หน่วยการเรียนรู้ที่ 13 ปฏิบัติการเดินทางไกลอยู่ค่ายพักแรม และชีวิตชาวค่าย

เรื่องที่ 1 การวางแผนและปฏิบัติกิจกรรม การเดินทางไกลการอยู่ค่ายพักแรม และชีวิตชาวค่าย

การเดินทางไกล ลูกเสือต้องเตรียมความพร้อมทุกด้าน ทั้งทางร่างกาย จิตใจ ความรู้ ความสามารถ ทักษะที่จำเป็นในการให้ รวมทั้งการบรรจุเครื่องหลัง ซึ่งประกอบด้วย เครื่องแต่งกาย เครื่องใช้ประจำตัว ยาประจำตัว อุปกรณ์การเรียนรู้และการจดบันทึกกิจกรรม อุปกรณ์ที่จำเป็นตามฤดูกาล อุปกรณ์เครื่องนอนส่วนตัวและอุปกรณ์ประจำกายลูกเสือ

ลูกเสือและผู้บังคับบัญชาลูกเสือ ร่วมกันวางแผนการการเดินทางไกล โดยการสำรวจ เส้นทางการเดินทาง ความปลอดภัยในการเช้าร่วมกิจกรรมและกำหนดวัน เวลา สถานที่ให้เหมาะสม กำหนดบทบาทให้แต่ละคนในฐานะผู้นำ ผู้ตาม ผู้ประสานงาน ผู้ควบคุม ผู้รับผิดชอบร่วมกัน ประชุมซักซ้อมความเข้าใจที่ตรงกัน กำหนดนัดหมายที่ชัดเจน รัดกุม และปฏิบัติตามแผน

การอยู่ค่ายพักแรม ต้องมีกิจกรรมการแสดงรอบกองไฟ เพื่อปลุกใจ และส่งเสริม ความสามัคคีของหมู่คณะ เปิดโอกาสให้ลูกเสือได้แสดงออกและรู้จักกันมากยิ่งขึ้นซึ่ง บี.พี. ได้ริเริ่มในการนำเด็กไปอยู่ค่ายพักแรมที่เกาะบราวน์ซี ประเทศอังกฤษ การชุมนุมรอบกองไฟ ภาษาอังกฤษ เรียกว่า Camp Fire ในภาษาไทยเดิมมักเรียกกันว่า การเล่นหรือการแสดง รอบกองไฟ ซึ่งความจริงการเล่นหรือการแสดง เป็นเพียงส่วนหนึ่งของการชุมนุมรอบกองไฟ

การชุมนุมรอบกองไฟ มีความมุ่งหมาย ดังนี้

1. เพื่อเป็นการฝึกอบรมในตอนกลางคืน ดังที่ บี.พี. ตั้งเป็นหลักในการฝึกอบรมผู้ที่ไปอยู่ค่ายพักแรม

2. เพื่อให้ลูกเสือได้ร้องเพลงร่วมกันหรือแสดงกิริยาอาการอย่างเดียวกัน เป็นการปลุกใจหรือเปลี่ยนอารมณ์ให้เกิดความสนุกสนานเบิกบานใจภายหลังที่ได้ปฏิบัติงานในเวลากลางวันมาแล้ว

3. เพื่อให้ลูกเสือแต่ละหมู่ได้มีโอกาสออกมาแสดงรอบกองไฟ เป็นการส่งเสริมความสามัคคีของหมู่ กับให้ลูกเสือแต่ละคนในหมู่ได้ทำงานร่วมกับผู้อื่น

4. ในบางกรณีอาจใช้เป็นโอกาสสำหรับประกอบพิธีสำคัญ เช่น แนะนำให้ลูกเสือรู้จักบุคคลสำคัญของการลูกเสือ แขกสำคัญที่มาเยี่ยม เป็นต้น

5. ในบางกรณีอาจเชิญบุคคลสำคัญในท้องถิ่น ตลอดจนชาวบ้านให้มาร่วมการชุมนุมรอบกองไฟ เพื่อเป็นการประชาสัมพันธ์และส่งเสริมกิจการลูกเสือ

การแสดงรอบกองไฟมีข้อกำหนดบางประการ เพื่อให้เกิดความเหมาะสม ได้แก่

1 เรื่องที่จะแสดงควรเป็นเรื่องสนุกสนานขนบธรรมเนียมประเพณี ประวัติศาสตร์เรื่องที่เป็นคติเตือนใจ

2 เรื่องที่ไม่ควรนำมาแสดง เช่น เรื่องไร้สาระ เรื่องผีสาง เรื่องลามก เรื่องอนาจาร เรื่องเสียดสีสังคม เรื่องล้อเลียนการเมือง เรื่องหมิ่นสถาบัน ชาติ ศาสนาและพระมหากษัตริย์ เป็นต้น

3 การใช้คำพูดและวาจาที่เหมาะสม คำสุภาพ คำที่ไม่หยาบคาย คำด่าทอ

4 ชุดการแสดง ควรเป็นชุดที่มีความเหมาะสมกับเรื่องที่จะแสดงมีความสุภาพ สอดคล้องกับเนื้อเรื่องที่แสดง