คำขยายความ ว - ห

คำขยายความหมวดอักษร

ว - ห

วัฏภัย ภัยอันเกิดแต่การเวียนว่ายตายเกิดในวัฏสงสาร

วิบากขันธ์ ขันธ์ที่ผลกรรมปรุงแต่ง

วิปรินามธรรม ธรรมที่แปรผันเป็นอื่นได้ไม่แน่นอน เช่น สุขเวทนาย่อมแปรเป็นทุกขเวทนาได้ในภายหลัง สุขน้อยลงก็ทุกข์ได้

ทุกข์น้อยลงก็สุขได้

วิปัสสนาปัญญา(วิปัสสนาญาณ ๑๐) ญาณในวิปัสสนา , เป็นความรู้ที่ทำให้เกิดความเห็นแจ้ง เข้าใจสภาวธรรมตามความ

เป็นจริง ได้แก่

๑. สัมมสนญาณ ญาณที่กำหนดพิจารณานามรูป คือขันธ์ ๕ ตามแนวไตรลักษณ์

๒. อุทยัพพยานุปัสนาญาณ ญาณอันตามเห็นความเกิดดับของนามรูป

๓. ภังคานุปัสสนาญาณ ญาณอันตามเห็นความดับสลายของนามรูป

๔. ภยตูปัฏฐานญาณ ญาณอันมองเห็นนามรูปปรากฏเป็นของน่ากลัว

๕. อาทีนวานุปัสนาญาณ ญาณอันคำนึงเห็นโทษในนามรูปทั้งหลาย

๖. นิพพิทานุปัสสนาญาณ ญาณอันคำนึงเห็นด้วยความหน่ายในนามรูป

๗. ญาณมุญจิตุกัมยตา ญาณอันคำนึงด้วยความใคร่จะพ้นไปเสียจากนามรูป

๘. ปฏิสังขานุปัสสนาญาณ ญาณอันคำนึงพิจารณาหาทาง ที่จะให้พ้นไปเสียจากนามรูป

๙. สังขารุเปกขาญาณ ญาณอันเป็นไปโดยความเป็นกลางต่อนามรูป

๑๐. สัจจานุโลมิกญาณหรืออนุโลมญาณ ญาณอันคล้อยต่อการตรัสรู้อริยสัจเป็น

ขั้นสุดท้ายของวิปัสสนาญาณ ต่อจากนั้นก็จะเกิด โคตรภูญาณมาคั่นกลาง

แล้วเกิดมรรคญาณให้สำเร็จความเป็นอริยบุคคลต่อไป

วิปัสนาภาวนา การฝึกสมาธิและอบรมปัญญาให้เกิดความรู้แจ้งตามเป็นจริง,การเจริญปัญญา

เวทนา ๓ การเสวยอารมณ์ , ความรู้สึกรสของอารมณ์ มี ๓ คือ

๑. สุขเวทนา ความรู้สึกสุขสบายทั้งทางกายและทางใจ

๒. ทุกขเวทนา ความรู้สึกทุกข์ไม่สบายทั้งทางกายและทางใจ

๓. อทุกขมสุขเวทนา ความรู้สึกเฉย ๆ ไม่ทุกข์ไม่สุข (เรียกอีกอย่างว่า อุเบกขาเวทนา)

สงสารสาคร ห้วงน้ำคือการเวียนว่ายตายเกิด

สมถภาวนา การฝึกอบรมจิตให้เกิดความสงบ , การฝึกสมาธิ

สมุทรสาครอรรณนพสงสาร คำว่า สมุทร หมายถึง ทะเล มหาสมุทร สาคร หมายถึง แม่น้ำ ทะเล อรรณนพ หมายถึง ห้วงน้ำ

ทะเล มหาสมุทร ส่วนคำว่า สงสาร หมายถึง การเวียนว่ายตายเกิด รวมแล้วหมายถึง ห้วงน้ำแห่งการเวียนว่ายตายเกิด

สมณธรรม ธรรมของนักบวช , ธรรมของของผู้สงบ , ธรรมของผู้ปฏิบัติเพื่อให้ถึงความเป็นพระอริยบุคคล

สมภาร บุญที่สะสมไว้ , พระที่เป็นเจ้าอาวาส (ในที่นี้หมายถึง บุญที่สะสมไว้)

สยมภูญาณ(สยัมภูญาณ) ปัญญาญาณหยั่งรู้ ของพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ตรัสรู้เองโดยชอบ

สมุจเฉทปหาน การละกิเลสได้โดยเด็ดขาดด้วยอริยมรรค

สมุทรสาครอรรณพสงสาร คำว่า สมุทร,สาคร,อรรณพ หมายถึง มหาสมุทร ทะเล ห้วงน้ำ ส่วนคำว่า สงสาร หมายถึง

การเวียนว่ายตายเกิด รวมแล้วหมายถึง ห้วงน้ำคือการเวียนว่ายตายเกิด

สอุปาทิเสสนิพพาน นิพพานที่ยังมีอุปาทิเหลือ คือ ยังมีเบญจขันธ์ที่วิบากกรรม ยังสามารถถือครองหรือให้ผลได้ (ดู นิพพาน*)

สังโยชน์ ๑๐ กิเลสอันผูกใจสัตว์ , ธรรมที่มัดสัตว์ไว้กับทุกข์ หรือผูกกรรมไว้กับผล ได้แก่

ก. โอรัมภาคิยสังโยชน์ สังโยชน์เบื้องต่ำ ๕ อย่าง คือ

๑. สักกายทิฏฐิ ความเห็นว่าส่วนของขันธ์ ๕ เป็นตัวตน ของตน

๒. วิจิกิจฉา ความลังเล สงสัย ไม่แน่ใจใน พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์

๓. สีลัพพตปรามาส ความถือมั่นในศีลและวัตรปฏิบัติที่ผิด คือ งดเว้นในสิ่งที่ไม่ควรงดเว้น และปฏิบัติในวัตร

ที่ไม่ควรปฏิบัติซึ่งไม่ใช่หนทางปฏิบัติเพื่อให้ถึงซึ่งความดับทุกข์ , ถือมั่นในศีลพรตนอกศาสนา

๔. กามราคะ ความกำหนัด เพลิดเพลิน ติดใจในกามคุณ ๕

๕. ปฏิฆะ ความกระทบกระทั่ง หงุดหงิด ขัดเคืองในใจ

ข. อุทธัมภาคิยสังโยชน์ สังโยชน์เบื้องสูง ๕ อย่าง คือ

๖. รูปราคะ ความติดใจในอารมณ์แห่งรูปญาณ , ความปรารถนาในรูปภพ หรือรูปธรรมอันประณีต

๗. อรูปราคะ ความติดใจในอารมณ์แห่งอรูปญาณ , ความปรารถนาในอรูปภพ หรืออรูปธรรม

๘. มานะ ความสำคัญตนถือตนว่าสูงกว่าเขา เสมอเขา หรือต่ำกว่าเขา

๙. อุทธัจจะ ความมีจิตฟุ้งซ่านส่ายไปมาไม่มั่นคง

๑๐. อวิชชา ความไม่รู้แจ้งสภาวธรรมตามความเป็นจริง

*** พระโสดาบัน ละสังโยชน์ ข้อ ๑,๒,๓ ได้ พระสกทาคามี ละสังโยชน์ ข้อ ๑,๒,๓ ได้และทำ ราคะ โทสะ โมหะให้เบาบาง

ลง พระอนาคามี ละสังโยชน์ข้อ ๑,๒,๓,๔,๕ ได้ พระอรหันต์ ละสังโยชน์ได้ทั้ง ๑๐ ข้อ

สัปปุรุษ ผู้ที่มีสัมมาทิฏฐิเป็นคนดี มีศีลธรรม ,ผู้ที่ประกอบด้วยสัปปุริสธรรม คือธรรมของสัตบุรุษ (เป็นคำที่เลือนปะปนกัน

ระหว่างคำว่า สัตบุรุษ ของสันสกฤต กับคำว่า สัปปุริส ของบาลี ในสมัยโบราณใช้เรียกคฤหัสถ์ผู้มีศรัทธาในพระพุทธ

ศาสนา)

สัพพัญญุตญาณ ญาณคือความเป็นพระสัพพัญญู(พระพุทธเจ้า) , พระปรีชาญาณหยั่งรู้สิ่งทั้งปวง ทั้งที่เป็นอดีต ปัจจุบัน

และอนาคต

เสฏโฐ ประเสริฐ

หิริโอตัปปะ ความละอาย และเกรงกลัวต่อบาปอกุศล