Pratomwan Inthanu

การระลึกชาติได้ด้วยญาณ

แม่ชีปฐมวรรณ อินธนู

( Pratomwan Inthanu )

แม่ชีปฐมวรรณ อินธนู ถือกำเนิดในครอบครัวชาวนา ชาวจังหวัดนครศรีธรรมราช บิดาชื่อเพียบ มารดาชื่อสีนวล (เมื่อบิดาสูงวัยได้บวชเป็นพระภิกษุ จำพรรษาที่วัดเสมียน ตำบลโคกคาม) แม่ชีปฐมวรรณมีจิตใจฝักใฝ่ในพระพุทธศาสนามาตั้งแต่เด็ก จิตใจอ่อนโยนเต็มเปี่ยมด้วยเมตตากรุณา เมื่อเจริญวัยเข้าสู่วัยสาว จิตใจก็ยิ่งน้อมเข้าหาทางธรรมมากยิ่งขึ้น กระทั่งตัดสินใจบวชเป็นชี และไปปฏิบัติธรรมที่วัดชายนา อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช

ขณะปฏิบัติธรรม แม่ชีปฐมวรรณได้มุ่งมั่นในการเจริญกรรมฐานอย่างแน่วแน่จริงจัง ผลแห่งการบำเพ็ญเพียรทางจิต ทำให้แม่ชีปฐมวรรณบรรลุถึงญาณขั้น ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ คือญาณหยั่งรู้ในอดีตชาติของตน การระลึกชาติได้ด้วยญาณนี้ แม่ชีปฐมวรรณสามารถรำลึกย้อนหลังกลับไปเห็นอดีตชาติของท่านถึง 5 ชาติ ยิ่งระลึกรู้การเวียนว่ายตายเกิดมาแล้วหลายชาติ ทำให้แม่ชีปฐมวรรณมีความสลดสังเวชต่อภาวะที่ต้องตายแล้วเกิด เกิดแล้วตายอยู่เช่นนี้ไม่มีสิ้นสุด และทุกชาติที่เกิดมาล้วนแล้วเป็นทุกข์ด้วยกันทั้งสิ้น

แม่ชีปฐมวรรณ ได้นำเรื่องอดีตชาติของท่านมาแสดงเอาไว้เพื่อเป็นเครื่องเตือนสติแก่สาธุชนทั้งหลาย จะได้ไม่มัวเมาอยู่ในความประมาท ดำเนินชีวิตไปอย่างผิดพลาด ไม่สนใจไยดีต่อการประกอบกรรมดี ด้วยเห็นว่ากระทำได้ยาก หากหลงเมามัวกับกรรมชั่วกรรมเลวเนื่องจากกระทำได้ง่าย ยินยอมให้อำนาจฝ่ายต่ำฉุดรั้งผลักดันให้หลงอยู่ในกิเลสร้ายตราบถึงวันตาย

ครั้นตายแล้ว จิตวิญญาณย่อมไปรับวิบากซึ่งมีความทุกข์ทรมานแสนสาหัสคอยบีบคั้นอยู่ทุกขณะจิต เมื่อวิบากเบาบางผ่อนคลายมีโอกาสมาเกิดเป็นคนอีก ก็เป็นคนต้อยต่ำ ได้รับแต่ความอดอยากลำเค็ญสารพัด มีชีวิตซึ่งเป็นทุกข์ยิ่งกว่าผู้อื่น ที่เป็นเช่นนี้ก็เนื่องจากเมื่อมีชีวิตในชาติปัจจุบันไม่ยอมสร้างสรรค์ความดี ระเริงหลงอยู่ในความชั่วอย่างน่าเสียดาย

การระลึกชาติของแม่ชีปฐมวรรณในแต่ละชาติ ท่านเล่าไว้เพียงคร่าวๆ เนื่องจากเหตุการณ์ได้ผ่านไปเนิ่นนานแล้ว จึงเป็นการยากที่จะหาหลักฐานมายืนยัน เช่น การเกิดชาติที่หนึ่งนั้น ท่านบอกเพียงว่าเกิดเป็นมนุษย์ ชาติที่สองก็เกิดเป็นมนุษย์อีก บิดาเป็นครูชื่อสำราญ เเต่ชื่อมารดามิได้บอกไว้ เมื่อตายในชาตินั้นแล้วมาเกิดใหม่ในชาติที่สาม ผลแห่งวิบากทำให้เกิดเป็นลิง ในชาติที่สี่ก็เกิดเป็นลิงอีก

การเกิดในกำเนิดเป็นสัตว์เดรัจฉานเช่นนี้ กล่าวได้ว่าเป็นความทุกข์อย่างยิ่ง เนื่องจากเป็นสัตว์โลกชั้นต่ำ มีสมองอยู่ในขีดจำกัด สติปัญญาไม่อาจเทียบเคียงกับมนุษย์ การดำเนินชีวิตและปัญญาความคิดเป็นไปในกรอบของสัญชาติญาณเท่านั้น เมื่อเผชิญกับภัยทางธรรมชาติก็ไม่สามารถหลีกเลี่ยงและแก้ไขได้ ฝนตกฟ้าคะนองก็ต้องเปียกปอนหนาวสั่น อากาศหนาวหรือร้อนก็จำต้องยอมทน การเสาะหาอาหารเป็นไปด้วยความยากลำบาก ยิ่งเป็นสัตว์กินหญ้าและเป็นเหยื่อของสัตว์กินเนื้อ ก็ยิ่งมีชีวิตอยู่ด้วยความหวาดกลัว ไม่รู้ว่าเวลาใดจะถูกเข่นฆ่าด้วยเขี้ยวเล็บของสัตว์อื่น

เมื่อแม่ชีปฐมวรรณรู้เห็นความเป็นไปของอดีตชาติตนเอง โดยเฉพาะในชาติที่เกิดเป็นลิง ท่านยิ่งรู้สึกสังเวชใจเป็นทวีคูณ ทางเดียวที่จะหนีพ้นการเวียนว่ายตายเกิดคือต้องชำระขัดเกลากิเลสให้หมดสิ้นในชาตินี้เท่านั้น และท่านก็ได้มานะพยายามอย่างไม่ย่อท้อ

การมาเกิดในอดีตชาติที่ห้า เป็นชาติที่มีหลักฐานยืนยันได้ชัดเจนมากที่สุด เพราะเป็นการตายจากชาติก่อนแล้วมาเกิดใหม่ในชาติปัจจุบันอย่างต่อเนื่อง ไม่ได้ทิ้งช่วงเวลาห่างกันนานเกินไป

แม่ชีปฐมวรรณกล่าวว่า “การมาเกิดในชาติที่ห้านี้เป็นลูกของ กำนันพัฒน์ เปิงคุย แม่ชื่อนางจำเนียร บ้านอยู่ใกล้วัดไทรงาม ตำบลดอนมะสังข์ อำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี เป็นลูกคนที่สอง แต่เกิดมาแล้วมีอายุสั้น คือมีอายุแค่ 10 เดือน ก็เจ็บไข้ไม่สบาย มีอาการอาเจียนอย่างรุนแรงและเสียชีวิตด้วยโรคนี้ เมื่อตายแล้วผู้เป็นพ่อได้นำศพไปฝัง ฝังไว้นาน 18 เดือน จึงได้ขุดศพขึ้นมาเผา”

แม่ชีปฐมวรรณเล่าว่า “ขณะที่ขุดศพได้พบปลาไหลขนาดใหญ่อยู่กับศพ คนขุดจะจับปลาไหลเอาไปกินแต่พ่อได้ห้ามเอาไว้” ซึ่งเรื่องนี้มีเฉพาะคนที่ไปขุดศพเท่านั้นที่รู้เรื่องการระลึกชาติได้ของแม่ชีได้รับเชิญให้ไปกล่าวอบรมเรื่องศีลธรรม และธรรมปฏิบัติ ท่านจึงจะเล่าเรื่องการระลึกชาติของท่านสอดแทรก เพื่อเป็นนิทัศน์อุทาหรณ์ให้ตระหนักถึงการเวียนว่ายตายเกิดและวิบากกรรม แต่แล้วเรื่องการระลึกชาตินี้ก็ได้รับการพิสูจน์ยืนยันอย่างบังเอิญก็ว่าได้ กล่าวคือครั้งหนึ่ง คุณพินิจ เกศา ได้ไปทอดกฐินที่จังหวัดอ่างทองในเดือนเมษายนและมีแม่ชีปฐมวรรณร่วมคณะไปด้วย

ทอดกฐินที่จังหวัดอ่างทองแล้ว ได้เดินทางต่อไปที่จังหวัดสุพรรณบุรี ที่จังหวัดสุพรรณบุรีนี้แม่ชีปฐมได้เล่าเรื่องการระลึกชาติของท่านให้ประชาชนฟัง และมีโอกาสได้พบ กำนันพัฒน์และนางจำเนียร แม่ชีเห็นหน้าบิดามารดาในอดีตชาติก็จำได้และมีการพิสูจน์ขึ้น โดยบิดามารดาในอดีตชาติตั้งคำถามให้แม่ชีปฐมวรรณตอบ 5 ข้อ คือ 1. ตายเมื่อไหร่ 2. เป็นโรคอะไร 3. เผาหรือฝัง 4. มีพี่น้องกี่คน 5. บ้านอยู่ที่เดิมหรือไม่ ปรากฎว่าแม่ชีปฐมวรรณตอบถูกต้องทุกข้อ กำนันพัฒน์กับนางจำเนียรถึงกับหลั่งน้ำตาด้วยความปิติยินดี สำหรับนางจำเนียรนั้นโผเข้ากอดแม่ชีแน่นและเชื่อว่าลูกที่ตายไปมาเกิดเป็นแม่ชีปฐมวรรณจริงๆ

กำนันพัฒน์และนางจำเนียรพาแม่ชีปฐมวรรณไปที่บ้าน แม่ชีเห็นรูปภาพใส่กรอบแขวนไว้ที่ฝาบ้านก็ชี้บอกว่ารูปภาพเหล่านั้นเป็นภาพใครอย่างถูกต้องทั้งที่ไม่เคยเห็นมาก่อน แม่ชียังบอกอีกว่า “ตอนไปขุดศพเพื่อจะเอาขึ้นมาเผานั้นได้เจอปลาไหลตัวโต คนขุดจะเอาปลาไหลไปกินแต่กำนันพัฒน์ห้ามไว้” ซึ่งเรื่องนี้ถือว่าเป็นข้อมูลที่สำคัญเพราะมีคนรู้ไม่กี่คน และเป็นข้อพิสูจน์ว่าแม่ชีปฐมวรรณระลึกชาติได้จริง

การระลึกชาติได้ของบุคคลจำนวนหนึ่ง ที่ได้รับการบันทึกเอาไว้เป็นหลักฐาน กล่าวได้ว่าเป็นประโยชน์อย่างยิ่งสำหรับข้อพิสูจน์และยืนยันว่าการเวียนว่ายตายเกิดนั้นมีจริง ผู้ซึ่งยังมีทิฐิมานะไม่ยอมเชื่อในสัจธรรมข้อนี้ จะได้นำมาพิจารณาไตร่ตรองเพื่อประโยชน์ของตน

เก็บความจากหนังสือของ : บรรยง บุญฤทธิ์

(ข้อมูลภาษาเยอรมัน แปลมาจากรายงานการศึกษาวิจัยของ ศ.นพ.เอียน สตีเวนสัน )

Pratomwan Inthanu, Fall. Die thailändische Nonne (Mae Chee) Pratomwan Inthanu wurde am 1. Oktober 1944 im Dorf Ban Chang geboren. Ihre ersten Erinnerungen an ein Vorleben hatte sie erst 1964, nachdem sie im Wat (= Kloster) Thao Kot in Nakhon Sri Thammaraj fünf Monate lang Vipassana-Meditation betrieben hatte. Sie betrafen ein Mädchen in Ban Huanon, das im Alter von etwa drei Monaten starb. Es hatte noch keinen Namen und wurde von seinen Eltern (Samran Wang Pri Choa und seine Frau Nang Chab) nur Longsao ("Tochter") genannt. Trotz der Kürze dieser Inkarnation hatte sie zahlreiche detaillierte Erinnerungen, darunter auch solche aus der Zeit nach dem Tod des Babys 1930 oder 1931 (ihre Beerdigung außerhalb außerhalb des Friedhofes und die Übersiedelung ihrer Eltern ins Nachbardorf Ban Naa etwa ein Jahr später). Im August 1965 erfolgte Pratomwans erster Besuch in Ban Naa, wo es ihr gelang, ihre frühren Eltern von ihrer Wiedergeburt zu überzeugen. Samran Wang Pri Choa (der mit Pratomwans Vater Pien Inthanu verwandt war, ihn jedoch persönlich nicht kannte) schrieb im selben Jahr einen Bericht über den Fall. Ein solcher erschien auch am 19.6.1966 in der Zeitung Pim Thai. Darin wurde Ian Stevenson anläßlich seiner Einreise nach Thailand aufgefordert, den Fall zu untersuchen, was er (zusammen mit Francis Story) auch begann. (Ferner waren noch Kloom Vajropala und Nasib Sirorasa beteiligt.) Später berichtete Pratomwan noch von einer früheren Inkarnation als ein Mädchen namens Chamnian im Dorf Ban Don Masang, das im Alter von zehn (13?) Monaten starb. An diese hatte sie nur wenige Erinnerungen, erkannte aber dessen Mutter (Sri Nuan) auf einem Photo. Chamnian starb 1942 oder 1943. Keine Erinnerungen, aber vage Eindrücke hatte sie für die Zeit vor den beiden Babies an ein (oder zwei) Vorleben als Affe.

Quelle: Stevenson