คำขยายความ ท - บ

คำขยายความหมวดอักษร

ท - ม

ทวาร ๖ ช่องทางสัมผัสรับรู้อารมณ์ มี ๖ ได้แก่

๑. จักขุทวาร ช่องทางสัมผัสรับรู้อารมณ์ ทางตา

๒. โสตทวาร ช่องทางสัมผัสรับรู้อารมณ์ ทางหู

๓. ฆานทวาร ช่องทางสัมผัสรับรู้อารมณ์ ทางจมูก

๔. ชิวหาทวาร ช่องทางสัมผัสรับรู้อารมณ์ ทางลิ้น

๕. กายทวาร ช่องทางสัมผัสรับรู้อารมณ์ ทางกาย

๖. มโนทวาร ช่องทางสัมผัสรับรู้อารมณ์ ทางใจ

ทุคติภัย ภัยอันเกิดแต่คติที่ชั่ว ภพภูมิที่ชั่ว หรือสถานที่ไปเกิดอันชั่ว

โทศกนักษัตร โทศก ใช้เรียกจุลศักราชที่ลงท้ายด้วยเลข ๒ นักษัตร คือชื่อรอบเวลากำหนด ๑๒ ปี ๑ รอบเรียกว่า

๑๒ นักษัตร โดยกำหนดให้สัตว์เป็นเครื่องหมายในปีนั้น ๆ เช่น ชวด-หนู ฉลู-วัว เป็นต้น ในต้นฉบับหนังสือ

ประชุมจดหมายเหตุสมัยอยุธยา และในสมุดไทยดำบางเล่มว่าเป็น ปีมะเมีย ตรีนิศกนักษัตร สันนิษฐานว่าปี

คงจะคลาดเคลื่อนไป จึงแก้ไขเป็น ปีมะเมีย โทศกนักษัตร ตามต้นฉบับใบลานอักษรขอมภาษาไทยและตามปี

ในประวัติศาสตร์ที่มีการชำระแล้ว

ธรรมสังเวช ธรรม คือ ความสลดหดหู่ เกิดขึ้นเมื่อพิจารณาเห็นความจริง ตามลักษณะสภาวธรรมที่เป็นจริง คือเห็นในความ

ไม่ดี ไม่งาม เป็นทุกข์ เช่น เห็นว่ารูปทั้งหลายมีความไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ไม่มีแก่นสารตัวตนให้ยึดถือได้เป็นของธรรมดา

แล้วทำให้เกิดธรรมสังเวช คือ เกิดความสลดหดหู่ เห็นความไม่ดีไม่งาม เป็นทุกข์ นำพาให้เกิดนิพพิทา คือความเบื่อหน่าย

ในรูป และละอุปาทาน คือปล่อยวาง คลายความยึดมั่นถือมั่นในรูปได้ เป็นต้น

ธาตุ ๑๘ ได้แก่ ๑.จักขุธาตุ ธาตุคือจักขุปสาท ๒.รูปธาตุ ธาตุคือรูปารมณ์ ๓.จักขุวิญญาณธาตุ ธาตุคือจักขุวิญญาณ

๔.โสตธาตุ ธาตุคือโสตปสาท ๕.สัททธาตุ ธาตุคือสัทธารมณ์ ๖.โสตวิญญาณธาตุ ธาตุคือโสตวิญญาณ

๗.ฆานธาตุ ธาตุคือฆานปสาท ๘.คันธธาตุ ธาตุคือคันธารมณ์ ๙.ฆานวิญญาณธาตุ ธาตุคือฆานวิญญาณ

๑๐.ชิวหาธาตุ ธาตุคือชิวหาปสาท ๑๑.รสธาตุ ธาตุคือรสารมณ์ ๑๒.ชิวหาวิญญาณธาตุ ธาตุคือชิวหาวิญญาณ

๑๓.กายธาตุ ธาตุคือกายปสาท ๑๔.โผฏฐัพพธาตุ ธาตุคือโผฏฐัพพารมณ์ ๑๕.กายวิญญาณธาตุ ธาตุคือ

กายวิญญาณ ๑๖.มโนธาตุ ธาตุคือมโน ๑๗.ธรรมธาตุ ธาตุคือธรรมารมณ์ ๑๘.มโนวิญญาณธาตุ ธาตุคือมโนวิญญาณ

นฤพาน (ดู นิพพาน)

นายเข็ม เจ้าหน้าที่เข็มทิศทำหน้าที่ชี้ทิศทางเรือเดินทะเล (คำโบราณ)

นิกันติกภัย ภัยอันเกิดแต่ความติดใจ พอใจ

นิครนถ์ นักบวชนอกพระพุทธศาสนา ที่เป็นสาวกของนิครนถนาฏบุตรในสมัยพุทธกาล หรือนักบวชในศาสนาเชนในปัจจุบัน

นิพพาน(นฤพาน,นิรวาณ) ธรรมเหล่าใดเกิดแต่เหตุปัจจัย “นิพพาน” คือความดับสนิทแห่งเหตุปัจจัยนั้น ดังนั้นนิพพานของ

สรรพสัตว์ทั้งหลายก็คือความดับสนิทแห่ง อวิชชา สังขาร วิญญาณ นามรูป สฬายตนะ ผัสสะ เวทนา ตัณหา อุปาทาน

ภพ ชาติ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส (ดู ปฏิจจสมุปบาท) หรือชื่ออื่นๆโดยนัยนี้(ไวพจน์)

นิพพานมี ๒ คือ

๑. สอุปาทิเสสนิพพาน นิพพานที่ยังมีอุปาทิเหลือ คือ ยังมีเบญจขันธ์ที่วิบากกรรม ยังสามารถถือครอง

หรือให้ผลได้ หรืออีกนัยหนึ่งคือ กิเลส ตัณหา อุปาทาน ซึ่งเป็นเหตุปัจจัยที่จะนำให้เกิดมีในชาติใหม่

ดับแล้ว หลุดพ้นจากการเวียนว่ายตายเกิดแล้ว แต่ชีวิตหรือเบญจขันธ์ในชาตินี้ยังไม่ดับ เป็นนิพพาน

ของพระอรหันต์ที่ยังมีชีวิตอยู่

๒. อนุปาทิเสสนิพพาน นิพพานที่ไม่มีอุปาทิเหลือ คือไม่มีเบญจขันธ์เหลืออยู่แล้ว หรืออีกนัยหนึ่งคือ

ชีวิตหรือเบญจขันธ์ในชาตินี้พร้อมทั้งเหตุปัจจัยคือ กิเลส ตัณหา อุปาทาน ที่จะให้มีความเกิดในชาติใหม่

ดับสิ้นไม่มีเหลือ เป็นนิพพานของพระอรหันต์ที่ปรินิพพานแล้ว(เสียชีวิตแล้ว)

*** นิพพาน คือ จุดหมายสูงสุดในพระพุทธศาสนา

นิพพิทาญาณ(นิพพิทานุปัสสนาญาณ) ปัญญาความรู้อันพิจารณาเห็นความน่าเบื่อหน่ายใน

กองสังขารทั้งหลาย ว่านำมาซึ่งทุกข์ และโทษภัยมากมาย

บาปเคราะห์(เคราะห์ร้าย) คือสิ่งที่นำผลไม่ดีมาให้โดยไม่ได้คาดหมาย ตรงข้ามกับ สมเคราะห์

(เคราะห์ดี) คือสิ่งที่นำผลดีมาให้โดยไม่ได้คาดหมาย

บุพภาค ส่วนเบื้องต้น , ตอนต้น

เบญจกามคุณ(กามคุณ ๕) วัตถุกามอันจะนำพาให้เกิดความปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ มี ๕ อย่างคือ

๑.รูปะ รูป ๒.สัททะ เสียง ๓.คันธะ กลิ่น ๔.รสะ รส ๕.โผฏฐัพพะ สัมผัสทางกาย

*** ในที่นี้หมายเอาเฉพาะส่วนที่สัตว์ทั้งหลายปรุงแต่ง กำหนดหมายเอาว่าเป็นที่พึงปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจของตนเฉพาะตนเท่านั้น ซึ่งอาจจะเหมือนหรือแตกต่างจากผู้อื่นก็ได้