา การจัดวางสินค้า การแสดงสินค้า และการส่งเสริมการขาย

3. โอกาสในการประกอบอาชีพ

ร้านค้าปลีกขนาดใหญ่มักจะแบ่งการทำงานเป็นด้านต่าง ๆ ประมาณ 5 ด้านด้วยกัน คือ งาน

ด้านการสินค้า งานด้านการส่งเสริมการจำหน่าย งานด้านการบริหารร้านค้า งานด้านการ

ควบคุมทางการเงิน และงานด้านการบริหารบุคคล

- แนวโน้มการค้าปลีกในประเทศไทย

ในอนาคตเทรดเซ็นเตอร์ (Trade Center) ห้างสรรพสินค้าแต่ละแห่งเริ่มแตกสาขาเป็นร้านแบบ

ลูกโซ่ดักคนอยู่ตามชุมชนต่าง ๆ

- ลักษณะของการค้าส่ง

เป็นธุรกิจที่เกี่ยวกับช่องทางการจำหน่ายสินค้าจากผู้ผลิตไปยังผู้บริโภคมีบทบาททางด้านข้อมูล

ข่าวสารโดยเป็นสื่อกลางในการสะท้อนความต้องการของผู้บริโภคให้กับผู้ผลิต ทำให้ผู้ผลิต ผลิต

สินค้าได้ตรงตามความต้องการ

- แนวโน้มการค้าส่งในประเทศไทย

ความสำคัญของผู้ค้าส่งเริ่มลดลงเมื่อผู้ผลิตและผู้ค้าปลีกต่างมีขนาดใหญ่มากขึ้น ประกอบกับผู้ค้า

ปลีกขนาดใหญ่ได้นำเอาระบบการค้าปลีกแบบลูกโซ่ และระบบสิทธิทางการค้า (Chain and

Franchise System) เข้ามาใช้ดังนั้น ผู้ค้าส่งควรที่จะปรับปรุงการให้บริการที่ตรงกับความ

ต้องการของลูกค้า และพยายามหาทางตอบสนองความต้องการเหล่านั้นด้วยแนวคิดทางการตลาด

สมัยใหม่ เช่น ใช้เทคนิคการส่งเสริมการขายโดยขอความร่วมมือจากผู้ผลิตและผู้ค้าปลีก

1.2 การจัดตั้งและการหาทุนในการดำเนินงาน

ประเภทเงินทุนสำหรับกิจการเริ่มก่อตั้ง

ประเภทของเงินทุนที่กิจการต้องการเมื่อเริ่มธุรกิจ จะแตกต่างกันไปตามประเภทของธุรกิจที่ต้องการ

ทำ โดยสรุปแล้วไม่ว่าจะเป็นธุรกิจประเภทใด ความต้องการเงินทุนสามารถแยกได้เป็นดังนี้คือ

1. เพื่อใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียน ได้แก่ เงินสด หลักทรัพย์เปลี่ยนมือง่าย ลูกหนี้ สินค้า เป็นต้น

2. เพื่อลงทุนในสินทรัพย์ถาวร ได้แก่ ที่ดิน โรงงาน เครื่องจักร รถยนต์ เป็นต้น

3. เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานในระยะก่อนเริ่มและระยะแรกเริ่ม ได้แก่ค่าดอกเบี้ย ค่าน้ำประปา ค่าไฟฟ้า ค่าโทรศัพท์ ค่าเช่าสำนักงาน เงินเดือน ค่าแรงค่าซื้อวัตถุดิบ และค่าใช้จ่ายอื่น ๆ

4. เพื่อไว้ใช้ส่วนตัวและครอบครัวของผู้ประกอบการ การวางแผนจัดทำเงิ ควรจัดเตรียมไว้สำหรับการใช้ส่วนตัวของเจ้าของและครอบครัวในช่วงการดำ เนินงานในระยะแรก ไม่ควรเป็นค่าใช้จ่ายของธุรกิจ

แหล่งเงินทุน

เงินทุนที่จะทำการจัดหามาดำเนินธุรกิจสำหรับกิจการเพิ่งเริ่มก่อตั้งนั้น สามรถจัดหาได้จากแหล่งต่าง ๆ ดังนี้คือ

1. เงินออมของตนเอง เป็นเงินทุนจากแหล่งของเจ้าของในปริมาณสูง ก่อน จากการ กู้ยืม ชวนคนอื่นเข้าเป็นหุ้นส่วนหรือจากการขายหุ้น ทำให้ผู้ให้กู้ยืมเงินหรือผู้ร่วม ลงทุนหรือหุ้นส่วน จะได้แน่ใจว่าเงินจากส่วนของเจ้าของมีปริมาณสูงพอที่จะรับภาระหนี้สินของกิจการได้

2. เงินกู้นอกระบบ ส่วนใหญ่ได้แก่ การกู้ยืมจากญาติหรือเพื่อนหรือนายทุนเงินกู้

3. เงินกู้ยืมจากสถาบันทางการเงิน เป็นการกู้ยืมจากตลาดการเงินในระบบ ภายใน ขอบเขตของตัวบทกฎหมาย ระเบียบกฎเกณฑ์ตามที่กฎหมายระบุ สถาบันการเงินในประเทศไทย มีดังนี้คือ ธนาคารพาณิชย์ บริษัทเงินทุนและบริษัทหลักทรัพย์ ธนาคารออมสิน ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร บรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ธนาคารอาคารสงเคราะห์ สำนักงานธนกิจอุตสาหกรรมขนาดย่อม กิจการประกันชีวิต สหกรณ์การเกษตร สหกรณ์ออมทรัพย บริษัทเครดิตฟองซิเอร์ โรงรับจำนำ เป็นต้น

4.สินเชื่อการค้า เกิดขึ้นระหว่างธุรกิจกับธุรกิจที่ทำการติดต่อซื้อขายกัน โดยผู้ซื้อ สามารถชะลอเวลาการชำระเงินค่าสินค้าออกไปได้ระยะหนึ่ง เช่น 30วัน 60 วัน แล้วแต่จะตกลงกัน

5.ขายหุ้น ในกรณีที่ธุรกิจถูกจัดตั้งในรูปของบริษัท กิจการอาจทำการระดมทุนโดย การออกหุ้น ซึ่งหุ้นที่สามารถจัดจำหน่าย แบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ หุ้นสามัญ (Common Stock ) และหุ้นบุริมสิทธิ (Preferred Stock)

6. ชวนคนอื่นเป็นหุ้นส่วน การจัดหาเงินทุนมาจัดตั้งกิจการด้วยวิธีชวนคนอื่นมาเป็น หุ้นส่วน โดยตนเองเป็นหุ้นส่วนประเภทไม่จำกัดความรับผิดชอบ ส่วนหุ้นส่วนที่ ถูกชักชวนเข้ามาเป็นหุ้นส่วนประเภทจำกัดความรับผิดชอบ ซึ่งไม่สามารถเป็นผู้ จัดการได้

7. การเล่นแชร์ เป็นวิธีการช่วยเหลือทางการเงินโยอาศัยความเชื่อใจกันเป็นสาระสำคัญ โดยผู้เล่นแชร์หรือที่เรียกว่าลูกวง ต่างลงเงินจำนวนหนึ่งเท่ากันเป็นรายงวด ซึ่งอาจเป็นสัปดาห์ ครึ่งเดือน หรือเป็นเดือน จำนวนงวดจะมีจำนวนเท่ากับจำนวนลูก วงและเจ้ามือหรือเรียกว่า เท้า ในงวดแรกของการเริ่มเล่น เท้าจะเป็นผู้ได้เงินไปใช้ ก่อนโดยไม่ต้องเสียดอกเบี้ย ส่วนในงวดต่อๆ ไปจะมีการประมูลให้ดอกเบี้ยกันในระหว่างบรรดาลูกวง

1.3 ประเภทของร้านค้าปลีกค้าส่ง

ประเภทของร้านค้าปลีก แบ่งออกเป็น 3 กลุ่มใหญ่ ๆ คือ

กลุ่มที่ 1 ร้านค้าปลีกแบ่งตามลักษณะกรรมสิทธิ์

กลุ่มที่ 2 ร้านค้าปลีกแบ่งตามกลยุทธ์การดำเนินงานของร้านค้า

กลุ่มที่ 3 ร้านค้าปลีกแบ่งตามรูปแบบของร้านค้า

กลุ่มที่ 1 ร้านค้าปลีกแบ่งตามลักษณะกรรมสิทธิ์ สามารถแบ่งได้เป็น 5 ลักษณะ ได้แก่

1. ร้านค้าปลีกอิสระ ( Indendent Store ) การจัดการต่าง ๆ อาจขึ้นอยุ่กับบุคคลคนเดียว หรือบุคคลภายในครอบครัวหรือเพื่อนมากกว่า 80% ร้านค้าปลีกในลักษณะนี้มีให้เห็นกันทั่วไป เช่น ร้านเสริมสวย ร้านขายยาร้านขายของชำทั่วไป

2. ร้านค่าปลีกแบบลูกโซ่ (Cooperate Chain Store ) เป็นร้านค้าที่มีการเปิดสาขามากกว่าหนึ่งสาขาขึ้นไป ต้องมีระบบแบบแผนการดำเนินการเดียวกัน จะต้องมีมาตนฐานทั้งภาพลักษณ์ของร้านค้าหรือการบริการแบบเดียวกัน ในประเทศไทย ได้แก่ ห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัล เดอะมอลล์ร้านเซเว่นอีเลฟเว่น ร้านรองเท้าบาจา ร้านสุกี้หรือร้านอาหารต่าง ๆ

เป็นต้น

3. ร้านค้าปลีกแบบแฟรนไชส์ ( Franchise Store ) เป็นร้านที่มีการทำสัญญา ในเรื่องรายละเอียดของร้านค้าและวิธีการจัดการให้เหมือนกับร้านค้าปลีก เจ้าของกิจการต้นตำรับ เป็นการใช้ระบสิทธิทางการค้า

4.ร้านค้าปลีกแบบเช่าเฉพาะพื้นที่หรือฝากขาย (Leased Department หรืConsigment ) เจ้าของสินค้าเข้ามาขอเช่าสถานที่ในบริเวณห้างสรรพสินค้า เพื่อเปิดดำเนินการจำหน่าย โดยผู้ให้เช่าจะได้รับค่าเช่าตอบแทนตามแต่จะตกลงกัน ร้านค้าปลีกประเภทนี้ในวงการการค้าปลีกนิยมเรียกกันว่าการ ฝา กขาย (Consignment ) เช่น บู้ทขายเครื่อสำอาง สินค้าประเภทเครื่อง แต่งกาย ร้านทำกุญแจ ชั้นสวนสนุกหรือศุนย์อาหาร เป็นต้น

5. ร้านค้าปลีกแบบสหกรณ์ร้านค้า (Retail Consumer Cooperative) จะมีกา ขายหุ้นให้แก่ประชาชนโดยทั่วไป ผู้ซื้อหุ้นของสหกรณ์ถือว่าเป็นสมาชิก และเป็นเจ้าของร้านค้าด้วย สมาชิกจะได้รับส่วนแบ่งผลกำไรโดยการจัดสรร มาจากเงินปันผล ซึ่งผลกำไรที่สมาชิกได้รับมากน้อยเพียงใดขึ้นอยู่กับอัตร การซื้อของแต่ละคน เช่น สหกรณ์พระนคร สหกรณ์กรุงเทพฯ

กลุ่มที่ 2 ร้านค้าปลีกแบ่งตามกลยุทธ์การดำเนินงานของร้านค้า แบ่งได้เป็น 8 ลักษณะดังนี้

1. ห้างสรรพสินค้า (Department Store ) เป็นร้านค้าปลีกขนาดใหญ่ที่มีสินค้าไว้บริการแก่ลูกค้าจำนวนมาก การจัดวางสินค้าจะแบ่งออกเป็นแผนกอย่างชัดเจนสินค้าที่อยู่ในสายผลิตภัณฑ์เดียวกันก็จะถูกจัดไว้รวมกันหรือใกล้กัน มีพนักงานประจำแต่ละแผนกเพื่อคอยบริการแก่ลูกค้าอย่างเต็มที่ เช่น เซ็นทรัลโรบินสัน เดอะมอลล์ เป็นต้น

2 ร้านสรรพาหารหรือซูเปอร์มาร์เก็ต ( Supermarket ) เป็นร้านค้าปลีกที่เน้นจำหน่ายสินค้าอุปโภคบริโภคที่จำเป็นต่อชีวิตประจำวัน โดยให้ความสำคัญที่ความสด ใหม่ และความหลากหลายของอาหาร สินค้าที่ขายส่วนใหญ่ได้แก่ อาหารสด เครื่องกระป๋อง ของชำและสิ่งจำเป็นที่ใช้ในบ้าน เป็นการขายแบบบริการตนเอง ( Self service ) สำหรับประเทศไทยจะเห็นร้านค้าแบบซูเปอร์มาร์เก็ตอยู่ภายในห้างสรรพสินค้าหรืออยู่บริเวณชั้นล่างหรือชั้นใต้ดิน ร้านที่ไม่ได้รวมกับห้างสรรพสินค้า เช่น ฟู้ดแลนด์( Food Land )

3. ซูเปอร์สโตร์ ( Superstore ) เป็นร้านที่มีการพัฒนามาจากซูเปอร์มาร์เก็ตประกอบด้วยซูเปอร์มาร์เก็ตส่วนหนึ่ง และอีกร้อยละ 20 ถึงร้อยละ 25 ของการขาย จะเป็นสินค้าเครื่องใช้ในครัวเรือน เครื่องไฟฟ้า เสื้อผ้า เครื่องนุ่งห่มมาวางขายเพิ่มเติม

4. ไฮเปอร์มาร์ท ( Hyper mart ) หรือ Warehouse Store เป็นร้านค้าปลีกขนาดใหญ่ ที่เป็นการรวมเอาหลักการของร้านค้าแบบซูเปอร์สโตร์และร้านค้าแบบ (Discount Store ) มาเข้าด้วยกัน ไฮเปอร์มาร์ทแตกต่างจากซูเปอร์สโตร์คือ ขนาดใหญ่กว่ามาและสินค้าหลากหลายทั้งชนิด ขนาดและราคาถูกกว่า การจัดเรียงสินค้าจัดวางแบบคลังสินค้า (Warehouse ) การจัดการขายเป็นแบบบริการตนเอง เช่น แม็คโคร (Makro)

5. ร้านค้าสะดวกซื้อ ( Convenience Store ) เป็นร้านค้าที่จำหน่ายสินค้าอุปโภคบริโภคที่จำเป็นต่อชีวิตประจำวัน รวมทั้งจำหน่ายอาหารเครื่องดื่มประเภทฟาสต์ฟู้ด (Fast Food ) คืออาหารและขนมทีสั่งได้เร็ว ให้บริการตลอด 24 ชั่วโมง เช่น ร้านเซเว่นอีเลฟเว่น แฟมิลี่มาร์ท เป็นต้น

6. ร้านค้าปลีกแบบเน้นสินค้าราคาถูก ( Discount Store ) โดยทั่วไปจำหน่ายสินค้าประเภทเสื้อผ้า เครื่องนุ่งห่ม อุปกรณ์ไฟฟ้าต่าง ๆ ในราคาถูก มุ่งไปยังกลุ่มลูกค้าเป้าหมายระดับกลางไปถึงระดับต่ำ การจัดวางสินค้าให้เหมาะสม เพื่อให้สินค้าโฆษณาขายตัวมันเอง (Product sell itself ) ซึ่งอาจใช้วัสดุโฆษณา ณ จุดขาย (Point of sales material )

7. มินิมาร์ทหรือร้านสรรพาหารขนาดย่อม ( Mini-mart หรือ Superette) เป็นร้านที่ย่อส่วนของร้านซูเปอร์มาร์เก็ต ทั้งด้านพื้นที่ ชนิดและปริมาณของสินค้าที่จำหน่าย โดยยังคงวิธีการดำเนินงานและประเภทสินค้าที่จำหน่ายไว้เช่นเดียวกับร้านซูเปอร์มาร์เก็ต จากการสภาพการคมนาคาที่แออัดมาก พื้นที่ในเมืองหายากและมีราคาสูง แนวโน้มประชากรเริ่มกระจายออกสู่ชานเมืองมากขึ้น มินิมาร์ทจึงเหมาะที่จะแทรกตามตัวเมืองหรือชานเมืองที่ชุมขนยังไม่หนาแน่น

8. ร้านขายของชำหรือโชห่วย ( Grocery Store ) เป็นร้านค้าแบบดั้งเดิม จำหน่ายสินค้าอุปโภคบริโภคทั่วไป ดำเนินงานภายในครอบครัวหรือเพื่อน จัดได้ว่ามีจำนวนมากที่สุดในบรรดาร้านค้าปลีกแบบต่าง ๆ

กลุ่มที่ 3 ร้านค้าปลีกแบ่งตามรูปแบบของร้านค้า สามารถแบ่งได้เป็น 2 ลักษณะคือ

1. การค้าปลีกแบบมีร้านค้า ( Store operation )

2. การค้าปลีกแบบไม่มีร้านค้า ( Nonstore operatio)

1. การค้าปลีกแบบมีร้านค้า ได้แก่ร้านค้าปลีกแบบต่าง ๆ ดังที่ได้กล่าว ไว้แล้วในเรื่องร้านค้าปลีกแบ่งตามลักษณะกรรมสิทธิ์และร้านค้าปลีกแบ่งตามกลยุทธ์การดำเนินงานของร้านค้า

2. การค้าปลีกแบบไม่มีร้าน ได้แก่การขายแบบใช้ตู้อัตโนมัติ การขายโดยผ่านเครื่องมือสื่อสารต่าง ๆ เช่นทางโทรศัพท์ ทางไปรษณีย์ ทาง โทรทัศน์ โดยผ่านพนักงานขาย

ประเภทของร้านค้าส่ง

ผู้ค้าส่งสามารถแบ่งได้ 3 ประเภทใหญ่ ๆ ดังนี้

1. พ่อค้าขายส่ง ( Merchant Wholesalers )

2. ตัวแทนและนายหน้า ( Agent and Broker )

3. สาขาและสำนักงานขายของผู้ผลิต ( Manufacturers sales Branches and Offices )

1. พ่อค้าส่ง แบ่งได้ 2 ลักษณะ ดังนี้

1.1 ผู้ค้าส่งที่บริการอย่างเต็มที่ (Full-service Wholesalers ) เป็นผู้ ค้าส่งที่ให้บริการทุกอย่างที่สามารถจัดหาให้ได้ เช่น การให้เครดิต การช่วยเหลือในการจัดการหรือส่งเสริมการขายสินค้า

1.2 ผู้ค้าส่งที่บริการอย่างจำกัด ( Self-service Wholesalers ) เป็นผู้ค้าส่งขาย สินค้าเป็นเงินสด และขนส่งสินค้าเอง

2. ตัวแทนและนายหน้า

ตัวแทน จะได้รับมอบหมายให้ปฏิบัติงานในเวลาที่ยาวนาน มีสิทธิ์ทำกรรมสิทธิ์ในสัญญาซื้อขาย มีสิทธิ์รับเงินจากลูกค้าได้

นายหน้า ได้รับมอบหมายให้ปฏิบัติงานเพียงครั้งคราว ไม่มีสิทธิ์ทำสัญญาซื้อขาย หรือรับเงิน มีเยงการชักจูงให้ลูกค้าซื้อขายสินค้า

3. สาขาและสำนักงานขายของผู้ผลิต เป็นหน่วยงานที่ผู้ผลิตลงทุนสร้าง เพื่อมุ่งทำการค้าค้าส่งด้วยตนเอง โดยแยกหน่วยงานออกมาต่างหากจาก โรงงานผลิต