ตัวบ่งชี้ที่ 2.1 ระบบและกลไกการวิจัย นวัตกรรม งานสร้างสรรค์
ปี 2564

ตัวบ่งชี้ที่ 2.1   ระบบและกลไกการวิจัย นวัตกรรม งานสร้างสรรค์ 

ผลการดำเนินงานและผลการประเมินตนเอง 

ตัวบ่งชี้ที่ 2.1       :      ระบบและกลไกการวิจัย นวัตกรรม งานสร้างสรรค์

ชนิดของตัวบ่งชี้       :      กระบวนการ

เป้าหมาย               :     5 ข้อ

ผลการดำเนินการ

       ในปีการศึกษา 2564 คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ ได้วางระบบและกลไกการวิจัย นวัตกรรม งานสร้างสรรค์ โดยมีผลการดำเนินงาน ครบ 7 ข้อ ดังนี้

1. คณะมีการกำหนดนโยบายและทิศทางการวิจัยที่สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ และเชื่อมโยงกับสภาพเศรษฐกิจ สังคม ศิลปวัฒนธรรม หรือสิ่งแวดล้อม ตามจุดเน้นและอัตลักษณ์ และความได้เปรียบเชิงทรัพยากรและเชิงพื้นที่ของคณะ 

 คณะครุศาสตร์มีการกำหนดนโยบายและทิศทางการวิจัยที่สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ และเชื่อมโยงกับสภาพเศรษฐกิจ สังคม ศิลปวัฒนธรรม หรือสิ่งแวดล้อม ตามจุดเน้นและอัตลักษณ์ และความได้เปรียบเชิงทรัพยากรและเชิงพื้นที่ของคณะ โดยมีการจัดทำแผนยุทธศาสตร์ คณะครุศาสตร์ พ.ศ.2563-2565 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ.2564), พ.ศ. 2566-2570 แผนงานด้านการวิจัยคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ ปีงบประมาณ 2566-2570 และจัดทำแผนปฏิบัติการประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2565, 2566 คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ โดยมีกรอบงานวิจัยในการสนับสนุนการจัดการเรียนการสอน เพื่อกำหนดนโยบายและทิศทางการวิจัยที่สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ ระยะ 20 ปี (พ.ศ.2561-2580) ทำให้คณาจารย์คณะครุศาสตร์สามารถส่งผลงานวิจัยเพื่อเผยแพร่ในปี 2565 จำนวน 31 เรื่องและได้รับการสนับสนุนงานวิจัย จำนวน 18 โครงการ


         (หมายเลขเอกสาร  EDU 2.1-1-1, EDU 2.1-1-2, EDU 2.1-1-3 )

       2. คณะดำเนินการตามระบบสนับสนุนการบริหารจัดการงานวิจัย งานสร้างสรรค์และนวัตกรรมทรัพย์สินทางปัญญา และระบบสารสนเทศ ที่มหาวิทยาลัยจัดทำขึ้นอย่างมีประสิทธิภาพ

    คณะครุศาสตร์ ดำเนินการตามระบบสนับสนุนการบริหารจัดการงานวิจัย งานสร้างสรรค์และนวัตกรรม ทรัพย์สินทางปัญญา และระบบสารสนเทศ ที่มหาวิทยาลัยจัดทำขึ้นอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งมีการบริหารจัดการภายในคณะโดยมีการจัดทำแผนยุทธศาสตร์ประจำคณะ และมีการจัดสรรงบประมาณโดยถือปฏิบัติตามแผนปฏิบัติงานประจำปี มีการแต่งตั้งคณะกรรมการบริหารคณะครุศาสตร์เพื่อบริหารงานของคณะครุศาสตร์โดยมีการแต่งตั้งรองคณบดีฝ่ายบริหารให้การสนับสนุนการทำวิจัยให้มีประสิทธิภาพมาก อีกทั้งคณะได้มีการประชาสัมพันธ์สนับสนุนการบริหารจัดการงานวิจัย งานสร้างสรรค์และนวัตกรรม ทรัพย์สินทางปัญญาจากคู่มือบริหารงานวิจัย สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ ตลอดจนติดตามการดำเนินงานวิจัย ประกาศข้อมูลข่าวสารงานวิจัยต่างๆ ผ่านเว็บไซต์ คณะครุศาสตร์ https://edu.srru.ac.th /สื่อออนไลน์ (line ประชาสัมพันธ์ครุศาสตร์ และ facebook ประชาสัมพันธ์คณะครุศาสตร์)

             นอกจากนี้ยังมีระบบสารสนเทศของมหาวิทยาลัยที่ช่วยในการบริหารงานวิจัยในระดับมหาวิทยาลัยซึ่งจัดทำขึ้นโดยสถาบันวิจัยและพัฒนา มีเว็บไซต์ชื่อ http://research.srru.ac.th มีการจัดเรียบเรียงเนื้อหาข้อมูลต่างๆ เกี่ยวกับงานวิจัยที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการบริหารงานวิจัยและงานสร้างสรรค์ โดยมีลิงค์เชื่อมโยงทั้งภายในและภายนอก อาทิเช่น 

 จะพบว่าระบบสารสนเทศบริหารงานวิจัยทั้งภายในและภายนอกคณะที่จัดทำขึ้นนั้นสามารถสนับสนุนการบริหารจัดการงานวิจัยของมหาวิทยาลัยอย่างมีประสิทธิภาพ

(หมายเลขเอกสาร EDU 2.1-2-1, EDU 2.1-2-2, EDU 2.1-2-3, EDU 2.1-2-4, EDU 2.1-2-5, EDU 2.1-2-6,

                            EDU 2.1-2-7, EDU 2.1-2-8)

3. คณะมีการพัฒนาศักยภาพของคณาจารย์ บุคลากร และนักศึกษาให้มีความสามารถในการสร้างผลงานวิจัยงานสร้างสรรค์และนวัตกรรม อยู่บนพื้นฐานจรรยาบรรณนักวิจัย รวมทั้งสนับสนุนและส่งเสริมการจัดหาแหล่งทุนวิจัย การจัดสรรงบประมาณ และทรัพยากร ตลอดจนบูรณาการทรัพยากรเพื่อทำให้งานวิจัยบรรลุเป้าหมายตามความได้เปรียบเชิงเปรียบเทียบในด้านทรัพยากรและในเชิงพื้นที่

คณะครุศาสตร์มีการสนับสนุนการพัฒนาศักยภาพคณาจารย์ บุคลากร และนักศึกษาให้มีความสามารถในการสร้างผลงานวิจัยงานสร้างสรรค์และนวัตกรรม อยู่บนพื้นฐานจรรยาบรรณนักวิจัย โดยจัดส่งบุคลากรในสคณะครุศาสตร์ เข้ารับการอบรมด้านการวิจัย

เมื่อวันที่ 18 กันยายน 2564 อาจารย์กฤษณณัฐ  หนุนชู ได้เข้าร่วมอบรมเรื่องปฏิบัติการ “จริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ด้านมนุษยศาสตร์และพฤติกรรมศาสตร์” ระบบออนไลน์ ผ่าน Zoom โดยมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี

เมื่อวันที่  25 พฤษภาคม 2565 อาจารย์นุชจรี บุญเกต  ได้เข้าร่วมอบรมเรื่อง “เทคนิคการเขียนบทความวิจัยเป็นภาษาอังกฤษเพื่อตีพิมพ์บนฐานข้อมูลนานาชาติ”ระบบออนไลน์ ผ่าน Zoom โดยมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ

เมื่อวันที่ 27-28 มีนาคม 2564 อาจารย์พลพีร์  แสงสุวอ  ได้เข้าร่วมอบรมเรื่อง “จริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ หลักสูตรทางด้านสังคมศาสตร์” ระบบออนไลน์ ผ่าน Zoom โดยบัณฑิวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาสารคามร่วมกับศูนย์จริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

เมื่อวันที่ 16 กันยายน 2564 ผู้ช่วยศาสตราจารย์อุไร จันทมัตตุการ และอาจารย์อุริด  พลศรี  ได้รับรางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 ในการนำเสนอผลงานวิจัยกลุ่มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ภาคบรรยาย เรื่องความสามารถด้านการออกแบบการจัดการเรียนรู้โครงงานเป็นฐานและสะเต็มศึกษาและความคิดเห็นของนักศึกษาที่มีต่อชุดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ใช้อบรม  ของนักศึกษาครูมหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ ในการประชุมวิชาการและนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติราชมงคลสุรินทร์ ครั้งที่ 12 “วิจัยและนวัตกรรมเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจวิถีใหม่” ณ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสุรินทร์

เมื่อวันที่ 18 กันยายน 2564 อาจารย์จักรพงษ์ วารี  ได้ผ่านการอบรม “จริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ ด้านสังคมศาสตร์และพฤติกรรมศาสตร์” ณ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี

 รวมทั้งสนับสนุนและส่งเสริมการจัดหาแหล่งทุนวิจัยปีงบประมาณ 2565 จากทุนสนับสนุนการวิจัย โครงการยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์เพื่อการพัฒนาท้องถิ่น ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2565 สถาบันวิจัยและพัฒนา จำนวน 5 โครงการ เป็นจำนวนเงินทั้งสิ้น 1,239,000 บาท คณะครุศาสตร์ได้จัดสรรงบประมาณเพื่อเป็นทุนวิจัยงบแผ่นดินของคณะครุศาสตร์ จำนวน 13 โครงการ เป็นจำนวนเงินทั้งสิ้น 200,000 บาท งบประมาณโครงการออมสินยุวพัฒน์รักษ์ถิ่น จำนวนเงิน 75,000 บาท  งบประมาณสนับสนุนจากโครงการพระราชดำริ 30,000 บาท เรื่อง ผลการจัดประสบการณ์ตามแนวทางการสอนภาษาแบบธรรมชาติที่มีต่อพัฒนาการด้านภาษาการอ่านและการเขียนของเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาล 3 โรงเรียนบ้านอำปึล

(หมายเลขเอกสาร EDU 2.1-3-1, EDU 2.1-3-2, EDU 2.1-3-3, EDU 2.1-3-4, EDU 2.1-3-5,

                           EDU 2.1-3-6, EDU 2.1-3-7)

4. คณะมีการส่งเสริมการบูรณาการการวิจัยกับการเรียนการสอน เพื่อเสริมสร้างสมรรถนะการวิจัยแก่ผู้เรียนที่นำไปสู่การร่วมสร้างสรรค์งานวิจัยและนวัตกรรม ให้กับสังคม ชุมชน ท้องถิ่น

คณะมีการส่งเสริมการบูรณาการการวิจัยกับการเรียนการสอน เพื่อเสริมสร้างสมรรถนะการวิจัย   แก่ผู้เรียนที่นำไปสู่การร่วมสร้างสรรค์งานวิจัยและนวัตกรรม ให้กับสังคม ชุมชน ท้องถิ่นดังนี้

4.1 สาขาประถมศึกษา มีการบูรณาการในรายวิชา วิธีสอนประถมศึกษา 2   มีรายละเอียดดังนี้

       4.1.1 มีการบูรณาการการวิจัยแก่สถานศึกษา ชุมชนและท้องถิ่น นำความรู้จากการร่วมวิจัยระดับชาติ เรื่องการวิจัย CCR มากำหนดในรายวิชาวิธีสอนประถมศึกษา 2 ลงใน มคอ.3 ว่าต้องมีสาระเพิ่มเติมในด้านการบูรณาการการวิจัย แก่สถานศึกษา ชุมชนและท้องถิ่น จึงกำหนดสาระด้านการวิจัยแบบ CCR ลงในชั่วโมงการสอน ว่านักศึกษาต้องมีความรู้ความเข้าใจ ฝึกการเขียนแผนการสอนแบบ CCR  รูปแบบการวิจัยในชั้นเรียนแบบ CCR นำผลงานที่นักศึกษารุ่นก่อนได้ทำการวิจัยให้ศึกษามาให้ศึกษา การดำเนินการจัดทำโครงการ ตามวงจรคุณภาพ โดยให้นักศึกษาลงมือทำโครงการตามแนวทาง PDCA จัดทำแผนงานการวิจัยในชั้นเรียน แบบ CCR มีการร่วมมือประสานงานกับสถานศึกษาในท้องถิ่น ที่นักศึกษาได้ไปทำการฝึกประสบการณ์เต็มรูป  เพื่อการจัดทำโครงการวิจัยในชั้นเรียน จนกระทั่งได้งานวิจัยการพัฒนาการเรียนการสอนแบบ CCR ในแต่ละสถานศึกษาในแต่ละท้องถิ่นจึงเกิดขึ้น เป็นผลลัพธ์ที่มีหลักฐานแสดงให้เห็นในรายงานวิจัยในชั้นเรียนของนักศึกษาฝึกประสบการณ์เต็มรูปในทุกปีการศึกษาที่ผ่านมา ส่งผลให้นักศึกษามีประสบการณ์ในการจัดการ  บูรณาการการวิจัยแก่สถานศึกษาชุมชนและท้องถิ่น นอกสถานที่ตั้งและสถานศึกษา มีความพึงพอใจและมีความต้องการที่จะร่วมมือกับสาขาการประถมศึกษาในการจัดการบูรณาการการวิจัยแก่ชุมชนและท้องถิ่น ในปีการศึกษาต่อไปอย่างต่อเนื่อง สรุปเป็นการทำงาน จากแนวคิด อ้างอิงทฤษฎีหลักการในห้องเรียน ไปสู่ภาคสนาม

  4.1.2 มีการฝึกฝนให้นักศึกษามีความพร้อมในการวิจัยตั้งแต่เรียนรายวิชาวิธีสอนฯ ในปีที่ 4 พร้อมจะทำการวิจัยในชั้นปีที่ 5 จนเกิดผลสำเร็จขึ้นมา  ส่งผลให้สถาบันอุดมศึกษาได้แสดงการรับใช้สังคม ด้วยการบริการงานวิจัยแก่ชุมชนและท้องถิ่น  โดยการพัฒนาฝึกฝนบัณฑิตรุ่นใหม่ ให้มีสมรรถนะในด้านการบริการงานวิจัยแก่ชุมชนท้องถิ่น โดยจัดกิจกรรมในรายวิชาให้นักศึกษามีประสบการณ์ในการบูรณาการการวิจัย ตั้งแต่ก่อนออกฝึกประสบการณ์ในการบูรณาการการวิจัย ตั้งแต่ก่อนออกฝึกดำเนินการฝึก และหลังการฝึกสามารถนำไปจัดกิจกรรมการวิจัยในชั้นเรียน  ตามระเบียบวิธีวิจัยได้อย่างชัดเจนมีประสิทธิภาพ สมกับความต้องการของหลักสูตรปริญญาตรี หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน แผนการศึกษาแห่งชาติและมีการสรุปองค์ความรู้เพื่อเป็นแนวทางในการนำไปใช้และเผยแพร่ต่อไป ซึ่งเป็นผลที่เกิดจากนักศึกษาครูได้ทดลองปฏิบัติทำจริง สามารถนำไปใช้ในอนาคต สู่วิชาชีพครูได้อย่างมั่นใจ ซึ่งทำให้นักศึกษาสามารถจัดทำการบูรณาการงานวิจัยในกิจกรรมการเรียนการสอนในห้องเรียน  และสามารถจัดทำโครงการวิจัยในชั้นเรียนแบบ CCR ร่วมกับสถาบันการศึกษาในชุมชนและท้องถิ่น

4.2 สาขาวิชาปฐมวัย มีการบูรณาการในรายวิชา 1072714n รายวิชา EECE62103 และรายวิชา1074902n มีรายละเอียดดังนี้

       4.2.1 มีการบูรณาการวิจัยในรายวิชา 1072714n เกมการศึกษาสำหรับเด็กปฐมวัย (อาจารย์ปิยนันท์  พูลโสภา) โดยมีการบูรณาการเนื้อหารายวิชาสู่งานวิจัย  งานวิจัยเรื่อง “จัดประสบการณ์เกมการศึกษาแบบมีส่วนร่วมเพื่อส่งเสริมทักษะการแก้ปัญหาของเด็กปฐมวัยในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจังหวัดสุรินทร์”

       4.2.2 มีการบูรณาการวิจัยในรายวิชา EECE621103 การพัฒนาสุขภาวะและความปลอดภัยสำหรับเด็กปฐมวัย (อาจารย์พัชรา  พานทองรักษ์) โดยมีการบูรณาการหารายวิชาสู่งานวิจัย  งานวิจัยเรื่อง “การพัฒนารูปแบบการส่งเสริมพฤติกรรมความปลอดภัยสำหรับเด็กวัยอนุบาลโดยกระบวนการมีส่วนร่วมของครูปฐมวัยและผู้ปกครองในจังหวัดสุรินทร์” และงานวิจัย เรื่อง “การพัฒนาคู่มือส่งเสริมความปลอดภัยของเด็กวัยอนุบาลสำหรับผู้ปกครอง” 

       4.2.3 มีการบูรณาการในรายวิชา 1074902n การวิจัยในชั้นเรียนระดับปฐมวัย และ 1074204n การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย (รองศาสตราจารย์ ดร.บุญเลี้ยง ทุมทอง) โดยมีการ บูรณาการเนื้อหารายวิชาสู่งานวิจัย  งานวิจัยเรื่อง “การพัฒนากล้ามเนื้อมัดเล็กและความฉลาดทางอารมณ์ของเด็กที่มีความต้องการพิเศษในจังหวัดสุรินทร์ โดยการใช้กิจกรรมศิลปะบำบัด

          4.3  สาขาวิชาเทคโนโลยีดิจิทัสเพื่อการศึกษา มีการบูรณาการในรายวิชา EDTE621301 วิทยาการคำนวณ (อาจารย์ ดร.จักรพงษ์ วารี) โดยมีการบูรณาการเรื่องการพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ชุดโปรแกรมไมโครบิตควบคุมการทำงานหุ่นยนต์เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ด้านเทคโนโลยีดิจิทัลของนักศึกษาและนักเรียนในจังหวัดสุรินทร์ ซึ่งผู้เรียนได้รับการพัฒนาความรู้และทักษะการสร้างชุดโปรแกรมไมโครบิตควบคุมการทำงานหุ่นยนต์

          4.4 สาขาวิชาวิทยาศาสตร์การกีฬา  มีการบูรณาการวิจัยในรายวิชา 4083104o ระเบียบวิธีการวิจัยทางวิทยาศาสตร์การกีฬา  (อาจารย์จาตุรณต์  บุรวัฒน์) ทำให้นักศึกษาได้มีการศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมเพื่อนำความรู้นำไปใช้ในการแก้ไขปัญหาของการวิจัยได้อย่างแท้จริง และทำให้นักศึกษามีทักษะในการนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันและในอนาคตได้

              4.5 สาขาวิชาพลศึกษา  มีการบูรณาการวิจัยในรายวิฃา EPED621305 (อาจารย์เสน่ห์  ศรีงาม) การวิจัยทางการศึกษา  และรายวิชา EPED621201 วิทยาศาสตร์การเคลื่อนไหวทางพลศึกษา (อาจารย์ปิยณัฐ   ศรีชะตา) รายวิชาเหล่านี้มีการบูรณาการการวิจัยการเรียนการสอน พบว่าทำให้นักศึกษาชั้นปีที่ 3-4 ทุกคน เรียนรู้กระบวนการวิจัย  และมีผลงานวิจัยที่จะนำไปต่อยอดในอนาคตต่อไป

(หมายเลขเอกสาร EDU 2.1-4-1)

5. คณะมีการสร้างเครือข่ายความร่วมมือด้านการวิจัย งานสร้างสรรค์และนวัตกรรมทางเทคโนโลยีหรือนวัตกรรมทางสังคม กับสถาบันอุดมศึกษาอื่น ๆ ตลอดจนองค์กรภาครัฐและภาคเอกชนทั้งในหรือต่างประเทศที่ก่อให้เกิดผลงานวิจัย งานสร้างสรรค์และนวัตกรรม


 คณะครุศาสตร์สร้างเครือข่ายความร่วมมือด้านการวิจัยงานสร้างสรรค์และนวัตกรรมทางเทคโนโลยีหรือนวัตกรรมทางสังคม กับสถาบันอุดมศึกษาอื่น ๆ ตลอดจนองค์กรภาครัฐและภาคเอกชนทั้งในหรือต่างประเทศที่ก่อให้เกิดผลงานวิจัย งานสร้างสรรค์และนวัตกรรม  อีกทั้งสนับสนุนบุคลากรในการนำเสนอผลงานวิจัยหรือนวัตกรรมของคณะครุศาสตร์ ที่เกี่ยวกับการสร้างความร่วมมือด้านการวิจัยกับภาครัฐและเอกชนในประเทศและต่างประเทศดังนี้

  5.1 อาจารย์เลิศวัลลภ  ศรีษะพลภูสิทธิ ได้นำเสนอผลงานวิจัยในระดับระดับชาติ เรื่อง การสื่อสารเพื่อส่งเสริมนโยบายการสืบทอดภูมิปัญญาท้องถิ่นขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.)  ในการประชุมวิชาการระดับชาติราชมงคลสุรินทร์ ครั้งที่ 12 “วิจัยและนวัตกรรมเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจวิถีใหม่” ระหว่างวันที่ 16-17 กันยายน 2564 ณ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสุรินทร์  

     5.2 อาจารย์นุชจรี บุญเกต  ได้เข้าร่วมการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการหลักสูตร “การเขียนข้อเสนอโครงการวิจัยที่สอดคล้องกับการวิจัยและนวัตกรรมในมิติใหม่” รุ่นที่ 3 ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ.2565 ตามรายชื่อที่มหาวิทยาลัยราชภัฏได้คัดเลือกบุคลากรในสังกัดที่มีคุณสมบัติครบถ้วนตามที่ วช.กำหนด เพื่อเข้าร่วมฝึกอบรมฯ ดังกล่าว เมื่อวันที่ 6–8 พฤษภาคม 2565 ผ่านระบบประชุมทางไกลผ่านจอภาพ (Video Conference) ณ สำนักงานวิจัยแห่งชาติ (วช) จำนวนทั้งสิ้น 251 คน 


(หมายเลขเอกสาร EDU 2.1-5-1 )

6. คณะมีการประเมินผลกระทบของผลงานวิจัย งานสร้างสรรค์และนวัตกรรมที่มีต่อการพัฒนาผู้เรียน การสร้างคุณภาพชีวิต การสร้างโอกาสตลอดจนการสร้างมูลค่าเพิ่ม และรายงานผลการดำเนินงานด้านงานวิจัยต่อคณะกรรมการประจำคณะ อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง

      ตามรอบปีการประเมินคุณภาพการศึกษาภายในคณะครุศาสตร์ที่ผ่านมานั้น คณะครุศาสตร์ได้พัฒนาผลงานการวิจัยทั้งด้านสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และสาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ โดยการนำเสนอและตีพิมพ์ในวารสารต่าง ๆ ทั้งนี้ คณะครุศาสตร์มีการเก็บรวบรวมข้อมูลผลกระทบของผลงานวิจัย พร้อมดำเนินการประเมินผลกระทบของผลงานวิจัย งานสร้างสรรค์และนวัตกรรมที่มีต่อการพัฒนาผู้เรียน การสร้างคุณภาพชีวิต การสร้างโอกาสตลอดจนการสร้างมูลค่าเพิ่ม โดยการสัมภาษณ์ผู้ทำวิจัยโดยตรงและจากรายงานผลการวิจัย พร้อมทั้งได้นำเสนอรายงานผลการดำเนินงานด้านงานวิจัยต่อคณะกรรมการประจำคณะครุศาสตร์     เมื่อวันศุกร์ที่ 17 มิถุนายน 2565  ในระเบียบวาระที่ 4 เรื่องที่เสนอให้ที่ประชุมพิจารณา ข้อ 4.7  การประเมินผลกระทบผลงานวิจัยคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ ดังนี้

      1. งานวิจัยที่มีผลกระทบต่อการพัฒนาผู้เรียน  มีการพัฒนาผู้เรียนทั้งในระดับปฐมวัย ประถมศึกษา มัธยมศึกษาและอุดมศึกษา  โดยเฉพาะนักศึกษาครูมีการนำนวัตกรรมเพื่อพัฒนาผู้เรียน เช่น สตรีมเกมการศึกษา TPACK และมุ่งพัฒนาคุณลักษณะที่พึงประสงค์ เช่น คุณธรรม จริยธรรม ทักษะการสร้างสื่อ เป็นต้น งานวิจัยกลุ่มนี้คิดเป็นร้อยละ 35 ของงานวิจัยทั้งหมด

              2. งานวิจัยที่ส่งผลกระทบต่อการสร้างคุณภาพชีวิต มุ่งเน้นการสร้างสุขภาวะในกลุ่มนักเรียน ผู้สูงอายุและนักศึกษา และศึกษาเกี่ยวกับโรคสมาธิสั้น ภาวะซึมเศร้าที่ส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตและคุณภาพการเรียนของผู้เรียน งานวิจัยกลุ่มนี้คิดเป็นร้อยละ 30 ของงานวิจัยทั้งหมด

          3. งานวิจัยที่ส่งผลกระทบด้านการสร้างโอกาส มีการศึกษาสำหรับพระสงฆ์ การศึกษาบูรณาการกับการท่องเที่ยว รวมทั้งการยกระดับสถานศึกษาสู่ความเป็นเลิศ คิดเป็นร้อยละ 35 ของงานวิจัยทั้งหมด

              4. งานวิจัยที่ส่งผลกระทบต่อการสร้างมูลค่าเพิ่ม (เชิงพาณิชย์) ยังไม่พบงานวิจัยที่มีผลกระทบต่อการสร้างมูลค่าเพิ่มในเชิงพานิชย์)

          ซึ่งในที่ประชุมมีมติเห็นชอบ และรับทราบรายงานการประเมินผลกระทบผลงานวิจัย คณะครุศาสตร์ ทั้งนี้ขอให้คณะครุศาสตร์สนับสนุนส่งเสริมในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับงานวิจัยให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น พร้อมทั้งกำกับ ติดตาม อย่างต่อเนื่อง


     (หมายเลขเอกสาร EDU 2.1-6-1, EDU 2.1-6-2 )

7. มีการทบทวนผลการดำเนินงานและข้อเสนอแนะของคณะกรรมการประจำคณะไปปรับปรุงนโยบายและทิศทางการวิจัย งานสร้างสรรค์และนวัตกรรม

   คณะครุศาสตร์มีการทบทวนและติดตามผลการดำเนินงานการวิจัยประจำปี 2564 โดยนำเสนอในที่ประชุมคณะกรรมการประจำคณะเมื่อวันศุกร์ที่ 17 มิถุนายน 2565 ณ ห้องประชุมช้างแดง ชั้น 3 อาคาร 41 คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ 

     ซึ่งในที่ประชุมมีมติเห็นชอบ และรับทราบรายงานการประเมินผลกระทบผลงานวิจัย  คณะครุศาสตร์ ทั้งนี้ขอให้คณะครุศาสตร์สนับสนุนส่งเสริมในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับงานวิจัยให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น พร้อมทั้งกำกับติดตามอย่างต่อเนื่อง  เพื่อนำไปปรับปรุงนโยบายและทิศทางการวิจัย งานสร้างสรรค์และนวัตกรรมต่อไป


(หมายเลขเอกสาร EDU 2.1-7-1, EDU 2.1-7-2  )