พืชผักพอเพียง

กล้วยตานี : ปลูกป่า 3 อย่างประโยชน์ 4 อย่าง

ชื่อวิทยาศาสตร์: Musa balbisiana

ชื่อท้องถิ่นอื่นๆ: ในจังหวัดต่างๆก็จะมีชื่อเรียกแตกต่างกันในภาคใต้จะเรียกกล้วยตานีว่า กล้วยพองลา ส่วนในจังหวัดสุรินทร์ จะเรียกว่า กล้วยชะนี, กล้วยตานีใน, กล้วยป่า, กล้วยเมล็ด กล้วยงู

ถิ่นกำเนิดของกล้วยตานี: กล้วยตานีนั้นไม่ได้มีถิ่นกำเนิดมาจากประเทศไทย แต่แท้จริงแล้วมีถิ่นกำเนิดมาจาก แคว้นอัสสัมในประเทศอินเดีย

กล้วยตานี เป็นกล้วยชนิดหนึ่งซึ่งมีถิ่นกำเนิดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เป็นต้นตระกูลของกล้วยที่รับประทานได้

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ของกล้วยตานี

กล้วยตานีนั้นจัดได้ว่าเป็นพืชล้มลุก ที่มีลำต้นสูงใหญ่ประมาณ 3-4 เมตร โดยเส้นผ่าศูนย์กลางลำต้นจะอยู่ประมาณ 20 ซม. โดยลำต้น, ก้านใบและใบจะมีสีเขียว ใบไม่มีร่อง พ้อมกับใบจะเหนียวและมีลักษะมันวาวกว่าใบของต้นกล้วยชนิดอื่น มีกาบปลีกลักษณะปลายมน ป้อม มี 2 สีคือด้านล่างมีสีแดงเข้ม ส่วนด้านบนมีสีแดงแต่จะอมม่วงและมีสีขาวๆอยู่บ้าง

ผล กล้วยตานี 1 เครือ จะมีทั้งหมด 8 หวี และใน 1 หวีก็จะมีอยู่ประมาณ 10 – 14 ผล โดยลักษณะผลของกล้วยตานีจะมีลักษณะมีเหลี่ยม ผลป้อมและใหญ่ เมื่อสุกแล้วจะมีสีเหลือง รสชาติหวาน แต่คนส่วนใหญ่นิยมกินกล้วยน้ำว้ามากกว่าเพราะกล้วยตานีนั้นมีเมล็ดอยู่เป็นจำนวนมาก

ฤดูกาลที่กล้วยตานีเจริญเติบโต: กล้วยตานีนั้นจะสามารถออกผลได้ตลอดทั้งปี

แหล่งปลูก: เราจะสามารถปลูกกล้วยตานีได้ทุกที่ทั่วประเทศไทย

เมนูที่ทำจากกล้วยตานี: กล้วยนั้นถือว่าเป็นพืชที่ใช้ประโยชน์ได้ทั้งต้นจริงๆ โดยส่วนปลีและหยวกกล้วยนั้น สามารถนำไปปรุงอาหารได้ เช่น นำไปใส่แกงหรือหมกใส่ไก่ได้ หรือจะ กินสดโดยใส่กับผัดไทยก็สามารถทำได้ ผลอ่อนที่เมล็ดยังไม่แข็งมากสามารถนำมาตำทำเป็นตำกล้วยได้

สรรพคุณทางยาและประโยชน์ของกล้วยตานี

กล้วยนั้นถือว่ามีสรรพคุณต่างๆมากมาย ดังต่อไปนี้

1. ถ้าหากนำใบที่แห้งแล้วนำไปต้มกับใบมะขาม สามารถนำน้ำมาอาบได้ เพื่อแก้ผดผื่นคันตามตัวได้

2. ช่วยแก้ท้องเสียได้ โดยการนำผลดิบที่ยังอ่อนอยู่ นำมาฝานแล้วตากแดดไว้หลังจากนั้นนำมาบดแล้วรับประมานจะช่วยแก้ท้องเสียได้

3. ช่วยแก้ร้อนใน ดับกระหายได้ โดยการนำรากมาต้มน้ำรับประทาน

4. ลำต้น หรือกาบตรงลำต้น สามารถนำมาทำเป็นเชือกใช้ทอผ้าได้

5. สามารถนำมาทำอาหารสัตว์หรืออาหารของคนได้

6. ช่วยกันผมร่วงและเร่งให้ผมเจริญเติบโตเร็วขึ้น โดยนำลำต้นมาคั้นน้ำแล้วนำมาทากับผมตรงที่เราต้องการ

7. ใบของกล้วยตานีนั้นจะนิยมนำมาทำงานประดิษฐ์ต่างๆเพราะใบกล้วยตานีนั้นมีใบที่ใหญ่และเหนียวไม่แตกง่าย

8. ช่วยบรรเทาอาการเคล็ดขัดยอกได้ โดยการนำใบกล้วยที่อ่อน นำมาอังไฟแล้วนำมาทาบริเวณที่เคล็ดขัดยอกจะช่วยบรรเทาได้

9. หัวปลีนั้นสามารถใช้บำรุงน้ำนมมารดาได้ โดยวิธีการคือนำหัวปลีกไปต้มแล้วคั้นสด รับประทานจะช่วยบำรุงน้ำนมแม่ได้

10. หัวปลีก็ยังสามารถรักษาโลหิตจางได้เพราะหัวปลีมีธาตุเหล็กอยู่มาก วิธีการทำโดยการนำหัวปลีไปตากแห้งแล้วรับประทาน สามารถใช้รักษาโลหิตจางได้

ปลูกป่า 3 อย่างประโยชน์ 4 อย่าง

พระราชดำริการพัฒนาป่าไม้ ของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรในการผสมผสานการอนุรักษ์ ดิน น้ำ และการฟื้นฟูทรัพยากรป่าไม้ ควบคู่กับความต้องการด้านเศรษฐกิจ

ปลูกป่า 3 อย่าง คือ

1. ป่าไม้ใช้สอย คือ ไม้โตเร็ว

2. ป่าไม้เศรษฐกิจ คือ เช่น ไม้สัก ประดู่ พะยูง

3. ป่าไม้กินได้ คือ ไม้ผล เช่น กล้วย มะม่วง และผักกินใบต่าง ๆ

***กล้วยตานี จัดเป็นพืช อย่างที่ 3 กล่าวคือ เป็นป่าไม้กินได้ ***

ประโยชน์ 4 อย่าง คือ

1. ไม้ใช้สอย สำหรับใช้ในครัวเรือน เช่น นำมาสร้างบ้าน ทำเล้าเป็ด เล้าไก่ ด้ามจอบเสียม ทำหัตถกรรม หรือกระทั่งใช้เป็นเชื้อเพลิง (ฟืน) ในการหุงต้ม

2. เป็นแหล่งรายได้ของครัวเรือน เป็นพืชที่สามารถนำมาจำหน่ายได้ ซึ่งควรปลูกพืชหลากหลายชนิดเพื่อลดความเสี่ยงเรื่องราคาตกต่ำและไม่แน่นอน

3. นำมาเป็นอาหาร ทั้งพืชกินใบ กินผล กินหัว และเป็นยาสมุนไพร

4. ประโยชน์ในการช่วยอนุรักษ์ดินและน้ำ การปลูกพืชที่หลากหลายอย่างเป็นระบบ จะช่วยสร้างสมดุลของระบบนิเวศ ช่วยปกป้องผิวดินให้ชุ่มชื้น ดูดซับน้ำฝน

***กล้วยตานี จัดเป็นพืชที่ใช้ประโยชน์ อย่างที่ 3 นำมาเป็นยาสมุนไพร***

เทคนิคการปลูกป่า

แบ่งป่าออกเป็น 5 ระดับ ตามชั้นความสูงของต้นไม้และระบบนิเวศของป่าดังนี้

1. ไม้ระดับสูง อาทิ ตะเคียน ยางนา มะค่าโมง สะตอ มะพร้าว ฯลฯ

2. ไม้ระดับกลาง อาทิ ผักหวานป่า ติ้ว พลู ก้าลังเสือโคร่ง กล้วย ฯลฯ

3. ไม้พุ่มเตี้ย อาทิ ผักหวานบ้าน มะนาว พริกไทย, ย่านาง, เสาวรส ฯลฯ

4. ไม้เรี่ยดิน อาทิ หน้าวัว ผักเสี้ยน มะเขือเทศ สะระแหน่ง ฯลฯ

5. ไม้หัวใต้ดิน อาทิ ข่า ตะไคร้ ขมิ้น ไพล เผือก มัน บุก กลอย ฯลฯ

*** กล้วยตานี เป็นไม้ระดับกลาง ปลูกในระดับที่ 2***

ข้อคำนึงในการปลูกป่า 3 อย่าง

1. การปลูกช่วงแรกควรเลือกปลูกไม้เบิกนำ เช่น แค มะรุม สะเดา กล้วย อ้อย ไผ่ ข้าวและพืชผัก ทั้งนี้ เพราะเป็นพืชอาหารและไม้ใช้ สอยเล็ก ๆ น้อย ๆ ที่โตและให้ผลผลิตเร็ว สามารถคลุมดินและดูดซับ ความชุ่มชื้น โดยควรเน้นปลูกพืชกินได้ ที่โตไวเพื่อเป็นแหล่งอาหาร และไม้ใช้สอย

2. ไม้ปลูกเพื่ออยู่อาศัย หรือไม้เศรษฐกิจขนาดใหญ่ หรือไม้ระดับสูง ควรปลูกในปีที่ 2

3. ไม้สมุนไพร ส่วนใหญ่จะเป็นไม้พุ่มเตี้ย ไม้เรี่ยดิน และไม้หัวใต้ดิน มักจะเจริญเติบโตได้ดี ในที่ร่มและร่มรำไร

4. นาข้าวควรเลือกทำในพื้นที่ให้เหมาะสม สามารถให้ผลผลิตเพียงพอ ตลอดทั้งปี

5. ควรขุดร่องน้ำขนาดเล็กเพื่อเก็บน้ำและความชุ่มชื้นแก่ต้นไม้ อีกทั้ง สามารถใช้เลี้ยงปลาเพื่อเป็นอาหาร และหมุนเวียนน้ำไปสู่บ่อขนาดใหญ่

***กล้วยตานี เป็นไม้เบิกนำ เลือกปลูกเป็น อันดับ 1 เพราะเป็นพืชอาหารโตและให้ผลผลิตเร็ว

หลัก 7 พอ(เพียง)

1. พออยู่ สามารถพึ่งตนเองด้านที่อยู่อาศัยได้

2. พอกิน สามารถพึ่งตนเองเรื่องอาหารและยารักษาโรคได้

3. พอใช้ สามารถพึ่งตนเองเรื่องรายจ่ายที่ต้องใช้ในชีวิตประจำวันได้

4. พอร่มเย็นเป็นสุข สามารถมีความสุข อิ่มเอิบใจ กับสิ่งที่มีที่ทำได้

5. พอพลังงานทดแทน ด้วยการปลูกอ้อยอินทรีย์ หรือพืชพลังงานอื่นๆ ร่วมกับป่า 3 อย่าง ร้อยละ 70

6. พอพัฒนาคน

7. มีข้อมูลและสื่อสารสู่สาธารณะที่พอเพียง

*** กล้วยตานี หลัก 7 พอ(เพียง) ข้อพอกิน สามารถพึ่งตนเองเรื่องอาหารและยารักษาโรคได้***