พืช โคกหนองนาจำลอง กศน.อำเภอหาดใหญ่

มะม่วง

ชื่อวิทยาศาสตร์: Mangifera indica L.

ชื่อวงศ์ : ANACARDIACEAE

ชื่อสามัญ : Mango

ชื่อพื้นเมืองอื่น : แป (ละว้า-เชียงใหม่) ; สะเคาะ, ส่าเคาะส่า (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน) ; หมักโม่ง (เงี้ยว-ภาคเหนื่อ) ; มะม่วง, มะม่วงบ้าน (ทั่วไป) ; มะม่วงสวน (ภาคกลาง) ; ขุ (กะเหรี่ยง-กาญจนบุรี) ; โคกแล้ะ (ละว้า-กาญจนบุรี) ; เจาะช้อก, ช้อก (ซอง-จันทบุรี) ; โตร้ก (ชาวบน-นครราชศรีมา) ; เปา (มลายู-ภาคใต้)

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ไม้ต้น (T) ขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ สูงประมาณ 20-30 เมตร แตกกิ่งก้านสาขาออกไปรอบต้นมากมายจนดูหนาทึบ เปลือกของลำต้นมีสีน้ำตาลอมดำ ผิวขรุขระ เป็นร่องตามแนวยาวของลำต้น

ใบ เป็นใบเดี่ยว จะเรียงกันออกเป็นคู่ ๆ ลักษณะใบรูปยาวรี รูปหอกหรือรูปไข่ ปลายใบแหลม โคนใบสอบ ขอบใบเรียบหรือเป็นคลื่นเล็กน้อย ใบสีเขียวหรือสีเขียวเข้ม ด้านแผ่นใบเป็นมันเล็กน้อย ด้านท้องใบสีอ่อนกว่า เนื้อใบค่อนข้างหนา

ดอก ออกเป็นช่อกระจาย ช่อหนึ่งประมาณ 15-20 ดอก แต่ละดอกมีขนาดเล็ก ดอกมีสีนวลหรือเหลียงอ่อน กลีบรองกลีบดอก และกลีบดอกมี 5 กลีบ

ผล เมื่อดอกโรยจะติดผล ลักษณะแตกต่างกันตามแต่ละพันธุ์ มีเนื้อภายใน มีเมล็ด 1 เมล็ด เมื่อยังดิบมีสีเขียว เมื่อแก่หรือสุกจะเปลี่ยนเป็นสีเหลืองสด

นิเวศวิทยา

เป็นไม้กลางแจ้ง ที่ชอบแสงแดดจัด ปลูกกันทั่วไปทุกภูมิภาคของประเทศ นิยมปลูกกันตามที่สาธารณะหรือตามบ้านเรือนไว้เป็นร่มเงา หรือปลูกเป็นไม้ผลเพื่อการค้า

การปลูกและขยายพันธุ์

เจริญเติบโตได้ดีในดินร่วน ต้องการความชื้นปานกลาง ขยายพันธุ์ด้วยการเพาะเมล็ด ตอนกิ่ง หรือการทาบกิ่ง

ประโยชน์ทางยา

รสและสรรพคุณในตำรายา

เปลือกลำต้น รสเปรี้ยวเฝื่อน ต้มน้ำดื่มเป็นยาแก้ไข้ แก้โรคคอตีบ แก้เยื่อปากอักเสบ แก้เยื่อเมือกในจมูกอักเสบ

ใบ รสเฝื่อน แก้ลำไส้อักเสบเรื้อรัง แก้ซางตานขโมยในเด็ก แก้ท้องอืดแน่น

ผลสด ผลดิบรสเปรี้ยว ผลสุกรสหวาน นำมารับประทานเป็นยาแก้คลื่นไส้ อาเจียน วิงเวียน แก้โรคเลือดออกตามไรฟัน ขับปัสสาวะ เป็นยาระบาย

เมล็ด รสเฝื่อน เป็นยาถ่ายพยาธิตัวกลม แก้ท้องร่วง แก้บิดเรื้อรัง ริดสีดวงทวาร ตกขาว ท้องอืด แก้ไส้เลื่อน และแก้ไอ

วิธีและปริมาณที่ใช้

การปลูก:


สามารถปลูกด้วย กิ่งตอน กิ่งทาบ การเพาะเมล็ด หรือการเปลี่ยนยอด


การปลูกด้วยกิ่งตอน ให้ปลูกลึกระดับเดียวกับดินในภาชนะเดิม หรือให้เหลือจุกมะพร้าวที่ใช้ในการตอนสูงกว่าระดับดินเล็กน้อย ไม่ควรกลบดินจนมิดจุกมะพร้าว เพราะจะทำให้เน่าได้ง่าย


การปลูกด้วยกิ่งทาบ กิ่งติดตา ให้ปลูกลึกระดับเดียวกับดินในภาชนะปลูกเดิม หรือสูงกว่าเดิมเล็กน้อย แต่ต้องไม่มิดรอยที่ติดตาหรือต่อกิ่งไว้ เพื่อจะได้เห็นว่ากิ่งที่แตกออกมานั้นแตกออกมาจากกิ่งพันธุ์หรือจากต้นตอ ถ้าเป็นกิ่งที่แตกจากต้นตอให้ตัดทิ้งไป


การปลูกโดยการเพาะเมล็ด  โดยการนำเมล็ดมาตัดส่วนปลายออกเล็กน้อย นำไปกดลงในหลุมปลูกให้ลึกประมาณ 3 ส่วนของเมล็ด โดยให้ส่วนโค้งอยู่ด้านบน นำฟางข้าวหรือเศษหญ้าแห้งกลบให้ทั่วหลุมปลูก ลดน้ำให้ชุ่มอยู่เสมอ วิธีนี้อาจได้พันธุ์มะม่วงใหม่ๆ


การปลูกโดยการเปลี่ยนยอด ทำเหมือนกับการเพาะเมล็ด เมื่อต้นโตมีเส้นผ่าศูนย์กลางของลำต้นที่ระดับความสูง 30 ซม. ประมาณ 1 - 2 ซม. นำยอดพันธุ์ที่ต้องการไปเปลี่ยนโดยวิธีเสียบข้าง ในระยะนี้ควรทำที่บังแดดให้กับกิ่งพันธุ์ที่เปลี่ยนไว้ด้วย เมื่อกิ่งพันธุ์ที่ต้องการติดดีแล้วให้ตัดยอดของต้นตอทิ้ง วิธีนี้มักจะได้ต้นมะม่วงที่มีความสูงระดับเดียวกันทั้งสวน


วิธีการปลูก

ควรปลูกช่วงต้นฤดูฝน หรือประมาณเดือนพฤษภาคม ถึง กรกฎาคม เพื่อให้มะม่วงตั้งตัวได้เร็วขึ้น เนื่องจากอากาศและดินมีความชุ่มชื้นดี และเป็นการสะดวกที่ไม่ต้องรดน้ำในระยะแรก


หลุมปลูกควรขุดให้มีขนาดความกว้าง ยาว และลึก ไม่น้อยกว่า 30x30x30 ซม. หากดินในพื้นที่ไม่ค่อยอุดมสมบูรณ์มากด้วยแล้วต้องขุดหลุมปลูกให้มีขนาดใหญ่ และนำดินที่อุดมสมบูรณ์มาใส่เพื่อให้มะม่วงในระยะแรกเจริญเติบโตได้ดี


ระยะปลูกระหว่างแถวและระหว่างต้น ขึ้นอยู่กับความต้องการของผู้ปลูกว่าต้องการเช่นไร ในที่นี้ขอแนะนำในระยะ 6x6 ม.


การปลูก ควรมีหลักไม้ปักกับดินแล้วผูกต้นเพื่อไม่ให้ลมโยกและทำที่บังแสงแดดให้ใน ระยะแรก รดน้ำให้มีความชุ่มชื้นอยู่เสมอ ในปีแรกหากมะม่วงติดดอกให้ตัดออกเพื่อให้มะม่วงเจริญเติบโตทางทรงต้นให้สมบูรณ์ดีเสียก่อน



โรค: แอนแทรคโนส (anthracnose: Colletotrichum gleosporiodes Penz) ซึ่งทำอันตรายกับทุกส่วนของต้น อาการบนใบจะเห็นเป็นจุดๆ สีน้ำตาลดำ และขยายตัวออกเป็นแผลแห้งๆ ขอบแผลมีสีเข้ม ที่ใบ กิ่ง ช่อดอก และผล ทำให้ใบเป็นรูพรุนทั่วไป ถ้าเป็นกับใบอ่อนหรือยอดอ่อน จะทำให้ใบบิดเบี้ยวและยอดแห้ง ถ้าเกิดที่ดอกจะทำให้ดอกร่วง ถ้าเกิดกับผลอ่อนจะทำให้ผลนั้นแคระแกร็น ไม่เจริญเติบโต ส่วนผลที่มีขนาดเล็ก ถ้าเป็นโรคนี้อาจร่วงไปเลย

 

การป้องกันและกำจัด

 


1.ตัด ทำลาย นำไปเผาไฟทิ้ง

2.พ่นสารกันเชื้อรา เช่น ไชเนบ (Zinep), แมนเซทดี (Manzate-D), หรือ เบนเลท 50 จำนวน 10 - 12 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร ทุกๆ 7 - 10 วัน โดยเฉพาะในระยะที่มีอากาศชุ่มชื้นมาก เช่น ในฤดูฝน



แมลง:



เพลี้ยจั๊กจั่นมะม่วง (Mango hopper: Idiocerus spp.) จะเข้าทำลายมะม่วงตั้งแต่เริ่มออกดอก โดยจะดูดกินน้ำเลี้ยงจากดอกและช่อดอก ทำให้ดอกร่วงหล่น ถ้าดูดน้ำเลี้ยงที่ผลอ่อนก็จะทำให้ผลอ่อนร่วงหล่น มะม่วงไม่ค่อยติดผล เพลี้ยจั๊กจั่นมะม่วงยังถ่ายมูลที่มีลักษณะเป็นน้ำหวานออกมาติดอยู่ตามใบ เป็นอาหารของราดำ ทำให้ราดำระบาดจับอยู่ตามใบมะม่วง ทำให้ใบมะม่วงสังเคราะห์อาหารได้น้อยลง

 

การป้องกันและกำจัด

 


1.ให้พ่นสารเคมี เช่น เซฟวิน ทุก 7 วัน โดยเริ่มต้นเมื่อมะม่วงเริ่มแตกช่อดอก แต่งดเว้นการพ่นสารเคมีเมื่อดอกมะม่วงกำลังบาน

2.โดยการสุมควันที่โคนต้นมะม่วง ให้มีควันมากๆ อาจไล่ให้เพลี้ยจั๊กจั่นหนีไปได้






เพลี้ยไฟ เพลี้ยไฟทำลายพืชบริเวณใบอ่อน ยอดอ่อน ช่อดอกมะม่วง ยิ่งในระยะที่มะม่วงออกดอก หากเพลี้ยไฟเข้าทำลายช่อดอกโดยการดูดกินน้ำเลี้ยงทำให้ดอกร่วง ช่อดอกหงิกงอ ผลอ่อนทำให้เป็นแผลจุดสีดำ ถ้าระบาดรุนแรงผลมะม่วงจะเป็นสีดำเกือบทั้งหมด

 

การป้องกันและกำจัด

 







แมลงวันทอง ตัวเมียจะวางไข่ใต้ผิวของผลมะม่วง เมื่อไข่เจริญเป็นตัวหนอน หนอนจะไชชอนกินเนื้อมะม่วงเป็นอาหาร ทำให้ผลมะม่วงเน่าเสียหายร่วงหล่นได้

 

การป้องกันและกำจัด

 




เอกสารอ้างอิง:



รวบรวมโดย :  ห้องสมุดประชาชนอำเภอหาดใหญ่