วิธีการเก็บรักษาเชือก

วิธีการเก็บเชือก มีชั้นตอนการปฏิบัติ ดังนี้

ชั้นที่ 1 แบ่งเชือกออกเป็น 8 ส่วน จับเชือกแล้วทบเชือก 3 ครั้ง โดยแต่ละครั้งให้เชือกยาว เท่ากับ 1 ใน 8 ส่วน เชือกที่เหลืออีก 5 ใน 8 ส่วน ปล่อยไว้ สำหรับพัน

ชั้นที่ 2 เอาเชือกที่เหลือ 5 ใน 8 ส่วน พันรอบเชือกที่ทบไว้โดยเริ่มพันถัดจากปลายบ่วง (ข)เช้ามาประมาณ 1 นิ้ว เมื่อพันจบเหลือปลายเชือก ให้สอด ปลายเชือกนั้นเข้าในบ่วง

ชั้นที่ 3 ดึงบ่วง (ข) เพื่อรั้งบ่วง (ก) ให้รัดปลายเชือกที่สอดไว้จนแน่นเป็นอันเสร็จ


ที่มา:https://www.youtube.com/watch?v=BojxMg13TqI

การรักษาเชือก มีแนวทางในการปฏิบัติ ดังนี้

1) ระวังรักษาเชือกให้แห้งเสมอ อย่าให้เปียกขึ้น เพื่อป้องกันเชื้อรา

2) การเก็บเชือก ควรขดเก็บเป็นวง มัดให้เรียบร้อย เก็บให้ห่างไกลจากมด แมลง หนู หรือสัตว์อื่น ๆ และ ควรแขวนไว้ ไม่ควรวางไว้กับพื้น

3) อย่าให้เชือกผูกรั้ง เหนี่ยวยึดหรือลาก ฉุดของหนักเกินกำลังเชือก

4) ขณะใช้งาน อย่าให้เชื่อกลากครูด หรือเสียดสีกับของแข็ง จะทำให้เกลียวของเชือกสึกกร่อนและขาดง่าย

5) ก่อนเอาเชือกผูกมัดกับต้นไม้ กิ่งไม้หรือของแข็ง ควรเอาพันรอบ ต้นไม้หรือกิ่งไม้ก่อน และเชือกที่ใช้งานเสร็จแล้วจะต้องระวังรักษา ดังนี้

(1) เชือกที่เลอะโคลนเลนหรือถูกน้ำเค็ม เมื่อเสร็จงานแล้ว ต้องชำระล้าง ด้วยน้ำจืดให้ละอาด แล้วผึ่งให้แห้ง ขดมัดเก็บไว้กับขอหรือบนที่แขวน

(2) เชือกลวดเมื่อเสร็จงาน ต้องรีบทำความละอาด ล้างด้วยน้ำจืด เช็ดให้ แห้งแล้วผึ่งแดดจนแห้งสนิทแล้วเอาน้ำมันจาระบี หรือยากันสนิมชโลมทำให้ทั่ว จึงเก็บให้ เรียบร้อย

(3) ปลายเชือกที่ถูกดัด จะต้องเอาเชือกเล็ก ๆ พันหัวเชือกเพื่อป้องกันเชือกคลายเกลียว