หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 การลูกเสือไทย

เรื่องที่ 1.2 กำเนิดลูกเสือไทย

พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเล็งเห็นความสําคัญของกิจการลูกเสือ จึงได้ทรงพระราชทาน กําเนิดลูกเสือไทยขึ้นเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2454 โดยมีพระราชประสงค์ 3 ประการ ซึ่งเป็นรากฐานแห่งความมั่นคงที่จะทำให้ชาติดํารงอยู่เป็นไทยได้สมนาม คือ 1) ความจงรักภักดีต่อผู้ทรงดํารงรัฐสีมาอาณาจักรโดยต้องตามนิติธรรมประเพณี 2) ความรักชาติบ้านเมืองและนับถือศาสนา และ 3) ความสามัคคีในคณะและไม่ทําลายซึ่งกันและกัน ประเทศไทยเป็นประเทศที่สามของโลกที่มีลูกเสือ โดยตั้งกองลูกเสือกองแรกขึ้นที่โรงเรียนมหาดเล็กหลวง (ปัจจุบันคือโรงเรียนวชิราวุธวิทยาลัย) เรียกว่า กองลูกเสือกรุงเทพ ที่ 1 ลูกเสือคนแรกของประเทศไทย คือ นายชัพน์ บุนนาค พระองค์ทรงสอนลูกเสือโดย พระองค์เอง วิชาที่ใช้ในการฝึกอบรมเป็นวิชาฝึกระเบียบแถว ท่าอาวุธ การสะกดรอย หน้าที่ของพลเมือง และได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมพระราชทานพระบรมราชานุญาต ให้จัดตั้งกองลูกเสือตามโรงเรียนต่าง ๆ ทําให้กิจการลูกเสือได้รับความนิยมแพร่หลายและเจริญขึ้นอย่างรวดเร็วและโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้มีข้อบังคับลักษณะการปกครองลูกเสือ ทรงตั้งสภากรรมการลูกเสือแห่งชาติและพระองค์ดํารงตําแหน่งสูงสุดของคณะลูกเสือแห่งชาติ หลังจากนั้นพระมหากษัตริย์ไทยทุกพระองค์ทรงเป็นประมุขของคณะลูกเสือแห่งชาติ

ในการตั้งกองลูกเสือก็เพื่อให้คนไทยรักชาติบ้านเมือง เป็นผู้นับถือศาสนาและมีความสามัคคี ไม่ทำลายซึ่งกันและกันเป็นรากฐานแห่งความมั่นคงของประเทศชาติ ทรงให้ที่มาของชื่อลูกเสือไว้ว่า

“ลูกเสือบ่ใช่เสือสัตว์ไพร

เรายืมมาใช้ด้วยใจกล้าหาญปานกัน

ใจกล้ามิใช่กล้าอธรรม์

เช่นเสืออรัญสัญชาติชนคนพาล

ใจกล้าต้องกล้าอย่างทหาร

กล้ากอปรกิจการแก่ชาติประเทศเขตคน”

ที่มา https://www.youtube.com/watch?v=TmtePZUyeWU