ผักสวนครู

พริกขี้หนู

วิทยาศาสตร์ Capsicum frutescens Linn. 

ชื่อสามัญ Bird pepper, Chili pepper, Cayenne Pepper, Tabasco pepper 

ชื่อวงศ์  Solanaceae 

ชื่อในท้องถิ่น พริก (กลาง, เหนือ) พริกขี้หนู (กลาง) หมักเพ็ด (อีสาน) พริกแด้ พริกแต้ พริกนำ (เหนือ) หมักเพ็ดครี (กระเหรี่ยงกำแพงเพชร) ดีปลี (ปัตตานี) ดีปลีขี้นก พริกขี้หนู (ใต้) ปะแกว (ชาวบน- นครราชสีมา) มะระตี้ (เขมร-สุรินทร์) มือซาซีซู มือส่าโพ (กระเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน)

มีถิ่นกำเนิดในอเมริกากลาง และอเมริกาใต้

พริกขี้หนู (Hot chilli) ถือเป็นพริกที่นิยมนำมารับประทานหรือนำมาใช้ประโยชน์มากในบรรดาพริกทั้งหลาย เนื่องด้วยเป็นพริกที่มีรสเผ็ดจัด สีแดงสดสวยงามเหมาะสำหรับการปรุงอาหารหรือนำมาแปรรูปเป็นพริกป่นสำหรับการประกอบอาหาร 

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ลำต้น

ต้นพริกขี้หนูมีการเติบโตของกิ่งแบบ Dichotomous คือ กิ่งแตกออกจากลำต้นเพียงกิ่งเดียวและจะแตกเพิ่มเป็น 2 เท่า เรื่อยๆ เป็น 2 กิ่ง เป็น 4 กิ่ง และ 8 กิ่ง จนมีลักษณะเป็นทรงพุ่ม

ราก

รากพริกขี้หนู ประกอบด้วยรากแก้ว และรากฝอยจำนวนมาก มีลักษณะการแผ่ออกด้านข้างเป็นรัศมีได้มากกว่า 1 เมตร และหยั่งลึกได้มากกว่า 1.20 เมตร บริเวณรอบๆโคนต้นจะมีรากฝอยสานกันหนาแน่น

ใบ

ใบเป็นชนิดใบเดี่ยว มีลักษณะแบนเรียบ สีเขียวอ่อน และเขียวเข้มตามอายุของใบ ใบเป็นมัน มีขนปกคลุมเล็กน้อย รูปร่างของใบมีลักษณะรูปไข่จนถึงเรียวยาว ปลายใบแหลม ใบออกบริเวณกิ่งแบบตรงข้ามกัน และมีขนาดแตกต่างกันตามสายพันธุ์ แต่ทั่วไปใบพริกขี้หนูจะมีขนาดเล็กในระยะต้นกล้า และมีขนาดใหญ่ เมื่อต้นโตเต็มที่

ดอก

พริกขี้หนูเป็นดอกชนิดเดี่ยว ขนาดเล็ก แตกออกบริเวณข้อตรงที่มุมด้านบนของก้านใบหรือกิ่ง อาจมีดอกเดียวหรือหลายดอกในจุดเดียวกัน ก้านดอกตรงหรือโค้ง ดอกมีกลีบรอง มีลักษณะเป็นพู สีขาวหรือสีม่วงประมาณ 5 กลีบ เกสรตัวผู้มีประมาณ 1-10 อัน แตกออกจากโคนขที่กลีบดอก อับเกสรตัวผู้มักมีสีน้ำเงิน เป็นกระเปราะขนาดเล็ก และยาว ส่วนเกสรตัวเมียมี 1- 2 รังไข่ มีลักษณะชูขึ้นเหนือเกสรตัวผู้ รูปร่างเหมือนกระบองหัวมน รังไข่มี 3  – 4 พู มักจะออกดอก และติดผลในช่วงวันสั้น


ประโยชน์ของพริกขี้หนู

พริกขี้หนูจัดว่าเป็นสมุนไพร ที่มีสรรพคุณในการบำรุงร่างกาย ป้องกันโรคร้ายแรงได้หลายชนิด มีส่วนช่วยในการลดน้ำหนัก มีสารอาหารที่ดี และยังมีสรรพคุณหรือข้อดี ได้แก่

1.ช่วยลดน้ำหนัก

การทานพริกขี้หนูสามารถช่วยลดน้ำหนักได้ เพราะในพริกขี้หนูมีสาร thermogenic ที่ทำให้เกิดความร้อนภายในร่างกาย ทำให้ระบบการเผาผลาญทำงานได้ดีขึ้น ส่งผลให้น้ำหนักตัวลดลงได้อย่างรวดเร็ว นอกจากนี้ ในพริกยังมีสารแอสคอร์บิก ที่ช่วยเร่งให้ร่างกายเปลี่ยนไขมันไปเป็นพลังงานได้อีกด้วย ซึ่งจากการศึกษาในประเทศญี่ปุ่นก็ค้นพบว่า การทานพริก 10 กรัม จะทำให้อัตราการเผาผลาญพลังงานเพิ่มอย่างรวดเร็ว โดยเพิ่มยาวนานมากถึง 30 นาที สำหรับผู้ที่อยากลดน้ำหนักแนะนำให้ทานพริกสกัด โดยในพริกยังมีวิตามินซีสูง ที่จะช่วยขยายเส้นเลือดในลำไส้และกระเพาะอาหาร ทำให้ร่างกายดูดซึมสารอาหารได้เป็นอย่างดี และยังมีส่วนช่วยกระตุ้นระบบการขับถ่ายให้ทำงานอย่างเป็นปกติอีกด้วย

2.ช่วยให้อารมณ์สดใส

เชื่อหรือไม่ว่าการทานพริกขี้หนูนั้น จะทำให้อารมณ์ดีขึ้นได้ เพราะในพริกมีสารแคปไซซินที่จะช่วยกระตุ้นสมองให้หลั่งสารเอ็นดอร์ฟิน สารชนิดนี้มีคุณสมบัติหลายประการต่อร่างกาย โดยจะช่วยลดอาการเจ็บปวด มีส่วนช่วยในการลดฮอร์โมนความเครียด ทำให้อารมณ์สดใส รู้สึกสดชื่น ช่วยลดระดับความดันโลหิต ทำให้รู้สึกผ่อนคลาย จึงทำให้มีความสุขมากขึ้น

3.ทำให้เจริญอาหาร

สารเอ็นดอร์ฟินนอกจากจะช่วยทำให้อารมณ์สดใสขึ้นแล้ว ยังมีส่วนช่วยทำให้อาหารอร่อยมากยิ่งขึ้น พริกขี้หนูยังทำให้ต่อมน้ำลายทำงานมากขึ้น ช่วยกระตุ้นปลายประสาท ทำให้สมองส่วนกลางรับรู้ความอยากทานอาหาร จึงทำให้หลายคนชอบทานเผ็ด เพราะยิ่งทานอาหารที่มีรสเผ็ดก็จะยิ่งทำให้ทานอาหารอร่อยยิ่งขึ้น

4.ลดอาการปวด

อย่างที่ทราบกันดีแล้วว่าสารแคปไซซินที่อยู่ในพริกขี้หนูจะช่วยกระตุ้นสมองให้หลั่งสารเอ็นดอร์ฟินออกมา ซึ่งเป็นสารที่ช่วยลดอาการเจ็บปวดโดยธรรมชาติ ทำให้เกิดอาการเจ็บปวดน้อยลง ในสมัยโบราณได้มีการนำพริกขี้หนูมาใช้ทำลูกประคบ ใช้ทำน้ำมันแก้ปวดเมื่อยตามข้อ ในปัจจุบันได้มีการสกัดสารแคปไซซินออกมา โดยนำมาใช้เป็นส่วนประกอบของขี้ผึ้งและเจล เพื่อใช้ทาบรรเทาอาการปวดบวมตามส่วนต่าง ๆ ของผิวหนัง ช่วยบรรเทาอาการปวดที่เกิดจากเส้นเอ็น เข่าอักเสบ บรรเทาอาการปวดข้อได้เป็นอย่างดี และยังช่วยลดอาการปวดเมื่อยตามตัวลงได้อีกด้วย

5.บำรุงสายตา

ในพริกขี้หนูยังมีปริมาณวิตามินเอและวิตามินซีอยู่สูง โดยพริกขี้หนูมีสารเบต้าแคโรทีนซึ่งเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ ที่ช่วยบำรุงและป้องกันจอประสาทตาเสื่อม พริกจึงจัดว่าเป็นอาหารบำรุงสายตาอย่างดี หากอยากได้รับวิตามินเอจากพริก ควรทานสด ๆ โดยไม่ต้องมีการปรุงสุก

6.ช่วยให้หายใจสะดวกขึ้น

เวลาที่เราทานอาหารเผ็ดเราจะสังเกตได้ว่า จะมีอาการน้ำมูก น้ำตาไหล นั่นเป็นเพราะความเผ็ดของพริกขี้หนูและสารก่อความร้อนที่อยู่ในพริกขี้หนู จะช่วยลดปริมาณน้ำมูก ทำให้หายใจโล่งขึ้น ช่วยลดอาการคัดจมูก บรรเทาอาการไอ ละลายเสมหะ ช่วยขับเสมหะ สำหรับผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ เช่น ไซนัส ภูมิแพ้ หอบหืด หลอดลมอักเสบ ให้รับประทานพริกอย่างเป็นประจำ แต่อย่าทานเผ็ดมากจนเกินไป เพราะจะทำให้ระคายเคืองกระเพาะอาหารได้

ข้อควรระวังในการรับประทานพริกขี้หนู

ควรรับประทานพริกขี้หนู

น้ำนมจะมีสาร Casein ที่ช่วยทำลายความเผ็ดลงได้

ก็จะทำให้ผิวหนังเกิดอาการแสบร้อนได้

 

หมายเหตุ : พริกขี้หนูสวน จะมีขนาดเล็กกว่า พริกขี้หนูธรรมดา มีความเผ็ดและความหอมมากกว่าพริกขี้หนูธรรมดา นิยมนำมาทำน้ำพริกกะปิ กับแหนม สาคู ข้าวขาหมู ฯลฯ



แหล่งอ้างอิงข้อมูล : วิกิพีเดีย (สารานุกรมเสรี), https://medthai.com, https://www.honestdocs.co

เรียบเรียงข้อมูล : ห้องสมุดประชาชนอำเภอหาดใหญ่