ตัวบ่งชี้ที่ 5.1 

ข้อที่ 4   บริหารงานด้วยหลักธรรมาภิบาลอย่างครบถ้วนทั้ง 10 ประการ
ที่อธิบายการดําเนินงานอย่างชัดเจน ปีการศึกษา 2565

ผลการดำเนินงานและผลการประเมินคุณภาพการศึกษา

มาตรฐานที่ 5  การบริหารจัดการ 

ตัวบ่งชี้ที่  5.1 การบริหารของคณะเพื่อการกํากับติดตามผลลัพธ์ตามพันธกิจ กลุ่มสถาบัน และเอกลักษณ์ของคณะ 

ชนิดของตัวบ่งชี้       กระบวน

เกณฑ์การประเมิน    ค่าคะแนน 

ข้อที่ 4   บริหารงานด้วยหลักธรรมาภิบาลอย่างครบถ้วนทั้ง 10 ประการที่อธิบายการดําเนินงานอย่างชัดเจน

          1) หลักประสิทธิผล (Effectiveness) คณะครุศาสตร์จัดทำและดำเนินงานตามแผนปฏิบัติการประจำปีอย่างมีประสิทธิภาพ และสอดคล้องกับทิศทางยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัยตามแผนปฏิบัติการประจำปีเพื่อนําไปเปนแนวทางในการปฏิบัติงาน และเป็นกรอบในการจัดทําคําของบประมาณประจําปี รวมถึงการรายงานผลการปฏิบัติราชการเมื่อสิ้นปงบประมาณ
      (เอกสารหมายเลข EDU5.1-4-1 แผนปฏิบัติการประจำปีคณะครุศาสตร์ ) (เชื่อมโยงกับ ตัวบ่งชี้ที่ 5.1 ข้อที่ 1 ซึ่งเกี่ยวข้องกับแผนยุทธศาสตร์ฯ/แผนปฏิบัติราชการฯ)

       2) หลักประสิทธิภาพ (Efficiency)
              2.1 ผู้บริหารมีการบริหารจัดการทรัพยากรของคณะฯ ให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพโดยมีการบริหารจัดการทรัพยากรในแต่ละด้าน ให้เกิดประโยชน์สูงสุด และมีการรายงานผลการดำเนินงานตามระยะเวลาที่กำหนดต่อคณะกรรมการประจำคณะครุศาสตร์ และ คณะกรรมการบริหารคณะ  เช่น การจัดสรรงบประมาณ / การจัดทำแผนยุทธศาสตร์ของคณะ / การรายงานผลการใช้จ่ายงบประมาณตามไตรมาส 

2.2 สนับสนุนให้บุคลากรนำระบบเทคโนโลยีสารสนเทศของมหาวิทยาลัย ที่ได้พัฒนาเป็นระบบที่สมบูรณ์แล้ว มาใช้ในการบริหารจัดการที่เหมาะสม ได้แก่ ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหาร Manage Information System (ERP MIS) (ระบบ งบประมาณ ระบบพัสดุ ระบบการเงิน ระบบบัญชี ระบบบริหารงานบุคลากรและเงินเดือน) และ ระบบ MIS คือระบบที่ให้สารสนเทศที่ผู้บริหารต้องการ เพื่อให้สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยจะรวมทั้ง สารสนเทศภายในและภายนอก สารสนเทศที่เกี่ยวพันกับองค์กรทั้งในอดีตและปัจจุบัน โดยมีระบบที่นำมาบริหารจัดการคือ ( ERP MIS ได้แก่ ระบบงบประมาณ ระบบพัสดุ ระบบการเงิน ระบบบัญชี ระบบบริหารงานบุคลากรและเงินเดือน (ระบบ MIS ได้แก่ ระบบงานทะเบียนนักศึกษา ระบบงานหลักสูตรการศึกษา ระบบฐานข้อมูลงานวิจัยและบทความ ระบบกองทุนพัฒนาบุคลากร ระบบงานสารบรรณ) 

  2.3 ส่งเสริมและสนับสนุนให้ คณาจารย์ทุกท่าน จัดการเรียนการสอนผ่านระบบ online โดยใช้ Platform Moodle SRRU  ในการบริหารจัดการ ซึ่งมีการอบรมให้ความรู้ในเรื่องดังกล่าว เพื่อตอบสนองนโยบายในช่วงที่มีการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 โดยปรับรูปแบบการเรียนการสอนจากเดิมให้เป็นไปในรูปแบบ online 

  2.4 สนับสนุนให้มีการเพิ่มห้องสำหรับจัดการเรียนการสอน ONLINE เพื่ออำนวยความสะดวกในการสอน ONLINE ของคณาจารย์ทุกท่าน ส่งผลให้คณะครุศาสตร์เป็นต้นแบบในเรื่องของการจัดการเรียนการสอน ONLINE ที่มีความพร้อมและส่งเสริมสนับสนุนให้การดำเนินงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ 

  2.5 จัดทำห้อง co-working space สำหรับการประชุม ระดมสมอง และทำงานได้ทุกรูปแบบ 

  2.6 จัดทำห้องสมาคมศิษย์เก่าคณะครุศาสตร์ เพื่อตอบสนองงานศิษย์เก่าทีได้มีการก่อตั้งขึ้นเป็นคณะแรกในมหาวิยาลัยราชภัฏสุรินทร์ 

  2.7 สนับสนุนให้บุคลากรสายสนับสนุนได้แสดงศักยภาพในการทำงานเพื่อพัฒนาระบบระบบการจัดเก็บข้อมูลด้านงานประกันคุณภาพการศึกษาระดับคณะ และ ร่วมกันพัฒนาเว็ปไซต์ นำเสนอผลการประเมินการประกันคุณภาพการศึกษาระดับคณะ ทำให้การประกันคุณภาพ เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ  

  2.8 สนับสนุนงบประมาณวสำหรับการทำงานวิจัย ให้กับคณาจารย์ทุกสาขาและทุกกลุ่มวิชา ทำผลงานวิจัย และสนับสนุนการตีพิมพ์ผลงานทางวิชาการ ตามแนวทางและคำแนะนำที่เกิดจากมติที่ประชุมคณะกรรมการในระดับคณะ เพื่อให้การดำเนินงานด้านการสนับสนุนส่งเสริมบุคลากรในการทำงานวิจัยเป็นอย่างมีประสิทธิภาพ 

  2.9 สนับสนุนงบประมาณเพื่อให้บุคลากรทุกท่านได้ทำผลงานเพื่อเข้าสู่ตำแหน่งที่สูงขึ้น  

  2.10 ส่งเสริมการเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม จึงได้แต่งตั้งคณะกรรมการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมสีเขียวคณะครุศาสตร์ เพื่อปรับปรุงสิ่งแวดล้อมในด้านกายภาพ คณะครุศาสตร์ ให้เหมาะสมต่อการจัดการเรียนการสอนและการพัฒนานักศึกษา  อีกทั้งส่งเสริมให้บุคลากรและนักศึกษา ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและมีส่วนร่วมในการเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากยิ่งขึ้น และดำเนินการให้สอดคล้องกับนโยบายด้านสิ่งแวดล้อมของมหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์  

       (เอกสารหมายเลข EDU5.1-4-2-1 รายงานการประชุมคณะกรรมการประจำคณะที่เกี่ยวข้องกับหลักประสิทธิภาพ) (เอกสารหมายเลข EDU5.1-4-2-2 ภาพระบบ MIS / ระบบ Platform Moodle SRRU /รายวิชาที่ดำเนินการในรูปแบบONLINE ผ่าน Moodle/เว็บไซต์ นำเสนอผลการประเมินการประกันคุณภาพการศึกษาระดับคณะ / ประกาศการสนับสนุนทุนวิจัย / คำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมสีเขียวคณะครุศาสตร์ )

       3) หลักการตอบสนอง (Responsiveness) คณะครุศาสตร์  มีการบริหารตามพันธกิจที่สามารถตอบสนองความต้องการของผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียครอบคลุมตามยุทธศาสตร์ของคณะ เช่น มีการบริการวิชาการแก่ชุมชนและท้องถิ่น ตามโครงการยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น โดยมีการสอบถามความต้องการของชุมชนและนำไปสู่การจัดทำโครงการที่ตอบสนองต่อความต้อง  การส่งเสริมและพัฒนาโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน เพื่อตอบสนองการเป็นโรงเรียนเครือข่ายพัฒนาในการดูแลของมหาวิทยาลัย ตอบสนองในเรื่อง การปรับปรุง พัฒนา อาคารสถานที่ ตามความต้องการของนักศึกษา เช่น การสร้างพื้นที่แห่งการเรียนรู้  Learning Space และ ห้อง co-working space เพื่อเพิ่มพื้นที่ในการระดมสมองและการทำงาน การพัฒนาห้องเรียน Smart Micro Teaching เพื่อตอบสนองการจัดการเรียนการสอนแบบจุลภาค ซึ่งเป็นเทคนิคการสอนที่มุ่งจะฝึกทักษะให้แก่นักศึกษาครู และถือเป็นหัวใจสำคัญก่อนที่จะไปปฏิบัติการสอนในสถานศึกษาจริง และพัฒนาห้องเรียนให้เป็นแบบ Smart Learning เพื่อตอบสนอง การพัฒนานักศึกษาให้เป็นครูศตวรรษที่ 21 ที่ต้องคำนึงถึงทั้งวิธีการเรียนรู้ เครื่องมือที่ใช้รวมทั้งสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้สามารถต่อยอดไปสู่การทำงานในอนาคตได้ นวัตกรรมและเทคโนโลยีการศึกษาจึงมีส่วนสำคัญที่จะนำมาบูรณาการเข้ากับการเรียนการสอน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการเรียนรู้ในทุกชั้นปี สิ่งเหล่านี้ส่งผลกระทบให้เกิดการปรับเปลี่ยนห้องเรียนแบบเดิมไปสู่ห้องเรียนที่เน้นการมีปฏิสัมพันธ์และการมีส่วนร่วมของผู้เรียน ที่เรียกว่า ห้องเรียนอัจฉริยะ (Smart classroom) ซึ่งในห้องเรียนจะมี อุปกรณ์หลักที่สำคัญในการเป็นห้องเรียนอัจฉริยะ คือ Interactive Display (จอสัมผัสอัจฉริยะ) ซึ่ง สามารถใช้แทนกระดานไวท์บอร์ดในแบบเดิมๆได้ สามารถช่วยครูผู้สอนสามารถใช้เทคโนโลยีได้อย่างสะดวกสบายในการสอนหน้าชั้นเรียน การจัดทำโครงการกองทุนสนับสนุนการศึกษาและสิ่งเรียนรู้ให้กับนักศึกษา การเพิ่มพื้นที่จอดรถมอเตอร์ไซต์นักศึกษา การปรับปรุงสภาพแวดล้อมโดยรอบคณะครุศาสตร์ให้เป็นพื้นที่สีเขียว การส่งเสริมและสนับสนุนงบประมาณในการการทำวิจัยของบุคลากรสายวิชาการ และสนับสนุนงบประมาณสำหรับการทำผลงาน สายสนับสนุน อย่างเหมาะสมเพื่อตอบสนองความต้องการตามแนวทางในการพัฒนาบุคลากรอย่างมีประสิทธิภาพ อีกทั้ง ยังได้ก่อตั้งสมาคมศิษย์เก่าคณะครุศาสตร์ตามมติที่ประชุมคณะกรรมการระดับคณะ เพื่อตอบสนองต่อการประสานงานและจัดกิจกรรมให้แก่ศิษย์เก่าคณะครุศาสตร์ โดย ถือได้ว่าเป็นการก่อตั้งสมาคมศิษย์เก่าหน่วยงานแรกในมหาวิทยาลัย

           (เอกสารหมายเลข EDU5.1-4-3-1 เอกสารภาพรวมการดำเนินงานตามหลักการตอบสนอง) (การส่งเสริมและสนับสนุนงบประมาณในการการทำวิจัยของบุคลากรสายวิชาการ)

       4) หลักการรับผิดชอบ (Accountability) ผู้บริหารได้ดำเนินการกำหนดขอบเขตหน้าที่หรือผู้รับผิดชอบที่ชัดเจนในการบริหารจัดการ/การดำเนินงาน โดยถ่ายทอดตัวชี้วัด/เป้าหมายขององค์การสู่ระดับบุคคล และการติดตามประเมินผลการปฏิบัติราชการ นอกจากนี้ คณะครุศาสตร์ ได้แสดงความรับผิดชอบตามพันธกิจด้วยการให้บริการวิชาการแก่สังคมโดยได้รับความเชื่อมั่นและความไว้วางใจจาก หน่วยงานที่สนับสนุนงบประมาณ ตามรายละเอียดของโครงการยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น ที่อยู่ในความรับผิดชอบของคณะครุศาสตร์

        (เอกสารหมายเลข EDU5.1-4-4-1 โครงการยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น  ที่อยู่ในความรับผิดชอบของคณะครุศาสตร์)

      5) หลักความโปร่งใส (Transparency) คณะครุศาสตร์ มีความมุ่งมั่นในการ บริหารงานตามหลักความโปร่งใส และหลักการมีส่วนร่วม โดยกำหนดให้มีผู้แทนบุคลากรอยู่ในคณะกรรมการประจำคณะ เพื่อให้มีโอกาสในการรับทราบ ติดตาม และตรวจสอบการบริหารงานของคณะครุศาสตร์ ตามนโยบายที่กำหนด รวมถึงรับทราบ และตรวจสอบการดำเนินงานของคณะครุศาสตร์ ได้อย่างโปร่งใส เช่น การรายงานผลการดำเนินงานและผลการเบิกจ่ายงบประมาณตามแผนปฏิบัติราชการ รายไตรมาส ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565-2566 การรายงายผลการใช้จ่ายงบประมาณโครงการกองทุนสนับสนุนการศึกษาและสิ่งเรียนรู้ให้กับนักศึกษา   นอกจากนี้ เพื่อสนับสนุนการดำเนินงาน ตามหลักความโปร่งใส และคณะครุศาสตร์ ได้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการบริหารความเสี่ยงและควบคุมภายในคณะครุศาสตร์ อีกทั้งยังมีการบริหารงานอย่างมีคุณธรรมให้เป็นไปตามเจตจำนงสุจริตในการบริหารงานอย่างมีคุณธรรมและโปร่งใสตามหลักธรรมมาภิบาล ตามนโยบายและเป้าหมายที่มหาวิทยาลัยกำหนดให้ทุกหน่วยงานปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด  

       (เอกสารหมายเลข EDU5.1-4-5-1 รายงานการประชุมคณะกรรมการประจำคณะที่เกี่ยวข้องกับหลักความโปร่งใส ) (เอกสารหมายเลข EDU5.1-4-5-2 คำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการบริหารความเสี่ยงและควบคุมภายในคณะครุศาสตร์) (เอกสารหมายเลข EDU5.1-4-5-3 ประกาศมหาวิทยาลัยในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับนโยบายการบริหารงานอย่างมีคุณธรรมและโปร่งใสตามหลักธรรมมาภิบาล )

       6) หลักการมีส่วนร่วม (Participation) ผู้บริหารเปิดโอกาสให้บุคลากรมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ และร่วมแสดงความคิดเห็นของตนเองได้  มีการใช้กระบวนการตัดสินใจ จากผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ที่เกี่ยวข้อง  มีการรับฟังความคิดเห็นและข้อเสนอแนะ เพื่อนำไปปรับปรุงการบริหารงาน โดยมีการแต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับการบริหารงานในระดับคณะและระดับมหาวิทยาลัย  เช่น คณะกรรมการคุรุศึกษา คณะอนุกรรมการคุรุศึกษา ที่เป็นบุคลากรที่เกี่ยวข้องในหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิตร่วมกันทำหน้าที่วางแผนและพัฒนาหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต ให้มีคุณภาพและมาตรฐานโดยการมีส่วนร่วมจากทุกฝ่าย และคณะกรรมการบริหารงานระดับบัณฑิตศึกษา โดยมีผู้แทนจากแต่ละหลักสูตร ทำหน้าที่วางแผน พัฒนา และพิจารณางานในระดับบัณฑิตศึกษาของคณะให้มีคุณภาพ คำสั่ง คณะกรรมการสนับสนุนงานด้านต่างๆ โดยให้คณาจารย์ได้มีส่วนร่วมในงานบริหารเพื่อเป็นประสบการณ์ในการก้าวไปสู่การเป็นผู้บริหารในอนาคตต่อไป 

       (เอกสารหมายเลข EDU5.1-4-6-1 คำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการที่เกี่ยวข้องกับหลักการมีส่วนร่วม)

       7) หลักการกระจายอำนาจ (Decentralization) ผู้บริหารได้กระจายอำนาจในการบริหารงาน  โดยได้มีการจัดทำคำสั่งมอบหมายงานรองคณบดี ผู้ช่วยคณบดี  หัวหน้าสำนักงานคณบดี หัวหน้างานฝ่ายต่างๆ ดูแลกำกับติดตามงานด้านต่างๆของคณะ รวมทั้งมีการกระจายอำนาจไปยังบุคลากรภายในคณะ  ให้มีส่วนร่วมในการตัดสินใจโดยผ่านคณะกรรมการดำเนินงานฝ่ายต่างๆ 

       (เอกสารหมายเลข EDU5.1-4-7-1 คำสั่งมอบหมายงานที่เกี่ยวข้องหลักการกระจายอำนาจ)

       8) หลักนิติธรรม (Rule of Law) ผู้บริหาร  มีแนวทาง/นโยบายในการปฏิบัติงานภายใต้ระเบียบข้อบังคับต่างๆ  ของทางราชการ เพื่อยึดถือเป็นแนวปฏิบัติร่วมกัน ในการบริหารงานด้วยความเป็นธรรม เช่น ในการประชุมคณะกรรมการประจำคณะ เลขานุการจะจัดเตรียมแฟ้ม กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ ที่เกี่ยวข้องกับการบริหารงานทั้งหมด ให้กับผู้เข้าร่วมประชุมทุกท่าน เพื่อให้ที่ประชุมยึดถือเป็นหลักในการพิจารณาตัดสินใจ  และ ผู้บริหารมีการมอบหมายภาระหน้าที่ความรับผิดชอบของผู้บริหารในตำแหน่งต่างๆ อย่างเหมาะสมตรงตามตำแหน่งที่รับผิดชอบ และสอดคล้องกับพันธกิจของคณะฯ โดยมีการแต่งตั้งทีมบริหารในตำแหน่งรองคณบดี ผู้ช่วยคณบดี หัวหัวหน้างาน

       (เอกสารหมายเลข EDU5.1-4-8-1 ภาพแฟ้มกฎ ระเบียบ ข้อบังคับ ที่ใช้ในการประชุม) (เอกสารหมายเลข EDU5.1-4-8-2 การมอบหมายภาระหน้าที่ความรับผิดชอบของผู้บริหารในตำแหน่งต่างๆ )

       9) ความเสมอภาค (Equity) ผู้บริหาร ให้ความสำคัญกับหลักความเสมอภาคทั้งในด้านการบริหารและการให้บริการ โดยผู้บริหารคณะฯ สนับสนุนให้บุคลากรทุกระดับมีส่วนร่วมในการบริหารงานและร่วมกิจกรรมต่าง ๆ ของหน่วยงาน โดยในคณะ ส่งเสริมให้บุคลากรทั้งสายวิชาการและสายสนับสนุนวิชาการ เข้ารับการอบรมและส่งเสริมพัฒนาศักยภาพ เพื่อให้บุคลากรได้พัฒนาตนเองอย่างเต็มศักยภาพ การส่งเสริมและสนับสนุนงบประมาณในการการทำวิจัยของบุคลากรสายวิชาการ และ การทำผลงานสายสนับสนุน อย่างเหมาะสมเพื่อตอบสนองความต้องการตามแนวทางในการพัฒนาบุคลากรอย่างมีประสิทธิภาพ 

       (เอกสารหมายเลข EDU5.1-4-9-1 การจัดโครงการการจัดการความรู้ให้กับบุคคลากร สำหรับสายผู้สอน____สำหรับสายสนับสนุน____(การส่งเสริมและสนับสนุนงบประมาณในการการทำวิจัยของบุคลากร  )

       10 หลักมุ่งเน้นฉันทามติ (Consensus Oriented) ผู้บริหาร ให้ความสำคัญกับการนำหลักการตัดสินใจโดยฉันทามติมาใช้ ในการตัดสินใจทางการบริหาร ตัวอย่างสำคัญที่แสดงการยึดหลักมุ่งเน้นฉันทามติ คือ กระบวนการตัดสินใจในที่ประชุมคณะกรรมการประจำคณะ ที่ประชุมคณะกรรมการบริหารคณะครุศาสตร์  หรือที่ประชุมสำคัญของคณะฯ ล้วนยึดถือประเพณีปฏิบัติที่ดีงามในการพิจารณาให้ความเห็นชอบหรือไม่เห็นชอบในเรื่องต่าง ๆ ทั้งประเด็นเชิงนโยบาย การบริหาร แนวทางปฏิบัติ และการแก้ปัญหาความขัดแย้ง โดยอาศัยฉันทามติของที่ประชุมที่มีการยอมรับใน หลักเหตุผลที่มีการประสานความคิดเห็นที่แตกต่างเพื่อให้ได้ข้อยุติร่วมกัน 

       (เอกสารหมายเลข EDU5.1-4-10-1 รายงานการประชุมที่เกี่ยวข้องในหลักมุ่งเน้นฉันทามติ