ตัวบ่งชี้ที่ 5.1

ข้อที่ 2 ดําเนินการวิเคราะห์ข้อมูลทางการเงินที่ประกอบไปด้วยต้นทุนต่อหน่วยในแต่ละหลักสูตร สัดส่วนค่าใช้จ่ายเพื่อพัฒนานักศึกษา อาจารย์ บุคลากร การจัดการเรียนการสอนอย่างต่อเนื่องเพื่อวิเคราะห์ความคุ้มค่าของการบริหารหลักสูตร ประสิทธิภาพ ประสิทธิผลในการผลิตบัณฑิตและโอกาสในการแข่งขัน ปี2564

ผลการดำเนินงานและผลการประเมินคุณภาพการศึกษา

มาตรฐานที่ 5 การบริหารจัดการ

ตัวบ่งชี้ที่ 5.1 การบริหารของคณะเพื่อการกำกับติดตามผลลัพธ์ตามพันธกิจ กลุ่มสถาบัน และเอกลัษณ์ของคณะ

รายการเอกสารหลักฐาน

คณะครุศาสตร์ร่วมกับกองคลัง กองนโยบายและแผนมหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์โดยมีคณะกรรมการจัดทำต้นทุนต่อหน่วยประจำปี 2564 (หมายเลขเอกสาร EDU 5.1-2-1) เพื่อดำเนินการวิเคราะห์ข้อมูลทางการเงิน ซึ่งเป็นต้นทุนต่อหน่วยในแต่ละหลักสูตร จำนวน 8 หลักสูตร โดย มีสัดส่วนที่ใช้ในการบริหารจัดการสำหรับงบประมาณที่คณะฯได้รับจัดสรรในปีงบประมาณ 2564 ข้อมูลทางการเงินที่ประกอบไปด้วยต้นทุนต่อหน่วยนักศึกษาประจำปีงบประมาณ 2564 คณะครุศาสตร์ได้รับจัดสรรงบประมาณแผ่นดินและงบประมาณเงินรายได้ คณะได้จัดสรรให้และสาขาวิชาของคณะครุศาสตร์ ซึ่งกระบวนการจัดสรรงบประมาณได้พิจารณาเห็นชองของคณะกรรมการบริหารคณะ โดยจัดสรรให้สาขาวิชาตามนักศึกษาคงอยู่ที่สังกัดคณะครุศาสตร์ ได้แก่ สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย สาขาพลศึกษา สาขาประถมศึกษา สาขาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา สาขาวิทยาศาสตร์การกีฬา ป.บัณฑิตวิชาชีพครู ครุศาสตรมหาบัณฑิตสาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ ครุศาสตรมหาบัณฑิตสาขาวิชาบริหารการศึกษา

คณะครุศาสตร์ได้เข้าร่วมจัดทำวิเคราะห์ต้นทุนต่อหน่วยผลผลิตประจำปี 2564 และได้เปรียบเทียบต้นทุนต่อหน่วยการผลิตระหว่างปี 2563 กับปี 2564 เพื่อให้เห็นงบประมาณที่เพิ่มขึ้นหรือลดลงในแต่ละปีเพื่อมีแนวทางในการพัฒนาให้สอดคล้องในการพัฒนานักศึกษา พัฒนาอาจารย์และบุคลากร เพื่อให้การบริหารจัดการหลักสูตรของคณะนั้นมีประสิทธิภาพ ประสิทธิผลสูงสุดดังตามภาพรวมของต้นทุนต่อหน่วยผลิตของแต่ละสาขาวิชาที่สังกัดในคณะครุศาสตร์

คณะครุศาสตร์ ได้ผลผลิตผู้สำเร็จการศึกษา ได้แก่ สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย สาขาพลศึกษา สาขาประถมศึกษา สาขาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา สาขาวิทยาศาสตร์การกีฬา ป.บัณฑิตวิชาชีพครู ครุศาสตรมหาบัณฑิตสาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ ครุศาสตรมหาบัณฑิตสาขาวิชาบริหารการศึกษา คิดค่าใช้จ่ายจากการดำเนินงานตามกิจกรรม เช่น ค่าใช้จ่ายบุคลากร งบดำเนินงาน ค่าสาธารณูปโภค ค่าเสื่อมราคา เป็นต้น โดยใช้จำนวนค่า FTES ของนักศึกษาแต่ละสาขาวิชา เป็นตัวคำนวณต้นทุนต่อหน่วยผลผลิต ได้ภาพรวมของต้นทุนต่อหน่วยผลผลิตดังนี้


การคำนวณต้นทุนต่อหน่วย ในปีงบประมาณ 2564 มีต้นทุนต่อหน่วยลดลงจากปีงบประมาณ2563 จำนวน 378,510.62 บาทและมีค่า (FTES) ลดลงจากปี2563 คิดเป็นร้อยละ 31.97 ซึ่งสาเหตุที่ต้นทุนต่อหน่วยผลผลิตของปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 ลดลงจากปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 เกิดจากหลายสาเหตุ ได้แก่

1. งบประมาณที่แต่ละคณะได้รับจัดสรรลดลง และมีการตัดค่าใช้จ่ายในส่วนที่ไม่เกี่ยวข้องกับการผลิตบัณฑิตออกโดยไม่นำมาปันส่วนค่าใช้จ่ายลงสู่คณะ เช่นค่าใช้จ่ายโรงเรียนสาธิตและค่าเสื่อมราคาอาคารที่ไม่เกี่ยวข้องในการผลิตผลผลิต จึงทำให้ต้นทุนรวมและต้นทุนต่อหน่วยลดลง

2. คณะได้ใช้งบประมาณอย่างคุ้มค่า คณะได้จัดสรรงบประมาณสนับสนุนการเรียนการสอน กิจกรรมและสิ่งอำนวยความสะดวกทุกด้าน ส่งผลให้การบริหารหลักสูตร เกิดประสิทธิภาพ หลักสูตร ส่วนใหญ่ผ่านการประเมินในระดับดีทำให้นักศึกษา ของคณะมีคุณภาพเป็นที่ยอมรับ สามารถแข่งขันกับมหาวิทยาลัยใกล้เคียง

ด้านผลกระทบและโอกาสในการแข่งขัน

1. คณะครุศาสตร์ผลิตบัณฑิตด้วยหลักสูตรที่มีมาตรฐานเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนด

2. คณะครุศาสตร์มีแหล่งฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูหรือโรงเรียนร่วมผลิตที่มีมาตรฐานเป็นไปตามเกณฑ์ที่คุรุสภากำหนด และคณะครุศาสตร์ได้ทำความร่วมมือในการผลิตที่มีคุณภาพ

3. คณะครุศาสตร์บริหารจัดการหลักสูตรในการรับนักศึกษาหลักสูตรครุศาสตร (คบ.) และคณะครุศาสตร์ได้ทำความร่วมมือในการผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพ จำนวน 4 หลักสูตร และวิทยาศาสตร์บัณฑิต จำนวน 1 หลักสูตรที่ผ่านมาจำนวนที่รับนักศึกษาเต็มทุกหลักสูตร ซึ่งแสดงให้เห็นว่าความต้องการเรียนยังได้รับความนิยมและเป็นที่ยอมรับ

4. ผลการผลิตบัณฑิตที่ผ่านมา จำนวนศิษย์เก่าที่ได้รับการบรรจุแต่งตั้งเป็นบุคลากรทางการศึกษา มีจำนวนมากเป็นที่ยอมรับของสถาบันร่วมผลิตต่าง ๆ สามารถดูได้จากข้อมูลที่ได้รับการแต่งตั้ง

แนวทางการพัฒนา

ในการดำเนินการเกี่ยวกับการพัฒนาคุณภาพบัณฑิตของคณะครุศาสตร์ โดยคณะครุศาสตร์ได้มีการกำหนดคุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์ของคณะครุศาสตร์ เป็นแนวทางในการพัฒนาบัณฑิตให้มีทักษะ ความรู้ ความสามารถ มีคุณธรรมจริยธรรม มีจิตอาสา ยึดมั่นในหลักการปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง มีทักษะในการประกอบวิชาชีพครูและสามารถบูรณาการองค์ความรู้ที่สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงและความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี ซึ่งในปัจจุบันคณะครุศาสตร์ในปีการศึกษา 2564 ที่ผ่านมาคณะครุศาสตร์ได้ดำเนินการตามโครงการกิจกรรมพัฒนานักศึกษาให้มีทักษะด้านภาษาและทักษะด้านเทคโนโลยี โดยมีการกำหนดให้เป็นแผนกิจกรรมและโครงการ คลอดจนสอดแทรกเข้าไปในเนื้อสาระรายวิชาที่เรียนรู้ แนวทางการพัฒนาคุณภาพบัณฑิตของคณะครุศาสตร์ ในปีการศึกษาถัดไปได้กำหนดคุณลักษณะบัณฑิตให้มีทักษะ ความรู้ ความสามารถ จำนวน 8 ข้อ ดังนี้

1. บัณฑิตคณะครุศาสตร์มีทักษะในการประกอบวิชาชีพครู ทั้งด้านความรู้และการปฏิบัติงาน

2. บัณฑิตคณะครุศาสตร์มีทักษะการสื่อสารภาษาอังกฤษ

3. บัณฑิตคณะครุศาสตร์มีทักษะการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศที่ทันสมัย

4. บัณฑิตคณะครุศาสตร์มีทักษะทางด้านสังคมและการดำรงชีวิต

5. บัณฑิตคณะครุศาสตร์มีทักษะมนุษยสัมพันธ์ที่ดี เป็นผู้นำและผู้ตามที่ดี

6. บัณฑิตคณะครุศาสตร์มีความรับผิดชอบต่อสังคม มีระเบียบวินับและมีน้ำใจ

7. บัณฑิตคณะครุศาสตร์มีความเป็นประชาธิปไตย ทำงานร่วมกับผู้อื่นได้เป็นอย่างดี

8. บัณฑิตคณะครุศาสตร์มีบุคลิกภาพที่ดี มีความซื่อสัตย์ ประหยัด อดทน

แนวทางการพัฒนาคุณภาพบัณฑิตของคณะครุศาสตร์ทั้ง 8 ข้อ ที่กล่าวมาข้างต้นเป็นคุณลักษณะทักษะที่จำเป็นสำหรับบัณฑิตและเป็นแนวทางการพัฒนานักศึกษาเพื่อเสริมสร้างทักษะแห่งศตวรรษที่ 21

(หมายเลขเอกสาร EDU 5.1.-2-2) (เพิ่มเติม)