ต้นจั๋ง

จั๋งญี่ปุ่น (อังกฤษ: lady palm หรือ Bamboo palm) เป็นไม้พุ่มสูง 10-15 ฟุต ลำต้นมีขนาดเล็ก เส้นผ่าศูนย์กลางไม่เกิน 2 นิ้ว มีการแตกหน่อ มองดูเป็นกอเหมือนกอไผ่ ลำต้นแข็งเหนียว คล้ายหวาย มีแผ่นใบหยาบ ๆ สีน้ำตาลเข้มคลุมบาง ๆ ใบเป็นใบประกอบ รูปฝ่ามือ มีใบย่อย 8-10 ใบ สีเขียวเป็นมัน แผ่เป็นครึ่งวงกลม ก้านใบเรียบเป็นมัน ปลายใบทู่ ดอกช่อ ออกตามซอกใบบริเวณปลายยอด แยกเป็นช่อดอกตัวผู้และช่อดอกตัวเมีย แยกคนละต้น ผลขนาดเล็กกลม สีเขียวอ่อนอมเหลือง เมล็ดมี 1 เมล็ดใน 1 ผล การขยายพันธุ์เพาะเมล็ด แยกหน่อ สันนิษฐานว่ามีถิ่นกำเนิดในไต้หวัน และตอนใต้ของจีนใช้จัดสวนหย่อม หรือปลูกเป็นกอเดี่ยวตามมุมอาคารที่ไม่มีชายคา ปลูกเป็นไม้ประธานในการจัดสวน ใช้ประดับอาคารหรือที่ได้รับแสงรำไร

จั๋งจีน

ชื่อวิทยาศาสตร์: Rhapis excelsa (Thunb.) Henry ex rehder

ชื่อสามัญ: lady palm, Bamboo palm, Ground

ชื่ออื่น: –

วงศ์: ARECACEAE

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ต้น พืชจำพวกปาล์ม อายุหลายปี สูงได้ถึง 5 เมตร ลำต้นมีเส้นใยรยางค์ละเอียดสีน้ำตาลเข้มหรือสีดำปกคลุมอย่างหนาแน่น

ใบ ใบประกอบ เรียงสลับ รูปพัด กว้างประมาณ 40 เซนติเมตร ขอบหยักเว้าถึงสะดือ ใบย่อย 10-20 ใบ รูปแถบแคบ กว้างประมาณ 2 เซนติเมตร ยาว 15-18 เซนติเมตร ปลายทู่ โคนรูปลิ่ม ขอบเรียบ ใบหนา เป็นมัน แผ่นใบสีเขียวเข้ม แผ่เป็นครึ่งวงกลม ก้านใบเรียบ เป็นมัน

ดอก ดอกเป็นช่อ ออกตามปลายยอด ดอกไม่สมบูรณ์เพศ แบบแยกกันอยู่คนละต้น

ผล ผลกลมขนาดเล็ก สีเขียวอ่อนอมเหลือง เมื่อแก่มีสีคล้ำและสีชมพูอ่อนๆ

ข้อมูลทั่วไป

มีถิ่นกำเนิดในไทย จีน ญี่ปุ่น และมาเลเซีย

การปลูกเลี้ยงและการใช้ประโยชน์

      การปลูกเลี้ยง

      ดินร่วน ต้องการน้ำปานกลาง ชอบแสงแดดจัด

      การขยายพันธุ์

      เพาะเมล็ด แยกหน่อ

   การใช้ประโยชน์

   ปลูกประดับสวน ปลูกภายในอาคาร