หน่วยการเรียนรู้ที่ 9 ทักษะลูกเสือ

เรื่องที่ 3 การใช้ Google Map และ Google Earth

การใช้ Google map เป็นบริการเกี่ยวกับแผนที่ผ่านเว็บบราวเซอร์ของบริษัท Google ซึ่งสามารถเปิดผ่านเครื่องคอมพิวเตอร์หรือสมาร์ทโฟน ที่เชื่อมต่อกับระบบอินเทอร์เน็ต Google Map เป็นแผนที่ที่ผู้ใช้สามารถซูมเข้า - ออกเพื่อดูรายละเอียดได้ สามารถค้นหาชื่อ สถานที่ ถนน ตำบล อำเภอ จังหวัดได้ ช่วยอำนวยความสะดวกในการเดินทาง สามารถมองได้ หลายมุมมอง เช่น

1) มุมมอง Map ดูในลักษณะแผนที่ทั่วไป

2) มุมมอง Satellite ดูในลักษณะแผนที่ดาวเทียม ดูที่ตั้งของสถานที่ต่าง ๆ จากภาพถ่ายทางอากาศ

3) มุมมอง Hybrid ดูในลักษณะผสมระหว่างมุมมอง Maps และ Satellite

4) มุมมอง Terrain ดูในลักษณะภูมิประเทศ

5) มุมมอง Earth ดูแบบลูกโลก

วิธีค้นหาเป้าหมายที่กำหนดจาก Google Map

ขั้นตอนการใช้งาน

1. สามารถเข้าใช้งานได้จากหน้าแรกของ Google.com โดยคลิกที่แผนที่ ดังรูป

2. เมื่อเข้าสู่แผนที่ Google map แล้วสามารถค้นหาพื้นที่ที่ต้องการจากชื่อสามัญ หรือชื่อที่รู้จักกันโดยทั่วไปโดยใช้เครื่องมือค้นหาของ Google map

3. หรือสามารถค้นหาได้โดยการขยาย ย่อ และเลื่อนแผนที่ไปยังพื้นที่ ที่ต้องการ

4. และเมื่อเจอจุดที่ต้องการทราบพิกัดแล้ว ให้คลิกขวายังจุดนั้นและเลือกใช้คำสั่ง “นี่คืออะไร”

5. พิกัดของจุดนั้นจะปรากฏออกมาดังภาพ

3.2 การใช้ Google Earth

Google Earth เป็นโปรแกรมที่ใช้บริการภาพถ่ายดาวเทียมที่มืความละเอียดสูง แล้วนำมาสร้างเป็นแผนที่ 3 มิติจากทุกสถานที่ทั่วโลก เพื่อให้บริการแก่สาธารณชน โดยสามารถแสดงสถานที่ต่าง ๆ ไม่เว้นแม้กระทั่งสถานที่ที่เป็นความลับทางยุทธศาสตร์ บอกถึงเมืองสำคัญ ที่ตั้งสำคัญ สามารถขยายภาพจากโลกทั้งใบ ไปสู่ประเทศ และลงไปถึงวัตถุเล็ก เช่น ถนน ตรอก ซอย รถยนต์บ้านคน และเป็นการทำงานแบบออนไลน์โดยเฉพาะในเขตเมืองใหญ่ของประเทศ ต่าง ๆ Google Earth ก็สามารถแสดงภาพถ่ายดาวเทียมที่มืความละเอียดค่อนข้างสูง เหมือนเรา ได้เข้าไปยืนอยู่ ณ ที่นั้น ๆ เลย

การทำงานของ Google Earth เริ่มต้นที่นำภาพถ่ายทางอากาศและภาพจาก ดาวเทียมมาผสมผสานกับเทคโนโลยี streaming แล้วเชื่อมโยงข้อมูลจากฐานข้อมูลของ Google เพื่อนำเราไปยังจุดต่าง ๆ ที่ต้องการบนแผนที่โลกดิจิทัล แผนที่นี้เกิดจากการสะสมภาพหลาย ๆ ภาพจากหลาย ๆ แหล่งข้อมูลและจากดาวเทียมหลายดวง แล้วนำมาปะติดปะต่อกันเสมือนกับว่าเป็นผืนเดียวกัน หลังจากปะติดปะต่อเสร็จแล้ว Google ได้นำข้อมูลอื่น ๆ มาซ้อนทับอีกขั้นหนึ่ง ซึ่งแต่ละขั้นก็จะแสดงรายละเอียดต่าง ๆ เช่น ที่ตั้งโรงพยาบาล สถานีตำรวจ สนามบิน รวมทั้ง สถานที่สำคัญอื่น ๆ ทั้งนี้ เครื่องมือที่นำมาใช้สร้างข้อมูล การแสดงผลข้อมูลทั้งแบบจุด แบบลายเส้น หรือแบบรูปหลายเหลี่ยม สร้างขึ้นมาจากเครื่องมือ ชื่อว่า Keyhole Markup Language (KML) และหลังจากซ้อนทับข้อมูล จัดข้อมูลเสร็จแล้ว Google จะจัดเก็บข้อมูลที่ได้ในรูปแบบของไฟล์ KML Zip (KMZ) ซึ่งจะปีบอัดข้อมูลไฟล์ให้เล็กลง เพื่อให้บริการแก่ผู้ใช้สถาปัตยกรรมแบบ Client/Sever ที่ง่ายต่อการดาวน์โหลดไปใช้งาน

ประโยชน์ของโปรแกรม Google Earth เป็นโปรแกรมที่สามารถดูแผนที่ ได้ทุกมุมโลก ประหนึ่งว่าเราเป็นผู้ควบคุมและขับเคลื่อนดาวเทียมเอง ประโยชน์โดยตรงที่ได้รับ คือได้ความรู้ทางภูมิศาสตร์ ข้อมูลเรื่องการท่องเที่ยว การเดินทาง การจราจร บ้านที่พัก เป็นต้น

การค้นหาเป้าหมายที่กำหนดจากโปรแกรม Google Map หรือ Google Earth ทำได้โดยการพิมพ์ชื่อสถานที่สำคัญลงไปในช่องค้นหา สถานที่สำคัญอาจระบุชื่อสถานที่ หมู่บ้าน ตำบล อำเภอ จังหวัด เช่น

การค้นหาตำแหน่งวัดศรีชุม ในอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย โดยใช้ Google Earth

1) เปิดโปรแกรม Google Earth จากสมาร์ทโฟน จะปรากฏหน้าจอดังภาพ

2) แตะที่เครื่องหมายค้นหา (รูปแว่นขยาย) พิมพ์คำว่า วัดศรีชุม หน้าจอจะเป็นดังภาพ

3) กดเลือกวัดศรีชุม อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย จะปรากฏดังภาพ ซึ่งผู้ใช้สามารถขยายดูภาพทางอากาศได้โดยละเอียด

การใช้มุมมอง 3D และมุมมอง Street View บน Google Earth

ถ้าสังเกตตรงมุมด้านล่างซ้ายล่างของ จอสมาร์ทโฟน จะมีเมนูสําคัญ ดังภาพ

ปุ่มมุมมอง 3D เป็นเมนูที่ใช้ดูภาพทาง อากาศในลักษณะ 3 มิติ เสมือนมองจากด้านบน ทํามุมเฉียงลงมาข้างล่าง

ปุ่มมุมมอง Street View เป็นเมนูที่ใช้ดูภาพถ่าย สถานที่จริงของที่แห่งนั้น (เป็นภาพที่โปรแกรมบันทึกไว้อาจ ไม่ใช่ภาพปัจจุบัน) เมื่อแตะจะปรากฏเส้นสีน้ําเงิน (หากไม่มี เส้นสีน้ําเงินปรากฏขึ้นแสดงว่าไม่มีภาพถ่ายของสถานที่นั้น) เมื่อแตะตรงตําแหน่งใดของแผนที่ โปรแกรมจะนําผู้ใช้เข้าไปยังสถานที่แห่งนั้น เสมือนว่ากําลังเดินอยู่ บริเวณนั้นจริง ๆ

ผู้เรียนจะใช้งานได้แคลวคล่องขึ้น ด้วยการลองค้นหาสถานที่ที่คุ้นเคย โดยทำตามขั้นตอนข้างต้น และฝึกใช้มุมมอง 2D มุมมอง 3D มุมมอง Street View

กลับหน้าหลัก