หน่วยการเรียนรู้ที่ 12 การเดินทางไกล การอยู่ค่ายพักแรมและชีวิตชาวค่าย

เรื่องที่ 3.5 การกางและการเก็บเต็นท์ชนิดต่าง ๆ

การไปอยู่ค่ายพักแรมของลูกเสือแต่ก่อนนั้นไปหาที่พักข้างหน้าตามแต่จะดัดแปลงได้ในภูมิประเทศ ซึ่งเป็นการแก้ปัญหาเฉพาะหน้า ถ้าลูกเสือไม่พักในอาคาร ลูกเสือ จะต้องนอนกลางแจ้ง ซึ่งจะต้องหาวิธีสร้างเพิงที่พักง่าย ๆ ที่สามารถกันแดด กันฝน กันลมและป้องกันสัตว์เลื้อยคลานได้โดยใช้อุปกรณ์ต่าง ๆ เท่าที่จะหาได้ ต่อมาเริ่มมีการเตรียมอุปกรณ์ไปด้วย เช่น เชือกหลาย ๆ เส้น พลาสติกผืนใหญ่ เป็นต้น ทำให้ง่ายต่อการสร้างเพิงที่พักมากขึ้นปัจจุบันลูกเสือส่วนมากจะเตรียมเต็นท์สำเร็จรูปไปด้วย เพราะเต็นท์มีขายอย่างแพร่หลายและมีให้เลือกหลายแบบ หลายสี หลายขนาด มีนํ้าหนักเบา มีขนาดกะทัดรัด สามารถนำพาไปได้สะดวก การกางเต็นท์กระแบะ หรือเต็นท์ 5 ชาย

อุปกรณ์และส่วนประกอบ

ในการใช้เต็นท์สำหรับอยู่ค่ายพักแรม จะใช้เต็นท์ 5 ชาย ซึ่งเหมาะสำหรับ ลูกเสือจำนวน 2 คน ซึ่งจะใช้พื้นที่ในการกางเต็นท์ไม่มากนักและวิธีกางก็ไม่ยุ่งยาก

ส่วนประกอบของเต็นท์ 5 ชาย มีดังนี้

1) ผ้าเต็นท์ 2 ผืน

2) เสาเต็นท์ 2 ชุด (2 เสา) ชุดละ 3 ท่อน (3 ท่อนต่อกันเป็น 1 ชุด)

3) สมอบก 10 ตัว (หัวท้าย 2 ตัว ชายด้านล่าง ด้านละ 3 ตัว ประตูหน้า 1 ตัวและหลัง 1 ตัว)

4) เชือกยึดสมอบก 10 เส้น (เชือกยาวใช้รั้งหัวท้ายเต้นท์ 2 เส้น เชือกสั้นใช้ยึด ชายเต็นท์ 6 เส้น และประตูหน้า - หลัง 2 เส้น)

การกางเต้นท์ 5 ชาย มีวิธีการดังต่อไปนี้

1) ติดกระดุมทั้ง 2 ผืนเข้าด้วยกัน

2) ตั้งเสาเต็นท์ทั้ง 2 เสา

3) ผูกเชือกรั้งหัวท้ายกับสมอบก

4) ตอกสมอบกยึดชายเต็นท์

การรื้อเต็นท์ที่พักแรม

1) แก้เชือกที่รั้งหัวท้ายกับสมอบกออก

2) ล้มเสาเต็นท์ทั้ง 2 เสาลง

3) ถอนสมอบกที่ยึดชายเต็นท์และที่ใช้รั้งหัวท้ายเต็นท์

4) แกะกระดุมเพื่อแยกให้เต็นท์เป็น 2 ผืน

5) ทำความสะอาด เก็บพับให้เรียบร้อย

6) นำผ้าเต้นท์และอุปกรณ์เก็บรวมไว้เป็นที่เดียวกัน เต็นท์สำเร็จรูป

เต็นท์สำเร็จรูปจะมีลักษณะและรูปแบบที่หลากหลาย ซึ่งมีวางจำหน่ายโดยทั่วไปง่ายต่อการประกอบและการเก็บ แต่ละแบบจะมีรูปแบบการประกอบไม่เหมือนกันจึงให้ผู้ใช้พิจารณาตามวิธีการของเต็นท์

เต็นท์สำเร็จรูปใช้เป็นที่พักสำหรับลูกเสือทั้งหมู่

(1 หมู่) เป็นเต็นท์ที่มีขนาดใหญ่กว่า เต็นท์กระแบะ มีนํ้าหนักมากกว่า เต็นท์กระแบะสามารถพกพาไปได้สะดวกพื้นที่ที่ใช้กางเต็นท์จะมีบริเวณกว้างพอสมควรส่วนวิธีกางเต็นท์ไม่ยุ่งยาก มีลูกเสือช่วยกันเพียง 2 คน ก็สามารถกางเต็นท์ได้

Video สาธิตการกางเต็นท์

สาธิตการกางเต็นท์.mp4

ขอบคุณที่มาจาก ช่อง Outdoor Adventure

https://www.youtube.com/watch?v=gsoIydVDUS0

ส่วนประกอบของเต็นท์สำเร็จรูป มีดังนี้

1) ผ้าเต็นท์ 1 ชุด

2) เสาเต็นท์ 2 ชุด (2 เสา) ชุดละ 3 ท่อน (3 ท่อนต่อกันเป็น 1 ชุด หรือ 1 เสา)

3) สมอบก 12 ตัว (ยึดมุมพื้น 4 ตัว ยึดชายหลังคา 6 ตัว หัว 1 ตัว ท้าย 1 ตัว)

4) เชือกยึดสมอบก 8 เส้น ทุกเส้นมัดติดกับแผ่นเหล็กสำหรับปรับความตึงหย่อนของเชือก (เชือกสั้น 6 เส้นใช้ ยึดชายหลังคา เชือกยาว 2 เส้นใช้รั้งหัวท้ายเต้นท์)

วิธีกางเต็นท์สำเร็จรูป ปฏิบัติดังนี้

1) ยึดพื้นของเต็นท์ทั้ง 4 มุมด้วยสมอบก 4 ตัว

2) นำเสาชุดที่ 1 (ต่อ 3 ท่อนเข้าด้วยกัน) มาเสียบที่รูหลังคาเต็นท์ ให้คนที่ 1 จับไว้

3) ให้คนที่ 2 ใช้เชือกยาว 1 เส้น ยึดจากหัวเสา (หรือห่วง) ไปยังสมอบกด้านหน้า (โดยผูกด้วยเงื่อนตะกรุดเบ็ด หรือผูกเงื่อนกระหวัดไม้ไม่ต้องใช้เงื่อนผูกรั้ง เพราะเป็นแผ่นปรับความตึงอยู่แล้ว) แล้วใช้เชือกสั้น 2 เส้น ยึดชายเต็นท์เข้ากับสมอบกให้เต็นท์กาง ออกเป็นรูปหน้าจั่ว

4) ให้คนที่ 2 เดินอ้อมไปอีกด้านหนึ่งต่อเสาที่ 2 เสียบเข้ารูหลังคา เต็นท์อีกด้าน หนึ่งแล้วจับเสาไว้ให้คนที่ 1 ปล่อยมือจากเสาที่ 1 แล้วนำเชือกยาวเส้นที่ 2 ยึดจากหัวเสาที่ 2 ไปยังสมอบกด้านหลัง

5) ให้คนที่ 2ปล่อยมือจากเสาที่ 2 ได้เต็นท์จะไม่ล้ม ทั้งสองคนช่วยกันใช้เชือก ยึดชายหลังคาเต็นท์ (จุดที่เหลือ) ให้เข้ากับสมอบกแล้วปรับความตึงหย่อนของเต็นท์ให้ เรียบร้อย

หมายเหตุ เต็นท์ สำเร็จรูปมีหลายแบบ มีรูปทรงไม่เหมือนกัน บางแบบคล้าย เต็นท์กระแบะ เป็นต้น ใช้สะดวกและเบามากแต่บอบบาง

เต็นท์อย่างง่าย

อุปกรณ์ที่หาได้ในห้องถิ่น โดยใช้ถุงปุ๋ยหรือเสื่อเย็บต่อกันให้ได้เป็นผืนใหญ่ ๆ สามารถใช้แทน ผ้าเต็นท์ได้จะให้มีขนาดใหญ่เท่าใดก็ได้ตามที่ต้องการแต่ส่วนใหญ่มักจะทำเป็นผืนใหญ่ใช้เป็น ที่พักของลูกเสือได้ทั้งหมู่

วิธีทำ

หาไม้สองท่อนมาทำเสา ปักลงในดินให้แน่น แล้วเอาไม้อีกอันหนึ่งพาดทำเป็นขื่อ เสร็จแล้วใช้ถุงที่เย็บหรือผ้าใบพาดกับขื่อนั้น ที่ปลายทั้งสองช้างรั้งเชือกกับสมอบกการนำวัสดุต่าง ๆ ที่หาได้ในห้องถิ่นจะง่าย สะดวกและประหยัด

เพื่อเป็นการส่งเสริมและปฏิบัติตามแนวพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหา­ภูมิพลอดุลยเดช

เต็นท์แบบโดม

เต็นท์แบบโครง

เต็นท์แบบกึ่งถุงนอน

เต์นท์แบบอุโมงค์

เต์นท์แบบสามเหลี่ยม

เต์นท์แบบกระโจม

ข้อควรระวังในการกางเต็นท์

เมื่อต้องการกางเต็นท์หลายหลังเป็นแนวเดียวกัน ขั้นแรกเล็งให้สมอบกและเสาต้นแรกของทุกเต็นท์อยู่ในแนวเดียวกันการกางเต็นท์แต่ละหลังให้เล็งสมอบกตัวแรกเสาแรก เสาหลังและสมอบกตัวหลังทั้ง 4 จุดอยู่ในแนวเดียวกันเสาทุกต้นที่ยึดเต็นท์จะต้องตั้งฉากกับ พื้นเสมอหลังคาเต็นท์จะต้องไม่มีรอยย่น สมอบกต้านข้างของเต็นท์แต่ละหลังจะต้องเรียงกัน อย่างเป็นระเบียบ ถ้าเต็นท์ตึงไปอาจจะขาดไต้ หรือถ้าหย่อนเกินไปก็จะกันฝนไม่ไต้ ซึ่งจะเป็น สาเหตุทำให้นํ้าซึมไต้ง่ายและถ้าหากลมพัดแรง อาจทำให้เต็นท์ขาดได้ การผูกเต็นท์ควรใช้เงื่อน ผูกรั้งเพราะสามารถปรับให้ตึงหย่อนไต้ตามต้องการ การดูแลรักษาเต็นท์

การดูแลรักษาเต็นท์ให้มีอายุการใช้งานที่ยาวนาน หลายคนอาจจะคิดว่าเป็น เรื่องยาก ลองอ่านวิธีการเหล่านี้ดูแล้วคุณจะรู้ว่าเต็นท์ดูแลง่ายนิดเดียว

1. ผูกกางเต็นท์ให้ถูกวิธี การที่คุณเรียนรู้วิธีการกางเต็นท์อย่างถูกวิธี จะทำให้ เต็นท์ของคุณไม่เกิดความเสียหาย เพราะบางครั้งการกางเต็นท์ไม่ถูกวิธี อาจทำให้อุปกรณ์บางชิ้น เกิดความเสียหายไต้ เช่น อาจจะใส่เสาเต็นท์ผิดอันทำให้เกิดความเสียหายเวลางอเสาเข้ากับ เต็นท์ เป็นต้น

2. อย่าเก็บเต็นท์ของคุณขณะที่เปียกถ้าไม่จำเป็น เพราะอาจจะทำให้เกิดกลิ่นอับได้ เราควรจะนำเต็นท์มาผึ่งลมให้แห้งก่อนและนำเศษสิ่งสกปรกออกจากเต็นท์ แล้วจึงปีดซิปให้ เรียบร้อย

3. ไม่ควรใช้สารเคมีในการทำความสะอาดเต็นท์ เพราะสารเคมีเหล่านี้จะทำลาย สารที่เคลือบเต็นท์ไว้ ควรใช้แค่ผ้าซุบน้ำเช็ดก็พอ ห้ามใช้แปรงขัดเพราะแปรงจะทำให้สาร เคลือบหลุดออกเช่นกัน

4. ใช้ผ้าพลาสติกปูรองพื้น ผ้ารองพื้นจะใช้ปูรองพื้นก่อนกางเต็นท์ ประโยชน์ คือ ช่วยปกป้องตัวเต็นท์ จากหินและกิ่งไม้อันแหลมคม ซึ่งสิ่งเหล่านี้อาจจะทำให้พื้นเต็นท์เกิด ความเสียหายได้และนอกจากนี้ยังช่วยลดเวลาในการทำความสะอาด เพราะเราเพียงแต่ทำ ความสะอาดที่ผ้าปูเท่านั้น

5. ใช้สมอบกปักเต็นท์ บางคนอาจคิดว่าสมอบกไม่จำเป็น เพราะเต็นท์สามารถ ทรงตัวได้อยู่แล้ว แต่บางครั้งเมื่อลมแรง เต็นท์อาจจะมีการพลิกซึ่งอาจจะทำให้เต็นท์เสียหาย ถ้าช่วงที่คุณกางเต็นท์มีลมแรงควรจะนำสัมภาระเช้าไปไวในเต็นท์ แล้วปักสมอบกยึดไว้ ซึ่ง จะช่วยป้องกันเต็นท์พลิกจากแรงลมได้

6. ใช้อุปกรณ์ซ่อมแซมเต็นท์ถ้าจำเป็น หากเต็นท์คุณเกิดการเสียหาย เช่น ผนัง เต็นท์มีรอยฉีกขาด ควรใช้พวกผ้าเทปปีดรอยขาดนั้นไว้ มิฉะนั้นรอยขาดนั้นจะใหญ่ขึ้นเรื่อย ๆ (ลองคิดถึงเสื้อผ้าที่ขาดดู ถ้าเรายิ่งดึงก็จะยิ่งขาดมากขึ้น) อุปกรณ์ซ่อมแซมเต็นท์สามารถหาซื้อได้ ตามร้านอุปกรณ์ทั่วไป