ผลิตภัณฑ์จากเชือกกล้วยตานี

กศน.ตำบลคูเต่า

การส่งเสริมและพัฒนาอาชีพให้ประชาชนมีรายได้ และมีงานทำมากขึ้นด้วยการประอบอาชีพอุตสาหกรรมในครอบครัวและหัตถกรรม เป็นงานที่สำคัญด้านหนึ่งของ กศน.อำเภอหาดใหญ่ อย่างไรก็ตามเพื่อให้การดำเนินงานในด้านนี้มีความต่อเนื่องและประสบผลสำเร็จชัดเจนยิ่งขึ้น กศน.อำเภอหาดใหญ่ กศน.ตำบลคูเต่า จึงได้มีโครงการพัฒนาอาชีพให้กับคนในชุมชน โดยมีการดำเนินการส่งเสริม ต่อยอด และสานต่ออาชีพการจักสานเชือกกล้วยจากภูมิปัญญาท้องถิ่นที่นับวันยิ่งจะเรือนราง โดยเริ่มดำเนินการส่งเสริมอาชีพจักสานผลิตภัณฑ์จากเชือกกล้วยให้กับประชาชน ทั้งในด้านการฝึกอาชีพ การออกแบบผลิตภัณฑ์ และให้ความช่วยเหลือกด้านการจัดการ การส่งเสริม ตลอดจนการส่งเสริมการตลาดและการขายผลิตภัณฑ์ผ่านออนไลน์ เพื่อให้สามารถประกอบอาชีพอุตสาหกรรมในครอบครัวและหัตถกรรมไทยได้อย่างมั่นคง

สำหรับในภาคใต้ กศน.อำเภอหาดใหญ่ สังกัดสำนักงาน กศน.จังหวัดสงขลา ได้ดำเนินงานส่งเสริมตามโครงการพัฒนาอาชีพสู่ชุมชน เพื่อพัฒนารูปแบบให้เป็นที่น่าสนใจหลายประเภท ผลิตภัณฑ์จากเชือกกล้วยที่ผลิตขึ้นที่บ้านหัวควาย หมู่ที่ 9 ตำบลคูเต่า อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา และบ้านดอน หมู่ที่ 8 ตำบลคูเต่า อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา เป็นผลิตภัณฑ์ประเภทหนึ่งที่มีรูปแบบที่หลากหลาย มีความสวยงามและโดดเด่นเฉพาะตัว สมควรได้รับการเผยแพร่ให้เป็นที่รู้จักมากขึ้น การจัดทำหนังสือรูปแบบผลิตภัณฑ์เชือกกล้วยเล่มนี้ จะเป็นการช่วยเผยแพร่ผลิตภัณฑ์ของโครงการพัฒนาอาชีพกับ กศน.ให้เป็นที่รู้จักแพร่หลาย ซึ่งผู้ที่สนใจสามารถสั่งซื้อได้โดยตรงจากแหล่งผลิต หรือผ่าน กศน.ตำบลคูเต่า หรือผ่านศูนย์ OOCCกศน.อำเภอหาดใหญ่

กศน.ตำบลคูเต่า

กศน.อำเภอหาดใหญ่

สำนักงาน กศน.จังหวัดสงขลา


ความเป็นมาของเชือกกล้วยมีชีวิต

บ้านหัวควาย ตำบลคูเต่า อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา เป็นแหล่งหนึ่งที่มีการจักสานเชือกกล้วยที่มีชื่อเสียงของจังหวัดสงขลาที่คนทั่วไปทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศรู้จัก เนื่องจากชาวบ้านได้ใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นในการจักสาน มีขั้นตอนและวิธีการผลิตที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะถิ่น มีการคิดรูปแบบ และการคิดประดิษฐ์ลวดลายที่สวยงาม

ผลิตภัณฑ์การจักสานเชือกกล้วยที่ชาวบ้านได้คิดและนำวัสดุภายในท้องถิ่นมานั้นได้เน้นประโยชน์การใช้สอย ความสวยงามทางด้านศิลปะ ชาวบ้านมีขั้นตอนและวิธีการผลิตที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะถิ่นโดยใช้ภูมิปัญญาชาวบ้าน การประดิดประดอยลวดลาย รูปแบบผลิตภัณฑ์มากมายซึ่งมีทั้งแบบดั้งเดิม เช่น กระเชอ กระจาด กระปุก เป็นต้น และแบบประยุกต์ เพื่อให้สอดคล้องกับประโยชน์ใช้สอยในชีวิตประจำวัน เป็น การทำกระเป๋าสตรี กล่องใส่กระดาษชำระ ที่รองจานอาหาร ที่รองแก้ว เป็นต้น นอกจากนี้เชือกกล้วยบ้านหัวควายยังมีคุณคาทางด้านเศรษฐกิจซึ่งสามารถสร้างรายได้ให้กับครัวเรือนอย่างมากมาย และยังมีการสืบทอดความรู้ด้านจักสานสู่รุ่นลูก รุ่นหลาน

1. การตัดใช้ต้นกล้วยที่ตัดเครือแล้ว

  1. ขั้นตอนการทำเชือกกล้วย

1. การเตรียมปอกล้วย ปอกล้วยทำจากกาบกล้วยซึ่งลอกออกมาจากลำต้นกล้วยที่ให้ผลแล้ว เอาแต่กาบแห้งในที่สะอาดสีเรียบเสมอกัน กรีดเป็นเส้นยาว ๆ ตลอดความยาวของต้นกล้วยกว้างประมาณ 1-1.5 นิ้ว (กาบกล้วยหนึ่งกาบจะกรีดได้ประมาณ 4-5 เส้น) แล้วนำไปตากแดดจัดๆ จนแห้ง ปอกล้วยที่แห้งแล้วนี้จะนำไปใช้ในการทำกระเป๋าหรือประดิษฐ์เครื่องใช้อื่น ๆ ต่อไป โดยดำเนินงานตามลำดับขั้นตอนดังนี้

1.1 นำต้นกล้วยมาตัดหัวตัดท้ายให้ยาวที่สุดเท่าที่จะทำได้

1.2 ลอกกาบกล้วยออกเป็นกาบ ๆ ตัดเอาส่วนที่สกปรกหรือมีตำหนิทิ้ง เอาเฉพาะที่สะอาดมีสีเรียบเสมอกัน

1.3 นำเอากาบกล้วยที่ตัดแล้ว มากรีดเป็นเส้นยาว ๆ ขนาดกว้าง 1-1.5 นิ้ว ตลอดความยาวของกาบกล้วย การกรีดจะกรีดด้วยมือหรือตะปู ก็ได้

1.4 นำกาบกล้วยที่กรีดแล้วไปพาดบนราวตากแดดจัดๆ จนกระทั่งแห้งสนิท

1.5 เก็บรวบรวมไว้อย่าให้ถูกความชื้น เพราะจะเป็นนราหากเกิดความชื้นจึงรีบนำออกตากแดดใหม่จนแห้ง กล้วยที่แห้งสนิทจะมีสีค่อนข้างขาว ถ้าสีไม่ค่อยขาวออกเป็นสีน้ำตาลต้องใช้อบด้วยควันกำมะถันในรู้หรือไหที่อากาศถ่ายเทไม่ได้ก็จะได้เชือกกล้วยที่ขาวขึ้น

ลอกกาบ

การกรีด

การตาก

เชือกกล้วยที่ตากแห้ง

การอบ

การรีด

การทาเล็กเกอร์เบอร์ 6


ผลิตภัณฑ์จากเชือกกล้วยตานีหรือกล้วยพังลา

เชือกกล้วย เป็นเส้นใยจากพืช นำมาทำเครื่องจักรสานได้ มีความแข็งแรงและทนทานกว่าหวาย การทำเชือกกล้วย เป็นผลิตภัณฑ์ที่สร้างสรรค์จากใยกล้วย มีความเหนียว และคงทนอย่างมาก รูปแบบของผลิตภัณฑ์ก็มีการพัฒนาใหม่อยู่เสมอ เช่น กระเป๋า ตะกร้า ถาด หมวกต่างๆ และทางกลุ่มยังรับผลิตตามสั่งด้วย ปัจจุบันได้รับความนิยมอย่างมากทั้งในประเทศและในต่างประเทศ


วัตถุดิบที่ใช้

1. เส้นใยกล้วย

2. กำมะถัน

3. แลกเกอร์

4. กระดุม,ซิป

5. ผ้าซํบ

6. วัสดุตกแต่งเช่นโครงหูหิ้วกระเป๋า ริปบิ้น


กระบวนการผลิต

1. ตัด ส่วนจากโคนของก้านใบลงมาประมาณ 15 ซม.เหลือไว้แต่เฉพาะลำต้น

2. ลอกเอากาบของลำต้นข้างนอกที่มีสีเขียวทิ้ง เอาเฉพาะสีขาว

3. กรีดให้กว้างประมาณ 1 นิ้วออกเป็นเส้นๆ

4. ตากให้แห้ง

5. อบด้วยกำมะถันให้เชือกกล้วยมีสีขาว

6. สานขึ้นรูปตามรูปแบบที่ต้องการ


วิธีการทำเชือกกล้วยให้มีสีขาวโดยมีขั้นตอนการทำดังนี้

1. ให้เลือกต้นกล้วยตานีที่มีอายุประมาณ 1 ปี 5 เดือน แล้วให้เลือกต้นกล้วยที่ออกปลีกล้วยแล้วเท่านั้น

2. ให้ลอกกาบกล้วยแล้วนำมากรีดเป็นเส้น ความกว้างเส้นละ 1 นิ้ว หลังจากนั้นนำไปตากแดดให้แห้งประมาณ 5 วัน ห้ามให้โดนฝนเด็ดขาดเพราะจะทำให้เชือกกล้วยขึ้นราและมีสีดำ

3. พอเชือกกล้วยแห้งแล้วให้เรานำมาอบในโอ่ง โดยนำถ่านที่ติดไฟใส่ไว้ในไหแล้วนำกำมะถันใส่เข้าไปประมาณ 1 แก้ว โดยการอบเราจะใช้ควันจากกำมะถัน พยายามอย่าให้เชือกกล้วยโดนไหที่ใส่ถ่านที่ติดไฟ เพราะจะทำให้เชือกไหม้ได้ การใส่ก็ให้ใส่เชือกกล้วยไว้บริเวณผิวโอ่งใส่ให้เต็มโอ่ง แล้วใช้ผ้าขนหนูปิดปากโอ่งและเอาฝาโอ่งปิดทับอีกครั้ง อบไว้ 1 วัน การอบเพื่อป้องกันเชื้อราและทำให้เชือกกล้วยมีสีขาว

4. หลังจากนั้นก็ให้นำขึ้นมารีดให้เรียบด้วยเครื่องรีด

5. จากนั้นก็นำไปจักสานได้แล้ว


การใช้/ประโยชน์

ใช้เป็นกระเป๋าสะพาย กระเป๋าถือ และใช้เป็นกล่องใส่ของ เป็นต้น

การดูแลรักษา

เก็บไว้ในที่ร่ม อย่าให้โดนน้ำหรือความชื้น อย่าให้โดนแดดเป็นเวลานานก็เก็บรักษาไว้ได้นาน


หมวก