หน่วยการเรียนรู้ที่ 11 การปฐมพยาบาล

เรื่องที่ 3 การวัดสัญญาณชีพและการประเมินเบื้องต้น

สัญญาณชีพเป็นสิ่งที่บ่งบอกความมีชีวิตของบุคคล ถ้าสัญญาณชีพปกติ จะบ่งบอก ถึงภาวะร่างกายปกติ ถ้าสัญญาณ ชีพมีการเปลี่ยนแปลง ลามารถบอกไต้ถึงการเปลี่ยนแปลงใน การทำหน้าที่ของร่างกาย ความรุนแรงของการเจ็บป่วย และความรีบด่วนที่ต้องการรักษา

สัญญาณชีพ หมายถึง สิ่งที่แสดงให้ทราบถึงการมีชีวิต ลามารถสังเกตและ ตรวจพบไต้จากที่ชีพจร อัตราการหายใจ อุณหภูมิร่างกาย และความคันโลหิต ซึ่งเกิดจากการ ทำงานของอวัยวะของร่างกายที่สำคัญมากต่อชีวิต ได้แก่ หัวใจ ปอด และสมอง รวมถึงการทำงาน ของระบบไหลเวียนโลหิต และระบบหายใจ

วัตถุประสงค์ของการวัดสัญญาณชีพ

1. เพื่อประเมินระดับอุณหภูมิของร่างกาย อัตราการเต้น ลักษณะชีพจรการ หายใจ และความคันโลหิต

2. เพื่อสังเกตอาการทั่วไปของผู้ป่วย และเป็นการประเมินสภาพผู้ป่วยเบื้องต้น

ข้อบ่งชี้ของการวัดสัญญาณชีพ

1. เมื่อแรกรับผู้ป่วยไว้ในโรงพยาบาล

2. วัดตามระเบียบแบบแผนที่ปฏิบัติของโรงพยาบาลหรือตามแผนการรักษาของแพทย์

3. ก่อนและหลังการผ่าตัด

4. ก่อนและหลังการตรวจวินิจฉัยโรคที่ต้องใส่เครื่องมือตรวจเข้าไปภายในร่างกาย

5. ก่อนและหลังใช้ยาบางชนิดที่มีผลต่อหัวใจและหลอดเลือด

6. เมื่อสภาวะทั่วไปของร่างกายผู้ป่วยมีการเปลี่ยนแปลง เช่น ความรู้สึกตัวลดลง หรือความรุนแรงของอาการปวดเพิ่มขึ้น

7. ก่อนและหลังการให้การพยาบาลที่มีผลต่อสัญญาณชีพ สัญญาณชีพ ประกอบด้วย ชีพจร อัตราการหายใจ อุณหภูมิร่างกายและความดันโลหิต มีรายละเอียดดังนี้

7.1 ชีพจรเป็นการหดและขยายตัวของผนังหลอดเลือด ซึ่งเกิดจากการบีบตัว ของหัวใจ จังหวะการเต้นของเส้นเลือดจะสัมพันธ์กับการเต้นของหัวใจ การวัดอัตราการเต้น ของหัวใจ วัดนับจากการใช้นิ้วกลางและนิ้วชี้คลำการเต้นของหลอดเลือดแดงตรงต้านหน้าของ ข้อมือ (ต้านหัวแม่มือ) ที่อยู่ตํ่ากว่าฐานของนิ้วหัวแม่มือ ประมาณ 60 - 100 ครั้งต่อนาที

7.2 อัตราการหายใจ การหายใจเป็นการนำเอาออกซิเจนเช้าสู่ร่างกายและนำ คาร์บอนไดออกไซด์ออกจากร่างกาย การวัดอัตราการหายใจดูจากการขยายตัวของซ่องอก ประมาณ 12 - 20 ครั้งต่อนาที

7.3 อุณหภูมิร่างกายเป็นระดับความร้อนของร่างกาย ซึ่งเกิดจากความสมดุล ของการสร้างความร้อนของร่างกายและการสูญเสียความร้อนของร่างกาย มีหน่วยเป็นองศา- เซลเซียส (°0 หรือองศาฟาเรนไฮต์ (°F) ซึ่งจะไม่ค่อยเปลี่ยนแปลงมากนักถึงแม้อุณหภูมิ ภายนอกอาจจะเปลี่ยนแปลง ค่าปกติ ประมาณ 37 องศาเซลเซียส +/- 0.5 องศาเซลเซียส

7.4 ความตันโลหิต เป็นแรงตันของเลือดที่ไปกระทบกับผนังเส้นเลือดแดง มีหน่วยเป็นมิลลิเมตรปรอท (มม.ปรอท หรือ mm.Hg.) ความตันโลหิตใช้ตรวจวัดจากเครื่องวัด คนปกติจะมีความตันโลหิต ประมาณ 90/60 - 120/80 มิลลิเมตรปรอท

กิจกรรมท้ายเรื่องที่ 3 การวัดสัญญาณชีพและการประเมินเบื้องต้น

(ให้ผู้เรียนไปทำกิจกรรมท้ายเรื่องที่ 3 ที่สมุดบันทึกกิจกรรมการเรียนรู้ประกอบชุดวิชา)