หน่วยการเรียนรู้ที่ 3 การลูกเสือโลก

เรื่องที่ 3 ความสัมพันธ์ระหว่างลูกเสือไทยกับลูกเสือโลก

กิจการของลูกเสือทุกประเทศยึดมั่นในวัตถุประสงค์ หลักการ และวิธีการของลูกเสือเหมือนกันทั่วโลก ทุกประเทศที่เข้ามาเป็นสมาชิกโดยสมัครใจและเป็นอิสระจากอิทธิพลทางการเมือง มุ่งพัฒนาเยาวชนด้วยรากฐานของอุดมการณ์ลูกเสือซึ่งมีคำปฏิญาณและกฎของลูกเสือเป็นสิ่งยึดเหนี่ยวจิตใจ นำสู่การประพฤติปฏิบัติตนของความเป็นพลเมืองดี และมีความเป็นพี่น้องกันระหว่างลูกเสือทั่วโลก

การลูกเสือไทย โดยคณะลูกเสือแห่งชาติ ได้จดทะเบียนเป็นสมาชิกขององค์การลูกเสือโลก เมื่อปี พ.ศ. 2465 ใช้คติพจน์ว่า “เสียชีพอย่าเสียสัตย์” ทั้งนี้ คณะลูกเสือแห่งชาติต้องชำระเงินค่าบำรุงลูกเสือโลก ให้แก่สำนักงานลูกเสือโลก และต้องปฏิบัติตามธรรมนูญลูกเสือโลกเพื่อดำรงไว้ เพื่อความเป็นเอกภาพของขบวนการลูกเสือโลก นอกจากนั้นประเทศไทยยังเป็น1 ในจำนวน 27 ประเทศ ของสำนักงานภาคพื้นเอเชีย – แปซิฟิก (Asia – Pacific Region : APR)ซึ่งมีสำนักงานใหญ่ ตั้งอยู่ที่กรุงมาดาติ ประเทศฟิลิปปินส์

กิจการของคณะลูกเสือโลกและความสัมพันธ์ระหว่างลูกเสือนานาชาติ

ภายหลังจากความสำเร็จของ บี.พี. ในการทดลองการอยู่ค่ายพักแรมของเด็กที่จัดขึ้นระหว่าง วันที่ 1 - 9 สิงหาคม พ.ศ. 2450 ที่เกาะบราวน์ซี ซึ่งนับเป็นค่ายลูกเสือแห่งแรกของโลก และการพิมพ์หนังสือเรื่อง “การลูกเสือสำหรับเด็กชาย” ออกจำหน่าย ทำให้ทั้งเด็กและผู้ใหญ่ต่างก็อยากมีส่วนร่วมในกิจการลูกเสือ และในชั่วระยะเวลาไม่นานกิจการลูกเสือก็ได้แพร่หลายไปยังประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก ต่อมาในปี พ.ศ. 2463 สมาคมลูกเสืออังกฤษได้จัดให้มีการชุมนุมลูกเสือจากทั่วโลกเป็นครั้งแรก ที่เมืองโอลิมเปีย กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ ซึ่งถือเป็นการชุมนุมลูกเสือโลกครั้งที่ 1 และการประชุมสมัชชาลูกเสือโลกครั้งที่ 1 ด้วย ขณะเดียวกันก็ได้มีการจัดตั้งสำนักงานลูกเสือโลกขึ้น เพื่อการบริหารงานกิจการลูกเสือ

ในปี พ.ศ. 2465 ได้มีการจัดประชุมสมัชชาลูกเสือโลกครั้งที่ 2 ที่กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส โดยมีผู้เข้าร่วมประชุมจาก 31 ประเทศ ที่ประชุมได้เลือกตั้งคณะกรรมการลูกเสือโลกจำนวน 9 คน เพื่อทำหน้าที่เป็นคณะกรรมการบริหารองค์การลูกเสือโลก

องค์การลูกเสือโลก ประกอบด้วยองค์กรที่สำคัญ 3 องค์กร คือ

1. สมัชชาลูกเสือโลก คือ ที่ประชุมใหญ่ประกอบด้วยผู้แทนประเทศสมาชิกมาประชุมร่วมกันทุก ๆ สามปี ยกเว้นกรณีที่ปีใดสถานการณ์ของโลกมีความวุ่นวายหรือมีเรื่องร้ายแรงหรือเศรษฐกิจปั่นป่วนก็ให้งดการประชุมในช่วงเวลาดังกล่าว เช่นในปี พ.ศ. 2484 ไม่มีการประชุม เนื่องจากการถึงแก่อนิจกรรมของ ลอร์ด เบเดน โพเอลล์ ผู้ให้กำเนิดลูกเสือโลก

สมัชชาลูกเสือโลกมีหน้าที่

1) พิจารณานโยบายและมาตรฐานของการลูกเสือทั่วโลก และกำหนดแนวทางให้องค์การลูกเสือสมาชิกทุกประเทศปฏิบัติตาม เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ขององค์การลูกเสือโลก

2) กำหนดนโยบายทั่วไปขององค์การลูกเสือโลก

3) พิจารณาการเข้าเป็นสมาชิกขององค์การลูกเสือโลกโดยยึดหลักเกณฑ์ว่าองค์การลูกเสือแห่งชาติที่สมัครเข้าเป็นสมาชิกนั้น จะต้องปฏิบัติตามวัตถุประสงค์ (Purpose)หลักการ (Principles) วิธีการ (Method) ขององค์การลูกเสือโลก และยึดคำปฏิญาณและกฎของลูกเสือตามที่ได้บัญญัติไว้ในธรรมนูญลูกเสือโลก โดยเคร่งครัดเสียก่อน

4) พิจารณาให้องค์การสมาชิกออกจากการเป็นสมาชิกขององค์การลูกเสือโลกในกรณีที่ไม่ปฏิบัติตามบทบัญญัติที่กำหนดไว้ในธรรมนูญลูกเสือโลก

5) เลือกตั้งกรรมการลูกเสือโลกให้ครบจำนวนตามหลักเกณฑ์ และวิธีการที่กำหนดไว้ในธรรมนูญลูกเสือโลก

6) พิจารณารายงาน และข้อเสนอแนะของกรรมการลูกเสือโลก

7) พิจารณาข้อเสนอแนะจากองค์การลูกเสือสมาชิกฯ

8) พิจารณาแก้ไข ปรับปรุง เพิ่มเติมธรรมนูญลูกเสือโลก

9) ปฏิบัติหน้าที่อื่น ๆ ทุกเรื่อง ตามที่ได้กำหนดไว้ในธรรมนูญลูกเสือโลก

2. คณะกรรมการลูกเสือโลก คือ กรรมการที่ทำหน้าที่บริหารองค์การลูกเสือโลกกรรมการลูกเสือโลกถือว่าเป็นผู้บังคับบัญชาลูกเสืออาสาสมัครเพราะไม่ได้รับเงินเดือนจากองค์การลูกเสือโลก มีจำนวน 12 คน ซึ่งได้รับเลือกตั้งในที่ประชุมสมัชชาลูกเสือโลก ตามวิธีการและเงื่อนไขและบทบัญญัติที่กำหนดไว้ในธรรมนูญลูกเสือโลก


3. สำนักงานลูกเสือโลก คือ สำนักงานเลขาธิการขององค์การลูกเสือโลก เป็นศูนย์ประสานงานระหว่างองค์การลูกเสือโลกสมาชิกทั่วโลกซึ่งมีจำนวน 144 ประเทศ เพื่อสร้างความสัมพันธ์ รักษาและดำรงไว้ซึ่งความเป็นเอกภาพของขบวนการลูกเสือโลก และเพื่อให้การปฏิบัติงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ จึงได้แบ่งเป็นสาขา 6 เขต คือ

1) องค์การลูกเสือเขตแอฟริกา

2) องค์การลูกเสือเขตอาหรับ

3) องค์การลูกเสือเขตเอเชีย-แปซิฟิก

4) องค์การลูกเสือเขตยุโรป

5) องค์การลูกเสือเขตอเมริกา

6) องค์การลูกเสือเขตยุเรเชีย

สำนักงานลูกเสือมีหน้าที่

(1) ช่วยสมัชชาลูกเสือโลก และคณะกรรมการลูกเสือโลก ในการปฏิบัติงานในหน้าที่ให้ประสบความสำเร็จด้วยดี โดยเฉพาะอย่างยิ่งจัดเตรียมการประชุมทุก ๆ เรื่อง

(2) นำเอามติของสมัชชาลูกเสือโลก และของคณะกรรมการลูกเสือโลกไปปฏิบัติให้เกิดผลเป็นรูปธรรม

(3) ให้บริการทุกเรื่องที่จำเป็นต่อการส่งเสริมกิจการลูกเสือทั่วโลกเช่น เรื่องการวิจัยเอกสารวิชาการการฝึกอบรมผู้บังคับบัญชาลูกเสือ การฝึกอบรมลูกเสือ การประชาสัมพันธ์และการพิมพ์คู่มือต่าง ๆ ออกเผยแพร่

(4) ดำรงไว้ซึ่งความสัมพันธ์กับองค์การลูกเสือสมาชิกและให้ความช่วยเหลือในการพัฒนาการลูกเสือ

(5) ช่วยพัฒนากิจการลูกเสือให้เกิดขึ้นในประเทศต่างๆที่ยังไม่มีการลูกเสือ

(6) ช่วยเหลือองค์การลูกเสือแห่งชาติที่ยังไม่ได้เป็นสมาชิกฯให้มีมาตรฐานที่ดีเพื่อจะได้เข้าเป็นสมาชิกขององค์การลูกเสือโลกในโอกาสต่อไป

(7) หาทางให้ (ข้อ (5),(6)) สมัครเข้าเป็นสมาชิกขององค์การลูกเสือโลกหากมีทางช่วยเหลือได้ก็ช่วยเหลือโดยมิได้ชักช้า

(8) ดูแลแนะนำการจัดกิจกรรมลูกเสือนานาชาติ หรือกิจกรรมลูกเสือของเขตต่าง ๆ ของโลก

(9) สร้างความสัมพันธ์กับองค์การนานาชาติอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมเยาวชน

(10) หาทางให้ (ข้อ (5),(6)) สมัครเข้าเป็นสมาชิกขององค์การลูกเสือโลกหากมีทางช่วยเหลือได้ก็ช่วยเหลือโดยมิได้ชักช้า

(11) ดูแลแนะนำการจัดกิจกรรมลูกเสือนานาชาติ หรือกิจกรรมลูกเสือของเขตต่าง ๆ ของโลก

(12) สร้างความสัมพันธ์กับองค์การนานาชาติอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมเยาวชน

ความสัมพันธ์ระหว่างการลูกเสือไทยกับการลูกเสือนานาชาติ

ในหลักการของขบวนการลูกเสือนั้น ถือว่าลูกเสือทั่วโลกมีความเป็นพี่น้องกันตามกฎของลูกเสือ ข้อ 4 “ลูกเสือเป็นมิตรของคนทุกคนและเป็นพี่น้องกับลูกเสืออื่นทั่วโลก”ดังนั้น จึงต้องมีกิจกรรมเพื่อส่งเสริมมิตรภาพและสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างกันซึ่งแบ่งออกได้ดังนี้

1. กิจกรรมเสนอแนะที่ลูกเสือสามารถปฏิบัติได้อย่างเป็นรูปธรรม คือ

1) การเขียนจดหมายถึงเพื่อนลูกเสือด้วยกันอาจผ่านผู้กำกับลูกเสือหรือ

ผู้ตรวจการลูกเสือฝ่ายต่างประเทศของประเทศนั้น ๆ หรือลูกเสืออาจติดต่อโดยตรงกับเพื่อนลูกเสือในต่างประเทศก็ได้

Dear Pen – Pal

Dept. W.S.,Box 4054

Santa Barbara, California 93103

U.S.A.

2) การติดต่อหาเพื่อนทางคอมพิวเตอร์ สำนักงานลูกเสือโลกกับลูกเสืออเมริกาได้ร่วมมือกันจัดโปรมแกรมมิตรภาพ จัดหาเพื่อนลูกเสือทั่วโลก โดยไม่คิดค่าบริการการหาเพื่อนทางคอมพิวเตอร์ให้จ่าหน้าซอง ดังนี้

ลูกเสือจะต้องแจ้ง ชื่อ ตำบลที่อยู่ ความสนใจ ภาษาที่ใช้ในการติดต่อประเทศ และความประสงค์และจะส่งรายละเอียดเกี่ยวกับลูกเสือที่ต้องการติดต่อมาให้

3) การแลกเปลี่ยนรูปภาพ คือ การแลกเปลี่ยนภาพถ่ายกิจกรรมของกองหรือของกลุ่มลูกเสือ

4) การแลกเปลี่ยนภาพสไลด์กิจกรรมลูกเสือพร้อมคำบรรยายสามารถนำไปแสดงหรือจัดนิทรรศการ

5) การแลกเปลี่ยนวารสารลูกเสือ ข่าวสารของกองหรือกลุ่มลูกเสือกับคณะลูกเสือต่างประเทศ

6) การแลกเปลี่ยนดวงตราไปรษณีย์ทั้งที่เป็นดวงตราไปรษณีย์ทั่วไปและดวงตราไปรษณีย์ลูกเสือ

2. กิจกรรมงานชุมนุมลูกเสือ เช่น

1) การชุมนุมลูกเสือเขต

2) การชุมนุมลูกเสือโลก