หน่วยการเรียนรู้ที่ 9 ทักษะลูกเสือ

เรื่องที่ 4 เงื่อนเชือกและการผูกแน่น

ความหมายของเงื่อนเชือกและการผูกแน่น

เงื่อนเชือก หมายถึง การนำเชือกมาผูกกันเป็นเงื่อน เป็นปม สำหรับต่อเชือก เข้าด้วยกัน หรือทำเป็นบ่วง สำหรับคล้องหรือสวมกับเสา หรือใช้ผูกกับวัตถุ สำหรับผูกให้แน่น ใช้รั้งให้ตึง ไม่หลุดง่าย แต่สามารถแก้ปมได้ง่าย

ความสำคัญของเงื่อนเชือกและการผูกแน่น

กิจกรรมลูกเสือ เป็นกิจกรรมหนึ่งที่ต้องการให้ลูกเสือรู้จักใช้วัสดุที่มีอยู่ ตามธรรมชาติ เพื่อการดำรงความเป็นอยู่อย่างอิสระและพึ่งพาตนเองให้มากที่สุด

การผูกเงื่อนเชือกและการผูกแน่น เป็นศาสตร์และศิลป์อย่างหนึ่งที่ลูกเสือ จำเป็นต้องเรียนรู้เมื่อเข้าร่วมกิจกรรมในการอยู่ค่ายพักแรม การสร้างฐานกิจกรรมผจญภัย การตั้งค่ายพักแรม รวมทั้งการใช้งานเงื่อนในการช่วยเหลือผู้เจ็บป่วยได้

การเรียนรู้เรื่องเงื่อนเชือกและการผูกแน่น จะต้องจดจำ ปฏิบัติได้หากผิดพลาดไป หลุดหรือขาดก็จะเป็นอันตรายต่อชีวิต และสิ่งของเสียหาย ขอแนะนำให้ทุกคนที่ต้องการนำไปใช้ต้องหมั่นฝึกฝน ศึกษาหาความรู้ ผูกเชือกให้เป็น นำไปใช้งานให้ได้ถึงคราวจำเป็นจะได้ใช้ให้เกิดประโยชน์ วิธีการผูกเงื่อนเชือกแบ่งออกเป็นลักษณะการใช้งานได้ 3 หมวด 10 เงื่อน ดังนี้

หมวดต่อเชือก สำหรับการต่อเชือกเพื่อต้องการให้ความยาวของเชือกเพิ่มขึ้นแต่เนื่องจากเชือกในการกู้ภัยนั้นมีลักษณะและขนาดที่แตกต่างกัน จึงจำเป็นต้องมีวิธีการผูก เงื่อนที่แตกต่างกัน จำนวน 3 เงื่อน ดังนี้

เงื่อนพิรอด (Reef Knot หรือ Square Knot)

เงื่อนขัดสมาธิ (Sheet Bend)

เงื่อนประมง (Fisherman’s Knot)

หมวดผูก ฉุด ลาก รั้ง สำหรับการผูกวัสดุที่ต้องการจะเคลื่อนย้ายหรือ ยึดตรึงอยู่กับที่ แต่เนื่องจากวัสดุที่ต้องการจะผูกนั้นมีลักษณะรูปทรงและขนาดที่แตกต่างกัน จึงจำเป็นต้องมีวิธีการผูกเงื่อนที่แตกต่างกัน จำนวน 3 เงื่อน ดังนี้

เงื่อนผูกร่น (Sheep Shank)

เงื่อนตะกรุดเบ็ด (Clove Flitch)

เงื่อนผูกซุง (Timber Flitch)

หมวดช่วยชีวิต สำหรับการช่วยเหสือผู้ประสบภัยในกรณีต่าง ๆ ขึ้นอยู่กับสถานที่และสถานการณ์ จึงต้องมีวิธีการผูกเงื่อนให้เหมาะสมกับงานจำนวน 4 เงื่อน ดังนี้

เงื่อนบ่วงสายธนู (Bowline Bend)

เงื่อนขโมย (Knot Steal)

เงื่อนเก้าอี้ (Fireman’s Chair Knot)

เงื่อนบันไดปม (Ladder knot)

การผูกเงื่อนเชือก

กลับหน้าหลัก