มาตรฐานที่ 5 ด้านการบริหารจัดการ

ตัวบ่งชี้ที่ 5.1 การบริหารของคณะเพื่อการกำกับติดตามผลลัพธ์ตามพันธกิจ                             กลุ่มสถาบันและเอกลักษณ์ของคณะ

ชนิดตัวบ่งชี้    : กระบวนการ

การเก็บข้อมูล  : ปีการศึกษา 2565

 ข้อที่ 3  ดำเนินงานตามแผนบริหารความเสี่ยง ที่เป็นผลจากการวิเคราะห์และระบุปัจจัยเสี่ยงที่เกิดจากปัจจัยภายนอก หรือปัจจัยที่ไม่สามารถควบคุมได้ที่ส่งผลต่อการดำเนินงานตามพันธกิจของคณะและให้ระดับความเสี่ยงลดลงจากเดิม

รายงานผลการดำเนินงานและการประเมินตนเอง ( ม. 5 / ตช.5.1 / ข้อ 3 )

3.1 การดำเนินงานบริหารความเสี่ยงคณะครุศาสตร์

  การบริหารจัดการความเสี่ยงและการควบคุมภายใน ของคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ เป็นการดำเนินการตาม พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ 5) พ.ศ.2545 มาตรา 3/1 บัญญัติว่า“การบริหารราชการต้องเป็นไปเพื่อประโยชน์สุขของประชาชนฯ และพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ.2546 มาตรา 12 กำหนดว่าเพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติราชการให้เกิดผลสัมฤทธิ์ ก.พ.ร. อาจเสนอต่อคณะรัฐมนตรี เพื่อกำหนดมาตรการกำกับการปฏิบัติราชการ โดยวิธีการจัดทำความตกลงเป็นลายลักษณ์อักษร หรือโดยวิธีการอื่นใด เพื่อแสดงความรับผิดชอบในการปฏิบัติราชการ จากสาระสำคัญของพระราชบัญญัติฯดังกล่าว คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ ได้ตระหนักถึงความสำคัญของการบริหารความเสี่ยงและการควบคุมภายในและเพื่อให้การดำเนินงานการบริหารความเสี่ยงและการควบคุมภายในคณะครุศาสตร์เป็นไปอย่างต่อเนื่องเป็นระบบ และมีประสิทธิภาพ สอดคล้องกับพันธกิจของหน่วยงาน อันจำนำไปสู่การบรรลุเป้าหมายที่วางไว้ ซึ่งคณะครุศาสตร์ มีการดำเนินงานตามแผนบริหารความเสี่ยงที่เป็นผลจากการวิเคราะห์เหตุและระบุปัจจัยเสี่ยงที่เกิดจากปัจจัยภายนอก และปัจจัยที่ไม่สามารถควบคุมได้ ซึ่งส่งผลต่อการดำเนินงานตามพันธกิจของคณะครุศาสตร์ และการดำเนินการตามแผนบริหารความเสี่ยงเพื่อให้ให้ระดับความเสี่ยงลดลงจากเดิม หรือของสถานการณ์ความเสี่ยงในอนาคตจะต้องดีขึ้น

  การดำเนินการด้านการบริหารความเสี่ยงของคณะครุศาสตร์ เป็นกระบวนการดำเนินงานบริหารจัดการความเสี่ยงที่คณะปฏิบัติอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง เพื่อช่วยให้หน่วยงานลดเหตุการณ์ต่างๆของแต่ละโอกาสที่จะเกิดความเสียหายต่อหน่วยงาน ให้ระดับของความเสียหายและขนาดของความเสียหายที่จะเกิดขึ้นในอนาคต อยู่ในระดับที่หน่วยงานยอมรับได้ การประเมินได้ การควบคุมได้ ตลอดจนการตรวจสอบเป็นไปอย่างมีระบบระเบียบ โดยคำนึงถึงการบรรลุวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายของคณะครุศาสตร์เป็นสำคัญ ซึ่งคณะครุศาสตร์ได้ดำเนินการศึกษาและให้ความสำคัญกับการวางแผนบริหารความเสี่ยงภายในหน่วยงาน ซึ่งเป็นที่มาของการวิเคราะห์ความเสี่ยงและระบุปัจจัยเสี่ยงที่เกิดจากปัจจัยภายนอกหรือปัจจัยที่ไม่สามารถควบคุมได้ ที่ส่งผลการดำเนินงานของคณะครุศาสตร์ และพันธกิจของคณะครุศาสตร์ในแต่ละด้าน และคณะครุศาสตร์ได้ดำเนินการแต่งตั้งคณะกรรมการบริหารความเสี่ยงเพื่อจัดทำแผนบริหารความเสี่ยงโดยวิเคราะห์และระบุปัจจัยเสี่ยงที่ส่งผลต่อการดำเนินงานของคณะครุศาสตร์ ตามยุทธศาสตร์และพันธกิจของคณะ โดยในปีการศึกษา 2565 มีผลการดำเนินงานดังนี้

  1. คณะครุศาสตร์มีการแต่งตั้งคณะกรรมการบริหารจัดการความเสี่ยงและการควบคุมภายใน โดยมีคณบดีคณะครุศาสตร์เป็นประธาน และมีรองคณบดีเป็นผู้รับผิดชอบ (หลักฐานอ้างอิง EDU 5.1-3-1 /Find more Website : https://sites.google.com/view/edurm-2566

  2. คณะกรรมการบริหารจัดการความเสี่ยงและการควบคุมภายใน ได้กำหนดแนวทางในการจัดทำแผนบริหารความเสี่ยงและการควบคุมภายใน เพื่อวิเคราะห์ ระบุความเสี่ยงและปัจจัยที่ก่อให้เกิดความเสี่ยง ซึ่งกำหนดไว้ 6 ด้าน คือ ความเสี่ยงด้านทรัพยากรภายในหน่วยงาน ความเสี่ยงด้านยุทธศาสตร์ หรือกลยุทธ์ของมหาวิทยาลัย ความเสี่ยงด้านนโยบายการบริหาร กฎหมาย ระเบียบ ข้อคับที่เกี่ยวข้อง ความเสี่ยงด้านการปฏิบัติงาน ความเสี่ยงด้านบุคลากรและความเสี่ยงด้านธรรมาภิบาล ความเสี่ยงจากเหตุการณ์ภายนอก (หลักฐานอ้างอิง EDU 5.1-3-2/Find more 

Website : https://sites.google.com/view/edurm-2566 )

3. คณะกรรมการบริหารจัดการความเสี่ยงและการควบคุมภายใน ได้ดำเนินการสรุปผลการประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน ระดับคณะ มาตรฐานที่ 5 ด้านการบริหารจัดการ (ข้อ 3) เพื่อสรุปรายงาน และนำรายงานเข้าที่ประชุมคณะกรรมการประจำคณะครุศาสตร์เพื่อรับคำแนะนำ และข้อเสนอแนะ (หลักฐานอ้างอิง EDU 5.1-3-3, EDU 5.1-3-4, EDU 5.1-3-5 /Find more Website : 

https://sites.google.com/view/edurm-2566 )

  4. คณะกรรมการบริหารจัดการความเสี่ยงและการควบคุมภายใน ได้กำหนดปฏิทินการดำเนินงานด้านการบริหารความเสี่ยง ประจำปีงบประมาณ 2565 และเกณฑ์เงื่อนไขเวลาในการปฏิบัติงาน ด้านการบริหารความเสี่ยงการควบคุมภายใน ประจำปีงบประมาณ 2565 (หลักฐานอ้างอิง EDU 5.1-3-6, EDU 5.1-3-7 /Find more Website : https://sites.google.com/view/edurm-2566 )

  5. คณะครุศาสตร์ โดยคณะกรรมการบริหารความเสี่ยงและการควบคุมภายใน ได้ติดตามและประเมินผลการดำเนินงานตามแผนบริหารความเสี่ยงตามแบบฟอร์ม (ปค.5) และรายงานผลการติดตามการปฏิบัติตามแผนการปรับปรุงการควบคุมภายตามแบบฟอร์ม (ปค.2) เพื่อรายงานหน่วยงานในระดับมหาวิทยาลัยต่อไป (EDU 5.1-3-8, EDU 5.1-3-9/Find more Website : https://sites.google.com/view/edurm-2566 )

  6. มีการวิเคราะห์ ทบทวน และระบุปัจจัยเสี่ยงทั้งปัจจัยภายนอก และปัจจัยที่ไม่สามารถควบคุมได้ที่ส่งผลต่อการดดำเนินงานตามพันธกิจของคณะ ซึ่งคณะกรรมการบริหารความเสี่ยงและการควบคุมในได้วิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อพันธกิจในปัจจุบันเพื่อควบคุมความเสี่ยงได้ทันเหตุการณ์ โดยได้รับความร่วมมือจากบุคลากรคณะครุศาสตร์ ผู้บริหาร อาจารย์ พนักงานเจ้าหน้าที่ เพื่อให้ข้อมูลแก่คณะกรรมการนำไปวิเคราะห์ ประเมิน และสรุปผล นำไปสู่การปรับปรุงแผนบริหารความเสี่ยง (หลักฐานอ้างอิง EDU 5.1-3-10, EDU 5.1-3-11 EDU 5.1-3-12, /Find more Website : https://sites.google.com/view/edurm-2566 )

  7. มีการสรุปผลการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อการทบทวนการบริหารจัดการความเสี่ยง และการควบคุมภายใน แต่ละด้านจำนวน 6 ด้านตามพันธกิจของคณะครุศาสตร์

  สรุปผลการดำเนินงานบริหารความเสี่ยงปีงบประมาณ 2566 มีจำนวนความเสี่ยงทั้งหมด 6 ด้านตามพันธกิจของคณะครุศาสตร์ จำแนกตามผลคะแนนระดับของความเสี่ยง (Degree of Risk) ในประเด็นความเสี่ยงที่ยังคงอยู่ 25 ประเด็น สามารถสรุปเป็นสาระสำคัญได้ดังนี้ ประเด็นที่มีผลคะแนน ระดับความเสี่ยงสูง จำนวน 24 ประเด็น คิดเป็นร้อยละ 96% ของจำนวนความเสี่ยงที่ยังคงอยู่ ซึ่งประเด็นความเสี่ยงดังกล่าวเป็นความเสี่ยงที่มาจากปัจจัยภายใน เป็นปัจจัยที่สามารถควบคุมได้  และประเด็นที่มีผลคะแนน ระดับความเสี่ยงสูงมาก จำนวน 1 ประเด็น คิดเป็นร้อยละ 4 % ของจำนวนความเสี่ยงที่ยังคงอยู่ ประเด็นความเสี่ยงดังกล่าวเป็นประเด็นที่มี ระดับความเสี่ยงสูงมาก และความเสี่ยงดังกล่าว มีเหตุมาจากปัจจัยภายนอกที่ไม่สามารถควบคุมได้  ประเด็นความเสี่ยงดังกล่าว คือความเสี่ยง ด้านการผลิตบัณฑิต  จากการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อการทบทวนการบริหารจัดการความเสี่ยงด้านการผลิตบัณฑิต   จำนวน 22 ข้อ เป็นความเสี่ยงระดับปานกลาง และส่วนใหญ่ความเสี่ยงเกิดมาจากปัจจัยภายใน และจำนวน 8 ข้อ ที่มีความเสี่ยงอยู่ในระดับสูง ซึ่งเป็นความเสี่ยงที่มาจากจากปัจจัยภายในสามารถควบคุมได้  และมีประเด็นความเสี่ยงสูงมาก จำนวน 1 ข้อ ที่เป็นความเสี่ยงมาจากปัจจัยภายนอกที่ไม่สามารถควบคุมได้  ประเด็นความเสี่ยงดังกล่าวคือ ความเสี่ยงของจำนวนนักศึกษามีแนวโน้มลดลงไม่เป็นไปตามเป้าหมายและแผนการรับศึกษาของหน่วยงาน จากการวิเคราะห์ประเด็นดังกล่าวเป็นความเสี่ยงที่เกิดจากปัจจัยภายนอกที่ไม่สามารถควบคุมได้ ตามเหตุผลต่าง ๆ ตามภาวการณ์เปลี่ยนแปลงที่มีการวิเคราะห์ไว้ในบทความ รายงานผลการวิจัยต่าง ๆ  จะเห็นได้ว่าการบริหารจัดการความเสี่ยงในปีการศึกษา 2565 ที่ผ่านมาคณะครุศาสตร์ได้บริหารจัดการความเสี่ยงและควบคุมภายใน ตามงบประมาณที่ได้รับการจัดสรรไปในโครงการ/กิจกรรมต่าง ๆ เช่น โครงการเตรียมความพร้อมสอบบรรจุครูผู้ช่วย โครงการพัฒนาคณาจารย์ ครูและบุคลากรทางการศึกษาตามข้อตกลงในการพัฒนางาน (PA)  โครงการพัฒนานวัตกรรมเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา ด้วยรูปแบบ Active Learning สำหรับครูและบุคลากรทางการศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน และอีกหลายโครงการที่แต่ละหลักสูตรภายในคณะได้ดำเนินการ  ซึ่งโครงการเหล่านี้ส่งผลต่อพันธกิจของคณะครุศาสตร์ซึ่งเป็นการจำกัดความเสี่ยงที่เป็นปัจจัยภายในและภายนอกให้มีความเสี่ยงลดลง หรือให้มีความเสี่ยงน้อยที่สุด ส่งผลกระทบต่อพันธกิจคณะครุศาสตร์น้อยที่สุด  (หลักฐานอ้างอิง EDU 5.1-3-13/Find more Website Website : https://sites.google.com/view/edurm-2566 ) 

     

3.2 ดำเนินการควบคุมภายใน

                 ขั้นตอนการปฏิบัติตามแผนบริหารความเสี่ยง หลังจากผ่านการวิเคราะห์เหตุปัจจัยต่างที่มีโอกาสที่จะเกิดขึ้นในอนาคตอันใกล้ พร้อมทั้งระบุปัจจัยเสี่ยงทั้งปัจจัยภายนอก และปัจจัยที่ไม่สามารถควบคุมได้ คณะครุศาสตร์ได้ดำเนินการตามแผนการบริหารความเสี่ยง และได้ดำเนินการรายงานการประเมินองค์ประกอบของการควบคุมความเสี่ยง สิ้นสุดตามกรอบระยะเวลา ณ วันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2566 ซึ่งมีองค์ประกอบของการควบคุมและผลการประเมิน ดังนี้

        1. สภาพแวดล้อมการควบคุม ผู้บริหารมีแนวนโยบายในการควบคุม  เพื่อให้เกิดทัศนคติที่ดี  ต่อการควบคุมภายใน  โดยให้ความสำคัญกับความซื่อสัตย์  จริยธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงาน  มีการบริหารจัดการที่สอดคล้องกับหลักธรรมาภิบาล  มีการกำหนดแนวทางการบริหารและโครงสร้างการบริหารที่ชัดเจนต่อการปฏิบัติงานที่ถูกต้องรวมทั้งการปฏิบัติตนที่เป็นแบบอย่าง  บุคลากรเข้าใจขอบเขตอำนาจหน้าที่  รวมทั้งมีความรู้ความสามารถและทักษะในการปฏิบัติงาน ตามที่ได้รับหมาย ผลการประเมิน สภาพแวดล้อมการควบคุมภายในของคณะครุศาสตร์  โดยรวม  มีความเหมาะสมและมีส่วนทำให้การควบคุมภายในมีประสิทธิผล  สอดคล้องกับหลักเกณฑ์ที่กระทรวงการคลังกำหนด  มีการกำหนดขอบเขตหน้าที่ความรับผิดชอบให้เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานแต่ละตำแหน่งไว้อย่างชัดเจน

  2. การประเมินความเสี่ยง มีการกำหนดวัตถุประสงค์และเป้าหมายการดำเนินงานของทุกกลุ่ม  และวัตถุประสงค์ระดับกิจกรรมที่ชัดเจน  สอดคล้อง  และเชื่อมโยงกันในการที่จะทำงานให้สำเร็จด้วยงบประมาณและทรัพยากรที่กำหนดไว้อย่างเหมาะสม  ผู้บริหารมีการระบุความเสี่ยง  ทั้งจากปัจจัยภายใน  และปัจจัยภายนอกที่อาจมีผลกระทบต่อการบรรลุ ผลสำเร็จตามวัตถุประสงค์ ผลการประเมิน คณะครุศาสตร์  มีการประเมินความเสี่ยงโดยนำระบบการบริหารความเสี่ยงมาใช้  และมีการจัดการความเสี่ยงต่าง ๆ  จากผลการประเมินอย่างเป็นระบบ  และกำหนดแนวทางการป้องกันความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น

            3. กิจกรรมควบคุม คณะครุศาสตร์มีนโยบาย และวิธีปฏิบัติงานที่ทำให้มั่นใจว่าเมื่อนำไปปฏิบัติแล้วจะเกิดผลสำเร็จ ตามที่ฝ่ายบริหารกำหนดไว้ กิจกรรมเพื่อการควบคุมจะชี้ให้ผู้ปฏิบัติงาน  เห็นความเสี่ยงที่เกิดขึ้นในการปฏิบัติงาน  เพื่อให้เกิดความระมัดระวังและสามารถปฏิบัติงานให้สำเร็จตามวัตถุประสงค์ ผลการประเมิน  ในภาพรวมของคณะครุศาสตร์มีการควบคุมที่เหมาะสมเพียงพอและสอดคล้องกับกระบวนการบริหารความเสี่ยงตามสมควร  โดยผู้บริหารตระหนักว่าระบบควบคุมภายในเป็นส่วนหนึ่งของการบริหารจัดการปกติ  จึงมีการกำกับดูแลให้มีการปฏิบัติอย่างเคร่งครัด

            4. สารสนเทศและการสื่อสาร มีระบบข้อมูลสารสนเทศที่เกี่ยวเนื่องกับการปฏิบัติงานเหมาะสมกับความต้องการของผู้ใช้และมีการสื่อสาร  ไปยังผู้บริหารและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในรูปแบบที่เหมาะสม ช่วยให้ผู้รับสารสนเทศสามารถนำไปใช้อย่างมีประสิทธิภาพประสิทธิผลและบรรลุวัตถุประสงค์ของคณะ ผลการประเมิน ระบบสารสนเทศและการสื่อสารของคณะครุศาสตร์มีความเหมาะสม  คือมีระบบสารสนเทศที่ใช้ในงานได้อย่างครอบคลุมภาระงาน  รวมทั้งการจัดรูปแบบการสื่อสารที่ชัดเจน  ทันเวลา  และสะดวกต่อผู้ใช้  ผ่านระบบเครือข่ายทั้งยังได้จัดทำสื่อประชาสัมพันธ์ในรูปแบบต่างๆ  เผยแพร่ทั้งภายในและภายนอกคณะ

        5. กิจกรรมการติดตามผล มีการติดตามประเมินผลการควบคุมภายใน  และประเมินคุณภาพการปฏิบัติงาน  โดยกำหนดวิธีปฏิบัติงาน เพื่อติดตามการปฏิบัติตามระบบควบคุมภายในอย่างต่อเนื่อง  และเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการปฏิบัติงานตามปกติของผู้บริหารผู้เกี่ยวข้อง  และมีการประเมินผล ผลการประเมิน ระบบการติดตามประเมินผลของคณะครุศาสตร์  มีความเหมาะสมโดยผู้บริหารมี   การติดตามการปฏิบัติตามระบบควบคุมภายในอย่างต่อเนื่อง

        คณะกรรมการบริหารความเสี่ยงคณะครุศาสตร์ได้มีการประชุมร่วมกันเพื่อให้การบริหารความเสี่ยงในภาพรวมของคณะครุศาสตร์เป็นไปด้วยความเรียบร้อยและมีประสิทธิภาพ โดยดำเนินการทบทวนผลการดำเนินงานการบริหารความเสี่ยงและควบคุมภายใน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ว่าความเสี่ยงด้านใดที่ยังต้องดำเนินการบริหารความเสี่ยงและควบคุมภายในอย่างต่อเนื่อง พร้อมทั้งดำเนินการวิเคราะห์และระบุความเสี่ยง ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 โดยวิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลกระทบหรือสร้างความล้มเหลว ลดโอกาสที่จะบรรลุเป้าหมายของคณะให้ครอบคลุมตามพันธกิจ และยุทธศาสตร์ได้แก่ ความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจากปัจจัยภายนอก ความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจากการกำหนดกลยุทธ์องค์กรซึ่งมีผลกระทบทำให้กลยุทธ์องค์กรที่วางไว้ไม่ประสบผลสำเร็จตามเป้าหมาย และความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจากการดำเนินงานของคณะ ซึ่งคณะกรรมการได้มีการระบุประเด็นความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นเพื่อป้องกันมิให้มีโอกาสเกิดความเสี่ยง (Likelihood) ที่จะทำให้เกิดผลกระทบ (Impact) ต่อการดำเนินงานหรือพันธกิจของคณะครุศาสตร์

3.3 เอกสารหลักฐาน

  1. คำสั่งคณะครุศาสตร์ เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการบริหารความเสี่ยงและและการควบคุมภายใน ประจำปีงบประมาณ 2566  EDU 5.1-3- 1

  2. แผนบริหารความเสี่ยงและการควบคุมภายในคณะครุศาสตร์ ประจำปีงบประมาณ 2566  EDU 5.1-3- 2

  3. เอกสารรับการประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน ระดับคณะ มาตรฐานที่ 5 EDU 5.1-3- 3

  4. เอกสารรายงานผลการประกันคุณภาพภายใน(ระดับคณะ) ด้านการบริหารความเสี่ยง ปีการศึกษา 2565  EDU 5.1-3- 4

  5. สรุปรายงานการประชุมคณะกรรมการประจำคณะครุศาสตร์ ครั้งที่ ………./2565  EDU 5.1-3- 5

  6. เอกสารปฏิทินการดำเนินงานด้านการบริหารความเสี่ยง ประจำปีงบประมาณ 2566  EDU 5.1-3- 6

  7. ตารางเกณฑ์เงื่อนไขเวลาในการปฏิบัติงาน ด้านการบริหารความเสี่ยงการควบคุมภายใน ประจำปีงบประมาณ 2566  EDU 5.1-3- 7

  8. เอกสารติดตามและประเมินผลการดำเนินงานตามแผนบริหารความเสี่ยง (ปค.5)  EDU 5.1-3- 8

  9. เอกสารรายงานผลการติดตามการปฏิบัติตามแผนการปรับปรุงการควบคุมภายใน (ปค.4) EDU 5.1-3- 9

  10. ตารางข้อมูลทบทวนปัจจัยความเสี่ยงเปรียบเทียบข้อมูล  EDU 5.1-3- 10

  11. ตารางรายชื่อผู้ให้ข้อมูลแบบประเมินเพื่อการทบทวนการบริหารจัดการความเสี่ยง  EDU 5.1-3- 11

  12. ตารางแสดงผลการประเมินการวิเคราะห์ความเสี่ยงเพื่อการทบทวน ประจำปีงบประมาณ 2566  EDU 5.1-3- 12

  13. ตารางผลการประเมินแผนบริหารความเสี่ยงรายด้าน ประจำปีงบประมาณ 2566 EDU 5.1-3- 13

  14. ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารจัดการความเสี่ยงและการควบคุมภายใน คณะครุศาสตร์ EDU 5.1-3-14