คำขยายความ ผ - ร

คำขยายความหมวดอักษร

ผ - ร

ผล ๔ ผลที่เกิดสืบเนื่องจากการละกิเลสได้ด้วยมรรค , ธรรมารมณ์อันพระอริยะพึงเสวย ได้แก่

๑. โสดาปัตติผล ผลอันพระโสดาบันพึงเสวย , ผลคือความเป็นพระโสดาบัน

๒. สกทาคามิผล ผลอันพระสกทาคามีพึงเสวย , ผลคือความเป็น พระสกทาคามี(สกิทาคามี ก็เขียน)

๓. อนาคามิผล ผลอันพระอนาคามีพึงเสวย , ผลคือความเป็นพระอนาคามี

๔. อรหัตตผล ผลอันพระอรหันต์พึงเสวย , ผลคือความเป็นพระอรหันต์

พหูสูต ผู้รอบรู้ , ผู้ได้ยินได้ฟังมามาก , ผู้ศึกษามามาก , ผู้คงแก่เรียน

พระราชกระแสรับสั่ง หมายถึง พูด คำพูด (ใช้กับพระมหากษัตริย์) ตามเอกสารเดิมใช้คำว่า พระราชเสาวนีย์ หมายถึง พูด

คำพูด(ในปัจจุบันนี้ใช้กับสมเด็จพระบรมราชินีนาถ สมเด็จพระบรมราชินี และสมเด็จพระบรมราชชนนี )

พระสรรเพชญ ผู้รู้แจ้ง , รู้ทั่ว(หมายถึงพระพุทธเจ้า)

พุทธฎีกา คำพูด ถ้อยคำของพระพุทธเจ้า (ถ้อยคำของสมเด็จพระสังฆราช ก็ใช้คำนี้)

โพธิปักขิยธรรม ธรรมอันเป็นเครื่องเกื้อกูลแก่การตรัสรู้ ธรรมที่เกื้อหนุนแก่อริยมรรค มี ๓๗ ได้แก่

สติปัฏฐาน ๔ คือ ที่ตั้งของสติ , การตั้งสติกำหนดพิจารณาสิ่งทั้งหลาย ให้รู้เห็นตามความเป็นจริง ได้แก่

๑. กายานุปัสสนา สติปัฏฐาน การตั้งสติกำหนดพิจารณากาย ให้รู้เห็นตามเป็น

จริงว่าเป็นเพียงกาย ไม่ใช่สัตว์บุคคล ตัวตนเราเขา เห็นความไม่เที่ยง เป็นทุกข์

๒. เวทนานุปัสสนา สติปัฏฐาน การตั้งสติกำหนดพิจารณาเวทนา ให้รู้เห็นตาม

เป็นจริงว่าเป็นเพียงเวทนา ไม่ใช่สัตว์บุคคล ตัวตนเราเขา เห็นความไม่เที่ยง

เป็นทุกข์

๓. จิตตานุปัสสนา สติปัฏฐาน การตั้งสติกำหนดพิจารณาจิต ให้รู้เห็นตามเป็น

จริงว่าเป็นเพียงจิต ไม่ใช่สัตว์บุคคล ตัวตนเราเขา เห็นความไม่เที่ยง เป็นทุกข์

๔. ธัมมานุปัสสนา สติปัฏฐาน การตั้งสติกำหนดพิจารณาธรรม ให้รู้เห็นตามเป็น

จริงว่าเป็นเพียงธรรมไม่ใช่สัตว์บุคคลตัวตนเราเขา เห็นความไม่เที่ยง เป็นทุกข์

สัมมัปปธาน ๔ คือ ความเพียรชอบ ได้แก่

๑. สังวรปธาน เพียรระวัง ปิดกั้น ยับยั้งบาปอกุศลธรรมที่ยังไม่เกิด มิให้เกิดขึ้น

๒. ปหานปธาน เพียรละ กำจัด บาปอกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว

๓. ภาวนาปธาน เพียรเจริญ สร้าง ก่อให้เกิด กุศลธรรมที่ยังไม่เกิดให้เกิดมีขึ้น

๔. อนุรักขนาปธาน เพียรรักษากุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้วให้ตั้งมั่น และเจริญยิ่งขึ้น

ไปจนไพบูลย์

อิทธิบาท ๔ คือ คุณเครื่องให้ถึงความสำเร็จ , คุณธรรมที่นำไปสู่ความสำเร็จแห่งผลที่มุ่ง

หมาย ได้แก่

๑. ฉันทะ ความพอใจ ชอบใจ , ความต้องการที่จะทำ , ความใฝ่ใจรักที่จะกระทำ

สิ่งนั้น , ความปรารถนาที่จะทำสิ่งนั้นให้ให้ได้ผล ให้เจริญยิ่ง ๆ ขึ้นไป

๒. วิริยะ ความเพียร ความหมั่นประกอบสิ่งนั้นด้วยความพยายาม เข้มแข็งอดทน

ไม่ท้อถอย

๓. จิตตะ ความคิด ความฝักใฝ่ ความตั้งจิตรับรู้ในสิ่งที่ทำ และทำสิ่งนั้นด้วย

ความคิดแน่วแน่ ไม่ปล่อยใจให้ฟุ้งซ่าน เลื่อนลอยไป

๔. วิมังสา ความหมั่นใช้ปัญญาไตร่ตรอง ทดลอง ใคร่ครวญ พิจารณาตรวจตรา

หาเหตุผล และตรวจสอบข้อยิ่งหย่อนในสิ่งที่ทำนั้น มีการวางแผน วัดผล คิด

ค้นวิธีแก้ไขปรับปรุง เป็นต้น

พละ ๕ คือ ธรรมอันเป็นกำลังทำหน้าที่เป็นฝ่ายรับป้อง มิให้ธรรมฝ่ายตรงข้ามหรืออกุศลธรรมเข้ามาครอบงำได้ ได้แก่

๑. สัทธา กำลังคือความเชื่อ ความเห็นที่เป็นสัมมาทิฏฐิ

๒. วิริยะ กำลังคือความเพียรชอบ

๓. สติ กำลังคือความระลึกชอบ

๔. สมาธิ กำลังคือความตั้งจิตมั่นชอบ

๕. ปัญญา กำลังคือความรู้ทั่วชัด ตามความเป็นจริง

อินทรีย์ ๕ คือ ธรรมที่เป็นใหญ่ในกิจของตน ทำหน้าที่เป็นฝ่ายรุกขจัดระงับธรรมฝ่ายตรง

ข้ามหรืออกุศลธรรมที่จะมาครอบงำให้ อ่อนกำลัง สงบระงับ ไม่อาจจะมาครอบ

งำได้ ได้แก่

๑. สัทธินทรีย์ กิจคือความเชื่อ ความเห็นที่เป็นสัมมาทิฏฐิ

๒. วิริยินทรีย์ กิจคือความเพียรชอบ

๓. สตินทรีย์ กิจคือความระลึกชอบ

๔. สมาธินทรีย์ กิจคือความตั้งจิตมั่นชอบ

๕. ปัญญินทรีย์ กิจคือความรู้ทั่วชัด ตามความเป็นจริง

(ข้อ ๑๕–๑๙ ใน อินทรีย์ ๒๒)

โพชฌงค์ ๗ คือ ธรรมที่เป็นองค์แห่งการตรัสรู้ ได้แก่

๑. สติสัมโพชฌงค์ ความระลึกได้ สำนึกพร้อมอยู่ , ใจอยู่กับกิจ จิตอยู่กับเรื่อง

๒. ธัมมวิจยะสัมโพชฌงค์ ความเฟ้นธรรม , ความสอดส่องสืบค้นธรรม

๓. วิริยะสัมโพชฌงค์ ความเพียร

๔. ปีติสัมโพชฌงค์ ความอิ่มใจ

๕. ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ ความสงบกาย สงบใจ

๖. สมาธิสัมโพชฌงค์ ความมีใจตั้งมั่น จิตแน่วแน่ในอารมณ์

๗. อุเบกขาสัมโพชฌงค์ ความมีใจเป็นกลางเพราะเห็นตามเป็นจริง

มรรค มีองค์ ๘ (ดูรายละเอียดที่ อัฏฐังคิกมรรคธรรม*)

๑. สัมมาทิฏฐิ ความเห็นชอบ

๒. สัมมาสังกัปปะ ดำริชอบ

๓. สัมมาวาจา วาจาชอบ

๔. สัมมากัมมันตะ การกระทำชอบ

๕. สัมมาอาชีวะ เลี้ยงชีพชอบ

๖. สัมมาวายามะ เพียรชอบ

๗. สัมมาสติ ระลึกชอบ

๘. สัมมาสมาธิ ตั้งจิตมั่นชอบ

ภพ ๓ สภาวะ สภาพ ลักษณะของความมีอยู่ หรือแดนเกิดของหมู่สัตว์ มี ๓ คือ

๑. กามภพ สภาวะหรือแดนเกิดของหมู่สัตว์ที่ยังข้องอยู่ในกาม(กามาวจรภูมิ๑๑)

ได้แก่ นรกภูมิ,ติรัจฉานภูมิ,เปรตภูมิ,อสุรกายภูมิ,มนุษย์ภูมิ,จตุมหาราชิกาภูมิ,

ดาวดึงส์ภูมิ,ยามาภูมิ,ดุสิตภูมิ,นิมมานรดีภูมิ,ปรนิมมิตวสวัตดีภูมิ

๒. รูปภพ สภาวะหรือแดนเกิดของพรหมมีรูป(รูปาวจรภูมิ ๑๖) ได้แก่ พรหมปาริ

สัชชาภูมิ,พรหมปุโรหิตาภูมิ,มหาพรหมาภูมิ,ปริตตาภาภูมิ,อัปปมาณาภาภูมิ,

อาภัสสราภูมิ,ปริตตสุภาภูมิ,อัปปมาณสุภาภูมิ,สุภกิณหาภูมิ,เวหัปผลาภูมิ,

อสัญญีสัตว์ภูมิ,อวิหาภูมิ,อตัปปาภูมิ,สุทัสสาภูมิ,สุทัสสีภูมิ,อกนิฏฐาภูมิ

๓. อรูปภพ สภาวะหรือแดนเกิดของพรหมไม่มีรูป(อรูปาวจรภูมิ ๔) ได้แก่ อากา

สานัญจายตนภูมิ,วิญญาณัญจายตนภูมิ,อากิญจัญญายตนภูมิ,เนวสัญญานาสัญญายตนภูมิ

มทะ ความมัวเมา(ข้อ ๑๕ ในอุปกิเลส ๑๖ ดู กิเลส)

มมัง(มมังการ) ความถือว่าเป็นของเรา

มรรค(มรรคา) ทาง ,หนทางปฏิบัติ , ข้อปฏิบัติ ใช้ใน ๒ ความหมาย คือ

๑. ความหมายว่าโดยองค์ประกอบ หมายถึงข้อปฏิบัติ หรือหนทางปฏิบัติเพื่อให้

ถึงความดับทุกข์ ได้แก่ มรรคมีองค์ ๘ (ดู อัฏฐังคิกมรรคธรรม*)

๒. ความหมายว่าโดยระดับการให้สำเร็จกิจ หมายถึงหนทางอันให้ถึงความเป็น

อริยบุคคลแต่ละขั้น,ญาณที่ทำให้ละสังโยชน์ได้ขาด เป็นชื่อแห่งโลกุตตรธรรม

คู่กับผลมี ๔ ชั้นคือ โสดาปัตติมรรค ๑ สกทาคามิมรรค ๑ อนาคามิมรรค ๑

อรหัตตมรรค ๑

มัชฌตารมณ์ อารมณ์เฉย ๆ กลาง ๆ ไม่ดีไม่ชั่ว

มัชฌิมาปฏิปทา ทางสายกลาง เป็นหนทางปฏิบัติเพื่อให้ถึงความดับทุกข์ ได้แก่ มรรค มีองค์ ๘ (ดู อัฏฐังคิกมรรคธรรม*)

เป็นทางที่ไม่ข้องในส่วนสุดทั้ง ๒ คือ กามสุขัลลิกานุโยค และอัตตกิลมถานุโยค

มานะ ความถือตัว , ความสำคัญตัวว่าสูงกว่าเขา เสมอเขา ต่ำกว่าเขา , สำคัญตัวว่าเป็นนั่นเป็นนี่(ข้อ ๕ ในอนุสัย ๗ ข้อ ๘ ใน

สังโยชน์ ๑๐ , ข้อ ๑๓ ในอุปกิเลส ๑๖)

มิจฉาวิตก ความตรึก ความคิด การยกจิตขึ้นสู่อารมณ์อันชั่ว มี ๓ คือ

๑. กามวิตก ความคิดตรึกข้องอยู่ในกามคุณ

๒. พยาบาทวิตก ความตรึกในทางคิดร้ายต่อผู้อื่น , ความคิดที่ขัดเคืองชิงชัง ไม่ประกอบด้วยเมตตา

๓. วิหิงสาวิตก ความตรึกในทางเบียดเบียน,ความคิดในทางทำลาย หรือก่อความเดือดร้อนแก่ผู้อื่น

โยคาวจร(โยคาพจร) ผู้หยั่งลงสู่ความเพียร , ผู้ประกอบความเพียร (มักใช้เรียกผู้เพียรเจริญสมถกรรมฐานและ

วิปัสนากรรมฐาน)

รูปาพจร(รูปาวจร) เนื่องในรูปภพ , ท่องเที่ยวไปในรูปภพ , ระดับที่มีรูปธรรมเป็นอารมณ์ , อยู่ในระดับจิตชั้นรูปฌาน