หน่วยการเรียนรู้ที่ 3

การลูกเสือโลก

สาระสําคัญ

ผู้ให้กําเนิดลูกเสือโลก คือ โรเบิร์ต สตีเฟนสัน สมิท เบเดน โพเอลล์ (Robert Stephenson Smyth Baden Powell) หรือ บี.พี. เป็นชาวอังกฤษ เกิดที่กรุงลอนดอน เมื่อวันที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2400 เป็นเด็กกําพร้าบิดาตั้งแต่อายุ 3 ขวบ ในวัยเด็กชอบใช้ชีวิตกลางแจ้ง ศึกษาธรรมชาติ เล่นกีฬา และชอบเป็นผู้นํา สอบเข้าโรงเรียนนายร้อยแซนด์เฮิสต์ ได้ที่ 2 และได้รับพระราชทานยศเป็นร้อยตรี เมื่ออายุ 19 ปี ปฏิบัติหน้าที่ทหารอย่างดีเด่น ได้รับ พระราชทานยศเป็นร้อยเอก เมื่ออายุ 26 ปี เป็นนายทหารที่เฉลียวฉลาด กล้าหาญ สร้างวีรกรรม ที่ยิ่งใหญ่ทําการต่อสู้อย่างห้าวหาญ เพื่อรักษาเมืองมาฟิคิง (Mafeking) ให้รอดพ้นจากวงล้อมและการบุกรุกโจมตีของกองทัพบัวร์ (Boer) ที่แอฟริกาใต้ ได้รับการสรรเสริญว่า “วีรบุรุษผู้กล้าหาญ แห่งยุค” เมื่อวันที่ 1 – 9 สิงหาคม พ.ศ. 2450 บี.พี. ได้นําเด็กชายที่มีอายุ 11 – 15 ปี จากครอบครัว ที่มีฐานะแตกต่างกัน จํานวน 20 คน ไปเข้าค่ายพักแรมที่เกาะบราวน์ซี นับว่าเป็นการอยู่ค่ายพักแรม ของลูกเสือครั้งแรกของโลกและถือว่าเกาะบราวน์ซี เป็นค่ายลูกเสือแห่งแรกของโลก เช่นกัน ในปี พ.ศ. 2463 สมาคมลูกเสืออังกฤษ จัดประชุมลูกเสือทั่วโลกเป็นครั้งแรก ที่ประเทศอังกฤษ มีลูกเสือกว่า 8,000 คน จาก 34 ประเทศ เข้าร่วมชุมนุมในการชุมนุมครั้งนี้ มีข้อตกลง และ มีมติเป็นเอกฉันท์ให้ ลอร์ด เบเดน โพเอลล์ หรือ บี.พี. เป็นประมุขคณะลูกเสือโลกตลอดกาล และ บี.พี. ถึงแก่อนิจกรรม เมื่อวันที่ 8 มกราคม 2484 สิริอายุ 84 ปี

องค์การลูกเสือโลก เป็นองค์การอาสาสมัครนานาชาติ มีความสําคัญ ในการ ทําหน้าที่รักษา และดํารงไว้ซึ่งความเป็นเอกภาพของขบวนการลูกเสือแห่งโลก และทําหน้าที่ ส่งเสริมกิจการลูกเสือทั่วโลก ให้มีการพัฒนาและก้าวหน้าอย่างต่อเนื่อง โดยมีธรรมนูญลูกเสือโลก เป็นกฎหมายสําหรับยึดถือปฏิบัติ การมีองค์กรหลัก 3 องค์กร คือ สมัชชาลูกเสือโลก คณะกรรมการลูกเสือโลก และสํานักงานลูกเสือโลก ปัจจุบัน (พ.ศ. 2561) มีสมาชิกกว่า 40 ล้านคน ใน 169 ประเทศ

ตามบัญญัติของธรรมนูญลูกเสือโลก ประเทศสมาชิกขององค์การลูกเสือโลก แต่ละประเทศจะมีองค์การลูกเสือแห่งชาติได้เพียง1องค์การเท่านั้นและต้องชำระเงินค่าบำรุงลูกเสือโลกให้แก่สำนักงานลูกเสือโลก ประเทศไทยเป็น 1 ในจำนวน 27 ประเทศที่เป็นสมาชิกองค์การลูกเสือโลก ของสำนักงานลูกเสือภาคพื้นเอเชียแปซิฟิค ซึ่งสำนักงานใหญ่ตั้งอยุ่ที่กรุงมาดาติ ประเทศฟิลิปปินส์

กิจการลูกเสือทุกประเทศ ยึดมั่นในวัตถุประสงค์ หลักการ และวิธีการของลูกเสือเหมือนกันทั่วโลก คือ มุ่งพัฒนาเยาวชน ด้วยรากฐานของอุดมการณ์ ของลูกเสือ ซึ่งมีคําปฏิญาณและกฎของลูกเสือเป็นสิ่งยึดเหนี่ยว จิตใจนําสู่การประพฤติปฏิบัติตนของความเป็นพลเมืองดี และความเป็นพี่น้องกันระหว่างลูกเสือ ทั่วโลก

ขอบข่ายเนื้อหา ประกอบด้วย

ตัวชี้วัด

1. อธิบายประวัติผู้ให้กำเนิดลูกเสือโลก

2. อธิบายความสำคัญขององค์การลูกเสือโลก

3. อธิบายความสัมพันธ์ระหว่างการลูกเสือไทยกับการลูกเสือโลก