หน่วยการเรียนรู้ที่ 11 การปฐมพยาบาล

เรื่องที่ 2.3 วิธีการปฐมพยาบาลกรณีสัตว์ แมง หรือ แมลง ที่มีพิษกัดต่อย

ที่มา : https://youtu.be/gt56XYQ92oY

2.3.1 สุนัข/แมว

โรคพิษสุนัขบ้าหรือโรคกลัวนํ้า เป็นโรคติดต่อร้ายแรงที่เกิดจากเชื้อเรบีส์ไวรัส โรคนี้เกิดไดในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมทุกชนิด ตังนั้น เมื่อถูกสุนัขกัดจะต้องปฏิบัติตามขั้นตอน ตังนี้

(1) ชำระล้างบาดแผล ด้วยการฟอกแผลด้วยน้ำสะอาดและสบู่หลายครั้ง ให้ละอาดโดยการถเบา ๆ เท่านั้น หากแผลลึกให้ล้างจนถึงก้นแผล แล้วซับแผลให้แห้งด้วยผ้าก๊อชหรือผ้าที่ละอาด

(ในกรณีน้ำลายสุนัขเช้าตา ให้ใช้น้ำละอาดล้างตาเท่านั้น แต่ล้างหลาย ๆ ครั้ง)

(2) พบแพทย์เพื่อดูแลแผล และฉีดวัคซีนบ้องกันโรคพิษสุนัขบ้าหรือ โรคกลัวน้ำข้อสังเกต สำหรับสัตว์ที่เป็นโรคพิษสุนัขบ้า จะมีพฤติกรรมเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม เช่น สัตว์ที่มีนิสัยดุร้ายจะกลายเป็นสัตว์ที่เซื่อง สัตว์ที่เซื่องจะกลายเป็นสัตว์ดุร้าย ตื่นเต้น กระวนกระวาย สุดท้ายจะเป็นอัมพาต และตายในที่สุด

2.3.2 งูมีพิษ/งูไม่มีพิษ

พิษจากการถูกงูกัด งูในประเทศไทย แบ่งเป็นงูมีพิษและไม่มีพิษ ซึ่งจะมีลักษณะบาดแผลต่างกันคืองูพิษมีเขี้ยวอยู่ด้านหน้าของขากรรไกรบนและมีฟัน ส่วนงูไม่มีพิษ มีแต่รอยฟืนไม่มีรอยเขี้ยวขั้นตอนการช่วยให้ลือเบื้องต้นการปฐมพยาบาล เป็นสิ่งที่ต้องกระทำหลังถูกงูกัดทันทีก่อนที่จะนำล่ง โรงพยาบาล การปฐมพยาบาลผู้ที่ถูกงูกัด มีดังนี้

(1) รีบนำผู้ป่วยส่งโรงพยาบาล ระหว่างนำส่งอาจใช้เชือก ผ้า หรือลายยาง รัดแขนหรือขาระหว่างแผลงูกัดกับหัวใจเหนือรอยเขี้ยว ประมาณ 2 - 4 นิ้ว เพื่อบ้องกันพิษงู ถูกกัดซึมเช้าร่างกายโดยเร็วในปัจจุบันนักวิชาการบางท่านไม่แนะนำให้รีบทำการใช้เชือกรัด และขันชะเนาะ เนื่องจากอาจทำให้เกิดผลเสีย คือ การช่วยเหลือล่าช้าขึ้น และเลี่ยงต่อการขาด เลือดบริเวณแขนหรือขาทำให้พิษทำลายเนื้อเยื่อมากขึ้นตังนั้นถ้ารัดควรคำนึงถึงความเสี่ยงของ การรัดด้วย โดยคลายเชือกทุก ๆ 15 นาที นานครั้งละ 30 - 60 วินาทีจนกว่าจะถึงโรงพยาบาล ในกรณีที่ถูกงูมีพิษต่อเลือดกัด ไม่ควรรัด เพราะจะทำให้แผลที่บวมอยู่แล้ว เสี่ยงต่อการเกิดเนื้อตาย และการบวมอาจกดเบียดเส้นประสาทและเส้นเลือดได้

(2) ควรล้างบาดแผลให้สะอาด อย่างใช้ไฟหรือเหล็กร้อนจี้ที่แผลงูกัด และ อย่าใช้มีดกรีดแผลเป็นอันขาด เพราะอาจทำให้เลือดออกมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ถ้าถูกงูที่มี พิษต่อเลือดกัด หรืออาจตัดถูกเส้นเอ็นหรือเส้นประสาท รวมทั้งอาจทำให้เกิดการติดเชื้อได้ รวมทั้ง ไม่แนะนำให้ใช้ปากดูดพิษจากแผลงูกัดเพราะพิษอาจเข้าทางเยื่อบุปากไดโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ถ้ามีบาดแผล ถ้ารู้สึกปวดแผลให้รับประทานพาราเซตามอล ห้ามให้แอสไพรินเพราะอาจทำให้ เลือดออกง่ายชื้น

(3) เคลื่อนไหวแขนหรือขาส่วนที่ถูกงกัดให้น้อยที่ลด ควรจัดตำแหน่งของส่วนที่ถูกงูกัดให้อยู่ในระดับตํ่ากว่าหัวใจ เช่น ห้อยมือหรือเท้าส่วนที่ถูกงูกัดลงตํ่าระหว่าง เดินทางไปยังสถานพยาบาลอย่าให้ผู้ป่วยเดินหรือขยับส่วนที่ถูกกัด เนื่องจากการขยับตัวจะทำ ให้กล้ามเนื้อมีการยืดและหดตัว พิษงูเข้าลูกระแลเลือดเร็วชื้น

(4) ควรตรวจสอบว่าอะไรกัด และถ้าเป็นได้ควรจับหรือตีงูที่กัด และนำส่งไปยังสถานพยาบาลด้วย

(5) อย่าให้ผู้ป่วยดื่มแอลกอฮอล์ หรือยาดองเหล้า หรือรับประทานยา กระตุ้นประสาทรวมทั้งชากาแฟ

(6) ถ้าผู้ป่วยหยุดหายใจจากงูที่มีพิษต่อประสาท ให้ทำการเป่าปากช่วยหายใจไปตลอดทางจนกว่าจะถึงสถานพยาบาลที่ใกล้บ้านที่สุด ข้อห้ามห้ามรับประทานยาและเครื่องดื่มกระตุ้นหัวใจ

ข้อสังเกต

ปลอบโยนให้กำลังใจอย่าให้ตื่นเต้นตกใจซึ่งจะทำให้หัวใจสูบฉีดโลหิตมากยิ่งชื้น พิษงูแพร่กระจายได้เร็วชื้นควรนำงูที่กัดไปพบแพทย์เพื่อสะดวกต่อการวินิจฉัยและรักษา

2.3.3 แมงป่อง/ตะขาบ

ผู้ที่ถูกแมงป่องต่อยหรือตะขาบกัด เมื่อถูกแมงป่องต่อยจะมีอาการปวดแสบ ปวดร้อนอย่างรุนแรงบริเวณที่ถูกต่อย สำหรับผู้ที่ถูกตะขาบกัด เขี้ยวตะขาบจะฝังลงเนื้อ ทำให้มองเห็นเป็น 2 จุด อยู่ด้านข้าง เมื่อถูกตะขาบกัดจะมีอาการบวมแดง และปวด บางราย อาจมีไข้ ปวดศีรษะ คลื่นไล้ อาเจียน

ขั้นตอนการช่วยเหลือเบื้องต้น

(1) ใช้สายรัดหรือขันชะเนาะเหนือบริเวณที่ถูกกัด หรือเหนือบาดแผล เพื่อป้องกันมิให้พิษแพร่ กระจายออกไป

(2) พยายามทำให้เลือดไหลออกจากบาดแผลให้มากที่สุด อาจทำได้หลายวิธี เช่น เอามือบีบ เอาวัตถุที่มีรูกดให้แผลอยู่ตรงกลางรูพอดี เลือดจะได้พาเอาพิษออกมาด้วย

(3) ใช้แอมโมเนียหอมหรือทิงเจอร์ไอโอดี ทาบริเวณแผลให้ทั่ว

(4) ถ้ามีอาการบวมอักเสบและปวดมาก ให้ใช้ก้อนนํ้าแข็งประคบบริเวณแผล เพื่อช่วยบรรเทาอาการความเจ็บปวดด้วย

(5) ถ้าอาการยังไม่ทุเลาลง ต้องนำตัวส่งโรงพยาบาล เพื่อให้แพทย์ตรวจรักษาต่อไป

2.3.4 ผึ้ง ต่อ แตน

ผึ้งต่อ แตน แมลงเหล่านี้มีพิษต่อคนเมื่อถูกแมลงเหล่านี้ต่อย โดยเฉพาะผึ้ง มันฝั่งเหล็กในเข้าไปในบริเวณที่ต่อยและปล่อยสารพิษจากต่อมพิษออกมา ผู้ถูกแมลงต่อย ส่วนมากมีอาการเฉพาะที่ คือ บริเวณที่ถูกต่อยจะ ปวด บวม แดง แสบ ร้อน แต่บางคนแพ้มาก ทำให้อาการหายใจลำบาก หัวใจเต้นผิดปกติ หอบ คลื่นไส้ อาเจียน เจ็บหน้าอก มีไข้ และชัก ความรุนแรงขึ้นอยู่กับภูมิคุ้มกันของแต่ละคน และจำนวนครั้งที่ถูกต่อย

ขั้นตอนการช่วยให้เหลือเบื้องต้น

(1) รีบเอาเหล็กในออก โดยระวังไม่ให้ถุงนํ้าพิษที่อยู่ในเหล็กในแตกอาจทำโดยใช้ใบมีดขูดออก หรือใช้สก็อตเทปปิดทาบบริเวณที่ถูกต่อย แล้วดีงออกเหล็กในจะติด ออกมาด้วย

(2) ประคบบริเวณที่ถูกต่อยด้วยความเย็นเพื่อลดอาการปวด

(3) ทาครีมลดอาการบวมแดง หรือน้ำยาที่มีฤทธิ์เป็นด่างอ่อน ๆ ปิดแผล เช่น แอมโมเนีย น้ำปูนใส

(4) ถ้ามีอาการแพ้เฉพาะที่ เช่น บวม คัน หรือเป็นลมพิษให้ยาแก้แพ้

(5) ในกรณีที่มีอาการบวมตามหน้าและคอ ซึ่งทำให้หายใจไม่สะดวกต้องรีบ นำล่งโรงพยาบาลเพื่อรับการ รักษาขั้นต่อไป