ผักสวนครู

จิงจูฉ่าย

ชื่อวิทยาศาสตร์: Artemisia lactiflora Wall. Ex DC.

ชื่อวงศ์ ASTERACEAE

ชื่อสามัญ Duck foot vegetable, White mugwort

ชื่ออื่นๆ แก้วเมืองจีน

ส่วนที่ใช้ ลำต้น ใบ

สรรพคุณ

ลำต้น-ใบ ขับลมในกระเพาะอาหาร บำรุงกำลัง บำรุงโลหิต แก้ประจำเดือนมาไม่ปกติ ช่วยคุมก าเนิด ต้นสดและเมล็ด มีโซเดียมต่ า เหมาะสำหรับผู้ที่เป็นโรคไต ขับพิษ ฆ่าไวรัส ช่วยบำรุงปอด ช่วยฟอกเลือด ท าให้เลือดลมหมุนเวียนได้สะดวก และช่วยปรับสมดุลร่างกาย ช่วยดับพิษ แก้อักเสบ แก้ผิวหนัง เป็นฝี ตุ่ม แก้ผดผื่นคัน ช่วยปรับสมดุลความดันโลหิต จึงเหมาะกับผู้ที่มีปัญหาเรื่องความดัน และช่วยขับลมในกระเพาะอาหาร และลำไส้ได้ดี บำรุงเลือดลมสตรี แก้อาการประจ าเดือนมาไม่ปกติ ช่วยประสะเลือด เลือดลมจึงมาตามปกติสารสกัดจากลำต้นและใบ ยับยั้งการสร้างเนื้องอกและเซลล์มะเร็งในสัตว์ทดลอง

การแพทย์แผนจีนโบราณถือว่าผักชนิดนี้มีคุณสมบัติเป็นยาเย็น(หยิน) มีรสขม คุณค่าทางโภชนาการ จิงจูฉ่าย 100 กรัม ให้พลังงาน 392 กิโลแคลอรี ประกอบด้วย โปรตีน 18.07 กรัม ไขมัน 25.27 กรัม คาร์โบไฮเดรต 41.35 กรัม เส้นใย 11.08 กรัม แคลเซียม 1, 767 มิลลิกรัม เหล็ก 44.90 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 547 มิลลิกรัม วิตามินเอ 52.00 IU. วิตามินบี6 0.89 มิลลิกรัม วิตามินซี 17.10 มิลลิกรัม วิตามินอี 1.07 มิลลิกรัม สรรพคุณทางยา)

การปลูกและขยายพันธุ์ จิงจูฉ่าย

วิธีที่ 1 : ใช้การแยกแขนง และปักชำจิงจูฉ่าย

(1)  จากต้นพ่อ-แม่พันธุ์ (ต้นที่มีการเจริญเติบโตเต็มที่แล้ว จะมีการแตกแขนงที่โคนต้นเพื่อพร้อมที่จะขยายพันธุ์) เราจะใช้กรรไกรหรือตัทเตอร์ขนาดใหญ่ ตัดแยกแขนงจากโคนต้นออกมา

(2)  ดินปลูกที่แนะนำ เป็นส่วนผสมของแกลบดำ 5 ส่วน และดิน 1 ส่วน นำไปใส่ในถุงดำขนาดพอสมควร

(3)  นำแขนงจิงจูฉ่ายที่แยกมาปักลงดินปลูก แนะนำให้ใช้ปลายกรรไกรหรือตะเกียบหรืออาจใช้ไม้เสียบลูกชิ้นเจาะร่องที่ดินปลูกเป็นการนำร่องก่อน(เพื่อมิให้แขนงที่เสียบลงดินปลูกบอบช้ำ) ลึกประมาณ 2-3 ซ.ม. แล้วค่อยๆเสียบแขนงจิงจูฉ่ายลงไป กดดินรอบๆแขนงที่ปักลงในดินปลูกให้แน่นพอประมาณ และสเปรย์น้ำให้ดินชุ่มชื้น

(4)  ปกติแขนงจิงจูฉ่ายที่เสียบลงดินปลูกจะเกิดอาการสลบ เหี่ยวปลายยอดตก ประมาณ 1 สัปดาห์ (ไม่ต้องตกใจ)

(5)  จากนั้นอีกประมาณ 1-2 สัปดาห์ (7-15 วัน) แขนงก็จะเริ่มฟื้นตัวได้เองตามธรรมชาติ ให้หมั่นดูแลรักษาต้นอ่อน ให้น้ำบ้าง และตั้งในที่แดดรำไร ไม่ให้ถูกแสงแดดโดยตรง(ใบจะไหม้ได้ง่ายและเหี่ยวเฉาตาย)

(6)  ต่อไปอีกประมาณ 6-8 สัปดาห์  (45-60 วัน) แขนงต้นจิงจูฉ่ายที่แยกปลูกใหม่ก็จะเป็นต้นพ่อ-แม่พันธุ์ที่เติบโตเต็มที่ มีแขนงใหม่เกิดขึ้นมา พร้อมขยายพันธ์ต่อไป ในช่วงนี้เหมาะที่จะตัดใบยอดไปรับประทานได้

วิธีที่ 2 : ใช้การตัดกิ่งและปักชำ

(1)  ดินปลูกที่ต้องเตรียมใส่ถุงดำก่อนการปักชำ ประกอบด้วย แกลบดิบ : แกลบดำ : ดินร่วน : ปุ๋ยไส้เดือน อย่างละ 1 ส่วน

(2)  นำต้นพ่อ-แม่พันธุ์ที่เติบโตเต็มที่ มีขนาดสูงใหญ่ มีกิ่งก้านแตกออกมาจำนวนมากแล้ว พร้อมนำไปตัดเพื่อปักชำได้

(3)  เลือกกิ่งที่มีขนาดใหญ่ (ไม่ใช่กิ่งที่เป็นก้านใบ) มีตาอ่อนๆหรือข้อใบ ให้ใช้กรรไกรหรือคัทเตอร์ขนาดใหญ่ตัดบริเวณเหนือขึ้นมาเล็กน้อย ประมาณ 1-2 ซ.ม. ส่วนต้นพ่อ-แม่พันธุ์ที่เหลือ เมื่อปล่อยทิ้งไว้ระยะหนึ่งก็สามารถแตกใบใหม่ได้อีก

(4)  เตรียมปักชำ โดยนำกิ่งที่ตัดออกมา วัดจากปลายส่วนที่ตัดขึ้นมาทางยอดประมาณ 10 ซ.ม. ใช้กรรไกรตัดเหนือข้อใบเล็กน้อย ซึ่งเป็นส่วนที่จะแตกใบอ่อนออกมาได้ ริดใบอ่อนที่โคน(ในส่วนที่เราจะปักลงดินออกเหลือส่วนปลายยอดไว้

(5)  ด้านโคนกิ่ง ให้ตัดเฉลียงเป็นปากฉลาม (เพื่อให้ปักชำลงดินได้ง่ายและยังช่วยเพิ่มพื้นที่ในการแตกรากได้อีกด้วย)

(6)  ปักลงดินปลูกลึกพอให้กิ่งตั้งทรงได้ จัดรูปทรงให้เข้าที่ กดดินกดดินรอบๆแขนงที่ปักลงในดินปลูกให้แน่นเล็กน้อย และสเปรย์น้ำให้ดินชุ่มชื้น เช้า-เย็น

(7)  ปกติประมาณ 2-3 สัปดาห์ จะเริ่มแตกกิ่งแขนงออกมาใหม่

(8)  อดใจรออีกสักนิด ประมาณ 1 เดือนต้นจิงจูฉ่ายก็เติบโตเต็มที่แล้ว พร้อมนำไปขยายพันธุ์แตกกกลุ่มใหม่ได้


แหล่งอ้างอิงข้อมูล เว็บไซต์   http://www.premiumseedshop.com/b/23

                                          :    https://health.kapook.com/view27238.html

เรียบเรียงข้อมูลโดย ห้องสมุดประชาชนอำเภอหาดใหญ่