หน่วยการเรียนรู้ที่ 11 การปฐมพยาบาล

เรื่องที่ 2.1 วิธีการปฐมพยาบาลกรณีต่างๆ

2.1 วิธีการปฐมพยาบาลกรณีอุบัติเหตุ

อุบัติเหตุ หมายถึง เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นโดยมิได้วางแผนไว้ล่วงหน้า ซึ่งก่อให้เกิดการบาดเจ็บ พิการ หรือทำให้ทรัพย์สินได้รับความเสียหาย นอกจากนี้ความหมายในเชิงวิศวกรรมความปลอดภัยนั้น อุบัติเหตุ ยังมีความหมายครอบคลุมถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นแล้วมีผลกระทบกระเทือนต่อกระบวนการผลิตปกติ ทำให้เกิดความล่าช้า หยุดชะงัก หรือเสียเวลาแม้จะไม่ก่อนให้เกิดการบาดเจ็บ หรือพิการก็ตาม เช่น อุบัติเหตุทางรถยนต์ หรือทางถนน อุบัติเหตุทางน้ำ อุบัติเหตุทั่วไป เป็นต้น

อุบัติเหตุทางรถยนต์ หรือทางถนน

อุบัติเหตุทางถนนเป็นสาเหตุสำคัญที่คร่าชีวิตคนไทย ซึ่งการช่วยเหลือ ผู้ประสบเหตุอย่างถูกวิธีจะช่วยลดการบาดเจ็บรุนแรงและเสียชีวิตได้ เพราะบ่อยครั้งที่ผู้เข้า ช่วยเหลือได้รับอันตรายจากอุบัติเหตุซํ้าช้อน จึงมีข้อแนะนำที่ควรปฏิบัติในการช่วยเหลือ ผู้ประสบอุบัติเหตุทางถนนอย่างถูกวิธี ดังนี้

1. ประเมินสถานการณ์ จากสภาพแวดล้อมและสภาพการจราจรของจุดเกิดเหตุ โดยเฉพาะในช่วงเวลากลางคืนหรือทัศนวิสัยไม่ดี ควรเพิ่มความระมัดระวังเป็นพิเศษเพื่อป้องกัน อุบัติเหตุซํ้าช้อน

2. ส่งสัญญาณเตือนให้ผู้ร่วมใช้เส้นทางเพิ่มความระมัดระวัง โดยเปิดสัญญาณไฟ ฉุกเฉินของรถคันที่เกิดเหตุ นำกิ่งไม้ ป้ายสามเหลี่ยม หรือกรวยสะท้อนแสงมาวางไว้ด้านหลังรถ ห่างจากจุดเกิดเหตุในระยะไม่ตํ่ากว่า 50 เมตร

3. โทรศัพท์แจ้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอาทิ ตำรวจ หน่วยแพทย์ฉุกเฉินพร้อมให้ ข้อมูลจุดเกิดเหตุ จำนวนและอาการของผู้บาดเจ็บ เพื่อเจ้าหน้าที่จะได้วางแผนให้การช่วยเหลือ ผู้ประสบเหตุได้อย่างถูกต้อง

4. ช่วยเหลือผู้ที่มีอาการรุนแรงเป็นลำดับแรก โดยเฉพาะผู้ที่หมดสติ หยุดหายใจ-หัวใจหยุดเต้นและเสียเลือดมาก กรณีผู้ประสบเหตุบาดเจ็บเล็กน้อยให้ปฐมพยาบาล เบื้องด้นตามอาการ

5. หากไม่มีทักษะการช่วยเหลือ ห้ามเคลื่อนย้ายผู้ประสบเหตุด้วยตนเอง ควรรอให้ทีมแพทย์ฉุกเฉินมาช่วยเหลือ และนำส่งสถานพยาบาล จะช่วยลดการบาดเจ็บรุนแรง ที่ทำให้ผู้ประสบเหตุพิการหรือเสียชีวิต

การช่วยเหลือผู้ประสบอุบัติเหตุอย่างถูกวิธีจะช่วยลดความเสี่ยงต่อการได้รับ อันตราย และทำให้ผู้ประสบเหตุได้รับการดูแลอย่างปลอดภัย จึงช่วยลดอัตราการบาดเจ็บ รุนแรงและเสียชีวิตจากการช่วยเหลือไม่ถูกวิธี

อุบัติเหตุทางนํ้า

อุบัติเหตุทางนํ้าอาจเกิดจากสาเหตุที่สำคัญ 2 ประการ คือ ตัวบุคคล และ สภาพแวดล้อม ซึ่งสาเหตุส่วนใหญ่ของอุบัติเหตุทางนํ้า มักเกิดจากความประมาท และการกระทำ ที่ไม่ปลอดภัยของผู้ขับเรือ และผู้โดยสาร

อย่างไรก็ตาม กรณีที่เกิดอุบัติเหตุทางนํ้า ส่วนใหญ่ผู้ที่ประสบเหตุที่จะได้รับ อันตราย คือ ผู้ที่อยู่ในสภาวะจมนํ้า และขาดอากาศหายใจ ในที่นี้จึงยกตัวอย่างวิธีการปฐมพยาบาล กรณีจมนํ้า ดังนี้

การจมนํ้า

การจมน้ำทำให้เกิดอันตรายจากการขาดออกซิเจนไปเลี้ยงสมองการช่วยชีวิตและการกู้ฟื้นคืนชีพจึงเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้รอดชีวิตมีวิธีการปฐมพยาบาล ดังนี้

  1. จัดให้นอนตะแคงกึ่งควํ่า รีบตรวจสอบการหายใจ
  2. ถ้าไม่มีการหายใจใหช่วยกู้ชีพทันที
  3. ให้ความอบอุ่นกับร่างกายผู้จมน้ำโดยถอดเสื้อผ้าที่เปียกน้ำออกและใช้ผ้าแห้งคลุมตัวไว้
  4. นำส่งสถานพยาบาล

ข้อควรระวัง

  1. กรณีผู้จมน้ำมีประวัติการจมน้ำ เนื่องจากการกระโดดน้ำหรือเล่นกระดานโต้คลื่น การช่วยเหลือต้องระวังเรื่องกระดูกหักโดยเฉพาะการเคลื่อนย้ายผู้จมน้ำ โดยเมื่อนำผู้จมน้ำขึ้นถึงน้ำตื้นพอที่ผู้ช่วยเหลือจะยืนไต้สะดวกแล้วให้ใช้ไม้กระดานแข็งสอดใต้น้ำรองรับตัว ผู้จมน้ำใช้ผ้ารัดตัวผู้จมน้ำให้ติดกับไม้ไว้
  2. ไม่ควรเสียเวลากับการพยายามเอาน้ำออกจากปอดหรือกระเพาะอาหาร
  3. หากไม่สามารถนำผู้จมน้ำขึ้นจากน้ำได้โดยเร็วอาจเป่าปากบนผิวน้ำโดย หลีกเลี่ยงการเป่าปากใต้น้ำ และห้ามนวดหน้าอกระหว่างอยู่ในน้ำ

อุบัติเหตุทั่วไป (ตกจากที่สูง หกล้ม ไฟไหม้/นํ้าร้อนลวก)

อุบัติเหตุทั่วไป เป็นลิ่งที่เกิดขึ้นไต้ ทุกที่ ทุกเวลา และเกิดไต้กับบุคคล ทุกเพศ และทุกวัย เช่น การตกจากที่สูง หกล้ม ไฟไหม้ น้ำร้อนลวก เป็นต้น

1. การตกจากที่สูง

การตกจากที่สูง ลามารถทำให้เกิดอันตรายไต้รนแรงมากน้อยต่างๆกันไป เช่น ตกจากที่สูงมากอาจทำให้เสียชีวิต ทำให้กระดูกสันหลังหัก กดไขสันหลัง กลายเป็นอัมพาต อาจทำให้กระดกส่วนต่างๆหัก ในรายที่รุนแรงอาจเป็น กระดกซี่โครงหักทำให้เกิดเลือดออกในช่องปอด และอาจทำให้อวัยวะภายในช่องห้องที่สำคัญแตกเกิดอันตรายถึงชีวิตไต้ ทั้งนี้ จากการตกจากที่สูงส่วนใหญ่จะล่งผลก่อให้เกิดการบาดเจ็บของ กล้ามเนื้อและกระดูก ดังนี้

1.1 ข้อเคล็ด หมายถึง การที่ข้อมีการเคลื่อนไหวมากเกินไป ทำให้เนื้อเยื่ออ่อน ๆ และเอ็นรอบ ๆ ข้อ หรือกล้ามเนื้อ มีการชอกช้ำ ฉีกขาด หรือยึด เนื่องจากข้อนั้นถูกบิด พลิก หรือแพลงไปทำให้เจ็บปวดมาก

ขั้นตอนการช่วยเหลือเบื้องต้น

  1. ให้ส่วนข้อต่อที่เคล็ด หรือแพลงอยู่นิ่ง ๆ ไม่ขยับเขยือน
  2. ถ้าเป็นบริเวณมือหรือเท้าควรยกมือหรือเท้าที่เคล็ดให้สูงขึ้น ถ้าเป็นข้อมือควรใช้ผ้าคล้องแขนนั้นไว้
  3. ภายใน 24 ชั่วโมงแรกให้ประคบด้วยความเย็น เพื่อให้เลือดไต้ผิวหนังหยุดไหล หลังจากนั้นให้ประคบด้วยความร้อน
  4. นำผู้ป่วยไปพบแพทย์และอาจต้องเข้าเฝือกเพื่อให้ข้อบริเวณนั้นพักนิ่งๆ ซึ่งจะช่วยทำให้หายเร็วขึ้น

1.2 ข้อเคลื่อน หมายถึง ส่วนของข้อต่อบริเวณปลายกระดูกเคลื่อนหรือหลุด ออกจากที่เกิดจากการถูกกระซากอย่างแรง หรือมีโรคที่ข้ออยู่ก่อนแล้ว เช่น วัณโรคที่ข้อสะโพก

ขั้นตอนการช่วยเหลือเบื้องต้น

  1. ให้ส่วนข้อต่อที่เคล็ด หรือแพลงอยู่นิ่ง ๆ ไม่ขยับเขยือน
  2. ประคบด้วยความเย็น
  3. เข้าเฝือกชั่วคราว หรือใช้ผ้าพัน
  4. นำผู้ป่วยไปพบแพทย์และอาจต้องเข้าเฝือกเพื่อให้ข้อบริเวณนั้นพักนิ่งๆ ซึ่งจะช่วยทำให้หายเร็วขึ้น

กระดูกโผล่ออกมานอกเนื้อ ห้ามดันกลับเข้าไปเป็นอันขาดถ้ามีเลือดออกให้ทำการห้ามเลือดและปิดแผลก่อนทำการเข้าเฝือกชั่วคราว

1.3 กระดูกหัก หมายถึง ภาวะที่กระดูกได้รับแรงกระแทกมากเกินไป ส่งผลให้กระดูกไม่สามารถรองรับน้ำหนักจากแรงกระแทกได้ ก่อให้เกิดอาการปวด บวม ร้อน บริเวณที่หัก ถ้าจับกระดูกนั้นโยกหรือบิดเล็กน้อยจะมีเสียงดังกรอบแกรบ เนื่องจากปลายกระดูกที่หักนั้นเสียดสีกัน การเคลื่อนไหวผิดปกติอาจมีบาดแผล และพบปลายกระดูกโผล่ออกมาเห็นได้

ขั้นตอนการช่วยเหลือเบื้องต้น

การหักของกระดูกขึ้นสำคัญ เช่น กระดูกเชิงกราน กะโหลกศีรษะ ขากรรไกร คอ และกระดูกสันหลัง ต้องการการดูแลรักษาที่ถูกต้อง เพราะการหักของกระดูกเหล่านื้จะทำ อันตรายอย่างรุนแรงต่อเนื้อเยื่อใกล้เคียงกะโหลกศีรษะแตก และสันหลังหักเป็นอันตรายมากที่สุดเพราะว่าเนื้อสมองและไขสันหลังถูกทำลายทั้งนื้เมื่อมีภาวะกระดูกแตกหักใบริเวณกระดูกที่มีลักษณะเป็นแท่งยาว ผู้ปฐมพยาบาลต้องจัดให้มีการเข้าเฝือกซึ่งการเข้าเฝือก หมายถึง การใช้วัสดุต่าง ๆ พยุงหรือห่อหุ้มอวัยวะที่กระดูกหักให้อยุ่นิ่ง ซึ่งมีประโยชน์ช่วยให้บริเวณที่บาดเจ็บอยู่นิ่ง เป็นการบรรเทาความเจ็บปวดและป้องกันอันตรายเพิ่มมากขึ้น

การปฐมพยาบาลกระดูกหักต้องพยายามตรึงกระดูกส่วนที่หักให้อยู่กับที่โดยใช้วัสดุที่หาง่าย เช่น ไม้หรือกระดาษหนังสือพิมพ์พับให้หนา รวมทั้งผ้า และเชือกสำหรับ พันรัดด้วย

การตรวจบริเวณที่หัก ต้องทำด้วยความระมัดระวังเพราะอาจทำให้ปลายกระดูกที่หักเคลื่อนมาเกยกัน หรือทะลุออกมานอกผิวหนัง

การถอดเสื้อผ้าผู้บาดเจ็บ ควรใช้วิธีดัดตามตะเข็บอย่าพยายามให้ผู้บาดเจ็บถอดเอง เพราะจะทำให้เจ็บปวดเพิ่มขึ้น

หลักการเข้าเฝือกชั่วคราว

  1. วัสดุที่ใช้ดามต้องยาวกว่าอวัยวะส่วนที่หัก
  2. ไม่วางเฝือกลงบนบริเวณที่กระดูกหักโดยตรง ควรมีสิ่งอื่นรอง เช่น ผ้าวางก่อนตลอดแนวเฝือกเพื่อไม่ให้เฝือกกดลงบริเวณผิวหนังโดยตรง ซึ่งทำให้เจ็บปวด และเกิดเป็นแผลจากเฝือกกดได้
  3. มัดเฝือกกับอวัยวะที่หักให้แน่นพอควร ถ้ารัดแน่นจนเกินไปจะกดผิวหนัง

2. การหกล้ม

การหกล้มเป็นอาการหรือพฤติกรรมที่รู้จักกันทั่วไป ซึ่งหมายถึงการที่เกิดการเปลี่ยนท่าโดยไม่ตั้งใจและเป็นผลให้ร่างกายทรุดหรือลงนอนกับพื้นหรือปะทะสิ่งของต่าง ๆ เช่น โต๊ะ เตียง

ทั้งนี้จากการหกล้มอาจส่งผลทำให้เกิดการบาดเจ็บที่รุนแรงแตกต่างกันขึ้นอยู่กับสภาพร่างกายและสิ่งแวดล้อมในขณะที่เกิดเหตุ เช่น เกิดแผลเปิด บาดแผลปิด และการบาดเจ็บในลักษณะฟกช้ำไม่มีเลือดออกเป็นต้น จึงสามารถนำเสนอข้อมูลวิธีการปฐมพยาบาล ได้ดังนี้

บาดแผล รอยฉีกขาด รอยแตกแยกของผิวหนัง หรือเยื่อบุส่วนที่ลึกกว่าขั้นผิวหนังถกทำลายทำให้อวัยวะนั้นแยกจากกันด้วยสาเหตุต่าง ๆ บาดแผลแบ่งออกเป็น 2 ชนิด

บาดแผลเปิด คือ บาดแผลที่ผิวหนังฉีกขาดจนเห็นเนื้อข้างใน เซ่น แผลถลอก แผลที่เกิดจากการเจาะ การแทง การกระแทก แผลถูกของมีคมบาด แผลฉีกขาด เนื่องจากวัตถุมีคมอาจลึกลงไปถึงเนื้อเยื่อ เส้นเอ็น ทำให้เลียเลือดมาก แขนขาขาดจากอุบัติเหตุ ถูกสัตว์ดุร้ายกัด หรือถูกยิง เป็นต้น ซึ่งบาดแผลบางอย่างอาจทำให้เลียเลือดมาก และอาจทำให้ เลียชีวิตได้

การปฐมพยาบาลเบื้องต้นลำหรับบาดแผลที่มีเลือดออกก็คือการห้ามเลือด โดยหลีกเลี่ยงการสัมผัสกับเลือดของคนเจ็บโดยตรงแต่หากหลีกเลี่ยงไม่ไดให้รีบล้างมือด้วยสบู่รวมทั้งบริเวณที่เปีอนเลือดให้เร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้ไม่ควรถอดหรือเปลี่ยนเสื้อผ้าของคนเจ็บ แม้ว่าจะเปีอนเลือดจนชุ่มแล้วเพราะอาจยิ่งทำให้เลือดออกมาก

หากสามารถทำได้ ควรทำความสะอาดแผลก่อนเพื่อป้องกันการติดเชื้อ โดยล้างแผลด้วยน้ำสะอาดแล้วใช้ผ้าก็อซหรือผ้าละอาดวางไว้ตรงบาดแผลยกเว้นเมื่อเกิดบาดแผลที่ดวงตาเพราะอาจมีสิ่งแปลกปลอมทำให้ดวงตาได้รับบาดเจ็บมากขึ้นแล้วใช้ผ้าสะอาดพันปิดแผลไว้อย่าให้แน่นจนชาหากไม่มีผ้าพันแผลสามารถดัดแปลงสิ่งของใกล้ตัวมาใช้ได้ เช่น ผ้าเช็ดหน้า ชายเสื้อ ชายกระโปรง หรือเนคไท

แผลที่แขนหรือขาให้ยกสูง จะช่วยให้เลือดไหลช้าลง ปกติเลือดจะหยุดไหล ภายในเวลาประมาณ 15 นาที หากเลือดไหลไม่หยุดให้กดเส้นเลือดแดงใหญ่ที่ไปเลี้ยงแขนขาโดยกดบริเวณเหนือบาดแผลถ้าเลือดออกที่แขนให้กดแขนด้านใน ช่วงระหว่างข้อศอกและ หัวไหล่ ถ้าเลือดออกที่ขาให้กดที่หน้าขาบริเวณขาหนีบ

การห้ามเลือดโดยการกดเส้นเลือดแดงใหญ่ควรทำก็ต่อเมื่อใช้วิธีการห้ามเลือด โดยการกดบาดแผลหรือใช้ผ้าพันแผลแล้วไม่ได้ผล เพราะจะทำให้อวัยวะที่ตํ่ากว่าจุดกดขาดเลือดไปเลี้ยงหากกดนาน ๆ กล้ามเนื้ออาจตายได้ จึงไม่ควรกดเส้นเลือดแดงใหญ่เกินกว่าครั้งละ 15 นาที

สำหรับบาดแผลที่ศีรษะไม่ควรใช้นํ้าล้างแผลเพราะจะทำให้ปิดขวางทางออกของแรงดันภายใน และสมองอาจติดเชื้อโรคที่อยู่ในนํ้าได้ หากมีเลือดไหลออกจากปาก จมูก หรือหูอย่าพยายามห้ามเลือด เพราะจะปิดกั้นทางออกของแรงดันในสมองเช่นกัน

การทำความสะอาดบาดแผลเล็กน้อย

วิธีการปฐมพยาบาลบาดแผลเล็กน้อยทำได้โดยล้างมือให้สะอาดทุกครั้งก่อนที่จะทำแผลใช้นํ้าสะอาดล้างแผลใช้สบู่อ่อนๆ ล้างผิวหนังที่อยู่รอบ ๆ บาดแผล แล้วล้างด้วยนํ้าสะอาดอีกครั้ง หลีกเลี่ยงการกระทบบาดแผลโดยตรง ใช้ผ้าก๊อซหรือผ้าสะอาดซับแผลให้แห้งแล้วใส่ยาสำหรับแผลลด เช่น โพวิโดนไอโอดีน ซึ่งจะช่วยลดการติดเชื้อได้จากนั้นเปิด แผลด้วยผ้าพันแผล

บาดแผลปิด คือ บาดแผลที่ไม่มีรอยแผลให้เห็นบนผิวหนังภายนอก อาจเห็นเพียงแค่รอยเขียวช้ำ แต่บางกรณีเนื้อเยื่อภายในอาจถูกกระแทกอย่างแรง ทำให้เลือด ตกใน บางครั้งอวัยวะภายในได้รับความเลียหายมาก เช่น ม้ามแตก ตับแตก หรือเลือดคั่งในสมอง ระยะแรกอาจไม่แสดงอาการใด ๆ แต่เมื่อเวลาผ่านไปคนเจ็บอาจอาเจียน เลือดออกปาก หรือจมูกหนาวสั่น ตัวซีด เจ็บปวดรุนแรง หมดสติ และอาจเสียชีวิตเนื่องจากเสียเลือดมาก

แผลฟกซํ้าไม่มีเลือดออก

บาดแผลฟกช้ำาจะไม่มีเลือดออกมาภายนอกแต่เกิดอาการบวม ผิวเปลี่ยนลี และมีรอยฟกซํ้า ซึ่งเกิดจากเส้นเลือดบริเวณนั้นแตกแต่ผิวหนังไม่ฉีกขาดจึงทำให้เลือดซึมอยู่ใต้ผิวหนังระยะแรกจะมีลืแดงแล้วเปลี่ยนเป็นลีม่วงคลํ้าในเวลาต่อมา

คนส่วนใหญ่มักไม่ใส่ใจกับแผลฟกช้ำ แต่ความจริงแล้วแผลฟกช้ำก็มีวิธีการ ดูแลที่ถูกต้องเช่นกัน ก่อนอื่นให้ตรวจดูว่าไม่มีบาดแผล หรืออาการอื่น ๆ หรือกระดูกหักร่วมด้วย ให้คนเจ็บนั่งในท่าที่สบาย แล้วประคบแผลด้วยถุงน้ำแข็งหรือถุงน้ำเย็นเพื่อลดอาการบวม หากเป็นแผลที่แขนให้ใช้ผ้าสามเหลี่ยมคล้องแขนให้อยู่กับที่ หากเป็นแผลที่ขาให้นอนหนุนขาให้สูง หากเป็นที่สำตัวให้นอนตะแคงหนุนหมอนที่ศีรษะและไหล่

ไฟไหม้/นํ้าร้อนลวก

บาดแผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวก โดยมากมักจะมีสาเหตุจากอุบัติเหตุ ความประมาท ขาดความระมัดระวัง แผลไหม้จะทำให้เกิดอันตรายแก่ร่างกาย ตั้งแต่เล็กน้อยไป จนถึงเสียชีวิตได้ การช่วยเหลืออย่างถูกต้องจะช่วยลดความรุนแรงได้

ขั้นตอนการช่วยเหลือเบื้องต้น

หลักการปฐมพยาบาลไฟไหม้นั้าร้อนลวกให้ดับไฟโดยใช้นั้าราด หรือใช้ผ้า หนา ๆ คลุมตัวถอดเลื้อผ้าที่ไหม้ไฟหรือถูกน้ำร้อน พร้อมถอดเครื่องประดับที่อมความร้อนออกให้หมดเมื่อเกิดแผลไหม้นั้าร้อนลวกให้ปฐมพยาบาลตามลักษณะของแผล ดังนี้

เฉพาะชั้นผิวหนัง

  1. ระบายความร้อนออกจากแผลโดยใช้ผ้าชุบนํ้าประคบบริเวณบาดแผลแช่ลงในนํ้าหรือเปีดให้นํ้าไหลผ่านบริเวณบาดแผลตลอดเวลา นานประมาณ 10 นาที ซึ่งจะช่วย บรรเทาความเจ็บปวดได้
  2. ทาด้วยยาทาแผลไหม้
  3. ห้ามเจาะถุงนํ้าหรือตัดหนังส่วนที่พองออก
  4. ปิดด้วยผ้าสะอาด เพื่อป้องกันการติดเชื้อ
  5. ถ้าแผลไหม้บริเวณกว้าง หรืออวัยวะที่สำคัญต้องรีบนำส่งโรงพยาบาล

ลึกถึงเนื้อเยื่อใต้ผิวหนัง

  1. ไม่ต้องระบายความร้อนออกจากบาดแผล เพราะจะทำให้แผลติดเชื้อมากชื้น
  2. ห้ามใส่ยาใด ๆ ทั้งสิ้นลงในบาดแผล
  3. ใช้ผ้าสะอาดห่อตัวผู้บาดเจ็บเพื่อป้องกันสิ่งสกปรกให้ความอบอุ่น และรีบนำส่งโรงพยาบาล