หน่วยที่ 2 หลักการจัดการผลิตภัณฑ์ท้องถิ่น

แนวคิด

การดำเนินการเกี่ยวกับการจัดการผลิตภัณฑ์ท้องถิ่น เป็นการคิดและสร้างสรรค์โดยชุมชนที่พิจารณา ทรัพยากรในท้องถิ่นผสานเข้ากับวัฒนธรรมและอัตลักษณ์ของท้องถิ่น ออกมาเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีความ แตกต่างจากผลิตภัณฑ์ของชุมชนอื่น โดยมีรัฐบาลให้ความช่วยเหลือ ให้คำปรึกษาด้านต่าง ๆ ทั้งนี้รัฐบาล ได้มีการจัดการเพื่อสนับสนุนให้ชุมชนมีความรู้ ทักษะ และวิธีการดำเนินงานที่มีประสิทธิภาพเพื่อให้ ประสบความสำเร็จ สามารถพึ่งพาตนเองได้ และทำให้ชุมชนเข้มแข็ง

าระการเรียนรู้

1. การดำเนินการเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ท้องถิ่น 2. ศูนย์บริการส่งเสริมเศรษฐกิจฐานราก

3. การจัดการเครือข่าย OTOP 4. การพัฒนาเยาวชนเพื่อการอนุรักษ์และสืบสานภูมิปัญญาท้องถิ่น

5. การคัดสรรสุดยอดหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ไทย

ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง

1. แสดงความรู้เกี่ยวกับการดำเนินการเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ท้องถิ่นได้

2. แสดงความรู้เกี่ยวกับศูนย์บริการส่งเสริมเศรษฐกิจฐานรากได้

3. แสดงความรู้เกี่ยวกับการจัดการเครือข่าย OTOP ได้

4. แสดงความรู้เกี่ยวกับการพัฒนาเยาวชนเพื่อการอนุรักษ์และสืบสานภูมิปัญญาท้องถิ่นได้

5. แสดงความรู้เกี่ยวกับการคัดสรรสุดยอดหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ไทยได้

การดำเนินการเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ท้องถิ่น

ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีทรัพยากรยุดมสมบูรณ์ หากมีการจัดการทรัพยากรอย่างเห็นคุณค่า และถูกวิธี ทรัพยากรเหล่านั้นจะสามารถสร้างมูลค่าได้อย่างมหาศาล หน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องพยายาม หาแนวทางเพื่อการส่งเสริมให้ประชาชนสามารถนำทรัพยากรที่มีอยู่ในท้องถิ่นมาใช้ให้เกิดประโยชน์ อย่างสูงสุดในการอุปโภค บริโภคในครัวเรือนเพื่อลดการพึ่งพาสินค้าจากแหล่งอื่น เป็นการประหยัดรายจ่าย ใช้ชีวิตอย่างพอเพียงตามแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และนอกจากนี้ยังส่งเสริมให้ ประชาชนนำสิ่งที่ผลิตได้ออกจำหน่าย เพื่อสร้างรายได้ให้แก่ตนเองและครอบครัวอีกด้วย

แนวทางการพัฒนาประเทศตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติหลายฉบับที่ผ่านมา มีแนวทางที่ต้องการพัฒนาประเทศให้มีความเข้มแข็งมีความเจริญเทียบเท่าประเทศอื่นๆ ที่พัฒนาแล้วในโลก โดยเฉพาะแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 11 (พ.ศ. 2555-2559) ได้น้อมนำหลักปรัชญา เศรษฐกิจพอเพียงไปประยุกต์ใช้ กรมพัฒนาชุมชนกระตุ้นให้ชุมชนต่างๆ มีการรวมตัวกันสร้างสรรค์ ผลิตภัณฑ์ท้องถิ่นโดยนำทรัพยากรที่มีอยู่มาผลิตเป็นสินค้าเพื่อการจำหน่าย สร้างรายได้แก่ตนเอง และชุมชน พร้อมทั้งยังมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องเพื่อให้การดำเนินงานมีการขยายตัวทั้งด้านการพัฒนา การผลิต การพัฒนาคุณภาพของสินค้า และพัฒนาช่องทางการจัดจำหน่าย เพื่อการกระจายสินค้า ให้กว้างมากที่สุด ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาจึงได้เกิดโครงการต่างๆ เพื่อสนองรับแนวทางการดำเนินงาน ตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ

ตามแนวความคิดการจัดการผลิตภัณฑ์ท้องถิ่นเกิดขึ้นจากการหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ให้ประชาชนทุกระดับดำเนินชีวิตแบบทางสายกลาง อยู่ในความพอเพียง เพื่อให้สามารถอยู่รอดได้ในโลกปัจจุบันที่มีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว ซึ่งการดำเนินชีวิตประกอบด้วย คุณลักษณะ 3 ประการ ได้แก่ ความพอประมาณ ความมีเหตุผล และการมีภูมิคุ้มกันที่ดี จากคุณลักษณะ ของความพอประมาณ เน้นให้ประชาชนมีความเป็นอยู่ที่ไม่เกินความจำเป็น นำทรัพยากรที่มีอยู่มาผลิต เพื่อการอุปโภค บริโภคในครัวเรือน หากมีเหลือให้นำไปจำหน่ายเพื่อสร้างรายได้แก่ตนเองและครอบครัว จึงก่อให้เกิดผลิตภัณฑ์ท้องถิ่นขึ้น

กรมพัฒนาชุมชนเป็นหน่วยงานสำคัญในการผลักดัน ส่งเสริมและพัฒนาผลิตภัณฑ์ท้องถิ่นให้มี การขยายตัว สามารถเข้าสู่ตลาดภายนอกชุมชน หรือบางรายอาจไปถึงตลาดต่างประเทศได้ ประกอบกับ รัฐบาลยังได้จัดทำโครงการไทยเข้มแข็ง สนับสนุนงบประมาณให้กระทรวง หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง นำงบประมาณไปใช้ในการพัฒนางานในหน้าที่ที่รับผิดชอบให้สามารถบรรลุเป้าหมายได้ง่ายขึ้น

ในส่วนของการจัดการการพัฒนาผลิตภัณฑ์ท้องถิ่น กรมพัฒนาชุมชนได้ดำเนินการภายใต้โครงกา หนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ มีการส่งเสริมให้หมู่บ้านต่างๆ ร่วมกันคิดสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ของตนเองโดยใช้ ทรัพยากรที่มีอยู่ในท้องถิ่น โดยแบ่งผลิตภัณฑ์ออกเป็น 5 ประเภท ได้แก่

1. ประเภทอาหาร 2. ประเภทเครื่องดื่ม 3. ประเภทผ้า เครื่องแต่งกาย

4. ประเภทของใช้/ของตกแต่ง/ของที่ระลึก 5. ประเภทสมุนไพรที่ไม่ใช่อาหาร

การขับเคลื่อนตามโครงการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ จะต้องมีการประสานงาน และร่วมมือกัน ระหว่างรัฐบาลและเอกชน โดยการดำเนินการโครงการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์มีหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ดังนี้

1. ส่วนกลาง ประกอบด้วย

• กระทรวงมหาดไทย มีหน้าที่หลักเกี่ยวกับการค้นหาผลิตภัณฑ์และข้อมูลพื้นฐานตลอดจน เสริมสร้างความเข้มแข็งของกลุ่มคนและชุมชน

• กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ มีหน้าที่หลักในการส่งเสริมการผลิต จัดหาวัตถุดิบ ควบคุมคุณภาพของวัตถุดิบ และพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่

• กระทรวงอุตสาหกรรม และกระทรวงสาธารณสุข มีหน้าที่หลักในการกำหนดมาตรฐาน และหลักเกณฑ์ในการคัดเลือกผลิตภัณฑ์

• กระทรวงพาณิชย์และภาคเอกชน ดูแลเกี่ยวกับการส่งเสริมการตลาด การจัดจำหน่าย การกระจายสินค้า สิทธิบัตรและเครื่องหมายการค้า

• กระทรวงวิทยาศาสตร์และภาคเอกชน เป็นหน่วยงานหลักในการประชาสัมพันธ์

• สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา มีหน้าที่หลักในการติดตามและประเมินผล

• สำนักนายกรัฐมนตรี มีหน้าที่หลักในการวิเทศสัมพันธ์ให้ความช่วยเหลือด้านเทคนิคและ เงินทุนจากต่างประเทศ

2. ส่วนภูมิภาค ประกอบด้วย

• คณะอนุกรรมการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ (นตผ.) จังหวัด โดยมีผู้ว่าราชการจังหวัด เป็นประธาน และมีพัฒนาการจังหวัดเป็นอนุกรรมการและเลขานุการ

• คณะกรรมการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ (นตผ.) อำเภอและกิ่งอำเภอ โดยมีนายอำเภอ หรือปลัดอำเภอผู้เป็นหัวหน้าประจำกิ่งอำเภอเป็นประธาน มีพัฒนาการอำเภอและกิ่งอำเภอ อนุกรรมการและเลขานุการ

ภารกิจหลักของส่วนภูมิภาค คือ การคัดเลือกผลิตภัณฑ์เด่นๆ ของตำบลมาเสนอต่อ คณะกรรมการอำนวยการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์แห่งชาติ และยังทำหน้าที่เกี่ยวกับการบูรณาการ แผนงาน ดูแลงบประมาณของส่วนราชการในส่วนภูมิภาค โดยขั้นตอนในการบริหาร มีดังนี้

ขั้นตอนที่ 1 องค์การบริหารส่วนตำบลคัดเลือกผลิตภัณฑ์ดีเด่นของตำบล

ขั้นตอนที่ 2 คณะอนุกรรมการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ (นตผ.) ระดับอำเภอ และกิ่งอำเภอ จัดลำดับผลิตภัณฑ์ดีเด่นของแต่ละตำบล อำเภอ และกิ่งอำเภอ บูรณาการแผนงานและจัดสรรงบประมาณ เพื่อการสนับสนุน

ขั้นตอนที่ 3 คณะอนุกรรมการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ (นตผ.) จังหวัด จัดลำดับผลิตภัณฑ์ ดีเด่นของอำเภอต่าง ๆ ในจังหวัด บูรณาการแผนงานและจัดสรรงบประมาณเพื่อการสนับสนุน

ขั้นตอนที่ 4 คณะอนุกรรมการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ (นตผ.) กำหนดเกณฑ์หนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ และขึ้นบัญชีเสนอคณะรัฐมนตรี

รับทราบ

ขั้นตอนที่ 5 คณะอำนวยการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ให้การสนับสนุนให้เป็นไปตามนโยบาย

ปัจจัยสำคัญในการดำเนินงานตามโครงการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์

การดำเนินงานตามโครงการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ให้ประสบความสำเร็จ จะต้องอาศัย ความร่วมมือจากหลายฝ่าย ดังนี้

ระบบราชการ กระบวนการของโครงการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ เป็นการสร้างการพัฒนา จากภายใน การดำเนินการมิใช้เป็นการสั่งการหรือแนะนำโดยภาครัฐ แต่เป็นการคิดและการทำ จากล่างสู่บนโดยประชาชนมีส่วนร่วม ราชการเป็นผู้คอยติดตามการดำเนินงานเพื่อสรุปเป็นรายงาน ซึ่งแต่ละจังหวัด เมือง อำเภอ หมู่บ้าน มีวิธีการที่แตกต่างกันออกไป

1. ในระบบราชการ มีจังหวัดเป็นฐานของระบอบการปกครองโดยไม่ได้สร้างระบบช่วยเหลือต่าง ๆ ไว้รองรับโดยตรง มีเพียงหน่วยงานเล็ก ๆ คอยรองรับเรื่องราวต่าง ๆ ตลอดจนติดตามการฟื้นฟูท้องถิ่น ว่ามีความก้าวหน้าไปเพียงใด สำนักงานเล็ก ๆ ของจังหวัดนี้จะทำการออกสำรวจเพื่อประเมิน รวบรวม ข้อมูลข่าวสารเท่านั้น

ในระดับตำบล และหมู่บ้านตลอดจนการบริหารส่วนท้องถิ่นต่าง ๆ จะมีการรวมกลุ่มกันของประชาชน โดยมีเจ้าหน้าที่ระดับล่างของจังหวัด เป็นพี่เลี้ยง ช่วยเหลือ ผลักดัน และสนับสนุนการพัฒนาให้ผ่าน ขั้นตอนต่าง ๆ ของโครงการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์

ภายใต้การดำเนินงานตามโครงการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ ศูนย์ที่คอยช่วยเหลือเพื่อสอนเทคนิค การผลิต การแปรรูปผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ จะใช้งบประมาณของหน่วยราชการในระดับล่าง หรือตำบล หมู่บ้าน ซึ่งจะมีเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบด้านต่าง ๆ ของหน่วยงานที่จัดขึ้น เป็นผู้คอยให้ความช่วยเหลือ

2. บริษัท จังหวัดต้องการการมีส่วนร่วมของบริษัทในท้องถิ่น หากบริษัทเหล่านั้นต้องการ มีส่วนร่วมในการพัฒนา เพราะจังหวัดเชื่อว่าบริษัทในท้องถิ่นจะรับผิดชอบและร่วมแก้ปัญหากับประชาชนในพื้นที่โดยตรง

3. ผู้นำ ผู้นำมีส่วนสำคัญต่อความสำเร็จของโครงการ ผู้นำในที่นี้หมายรวมถึง กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน และผู้นำธรรมชาติที่มาจากภาคประชาชน เช่น จากสหกรณ์ชาวนา ผู้บริหารโรงงาน ผู้บริหารสถานที่อื่น ๆ ซึ่งผู้นำเหล่านี้จะทราบถึงความต้องการของชุมชน และสามารถเป็นตัวแทนความต้องการของชุมชนได้

4. องค์กรประชาชน ได้แก่ สหกรณ์ของกลุ่มเกษตรกรต่าง ๆ หอการค้า กลุ่มผู้บริโภค เป็นต้น กลุ่มเหล่านี้เป็นตัวแทนของผลประโยชน์ประชาชนต่าง ๆ เพื่อการผลิต การวางแผนกลยุทธ์ต่าง ๆ ด้านการตลาด เป็นต้น

การจัดทำฐานข้อมูลและผู้ประกอบการ OTOP

กรมการพัฒนาชุมชนได้รับมอบหมายให้จัดทำ ฐานข้อมูลผู้ผลิต ผู้ประกอบการ OTOP เพื่อตรวจสอบ ความถูกต้องของข้อมูล และเพิ่มเติมข้อมูลผู้ผลิต และผู้ประกอบการ OTOP ทั้งผู้ประกอบการรายเดิม และผู้ประกอบการรายใหม่ เพื่อให้ได้ข้อมูลที่เป็น ปัจจุบัน โดยกรมการพัฒนาชุมชนได้ดำเนินการ ลงทะเบียนผู้ผลิต และผู้ประกอบการ OTOP ทุก ๆ 2 ปี ข้อมูลที่เป็นปัจจุบันดังกล่าวจะนำไป ใช้ประโยชน์สำหรับการกำหนดแผนการส่งเสริมและ พัฒนาได้อย่างเหมาะสม

ศูนย์บริการส่งเสริมเศรษฐกิจฐานราก

จากการที่รัฐบาลมีนโยบายสร้างชุมชนให้เกิดความเข้มแข็ง โดยการพัฒนาศักยภาพของชุมชน สร้างรายได้ให้ชุมชนอย่างยั่งยืน ส่งเสริมให้ชุมชนนำทรัพยากรในท้องถิ่นมาใช้ในการพัฒนาอาชีพ และ รัฐบาลยังให้การสนับสนุนองค์ความรู้การเข้าถึงแหล่งเงินทุน และพัฒนาขีดความสามารถการบริหารจัดการ ในการประกอบอาชีพ จึงได้กำหนดยุทธศาสตร์การพัฒนาเศรษฐกิจของชุมชนให้เข้มแข็ง โดยต้องการให้ ประชาชนในหมู่บ้านมีความมั่นคงทางเศรษฐกิจ กลยุทธ์สำคัญที่นำมาใช้ได้แก่ บูรณาการส่งเสริมเศรษฐกิจ ชุมชนด้วยหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง จึงได้มีการจัดตั้ง “ศูนย์บริการส่งเสริมเศรษฐกิจชุมชน ครบวงจร” ขึ้น โดยมีเป้าหมายสูงสุดภายใต้วิสัยทัศน์ “ชุมชนเข้มแข็ง เศรษฐกิจรากฐานมั่นคง” ภายหลังเปลี่ยนชื่อเป็น “ศูนย์บริการส่งเสริมเศรษฐกิจฐานราก”


ศูนย์บริการส่งเสริมเศรษฐกิจฐานราก เป็นศูนย์กลางการให้บริการทางวิชาการและพัฒนา ขีดความสามารถด้านการพัฒนาเศรษฐกิจของชุมชน ดังนี้

1.เป็นช่องทางในการเชื่อมโยงการใช้ทรัพยากรจากแหล่งทุน แหล่งผลิต แหล่งตลาด แหล่งความรู้ทั้งภาครัฐและเอกชน

2. เป็นกลไกขับเคลื่อนให้มีการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการแหล่งทุน กลุ่มอาชีพ กลุ่มผู้ผลิต ผู้ประกอบการ OTOP สำหรับสร้างงาน สร้างอาชีพ และสร้างรายได้แก่ชุมชน เพื่อส่งต่อให้ประชาชน ในหมู่บ้านมีความมั่นคงทางเศรษฐกิจ ด้วยการสนับสนุนและส่งเสริมเชื่อมโยงการพัฒนาชุมชน ระหว่าง ทวิภาคีการพัฒนาในระดับอำเภอ

ภารกิจของศูนย์บริการส่งเสริมเศรษฐกิจฐานราก

ภารกิจของศูนย์บริการส่งเสริมเศรษฐกิจฐานราก มีดังนี้

1. ด้านการศึกษา ศูนย์บริการส่งเสริมเศรษฐกิจฐานรากจะต้องศึกษาหาความรู้ ให้รู้เท่าทัน สถานการณ์ด้านเศรษฐกิจ วิเคราะห์ปัญหาและความต้องการของผู้ใช้บริการ จุดอ่อน จุดแข็งของศูนย์ฯ ของลูกค้า ตำแหน่งทางเศรษฐกิจ เอกลักษณ์ อัตลักษณ์ เพื่อกำหนดเป็นจุดขายของอำเภอ

2. ด้านการให้บริการ ประกอบด้วย การให้บริการข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการประกอบอาชีพข้อมูลการลงทะเบียน OTOP และการคัดสรรสุดยอดหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ไทย ข้อมูลการจ้างงานข้อมูลราคาผลิต ข้อมูลการผลิต การตลาด แหล่งเงินทุน รวมถึงองค์ความรู้ใหม่ๆ ที่จำเป็นต่อการดำเนินงานจัดการผลิตภัณฑ์ท้องถิ่น

3. ด้านการสนับสนุน วัสดุ อุปกรณ์ และความรู้ เป็นการสนับสนุนสื่อ วัสดุ อุปกรณ์ และความรู้ด้านเศรษฐกิจ รวมถึงการจัดหาวิทยากร หรือผู้เชี่ยวชาญเพื่อให้ความรู้ด้านการตลาด การผลิต การออม การสร้างรายได้ การประกอบอาชีพ หรือความรู้อื่น ๆ ที่สำคัญเหมาะสมและมีประโยชน์สำหรับการดำเนินการ

4. ต้านการสนับสนุนสถานที่ ได้แก่ สถานที่สำหรับใช้ในการเจรจาธุรกิจ หรือแลกเปลี่ยนความรู้กัน

5. ด้านการส่งเสริมการประกอบอาชีพ ส่งเสริมการประกอบอาชีพของประชาชนเพื่อการ สร้างรายได้เพิ่มขึ้นรวมไปถึงด้านการลงทุนและการออมด้วย

6. ด้านการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ จัดเวทีสัมมนาในเรื่องที่ผู้ใช้บริการให้ความสนใจ หรือเป็นเรื่องที่ กับความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นของประชาชน หรือจัดในรูปแบบของการบริการเคลื่อนที่ การจัดกิจกรรม หรือ เชิญผู้ประสบความสำเร็จมาถ่ายทอดความรู้ ทักษะ และประสบการณ์แก่ประชาชน

7. ด้านการประสานงาน กรณีที่ศูนย์ฯ ไม่สามารถให้บริการได้ อาจเนื่องมาจากไม่มีความรู้ มีผู้เชียวชาญ ศูนย์ฯ อาจส่งต่อ หรือแนะนำไปยังหน่วยงานที่มีภารกิจเฉพาะด้านนั้น ๆ

รูปแบบการให้บริการของศูนย์บริการส่งเสริมเศรษฐกิจฐานราก

การให้บริการของศูนย์ฯ มีรูปแบบต่าง ๆ ได้แก่ การบริการ ณ ที่ตั้งของศูนย์ฯ ผู้รับบริการสามารถ มาขอรับบริการได้ อีกรูปแบบหนึ่งคือ การจัดกิจกรรมเคลื่อนที่ ตามความต้องการของชุมชน อาจเป็นใน รูปแบบของการอบรมอาชีพระยะสั้น การให้คำปรึกษาการสร้างอาชีพ การสร้างรายได้ เป็นต้น และใน รูปแบบสุดท้ายคือ การให้บริการผ่านสื่อ เช่น วิทยุ โทรทัศน์ เป็นต้น

บทบาทหลักศูนย์บริการส่งเสริมเศรษฐกิจฐานราก

บทบาทหลักศูนย์บริการส่งเสริมเศรษฐกิจฐานราก มีดังนี้

1. ค้นหาความต้องการของผู้รับบริการด้านภูมิปัญญา ฝีมือ ทักษะ วัสดุ อุปกรณ์ หรือความคิด ร้างสรรค์ที่มีอยู่ในท้องถิ่น เพื่อนำมาต่อยอดให้เกิดประโยชน์ในการประกอบอาชีพ

2. สนับสนุนองค์ความรู้ด้านต่าง ๆ ให้ผู้รับบริการสามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้

3. สนับสนุนช่องทางการตลาด เพื่อแนะนำให้ผู้ผลิต ผู้ประกอบการ มีช่องทางสำหรับการจำหน่าย สินค้าในราคาที่มีกำไร และลดความเสี่ยงในการประกอบอาชีพ

การจัดการเครือข่าย OTOP

ตามภารกิจของกรมการพัฒนาชุมชนที่ได้รับมอบหมายในการส่งเสริมและพัฒนาเศรษฐกิจฐานราก ให้มีความมั่นคง ส่งเสริมให้ชุมชนเกิดการเรียนรู้ พัฒนาอาชีพ พัฒนาผลิตภัณฑ์ท้องถิ่น และเชื่อมโยงสู่ โครงการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ โดยอธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน เป็นกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ ในคณะกรรมการอำนวยการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์แห่งชาติ และอื่น ๆ อีกหลายตำแหน่ง ตามระเบียบ สำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยคณะกรรมการอำนวยการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์แห่งชาติ พ.ศ. 2544 และ พ.ศ. 2545

กรมการพัฒนาชุมชนได้ดำเนินการด้านการจัดการ เครือข่าย OTOP เพื่อการพัฒนาและเพิ่ม ศักยภาพของผู้ผลิต ผู้ประกอบการสินค้า OTOP ด้วยการสร้างโอกาสให้ผู้ผลิต ผู้ประกอบการ OTOP ได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อการนำความรู้ที่ได้รับมาพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้มีคุณภาพและมาตรฐาน สามารถเผชิญการแข่งขันได้ จึงสามารถสรุปเหตุผลสำคัญของการจัดการเครือข่าย OTOP ได้ดังนี้

1. เพื่อเป็นรากฐานทางเศรษฐกิจของชุมชน และสร้างให้เกิดการหมุนเวียนรายได้ภายในชุมชน อย่างยั่งยืน

2. เพื่อเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันให้กับผลิตภัณฑ์ OTOP โดยการเปลี่ยนคู่แข่งให้เป็นคู่ค้า

3. เพื่อให้เกิดพลังในการพัฒนาการผลิต คุณภาพมาตรฐานของผลิตภัณฑ์ และพัฒนา ในเชิงปริมาณการผลิต

4. เพื่อมีเครือข่ายในการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต และการส่งเสริมตลาดทั้งภายในและภายนอก ประเทศ

ขั้นตอนการดำเนินงาน

ขั้นตอนการดำเนินงาน ดังนี้

1. จัดทำฐานข้อมูลรวบรวมรายชื่อผู้ผลิต ผู้ประกอบการ OTOP

2. เสริมสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับความสำคัญ ประโยชน์ และความจำเป็นของการจัดตั้งเครือข่าย OTOP ในระดับต่าง ๆ (อำเภอ จังหวัด)

3. กำหนดโครงสร้าง บทบาท หน้าที่ ขอบเขตความรับผิดชอบของเครือข่าย และความสัมพันธ์ ต่าง ๆ ที่เชื่อมโยงต่อกัน

4. คัดเลือกคณะกรรมการเครือข่าย ในจำนวนที่เหมาะสม เพื่อรับผิดชอบในการบริหารและ ประสานงานเครือข่าย

5. กำหนดแนวทางและเป้าหมายการดำเนินงานของเครือข่ายเพื่อเป็นเครื่องมือในการดำเนินงาน ของเครือข่าย

6. ประกาศรายชื่อและจัดทำทะเบียนคณะกรรมการเครือข่ายจัดส่งจังหวัด และกรมการ พัฒนาชุมชน

ภารกิจของเครือข่าย OTOP

การสร้างเครือข่ายเป็นการเชื่อมโยงผู้ผลิต ผู้ประกอบการ OTOP แต่ละรายเข้าด้วยกัน เพื่อให้เกิดการประสาน การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ โดยมีเป้าหมายเพื่อให้เกิดความเข้มแข็งสามารถพัฒนา ผลิตภัณฑ์ให้ทัดเทียมผลิตภัณฑ์อื่นในตลาดได้ เมื่อเกิดเครือข่ายขึ้นแล้ว เครือข่ายแต่ละระดับต่างมีภารกิจ และหน้าที่ที่แตกต่างกันออกไป

1. ภารกิจของเครือข่าย OTOP ระดับอำเภอ มีดังนี้

1) ส่งเสริมการพัฒนาผลิตภัณฑ์ OTOP ในระดับอำเภอให้มีคุณภาพ มาตรฐาน มีการพัฒนา นวัตกรรมเพื่อนำมาใช้ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ด้วย

2) ส่งเสริมการตลาด และธุรกิจสินค้า OTOP ภายในจังหวัด

3) เสริมสร้างความเข้มแข็งระบบ Cluster OTOP (การสร้างเครือข่ายประเภทผลิตภัณฑ์ OTOP) ให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผล

4) เสริมสร้างศักยภาพความสามัคคี และความเป็นเอกภาพของเครือข่าย OTOP ระดับอำเภอ

5) ส่งเสริมและสนับสนุนให้เกิดผู้ผลิต ผู้ประกอบการรายใหม่ เข้าสู่ระบบ

2. ภารกิจของเครือข่าย OTOP ระดับจังหวัด มีดังนี้

1) ส่งเสริมการพัฒนาผลิตภัณฑ์ OTOP ในระดับจังหวัดให้มีคุณภาพ มาตรฐาน มีการพัฒนา นวัตกรรมเพื่อนำมาใช้ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ด้วย

2) ส่งเสริมการตลาด และธุรกิจ OTOP ภายในจังหวัด

3) ส่งเสริมการจัดตั้งศูนย์จำหน่ายและกระจายสินค้า OTOP จังหวัด

4) บริหารจัดการระบบ Cluster OTOP ให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผล

5) ส่งเสริมศักยภาพ ความสามัคคี และความเป็นเอกภาพของเครือข่ายในทุกระดับ

6) จัดระบบข้อมูลและกลไกในการพัฒนา OTOP ภายในจังหวัด

7) จัดระบบข้อมูลและกลไกพัฒนา OTOP ให้สามารถใช้ประโยชน์ในการสนับสนุนการพัฒนา ผลิตภัณฑ์ได้

3. ภารกิจของเครือข่าย OTOP ระดับประเทศ มีดังนี้

1) สนับสนุนการบริหารนโยบายยุทธศาสตร์ OTOP

2) สนับสนุนการบริหารจัดการระดับเครือข่ายทุกระดับ

3) เสริมสร้างความเข้มแข็ง OTOP ทุกมิติ

4) ส่งเสริมการบริหารจัดการธุรกิจ OTOP

5) เสริมสร้างศักยภาพ ความสามัคคี และความเป็นเอกภาพของเครือข่ายทุกระดับ

6) บริหารจัดการระบบ Cluster OTOP ให้เกิดประสิทธิภาพ และประสิทธิผล

7) จัดระบบข้อมูลและกลไกการพัฒนา OTOP ให้สามารถใช้ประโยชนเป็นการสนับสนุน การพัฒนา OTOP

8) ส่งเสริมและสนับสนุนให้ OTOP สร้างคุณประโยชน์แก่สมาชิก และให้มีบทบาทในการเป็นกลุ่มอาชีพ

การพัฒนาเยาวชนเพื่อการอนุรักษ์และสืบสานภูมิปัญญาท้องถิ่น

สืบสานภูมิปัญญาท้องถิ่น สืบเนื่องจากการดำเนินการโครงการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ เมื่อ พ.ศ. 2544 เพื่อสร้างความเข้มแข็งแก่ชมชุนสามารถยกระดับความเป็นอยู่ของคนในชุมชนให้ดีขึ้น มีการจัดสรรทรัพยากรที่มีอยู่ในท้องถิ่นเพื่อผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพและมีจุดเด่น เป็นเอกลักษณ์และสอดคล้องกับวัฒนธรรมในท้องถิ่น กรมการพัฒนาชุมชนได้ตระหนักถึงการอนรักษ์และการสืบสานภูมิปัญญาท้องถิ่นให้คงอยู่ในชุมชน และเกิดการต่อยอดองค์ความรู้ของชุมชนสืบไป จึงส่งเสริมให้เยาวชนได้มีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ สืบสานภูมิปัญญาท้องถิ่น พัฒนาองค์ความรู้ของเยาวชนด้านการผลิตสินค้า OTOP และส่งเสริมให้เยาวชน เข้าสู่การเป็นผู้ประกอบการรุ่นใหม่ จึงได้จัดทำ “โครงการพัฒนาเยาวชนเพื่อการอนุรักษ์และสืบสาน ภูมิปัญญาท้องถิ่นและพัฒนาอาชีพ” โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นเยาวชนในพื้นที่จังหวัด อายุระหว่าง 15-25 ปี

การดำเนินงาน

กรมการพัฒนาชุมชนดำเนินงานตามโครงการพัฒนาเยาวชนเพื่อการอนุรักษ์และสืบสาน ภูมิปัญญาท้องถิ่นและพัฒนาอาชีพ โดยหลังจากที่ได้มีการกำหนดแนวทางและรายละเอียดของ โครงการแล้ว จึงประกาศรับสมัครเยาวชน และคัดเลือกผู้ที่มีคุณสมบัติตามที่ต้องการ จากนั้นจึงจัดกิจกรรม สำหรับเยาวชนดังนี้

1. กิจกรรมพัฒนาศักยภาพเยาวชนด้านการอนุรักษ์และสืบสานภูมิปัญญาท้องถิ่น กระทำโดย จัดค่ายเยาวชน OTOP ให้เยาวชนได้เรียนรู้ความเป็นมาของ OTOP ฝึกปฏิบัติผลิตภัณฑ์ OTOP ทั้ง 5 ประเภท เรียนรู้และบันทึกเกี่ยวกับภูมิปัญญาท้องถิ่น เรียนรู้การเพิ่มมูลค่าของผลิตภัณฑ์และการพัฒนา ผลิตภัณฑ์ที่มีอยู่ในชุมชนด้วย

2. กิจกรรมเพิ่มพูนทักษะเยาวชนด้านการอนุรักษ์และสืบสานภูมิปัญญาท้องถิ่น ทำการคัดเลือก เยาวชนที่ผ่านกิจกรรมพัฒนาศักยภาพเยาวชนด้านการอนุรักษ์และสืบสานภูมิปัญญาท้องถิ่นแล้ว เพื่อให้เรียนรู้การทำผลิตภัณฑ์ที่เป็นภูมิปัญญาจากภูมิปัญญา โดยเยาวชนจะได้เรียนรู้ตั้งแต่ประวัติ ความเป็นมาของการผลิตผลิตภัณฑ์ การหาวัตถุดิบ เทคนิคการผลิตสินค้าที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะถิ่น รวมถึงช่องทางการจัดจำหน่ายด้วย โดยให้เยาวชนนำความรู้เรื่องการบันทึกภูมิปัญญามาใช้เป็นส่วนหนึ่ง ในการอนุรักษ์และสืบสานภูมิปัญญาท้องถิ่นของตน

3. กิจกรรมพัฒนาศักยภาพเยาวชน OTOP ด้านการวางแผนธุรกิจ คัดเลือกเยาวชนที่เคย เข้าร่วมโครงการพัฒนาเยาวชนเพื่อการอนุรักษ์และสืบสานภูมิปัญญาท้องถิ่นและพัฒนาอาชีพแล้ว (ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2549 เป็นต้นมา) เพื่อเข้ารับฟังความรู้ในการเตรียมความพร้อมสู่การเป็นผู้ประกอบการรุ่นใหม่ เรียนรู้การเขียนโครงการที่มีประสิทธิภาพ การวางแผนธุรกิจเบื้องต้น การศึกษาดูงานกลุ่มผู้ผลิต ผู้ประกอบการ OTOP ที่ประสบความสำเร็จ การพัฒนาช่องทางการจัดจำหน่ายสินค้า OTOP การนำเสนอ แผนธุรกิจ การฝึกการจัดบูธแสดงสินค้า และการนำเสนอผลิตภัณฑ์ ทั้งนี้กรมการพัฒนาชุมชนได้มีการเผยแพร่ผลงานเยาวชนที่เข้าร่วมโครงการผ่านกิจกรรมจัดแสดง เยาวชนเพื่อการอนุรักษ์และสืบสานภูมิปัญญาท้องถิ่น เช่น การเผยแพร่ผลงานในงานแสดงและจำหน่าย สินค้า OTOP ในแต่ละปี เป็นต้น ตั้งแต่ พ.ศ. 2549-2557 กรมการพัฒนาชุมชนได้ดำเนินการตามโครงการพัฒนาเยาวชนเพื่อ การอนุรักษ์สืบสานภูมิปัญญาท้องถิ่น และประสบความสำเร็จอย่างมาก เยาวชนกลุ่มเป้าหมายได้รับ ความรู้และทักษะเกี่ยวกับอาชีพ ภูมิปัญญาที่ตนสนใจกับครูภูมิปัญญาในสาขาอาชีพนั้น ๆ มีศักยภาพ ด้านการวางแผนธุรกิจ มีผลงานแสดงสินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ในแต่ละปี ตลอดจนเยาวชนดังกล่าว ยังสามารถนำความรู้ที่ได้รับมาใช้ในการปรับปรุง และพัฒนาการจัดการเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์หนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ให้มีคุณภาพ และตรงกับความต้องการของตลาดมากขึ้น

การคัดสรรสุดยอดหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ไทย

รัฐบาลยังคงมีนโยบายด้านเศรษฐกิจในการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการโครงการ หนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ เพื่อให้ผู้ผลิต ผู้ประกอบการ OTOP พัฒนาผลิตภัณฑ์ให้มีมูลค่าสูงขึ้น มีการพัฒนาคุณภาพมาตรฐาน และสร้างภาพลักษณ์ของผลิตภัณฑ์ให้เป็นที่ยอมรับของผู้บริโภค

การจัดการดังกล่าวกรมการพัฒนาชุมชนได้จัดโครงการคัดสรรสุดยอดหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ไทย ซึ่งเป็นโครงการที่กระทำต่อเนื่องหลังจากที่ได้มีการลงทะเบียนผู้ผลิต ผู้ประกอบการ OTOP ที่ทำเป็นประจำทุก 2 ปี

การดำเนินการตามโครงการ กรมการพัฒนาชุมชนเปิดให้ผู้ผลิต ผู้ประกอบการ OTOP สมัครเข้าร่วม เพื่อนำผลิตภัณฑ์เข้ารับการคัดสรร โดยผู้สมัครจะต้องเป็นผู้ที่ลงทะเบียนเป็นผู้ผลิต ผู้ประกอบการ OTOP แล้ว (หากเป็นผู้ประกอบการรายใหม่ จะต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กำหนด) ส่วนผลิตภัณฑ์ จะต้องผ่านการรับรองมาตรฐานตามที่กำหนด โดยผู้ผลิตผลิตภัณฑ์ที่เข้ารับการคัดสรร แบ่งออกเป็น 5 กลุ่มประเภทผลิตภัณฑ์หนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ นำมาจัดระดับผลิตภัณฑ์ เป็นระดับประเทศ โดยมีหลักเกณฑ์ในการพิจารณา 3 ด้าน ได้แก่

1. หลักเกณฑ์ด้านผลิตภัณฑ์และความเข้มแข็งของชุมชน

2. หลักเกณฑ์ด้านการตลาดและความเป็นมาของผลิตภัณฑ์

3. หลักเกณฑ์ด้านคุณภาพผลิตภัณฑ์

จากหลักเกณฑ์ทั้ง 3 ด้าน นำมากำหนดกรอบในการจัดระดับผลิตภัณฑ์ ออกเป็น 5 ระดับ ดังนี้

ประโยชน์ที่ได้รับจากการดำเนินการคัดสรรสุดยอดหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ ทำให้ผู้ผลิต ผู้ประกอบการ OTOP ทราบถึงศักยภาพของผลิตภัณฑ์ของตน เพื่อใช้เป็นแนวทางในการดำเนินการ ขั้นต่อไปในอนาคต