คำขยายความ ญ - ถ

คำขยายความหมวดอักษร

ญ - ถ

ญาณ ความรู้ , ปัญญาหยั่งรู้ , ปรีชาหยั่งรู้ , ปรีชากำหนดรู้

ญาณทัศนะ การเห็น ความหยั่งรู้ หยั่งเห็น, ความหยั่งรู้ หยั่งเห็นด้วยญาณ

เดียรถีย์ นักบวชนอกพระพุทธศาสนาในอินเดียสมัยพุทธกาล

ต้นหน เจ้าหน้าที่ชี้ทิศทางเดินเรือทะเล , ผู้นำทาง

ตัณหา ความทะยานอยาก , ความดิ้นรน , ความหวัง , ความปรารถนา , ความแส่หา ได้แก่

ตัณหา ๓ คือ

๑. กามตัณหา ความปรารถนา ทะยานอยากในกามคุณ ๕ คือ รูป รส กลิ่น เสียงและสัมผัส

๒. ภวตัณหา ความปรารถนา ทะยานอยากในภพ คือ แดนเกิดของหมู่สัตว์หรือสภาวะความมีความเป็นทั้งหลาย

(มีความเห็นว่าตายแล้วไม่สูญ ปรารถนาสภาวะความเป็นอยู่ที่ดี สภาวะหรือภพภูมิที่สมบูรณ์ ความเป็นอมตะ)

๓. วิภวตัณหา ความปรารถนาที่จะออกจากภพที่เป็นอยู่(ยังปรารถนาในภพอื่นหรือมีความเห็นว่าตายแล้วสูญ),

ความปรารถนาที่จะไม่ไปสู่ภพนั้นภพนี้ (ไม่ใช่ความปรารถนาที่จะหลุดพ้นจากการเวียนว่ายตายเกิด)

ตัณหา ๖ คือ

๑. รูปตัณหา ความปรารถนา ทะยานอยากใน รูป

๒. สัททตัณหา ความปรารถนา ทะยานอยากใน เสียง

๓. คันธตัณหา ความปรารถนา ทะยานอยากใน กลิ่น

๔. รสตัณหา ความปรารถนา ทะยานอยากใน รส

๕. โผฏฐัพพตัณหา ความปรารถนา ทะยานอยากใน สัมผัสทางกาย

๖. ธัมมตัณหา ความปรารถนา ทะยานอยากใน อารมณ์ ความรู้สึกนึกคิด

ตัณหา ๑๐๘ ในบาลีเดิมเรียก ตัณหาวิจริต คือความเป็นไป เที่ยวแสดงตัวของตุณหา ได้แก่ ตัณหาวิจริต ๑๘ อันอาศัย

เบญจขันธ์ภายใน + ตัณหาวิจริต ๑๘ อันอาศัยเบญจขันธ์ภายนอก X กาล ๓ (อดีตปัจจุบัน อนาคต)

= ตัณหา ๑๐๘ หรือ อีกอย่างหนึ่ง คือ ตัณหา ๓ (กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา) X ตัณหา ๖ (รูป รส กลิ่น

เสียง สัมผัส ธรรมารมณ์) X สถานที่เกิด ๒ (ภายใน ภายนอก) X กาล ๓(อดีต ปัจจุบัน อนาคต) = ตัณหา ๑๐๘

ตัณหานุสัย ตัณหาอันนอนเนื่องในสันดาน

ไตรลักษณ์ ลักษณะสามัญ ๓ ประการแห่งสังขารธรรมทั้งหลาย คือ

๑. อนิจจตา มีลักษณะไม่เที่ยง เปลี่ยนแปลงได้ เป็นธรรมดา

๒. ทุกขตา มีลักษณะที่เป็นทุกข์ อันเนื่องมาจากความเปลี่ยนแปลง ไม่เที่ยง ไม่อาจทนอยู่ในสภาพเดิมได้

เป็นธรรมดา

๓. อนัตตตา ไม่ใช่ตัวตน ไม่มีตัวตนให้ยึดถือเป็นแก่นสารได้ เป็นธรรมดา

ไตรวิชา(วิชชา ๓,ญาณ ๓) ความรู้อันวิเศษ ยอดเยี่ยม รู้แจ้ง ๓ ประการ คือ

๑. ปุพเพนิวาสานุสติญาณ ญาณอันรู้ระลึกถึงขันธ์ในอดีตได้,ระลึกชาติได้

๒. จุตูปปาตญาณ(ทิพพจักขุญาณ) ญาณอันกำหนดรู้การเกิดการดับ การเวียนว่ายตายเกิด และกรรม

ของสัตว์ทั้งหลาย

๓. อาสวักขยญาณ ญาณหยั่งรู้ในธรรม ,หยั่งรู้วิธีทำให้ถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย , ความรู้ทำให้สิ้น

อาสวะ, ตรัสรู้ในอริยสัจ ๔

โถมนา ชมเชย