ซีอุย ในประวัติศาสตร์ หนัง-ละครไทย นั้นถูกสร้างขึ้น 3 ครั้ง

ฉบับละครปี 2527 : นำแสดงโดย เทอดพร มโนไพบูลย์ รับบท ซีอุย

พ่อแม่เล่าให้ฟังว่ายุคนั้นละครดังมาก เด็กๆว่านอนสอนง่ายมากๆเพราะพ่อแม่ขู่ว่าหากดื้อ ซีอุยจะมากินตับ ฉบับภาพยนตร์ปี 2534 : ตั้งชื่อหนังว่า "นายซีอุย แซ่อึ้ง" รับบทโดย อ.ชลประคัลภ์ จันทร์เรือง เวอร์ชั่นนี้กำกับโดย บรรจง โกศัลวัฒน์ ซึ่งถือเป็นหนังคุณภาพอีกหนึ่งชิ้นของไทย หนังคว้ารางวัลตุ๊กตาทอง ภาพยนตร์ยอดเยี่ยมในปีนั้น


ฉบับภาพยนตร์ปี 2547 : ฉบับนี้กำกับโดย นิดา สุทัศน์ ณ อยุธยา และ บุรณี รัชไชยบุญ ซึ่งได้ระดับ ต้วนหลง นักแสดงคุณภาพจากจีนมาร่วมงานรับบทเป็น ซีอุย โดยมี ฉัตรชัย เปล่งพานิช สมทบ เรื่องนี้ไม่ประสบความสำเร็จด้านรายได้ แต่แปลกตรงที่ ต้วนหลง ได้รางวัลนำชายจากเวทีสุพรรณหงส์ แต่กลับได้รางวัลสมทบชายจาก ดูหนังออนไลน์ ชมรมวิจารณ์บันเทิง ซีอุย หรือ หลีอุย แซ่อึ้ง เป็นทหารหนีทัพในยุคสงครามโลกครั้งที่ 2 แล้วเข้ามาอาศัยในเมืองไทยจนเกิดคดีสะเทือนขวัญขึ้น เขาเป็นแพะรับบาปจนโดนประหารชีวิตในข้อหาฆาตรกรรม และเพิ่งพ้นมลทินไปเมื่อเร็วๆนี้ ศพที่เคยเอาไปสตาฟไว้แล้วตราหน้าว่าเป็นมนุษย์กินคนให้ประชาชนก่นด่าอยู่นานหลายปี ก็ถูกนำไปบำเพ็ญกุศลตามพิธีกรรมของไทย จริงๆควรจะฝังแบบจีนให้เขาแล้วทำฮวงซุ้ยดีๆให้เพื่อเป็นการขอโทษ ชาวบ้านรุ่นหลังๆของทับสะแกก็ทำได้เพียงกล่าวขอโทษซีอุยที่รุ่นพ่อรุ่นปู่เคยกล่าวหา เทอดพร มโนไพบูลย์ นักแสดงที่รับบทซีอุยในละคร 2527 ได้เดินทางมาร่วมพิธีเผาศพ และได้เผยว่าตอนแสดงเป็นซีอุยซีนแรกเคยขอให้ดวงวิญญาณซีอุยมาสวมร่างเพื่อให้การแสดงราบรื่น


ดูหนังออนไลน์


ประวัติชีวิต ซีอุย แซ่อึ้ง

ในบันทึกคำให้การระบุว่า ซีอุยเกิดประมาณปี 2464 ตำบลฮุนไหล จังหวัดซัวเถา ประเทศจีน บิดาคือนายซุงฮ้อ มารดาคือ ไป๋ตึ๋ง เชื้อสายแต้จิ๋ว แต่ข้อมูลจากหนังสือพิมพ์รายวันระบุว่า เกิดที่หมู่บ้านปึงไต๋ ตำบลหงอหงวน จังหวัดหุ้ยล้ง มณฑลเอ้หมึง ซีอุยเป็นลูกคนสุดท้องในจำนวนพี่น้อง 4 คน เชื้อสายจีนแคะ


เมื่อถึงวัยรุ่นก็ถูกเกณฑ์ไปประจำหน่วยทหารที่มณฑลเอ้หมึง ในสงครามระหว่างจีนกับญี่ปุ่น หลังสงครามสงบ ก็ถูกเกณฑ์ไปรบกับฝ่ายเมาเซตุง ก่อนจะหนีทหารเข้ามาประเทศไทย ในวันที่ 28 ธันวาคม 2489 โดยเรือชื่อโปรคิว เมื่อซีอุยขึ้นฝั่งประเทศไทย เว็บดูหนัง ก็ถูกกักตัวอยู่ที่กองตรวจคนเข้าเมือง 10 วัน ก่อนที่นายทินกี่ แซ่อึ้ง จะมารับรองออกไปได้ (ยังมีคำสัมภาษณ์อีกแห่งหนึ่งที่อ้างว่า นายฮะเอี้ยงเป็นผู้ออกเงินทำใบต่างด้าวและเข้าเมืองให้) จากนั้นก็พักอยู่จังหวัดพระนครที่โรงแรมเทียนจิน ตรอกเทียนกัวเทียน ประมาณ 5-6 วัน ก่อนจะเดินทางไปทับสะแก จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ตรงกับคำให้การวันที่ 30 มกราคม 2501 ยืนยันว่า “มาอยู่เมืองไทยครั้งแรกที่ตำบลทับสะแก ประจวบคีรีขันธ์” หลังจากนั้นซีอุยก็เดินทางไปมาทำงานรับจ้างอยู่หลายที่ ไม่มีที่อยู่เป็นหลักแหล่ง และยากที่จะจัดลำดับได้เนื่องจากคำให้การแต่ละครั้ง ซีอุยระบุชื่อเจ้าของบ้านที่ไปพักไม่ค่อยตรงกัน และการอยู่แต่ละที่นั้นก็เป็นระยะเวลาสั้นๆ 6 เดือนบ้าง 2 เดือนบ้าง 8 เดือนบ้าง ขึ้นอยู่กับงานที่รับจ้างนั้นๆ แม้จะมีที่อยู่และที่ทำงานไม่เป็นหลักแหล่ง


แต่ในระยะ 8 ปีแรกในเมืองไทย ซีอุยไม่ได้ก่อคดีร้ายแรงใดๆ นอกจากคดีทะเลาะวิวาทบ้างเป็นบางครั้ง แต่เงื่อนงำที่สำคัญก็คือ เส้นทางและแหล่งพักพิงของซีอุยในระยะหลัง ตรงสถานที่เกิดเหตุของคดีทั้ง 7 อย่างเหลือเชื่อ คือ ประจวบคีรีขันธ์ 4 คดี กรุงเทพฯ นครปฐม และระยอง แห่งละ 1 คดี