ผักกาดนกเขา

ผักกาดนกเขาชื่อวิทยาศาสตร์ : Emilia sonchifolia (L.) DC.ex Wight

ชื่อวงศ์ : ASTERACEAE (COMPOSITAE) ชื่ออื่น ผักกาดนกเขา มีชื่อเรียกแตกต่างกันหลายชื่อ เช่น ภาคกลาง เรียกว่าหางปลาช่อน ภาคอีสานเรียก ผักลิ้นปี่ ภาคเหนือเรียก ผักบั้งคุณอนันต์ ชื่ออื่น : ผักบั้ง, ลิ้นปี่, หูปลาช่อน, ผักแดง, หางปลาช่อน, เฮียะเออัง

นอกจากความเป็น “ผักเหนาะ” ซึ่งเป็นตัวประกอบบนโต๊ะกินข้าวของทางใต้และภาคอื่น ๆ แล้ว ผักกาดนกเขา ยังมี ....

ประโยชน์ทางยาสมุนไพร

ผักกาดนกเขา เป็นพืชที่มีรสจืดเย็น สามารถใช้ประโยชน์ได้ดังนี้

1.)ประโยชน์ทางอาหาร ยอดอ่อน ใบอ่อนกินเป็นผักเหนาะ จิ้มน้ำพริก แกงเลียง แกงคั่วพริกกับปลาย่าง

2.)ทางยา ในทางการแพทย์พื้นบ้านนิยมใช้เป็นยาสมุนไพรรักษาโรคหลายประการ ดังนี้

2.1)ใช้ลำต้นตำให้แหลกคั่นน้ำดื่มเป็นยา แก้เจ็บคอ รักษาโรค บิด และ ท้องร่วง

2.2)ใช้ทั้งต้นตำให้แหลกพอกหัวฝี และใช้ทาแก้อาการผื่นคัน

2.3) ใช้รากตำให้แหลกคั่นเอาน้ำดื่ม แก้ตานซางขโมยในเด็ก

2.4 )ใบคั้นเอาน้ำแก้คออักเสบ แก้เจ็บคอ ทั้งต้น แก้ไฟลามทุ่ง

2.5 )ฟอกเนื้องอกที่เต้านม แก้ปวดบวม เหง้า แก้บิด ห้ามเลือด แก้มดลูกอักเสบ ชงกับชา

2.6 )ดื่มหลังคลอด ขับประจำเดือน

*** โทษมหันต์ (ตามคำบอกเล่าของแพทย์แผนไทย)

1. ผักกาดนกเขา เป็นผักที่มีความทนทานต่อความแห้งแล้ว

2. สามารถการดูดซับเอาพิษจาก "ยาฆาแมลง" และ "ยาฆ่าหญ้า" ไว้ในลำต้นตัวเองแบบไม่ตายสะสมไว้ได้มากและนาน

เราจะต้องรู้จักเลือกกิน และควรศึกษาข้อมูลทั้งสองด้าน ไม่ควรศึกษาเฉพาะ

ส่วนที่เป็นคุณอย่างเดียว แต่ควรศึกษาด้วยว่า มีโทษหรือไม่อย่างไร

ทางเลือกที่ดี "ควรปลูกผักกาดนกเขาไว้กินเอง" จะดีกว่า เพราะผักกาดนกเขาปลูกง่าย ปลูกในกระถางก็ได้