หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 การลูกเสือไทย

เรื่องที่ 1 ประวัติการลูกเสือไทย

พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเล็งเห็นความสําคัญของกิจการลูกเสือ จึงได้ทรงพระราชทาน กําเนิดลูกเสือไทยขึ้นเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2454 โดยมีพระราชประสงค์ 3 ประการ ซึ่งเป็นรากฐานแห่งความมั่นคงที่จะทำให้ชาติดํารงอยู่เป็นไทยได้สมนาม คือ 1) ความจงรักภักดีต่อผู้ทรงดํารงรัฐสีมาอาณาจักรโดยต้องตามนิติธรรมประเพณี 2) ความรักชาติบ้านเมืองและนับถือศาสนา และ 3) ความสามัคคีในคณะและไม่ทําลายซึ่งกันและกัน ประเทศไทยเป็นประเทศที่สามของโลกที่มีลูกเสือ โดยตั้งกองลูกเสือกองแรกขึ้นที่โรงเรียนมหาดเล็กหลวง (ปัจจุบันคือโรงเรียนวชิราวุธวิทยาลัย) เรียกว่า กองลูกเสือกรุงเทพ ที่ 1 ลูกเสือคนแรกของประเทศไทย คือ นายชัพน์ บุนนาค พระองค์ทรงสอนลูกเสือโดย พระองค์เอง วิชาที่ใช้ในการฝึกอบรมเป็นวิชาฝึกระเบียบแถว ท่าอาวุธ การสะกดรอย หน้าที่ของพลเมือง และได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมพระราชทานพระบรมราชานุญาต ให้จัดตั้งกองลูกเสือตามโรงเรียนต่าง ๆ ทําให้กิจการลูกเสือได้รับความนิยมแพร่หลายและเจริญขึ้นอย่างรวดเร็วและโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้มีข้อบังคับลักษณะการปกครองลูกเสือ ทรงตั้งสภากรรมการลูกเสือแห่งชาติและพระองค์ดํารงตําแหน่งสูงสุดของคณะลูกเสือแห่งชาติ หลังจากนั้นพระมหากษัตริย์ไทยทุกพระองค์ทรงเป็นประมุขของคณะลูกเสือแห่งชาติ

การลูกเสือไทย แบ่งออกเป็น 5 ยุค ดังนี้

1) ยุคก่อตั้ง (พ.ศ. 2454 - 2468) เป็นยุคที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงสถาปนาลูกเสือแห่งชาติขึ้น เมื่อวันที่ 1 กรกฏาคม พ.ศ. 2454 โปรดเกล้าฯให้ตั้งกองลูกเสือกองแรกขึ้นที่ โรงเรียนมหาดเล็กหลวง เรียกว่า กองลูกเสือกรุงเทพที่1 ซึ่งต่อมากิจการลูกเสือได้ขยายตัวไปหลายจังหวัด

2) ยุคส่งเสริม (พ.ศ. 2468 - 2482) เป็นยุคของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว จนถึงต้นสงครามโลกครั้งที่ 2 ยุคนี้ได้มีการชุมนุมลูกเสือแห่งชาติขึ้นเป็นครั้งแรก เมื่อ พ.ศ. 2470 ณ พระราชวังอุทยานสราญรมย์ จังหวัดพระนคร และเมื่อ พ.ศ. 2473 ได้มีการจัดงานชุมนุมลูกเสือแห่งชาติ ครั้งที่ 2 ณ สถานที่เดียวกัน ปี พ.ศ.2476 ตั้งกองลูกเสือสังกัดกรมพลศึกษา กระทรวงศึกษาธิการและปีพ.ศ. 2482 ได้มีการตราพระราชบัญญัติลูกเสือขึ้นเป็นฉบับแรก

3) ยุคประคับประคอง (พ.ศ. 2482 - 2489) เป็นยุคของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอนันทมหิดล ซึ่งอยู่ในระหว่างเกิดสงครามโลก ครั้งที่ 2 ผลของสงครามทําให้กิจการลูกเสือซบเซาลงมาก ปีพ.ศ.2486 มีการตราพระราชบัญญัติยุวชนแห่งชาติขึ้น โดยแบ่งหน่วยราชการเป็นหน่วยลูกเสือและหน่วยยุวชนทหาร

4) ยุคก้าวหน้า (พ.ศ. 2489 - 2559) เป็นยุคของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช มีกิจการลูกเสือที่สําคัญที่เกิดขึ้นในยุคนี้ คือ ในปีพ.ศ.2490 มีการยกเลิกพระราชบัญญัติยุวชนแห่งชาติ พ.ศ. 2486 และได้ตราพระราชบัญญัติลูกเสือ พ.ศ. 2490 ขึ้น เมื่อปีพ.ศ.2504 ได้ตั้งค่ายลูกเสือวชิราวุธ ที่อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี มีการฝึกอบรมวิชาผู้กํากับลูกเสือสามัญ ขั้นวูดแบดจ์ ครั้งที่ 1 และส่งเจ้าหน้าที่ไปร่วมกิจกรรมลูกเสือนานาชาติ กิจกรรมของลูกเสือโลกหลายกิจกรรม

5) ยุคประชาชน (พ.ศ. 2514 - 2559) เมื่อปีพ.ศ. 2516 เกิดกิจกรรมลูกเสือชาวบ้าน โดยสภาลูกเสือแห่งชาติ มีมติรับกิจการลูกเสือชาวบ้านเป็นส่วนหนึ่งของคณะลูกเสือแห่งชาติ และกระทรวงศึกษาธิการได้มีคําสั่งลงวันที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2516 ให้นําวิชาลูกเสือเข้าสู่หลักสูตรของโรงเรียน จะเห็นได้ว่ากิจการลูกเสือมีประวัติที่ยาวนาน เป็นกระบวนการที่ทั่วโลกยอมรับว่าสามารถพัฒนาเยาวชนให้เป็นพลเมืองที่ดี มีความรับผิดชอบต่อตนเอง ต่อส่วนรวมและชาติบ้านเมืองได้เป็นอย่างดี รู้จักการทํางานเป็นระบบหมู่ รู้จักการเป็นผู้นําและผู้ตาม รวมทั้งเป็นกระบวนการที่ฝึกคนให้รู้จักการเป็นประชาธิปไตย ฝึกผู้ใหญ่ให้รู้จักวิธีการ ฝึกชาวบ้านให้รู้จักแยกแยะชั่วดี

ยุคปัจจุบัน (พ.ศ. 2559 - ปัจจุบัน) เป็นยุคของรัชกาลที่ 10

ที่มา : https://www.youtube.com/watch?v=4ZVD0MnnvRA