หน่วยการเรียนรู้ที่ 11

การปฐมพยาบาล

สาระสำคัญ

การปฐมพยาบาล เป็นการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบอุบัติเหตุ หรือผู้ที่ได้รับ บาดเจ็บเบื้องต้น โดยใช้เครื่องมืออุปกรณ์ที่พึงหาได้ในบริเวณนั้น เพื่อช่วยบรรเทาอาการและช่วยให้ผู้บาดเจ็บได้รับอันตรายน้อยลง โดยเฉพาะอุบติเหตุ การปฐมพยาบาลต้องกระทำอย่างรวดเร็วและถูกต้องก่อนนำส่งโรงพยาบาล เพื่อรับการรักษาในโอกาสต่อไป ดังนั้น ผู้ให้การช่วยเหลือต้องมีความรู้ ความสามารถ ในการช่วยเหลือเบื้องต้นตามหลักการและวิธีการการปฐมพยาบาล เพื่อป้องกันการ เกิดภาวะแทรกช้อนหรือเกิดอาการทรุดลงถึงขั้นอันตรายถึงแก่ชีวิต

วิธีการปฐมพยาบาลกรณีผู้ประสบอุบัติเหตุทางรถยนต์ ทางน้ำ ตกจากที่สูง หกล้ม ที่มีอาการกระดูกหัก ข้อเคล็ด ข้อเคลื่อน ผู้ให้การช่วยเหลือควรมีความรู้ ความสามารถเกี่ยวกับ การเข้าเฝือก มัดเฝือก การพันด้วยผ้า การใช้ผ้าสามเหลี่ยมและการเคลื่อนย้ายผู้ป่วย

วิธีการปฐมพยาบาล ผู้มีสภาวการณ์เป็นลม ลมชัก ลมแดด เลือดกำเดาไหล หรือ หมดสติ ผู้ให้การ ช่วยเหลือ ควรมีความรู้ ความสามารถ เกี่ยวกับการประเมินอาการเบื้องต้น หรือตัดสินใจ ใช้วิธีการช่วยชีวิตขั้นพื้นฐานอย่างถูกวิธี ถูกต้อง และรวดเร็ว เพื่อป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อนหรือเกิดอาการทรุดลงถึงขั้นอันตรายถึงแก่ชีวิต

การวัดสัญญาณชีพ และการประเมินเบื้องต้น เป็นความสำคัญที่แสดงให้ทราบถึงการมีชีวิต สามารถสังเกตุและตรวจพบได้จากชีพจร อัตราการหายใจ อุณภูมิของร่างกาย และความดันโลหิต ซึ่งเกิดจากระบบการทำงานของอวัยวะสำคัญต่างๆ เช่น หัวใจ ปอด สมอง เป็นต้น

การช่วยชีวิตขั้นพื้นฐาน (CPR) เป็นการช่วยเหลือผู้บาดเจ็บ เมื่อเกิดภาวะหัวใจหยุดเต้นกระทันหัน จำเป็นต้องได้รับการช่วยเหลือทันที โดยการกระตุ้นหัวใจ การผายปอด และการช่วยหายใจ

ขอบข่ายเนื้อหา

ตัวชี้วัด

อธิบายความหมายและความสำคัญของการปฐมพยาบาล

อธิบายและสาธิตวิธีการปธมพยาบาลกรณีต่าง ๆ อย่างน้อย 3 วิธี

อธิบายการวัดสัญญาณชีพและการประเมินเบื้องต้น

สาธิตวิธีการช่วยชีวิตขั้นพื้นฐาน