เดเร็ค พิทนอฟ

กรณีของ นายเดเร็ค พิทนอฟ

(Derek Pitnov)

นายเดเร็ค พิทนอฟ เกิดเมื่อปี พ.ศ.๒๔๖๑ ที่เมืองแรงเกล(Wrangell) ในอลาสก้า(Alaska) แรกเกิดเขามีรอยแผลเป็นที่ติดตัวมาตั้งแต่แรกเกิด ซึ่ง ดร.เอียน สตีเวนสัน ได้ไปสอบเรื่องนี้เมื่อปี พ.ศ.๒๕๐๕ ก็ยังมีรอยแผลเป็นนั้นอยู่ ตอนนั้น นายเดเร็ก พิทนอฟ อายุ ๔๔ ปี

ลักษณะของรอยแผลเป็นนั้นเป็นรูปสี่เหลี่ยมข้าวหลามตัด ตอนที่ ดร.สตีเวนสัน ไปตรวจดูนั้น ยาวประมาณ ๑ นิ้ว กว้างประมาณ ครึ่งนิ้ว อยู่บริเวณใต้สะดือ เยื้องมาทางซ้ายประมาณ ๑ นิ้ว ยังเห็นเป็นรอยลึกลงไป

นายพิทนอฟ เล่าว่า เขาเห็นแผลนี้มา ตัง้แต่ยังเด็กๆอยู่ รอยแผลเป็นยาวกว่า ๑ นิ้ว และดูลึกกว่านี้อีก ตำแหน่งของแผลนี้ถ้าเป็นรอยถูกแทงด้วยหอกจะต้องถึงแก่ความตายทันที เคยมีหญิงชราในเมืองแรงเกลบอกกับเขาว่า รอยแผลเป็นที่ท้องของเขานั้น เกี่ยวข้องกันกับบรรพบุรุษของเขาคนหนึ่ง ซึ่งเป็นชาวเมืองแรงเกล เป็นผู้ที่มีชื่อสียงเกียรติคุณมาก ชื่อว่า “ชานิคกุ” ในสมัยนั้นชนชาวเมืองแรงเกลกับชาวเมืองชิตคาเป็นอริกัน มีการอาฆาตวิวาทรบพุ่งกันอยู่เสมอ

เมื่อปี พ.ศ.๒๓๙๕ – ๒๓๙๖ มีงานศพใหญ่ที่เมืองชิตคา(Sitka) ธรรมเนียมงานศพชาวอลาสก้าที่เมืองนี้ มีการเลี้ยงกันใหญ่โตและมีการแจกของอีกด้วย

ยัควัน หัวหน้าเผ่าชิตคา บอกข่าวมายังชาวเผ่าเมืองแรงเกลว่างานศพคราวนี้เชิญชาวเผ่าเมืองแรงเกลไปร่วมด้วย จะได้เป็นโอกาสลบล้างความอาฆาตพยาบาทกลับคืนดีมีมิตรภาพกันสืบไป

“ชานิคกุ” ความจริงเขาไม่ได้เป็นหัวหน้าเผ่าชาวเมืองแรงเกล แต่ได้นำชาวแรงเกลหมู่ใหญ่จากเมืองแรงเกลไปยังชิตคา ตามคำเชิญ แม้ว่าจะมีผู้ทักท้วงว่าอาจจะเป็นกลลวงของศัตรู แต่พวกเขาก็ยังไป

เมื่อไปถึงก็ได้รับการต้อนรับอย่างดี ชาวเมืองแรงเกลพาซื่อไม่ได้พกอาวุธติดตัวไปแต่อย่างใด แต่พอการเลี้ยงดูดำเนินไปได้สักพักใหญ่ ยัควัน กับพวกก็กระโจนเข้าใส่พวกแรงเกล เอาหอกแทงพวกแรงเกลตายไปราว ๔๐ คน มีคนหนีกลับมาเมืองแรงเกลได้ ๒-๓ คนเท่านั้น ข่าวเรื่องการทรยศล่อลวงนี้ได้แพร่ออกไปอย่างรวดเร็ว เป็นเหตุให้เกิดการรบราฆ่าฟันกันต่อไปอีกจนถึงปี พ.ศ.๒๔๖๑ จึงสงบคืนดีกัน แม้กระนั้นบางรายก็ยังพยาบาทและหวาดเกรงกันอยู่จนตราบเท่าทุกวันนี้ เรื่องนี้ปรากฏเป็นประวัติศาสตร์ของอลาสก้า ซึ่งมีข้อขอดพิสดารมาก

มีเรื่องกล่าวตอน “ชานิคกุ” ถึงแก่ความตายมีอยู่ว่า พอชานิคกุเห็น ยัควันกระโดดเข้าใส่พวกแรงเกล ชานิคกุ ร้องขึ้นว่า “ถ้าสูอยากจะฆ่าผู้ใด ก็จงฆ่าเราเสีย”

การกล่าววาจาแสดงเจตนาของ ชานิคกุเช่นนี้ แสดงความกล้าหาญองอาจในท่ามกลางข้าศึก แต่ก็หนีความตายไม่พ้น จึงต้องเป็นคนแรกที่ตายด้วยคมหอก

ยัควัน แทง ชานิคกุ แล้วชักหอกออกแทงผู้อื่นอีกต่อๆไป ศพของชาวแรงเกลก็ทอดทิ้งอยู่ในเมืองชิตคา พวกที่หนีรอดกลับเมืองได้ ก็มาเล่าให้พรรคพวกฟังว่าใครตายอย่างไรถูกแทงที่ใด และเล่าสืบต่อกันมาเป็นที่ทราบชัดเจนในหมู่ชาวแรงเกล

ลุถึงปี พ.ศ.๒๔๖๑ คือ ๖๖ ปี หลังจากเกิดเหตุทรยศครั้งนั้น ผู้เฒ่าผู้แก่ชาวแรงเกลก็บอกว่า รอยแผลเป็นที่ติดตัวมาตั้งแต่แรกเกิดของ นายพิทนอฟ ที่ท้อง มีลักษณะรอยแผลและตำแหน่งตรงกันกับบาดแผลของชานิคกุ ซึ่งชานิคกุก็คือปู่ทวดของนายพิทนอฟนั่นเอง

มีข้อสงสัยว่า เรื่องนานมาแล้วถึง ๖๖ ปี เหตุใดจึงยังจำกันได้ว่าใครถูกแทงที่ใด สำหรับเรื่องนี้ มีประเพณีของชาวอลาสก้า เผ่าทลิงกิตที่จะต้องท่องจำเรื่องราวสำคัญๆไว้ ให้แม่นยำ มีการสอบทานเด็กผู้ท่องจำสืบต่ออย่างระมัดระวังไม่ให้ตกหล่นขาดเกินได้ ชาวอลาสก้าเผ่านี้ ไม่ยินดีในการที่จะจดบันทึกไว้เป็นตัวหนังสือ โดยถือเหตุผลว่า การจดเป็นหนังสืออาจเขียนตก เติม แก้ไขเอาตามใจได้ ท่องบ่นเอาไว้ดีกว่า

เมื่อคราวที่ ดร.สตีเวนสัน ไปสอบเรื่องนี้ มีคนแก่เล่านิยายให้ฟัง ดร.สตีเวนสันหยิบกระดาษมาจดบันทึกเรื่องไว้ ผู้เฒ่านั้นแสดงความไม่พอใจบ่นว่า จดไว้อย่างนี้จะทำให้เรื่องราวเสียไปในภายหน้า เพราะจะมีการต่อเติมขึ้น เรื่องของ “ชานิกุ” จึงจำกันได้แม่ยำด้วยประการฉะนี้

สำหรับข้อสังเกตเกี่ยวกับรอยแผลเป็น ของกรณีศึกษาผู้จำอดีตชาติได้ในเผ่า ทลิงกิตที่ มักจะพบว่ามีรอยแผลเป็นตั้งแต่แรกเกิดลักษณะเป็นสี่เหลี่ยมข้าวหลามตัด อยู่หลายกรณี

เกี่ยวกับเรื่องนี้มีข้อสังเกตว่า ในสมัยก่อนชนเผ่าในอลาสก้ามักจะใช้หอกเป็นอาวุธเมื่อต้องรบพุ่งกันระหว่างชนเผ่า สำหรับลักษณะหอกของชนเผ่าทลิงกิตนั้นเป็นหอกที่มีลักษณะตอนกลางและตอนปลายแบน แต่ส่วนโคนของหอกที่ต่อกับด้าม เป็นรูปลักษณะสี่เหลี่ยมข้าวหลามตัด ฉะนั้นเมื่อเวลาแทงกันปลายหอกจะกดลงไปตัดเส้นโลหิต เมื่อแทงมิดลงไปจนถึงโคนแผลก็จะกว้างเป็นรูปสีเหลียมข้าวหลามตัด หอกของชาวตลิงกิช เรียวทั่งสองปลายและโคน กว้างไม่เกินหนึ่งนิ้วครึ่ง รูปลักษณะ ความยาวของรอยคล้ายแผลเป็นของนายพิทนอฟ นายทิพนอฟเองมิได้ยืนยันว่าตัวเขาคือ ชานิกกุ มาเกิดใหม่ แต่มีลักษณะอาการหลายประการของนายทิพนอฟ ที่น่าสังเกตดังต่อไปนี้

ประการแรก นายพิทนอฟ มี่ความรู้สึกกลัวมีด หอก และหอกปลายปืนมาตั้งแต่ยังเป็นเด็ก เขาไม่เล่นมีดเหมือนเด็กอื่นๆ เมื่อเขาเป็นทหารระหว่างมหาสงครามโลกครั้งที่สองตอนฝึกหัดแทงหอกปลายปืน เขาเกลียดที่สุด เขาไม่ให้ลูกของเขาเล่นมีด อาวุธอย่างอื่น เช่น ปืน เขาไม่เกลียดไม่กลัว เขาเกลียดเขากลัวแต่อาวุธมีคม ภริยาของนายทิพนอฟก็ยืนยันในเรื่องนี้ เขากวดขันไม่ให้ลูกเล่นมีดมากที่เดียว

ประการที่สอง นายทิพนอฟ แม้จะเกิดในเผ่าเมืองแรงเกล แต่มีน้ำใจอย่างแรงกล้าที่จะส่งเสริมให้ชาวเผ่าแรงเกลและเผ่าชิตคามีน้ำใจรักใคร่กัน เขาได้ไปตั้งหลักแหล่งอยู่ที่ชิตคา ซึ่งที่นั่นชนเผ่าชาวชิตคาที่ยังไม่เป็นมิตรกับชาวเผ่าแรงเกลก็ยังมีอยู่ เขารับตำแหน่งระดับสูงในสถาบันหลาย แห่งในชิตคา และมีจิตแรงกล้าที่ช่วยเหลือชนเผ่าชิตคา แม้มีชาวชิตคาบางคนไม่พอใจและคัดค้าน เขาก็พยายามเอาชนะน้ำใจคนเหล่านั้น ลักษณะนี้ก็ไปตรงกับคุณสมบัติของ ชานิคกุ ที่ได้พาชาวแรงเกลเดินทางไปยังเมืองชิตคา เพื่อฟื้นไมตรีกับชาวชิตคา ณ เมืองชิตคานั้น ยอมสละชีพเป็นคนแรก เมื่อชาวชิตคาเข้ามาทำร้ายด้วยความทรยศ นายพิทนอฟ แสดงบทบาทและเจตนาของเขาเหมือนกับ ชานิคกุ ผู้ล่วงลับไปแล้ว

ประการที่สาม เรื่องการถูกแทงที่ท้องนี้ นายพิทนอฟ มามีลักษณะอาการแห่งความเจ็บปวด เหมือนชานิคกุที่ตายไปแล้ว คือเมื่อขณะใดที่เขามีอาการตึงเคลียดทางจิตเกิดขึ้นเมื่อใด ก็จะเกิดความรู้สึกปวดที่ท้อง และจะเป็นเช่นนั้นเสมอๆ

จากข้อสังเกตลักษณะ ๓ ประการดังกล่าวที่ นายพิทนอฟ มีอยู่ ทำให้เชื่อว่าเขาคือ ชานิคกุ บรรพชนของชาวแรงเกล มากำเนิดเป็น นายพิทนอฟ เพื่อสืบทอดเจตนาของตนต่อไป