หน่วยการเรียนรู้ที่ 11 การปฐมพยาบาล

เรื่องที่ 2.2 วิธีการปฐมพยาบาลกรณีการเจ็บป่วยโดยปัจจุบัน

2.2.1 การเป็นลม

การเป็นลม เป็นอาการหมดสติเพียงชั่วคราว เนื่องจากเลือดไปเลี้ยงสมอง ไม่พอ สาเหตุและลักษณะอาการของคนเป็นลมที่พบบ่อย เช่น หิว เหนื่อย เครียด ตกใจ กังวลใจ กลัว เสียเลือดมาก มีอาการวิงเวียนศีรษะ ตาพร่า หน้ามีด ใจสั่น มือเท้าไม่มีแรง หน้าซีด เหงื่อออก ตัวเย็น ชีพจรเบา/เร็ว


ขั้นตอนการช่วยเหลือเบื้องต้น

(1) พาเข้าที่ร่ม ที่อากาศถ่ายเทสะดวก

(2) นอนราบไม่หนุนหมอน หรือยกปลายเท้าให้สูงเล็กน้อย

(3) คลายเสื้อผ้าให้หลวม

(4) พัดหรือใช้ผ้าชุบนํ้าเช็ดเหงื่อตามหน้า มือ และเท้า

(5) ให้ดมแอมโมเนีย

(6) ถ้ารู้สึกตัวดีให้ดื่มน้ำ

(7) ถ้าอาการไม่ดีขึ้น นำล่งต่อแพทย์

2.2.2 ลมชัก

ลมชัก อาการชักของผู้ป่วย บางรายอาจชักด้วยอาการเหม่อลอย เริ่มกระตุก ท่าทางแปลก ๆ ผิดปกติ ตาเหลือก อาจจะเริ่มทำท่าเหมือนเคี้ยวอะไรอยู่ หรือบางคนอาจจะเริ่มด้นด้วยอาการสับสน มึนงง พูดจาวกวนก่อนก็ได้ ก่อนที่จะเริ่มมีอาการชัก

ขั้นตอนการช่วยเหลือเบื้องต้น

(1) สังเกตว่าผู้ป่วยหมดสติสัมปชัญญะหรือไม่ ส่วนใหญ่ยังไม่ถึงกับขั้นสลบแต่จะควบคุมตัวเองไม่ได้เมื่อผู้ป่วยเริ่มมีอาการชัก แล้วลงไปกองกับพื้น พยายามพาเขามาอยู่ ในที่โล่ง ๆ ปลอดภัย ไม่มีสิ่งของใด ๆ รอบตัว

(2) คลายกระดุม เน็คไทที่คอเสื้อ เข็มขัดที่กางเกงหรือกระโปรง ถอดแว่นตา นำหมอน หรือเสื้อพับหนา ๆ มารองไว้ที่ศีรษะ

(3) จับผู้ป่วยนอนตะแคง

(4) ไม่งัดปากด้วยช้อน ไม่ยื่นอะไรให้ผู้ป่วยกัด ไม่ยัดปากด้วยสิ่งของต่าง ๆเด็ดขาด ไม่กดท้อง ไม่ถ่างขา ไม่ทำอะไรทั้งนั้น

(5) จับเวลา ตามปกติผู้ป่วยลมชักจะมีอาการสงบลงได้เอง เมื่อผ่านไป 2-3 นาที หากมีอาการชักเกิน 5 นาทีควรรีบส่งแพทย์ (หรือกด 1669 บริการแพทย์ฉุกเฉิน)

(6) อย่าลืมอธิบายผู้คนรอบข้างด้วยว่าเกิดอะไรขึ้น และขอความช่วยเหลือ เท่าที่จำเป็น เช่น อย่ามุงผู้ป่วยใกล้ ๆ หรือช่วยเรียกรถพยาบาลกรณีที่ผู้ป่วยชักเกิน 5 นาทีหรือมีอาการบาดเจ็บ

ในกรณีที่ผู้ป่วยลมชักมีอาการกัดลิ้นตัวเอง ไม่ต้องตกใจ โดยส่วนใหญ่แล้ว จะไม่ได้กัดลิ้นตัวเองจนขาดหรือมีบาดแผลใหญ่มากนัก อาจจะมีความเป็นไปได้ที่เผลอกัดลิ้น ตัวเองจนได้รับบาดแผลมีเลือดออก แต่ไม่ได้เป็นอันตรายถึงชีวิตมากเท่ากับการยัดสิ่งต่างๆ เข้าไปในปากของผู้ป่วย ด้วยหวังว่าจะให้กัดแทนลิ้น เพราะมีหลายครั้งที่สิ่งของเหล่านั้นทำให้ ผู้ป่วยมีอาการบาดเจ็บหนักกว่าเดิม แผลที่กัดลิ้นใหญ่กว่าเดิม หรือผลัดหลุดเข้าไปติดใน หลอดลม หลอดอาหาร

2.2.3 การเป็นลมแดด

การเป็นลมแดด เกิดจากการที่ร่างกายไม่สามารถปรับตัวกับความร้อนที่ เกิดขึ้น จนเกิดภาวะวิกฤต ในภาวะปกติร่างกายจะมีระบบการปรับสมดุลความร้อน เมื่อความร้อน ในร่างกายเพิ่มขึ้น อาการสำคัญ ได้แก่ ตัวร้อน อุณหภูมิร่างกาย 41 องศาเซลเซียส หน้าร้อนแดง ไม่มีให้เหงื่อ มีอาการเพ้อ ความคันลดลง กระสับกระส่าย มึนงง สับสน ชักเกร็ง หมดสติ โดยกลไก การทำงานของร่างกาย จะมีการปรับตัวโดยส่งนํ้า หรือเลือดไปเลี้ยงอวัยวะภายใน เช่น สมอง ตับ กล้ามเนื้อ ทำให้ผิวหนังขาดเลือดและน้ำไปเลี้ยง จึงไม่สามารถระบายความร้อนออกจากร่างกายได้

ขั้นตอนการช่วยเหลือเบื้องต้น

นำผู้ที่มีอาการเข้าในที่ร่ม นอนราบ ยกเท้าสูง เพื่อเพิ่มการไหลเวียนเลือด คลายเสื้อผ้าและหรือเครื่องนุ่งห่มให้หลวมออก กันไม่ให้คนมามุงล้อมผู้ป่วย ใช้ผ้าชุบน้ำประคบบริเวณใบหน้า ข้อพับ ขาหนีบ เข็ดตัวเพื่อระบายความร้อน และ ถ้ารู้สึกตัวดีให้ค่อย ๆ จิบน้ำเย็น เพื่อลดอุณหภูมิร่างกายให้เร็ว และรีบนำส่งโรงพยาบาล

2.2.4 เลือดกำเดาไหล

สาเหตุ มาจากการกระทบกระแทก การเป็นหวัด การสั่งน้ำมูกการติดเชื้อ ในช่องจมูก หรือความหนาวเย็นของอากาศ

ขั้นตอนการช่วยเหลือเบื้องต้น

(1) ให้ผู้ป่วยนั่งนิ่งๆ เอนตัวไปข้างหน้าเล็กน้อย

(2) ใช้มือบีบปลายจมูก และให้หายใจทางปากโดยบีบปลายจมูกไว้ 10 นาทีให้คลายมือออกถ้าเลือดยังไหลต่อให้บีบต่ออีก 10 นาทถ้าเลือดไม่หยุดใน 20 นาทีให้รีบนำส่ง โรงพยาบาล

(3) ถ้ามีเลือดออกมาก ให้ผู้ป่วยบ้วนเลือดหรือน้ำลายลงในอ่าง หรือภาชนะที่รองรับ

(4) เมื่อเลือดหยุดแล้ว ใช้ผ้าละอาดเข็ดบริเวณจมูกและปาก

ข้อห้าม

ห้ามสั่งน้ำมูกหรือล้วงแคะ ขยี้จมูก เพราะจะทำให้อาการแย่ลง

2.2.5 การหมดสติ

การหมดสติ เป็นภาวะที่ร่างกายไม่มีการตอบสนองต่อสิ่งกระตุ้น สาเหตุ เนื่องจากลมองได้รับการกระทบกระเทือนบริเวณศีรษะ ซึ่งเป็นบริเวณที่มีเส้นเลือดใกล้ผิว ขั้นนอกมาทำให้เลือดไหลออกมาก แต่มีบางกรณีไม่มีเลือดไหลออกมาภายนอก ทำให้ผู้บาดเจ็บ หมดสติ หากไม่ได้รับการช่วยให้ลืออาจทำให้เสียชีวิต จึงต้องประเมินสถานการณ์และการ บาดเจ็บ เพื่อให้การช่วยเหลือเบื้องด้นและนำส่งโรงพยาบาลเพื่อรับการรักษา

ขั้นตอนการช่วยเหลือผู้หมดสติ

1. สำรวจสถานการณ์ บริเวณที่เกิดเหตุอย่างรวดเร็ว ถ้าสถานการณ์ปลอดภัย ให้ตะโกนเรียกผู้หมดสติ

2. หากไม่มีการตอบสนอง ใช้มือทั้ง 2 ช้างตบไหล่ เรียก พร้อมสังเกตการณ์ ตอบสนอง (การลืมตา ขยับตัว และพูด) และดูการเคลื่อนไหวของทรวงอก หน้าห้อง ถ้าพบว่า ยังหายใจอยู่ให้รีบให้การช่วยเหลือ และขอความช่วยเหลือโดยการโทรเรียกรถพยาบาล 1669 แต่หากไม่ตอบสนอง หน้าอกหน้าห้องไม่กระเพื่อมขึ้นลง แสดงว่า หมดสติและไม่หายใจ ต้อง ช่วยเหลือโดยการปั้มหัวใจ และการผายปอด