ตัวบ่งชี้ที่ 2.1 ระบบและกลไกการวิจัย นวัตกรรม งานสร้างสรรค์ ปี2563

ตัวบ่งชี้ที่ 2.1 ระบบและกลไกการวิจัย นวัตกรรม งานสร้างสรรค์

ผลการดำเนินงานและผลการประเมินตนเอง

ตัวบ่งชี้ที่ 2.1 : ระบบและกลไกการวิจัย นวัตกรรม งานสร้างสรรค์

ชนิดของตัวบ่งชี้ : กระบวนการ

เป้าหมาย : 4 ข้อ

ผลการดำเนินการ

ในปีการศึกษา 2563 คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ ได้วางระบบและกลไกการวิจัย นวัตกรรม งานสร้างสรรค์ โดยมีผลการดำเนินงาน ครบ 7 ข้อ ดังนี้

1. คณะมีการกำหนดนโยบายและทิศทางการวิจัยที่สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ และเชื่อมโยงกับสภาพเศรษฐกิจ สังคม ศิลปวัฒนธรรม หรือสิ่งแวดล้อม ตามจุดเน้นและอัตลักษณ์ และความได้เปรียบเชิงทรัพยากรและเชิงพื้นที่ของคณะ

คณะครุศาสตร์มีการกำหนดนโยบายและทิศทางการวิจัยที่สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ และเชื่อมโยงกับสภาพเศรษฐกิจ สังคม ศิลปวัฒนธรรม หรือสิ่งแวดล้อม ตามจุดเน้นและอัตลักษณ์ และความได้เปรียบเชิงทรัพยากรและเชิงพื้นที่ของคณะ โดยมีการจัดทำแผนยุทธศาสตร์ คณะครุศาสตร์ พ.ศ.2560-2564 แผนงานด้านการวิจัยคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ ปีงบประมาณ 2560-2564 และจัดทำแผนปฏิบัติการประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2564 คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ โดยมีกรอบงานวิจัยในการสนับสนุนการจัดการเรียนการสอน เพื่อกำหนดนโยบายและทิศทางการวิจัยที่สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ ระยะ 20 ปี (พ.ศ.2561-2580) ทำให้อาจารย์คณะครุศาสตร์สามารถส่งผลงานวิจัยและได้รับการสนับสนุนงานวิจัย จำนวน 6 เรื่อง

(หมายเลขเอกสาร EDU 2.1-1-1, EDU 2.1-1-2, EDU 2.1-1-3 และ EDU 2.1-1-4)

2. คณะดำเนินการตามระบบสนับสนุนการบริหารจัดการงานวิจัย งานสร้างสรรค์และนวัตกรรม ทรัพย์สินทางปัญญา และระบบสารสนเทศ ที่มหาวิทยาลัยจัดทำขึ้นอย่างมีประสิทธิภาพ

คณะครุศาสตร์ ดำเนินการตามระบบสนับสนุนการบริหารจัดการงานวิจัย งานสร้างสรรค์และนวัตกรรม ทรัพย์สินทางปัญญา และระบบสารสนเทศ ที่มหาวิทยาลัยจัดทำขึ้นอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งมีการบริหารจัดการภายในคณะโดยมีการจัดทำแผนยุทธศาสตร์ประจำคณะ และมีการจัดสรรงบประมาณโดยถือปฏิบัติตามแผนปฏิบัติงานประจำปี มีการแต่งตั้งคณะกรรมการบริหารคณะครุศาสตร์ เพื่อบริหารงานของคณะครุศาสตร์โดยมีการแต่งตั้งรองคณบดีฝ่ายบริหารให้การสนับสนุนการทำวิจัยให้มีประสิทธิภาพมาก อีกทั้งคณะ ได้มีการประชาสัมพันธ์สนับสนุนการบริหารจัดการงานวิจัย งานสร้างสรรค์และนวัตกรรม ทรัพย์สินทางปัญญาจากคู่มือบริหารงานวิจัย สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ ตลอดจนติดตามการดำเนินงานวิจัย ประกาศข้อมูลข่าวสารงานวิจัยต่างๆ ผ่านเว็บไซต์ คณะครุศาสตร์ https://edu.srru.ac.th /สื่อออนไลน์ (line ประชาสัมพันธ์ครุศาสตร์ และ facebook ประชาสัมพันธ์คณะครุศาสตร์)

นอกจากนี้ยังมีระบบสารสนเทศของมหาวิทยาลัยที่ช่วยในการบริหารงานวิจัยในระดับมหาวิทยาลัยซึ่งจัดทำขึ้นโดยสถาบันวิจัยและพัฒนา มีเว็บไซต์ชื่อ http://research.srru.ac.th มีการจัดเรียบเรียงเนื้อหาข้อมูลต่างๆ เกี่ยวกับงานวิจัยที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการบริหารงานวิจัยและงานสร้างสรรค์ โดยมีลิงค์เชื่อมโยงทั้งภายในและภายนอก อาทิเช่น

1. สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.)

2. สำนักงานกองทุนสนับสนุนงานวิจัย (สกว.)

3. สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)

4. สำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษา (สกอ.)

5. สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.)

6. สำนักงานคณะกรรมการนโยบายวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งชาติ

(สวทน.)

7. คลังข้อมูลงานวิจัยไทย (TNRR)

จะพบว่าระบบสารสนเทศบริหารงานวิจัยทั้งภายในและภายนอกคณะที่จัดทำขึ้นนั้นสามารถสนับสนุนการบริหารจัดการงานวิจัยของมหาวิทยาลัยอย่างมีประสิทธิภาพ

(หมายเลขเอกสาร EDU 2.1-2-1, EDU 2.1-2-2, EDU 2.1-2-3, EDU 2.1-2-4, EDU 2.1-2-5, EDU 2.1-2-6, EDU 2.1-2-7 และ EDU 2.1-2-8)

3. คณะมีการพัฒนาศักยภาพของคณาจารย์ บุคลากร และนักศึกษาให้มีความสามารถในการสร้างผลงานวิจัยงานสร้างสรรค์และนวัตกรรม อยู่บนพื้นฐานจรรยาบรรณนักวิจัย รวมทั้งสนับสนุนและส่งเสริมการจัดหาแหล่งทุนวิจัย การจัดสรรงบประมาณ และทรัพยากร ตลอดจนบูรณาการทรัพยากรเพื่อทำให้งานวิจัยบรรลุเป้าหมายตามความได้เปรียบเชิงเปรียบเทียบในด้านทรัพยากรและในเชิงพื้นที่

คณะครุศาสตร์มีการสนับสนุนการพัฒนาศักยภาพคณาจารย์ บุคลากร และนักศึกษาให้มีความสามารถในการสร้างผลงานวิจัยงานสร้างสรรค์และนวัตกรรม อยู่บนพื้นฐานจรรยาบรรณนักวิจัย โดยการจัดส่งบุคลากรในคณะครุศาสตร์เข้ารับการอบรมโครงการ ฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการหลักสูตร “การเขียนข้อเสนอโครงการวิจัยสอดคล้องกับการวิจัยและนวัตกรรมในมิติใหม่” รุ่นที่ 2 ครั้งที่ 1 ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2564 เมื่อวันที่ 19-21 กุมภาพันธ์ 2564 โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาศักยภาพทักษะและความเชี่ยวชาญแก่อาจารย์รุ่นใหม่ของมหาวิทยาลัยราชภัฏ และสอดคล้องกับการขับเคลื่อนการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น ระยะ 20 ปี (พ.ศ.2561-2580) เพื่อให้มหาวิทยาลัยราชภัฏเป็นมหาวิทยาลัยเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น อีกทั้งยังนำความรู้ที่ได้รับมาพัฒนาและให้ความรู้กับนักศึกษาในการกำหนดหัวข้อโครงการวิจัยให้สอดคล้องการวิจัยและนวัตกรรมในมิติใหม่ต่อไป และเมื่อวันที่ 7-8 พฤศจิกายน 2563 คณาจารย์ บุคลากร และนักศึกษา ได้เดินทางไปร่วมประชุมวิชาการและเสนอผลงานวิจัยระดับชาติและระดับนานาชาติ ครั้งที่ 8 วิทยาลัยบัณฑิตเอเชียและงานบริหารการศึกษาอีสานสัมพันธ์ ครั้งที่ 12 ณ วิทยาลัยบัณฑิตเอเชีย จังหวัดขอนแก่น ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในหมู่นักวิจัย ผลงานวิจัยที่มีคุณภาพได้รับการสนับสนุนให้ตีพิมพ์เผยแพร่ในรูปแบบเอกสารวิชาการอันเป็นที่ยอมรับในวงการวิชาการ

รวมทั้งสนับสนุนและส่งเสริมการจัดหาแหล่งทุนวิจัยปีงบประมาณ 2564 จากทุนสนับสนุนการวิจัย โครงการยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์เพื่อการพัฒนาท้องถิ่น ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2564 สถาบันวิจัยและพัฒนา จำนวน 1 โครงการ เป็นจำนวนเงินทั้งสิ้น 400,500 บาท การจัดสรรงบประมาณโดยจัดสรรงบประมาณเพื่อเป็นทุนวิจัยงบแผ่นดินของคณะครุศาสตร์ จำนวน 13 โครงการ เป็นจำนวนเงินทั้งสิ้น 200,000 บาท งบประมาณสนับสนุนการวิจัยจากสถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (องค์การมหาชน) จำนวน 1 โครงการ จำนวนเงิน 240,500 บาท งบประมาณสนับสนุนสำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ จำนวน 1 โครงการ จำนวนเงิน 700,000 บาท

(หมายเลขเอกสาร EDU 2.1-3-1, EDU 2.1-3-2, EDU 2.1-3-3, EDU 2.1-3-4, EDU 2.1-3-5, EDU 2.1-3-6, EDU 2.1-3-7, EDU 2.1-3-8, EDU 2.1-3-9, EDU, 2.1-3-10 และ EDU 2.1-3-11)


4. คณะมีการส่งเสริมการบูรณาการการวิจัยกับการเรียนการสอน เพื่อเสริมสร้างสมรรถนะการวิจัยแก่ผู้เรียนที่นำไปสู่การร่วมสร้างสรรค์งานวิจัยและนวัตกรรม ให้กับสังคม ชุมชน ท้องถิ่น

คณะมีการส่งเสริมการบูรณาการการวิจัยกับการเรียนการสอน เพื่อเสริมสร้างสมรรถนะการวิจัย แก่ผู้เรียนที่นำไปสู่การร่วมสร้างสรรค์งานวิจัยและนวัตกรรม ให้กับสังคม ชุมชน ท้องถิ่นดังนี้

4.1 มีการบูรณาการจัดการเรียนการสอนกับงานวิจัย เรื่อง การพัฒนาการเรียนรู้รายวิชาการสอนศาสนาและวัฒนธรรมในระดับประถมศึกษา โดยใช้การวิจัยเป็นฐานสำหรับนักศึกษาสาขาการประถมศึกษา ซึ่งได้รับทุนสนับสนุนการวิจัยจากกองทุนสนับสนุนการวิจัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2563 โดยมีการบูรณาการการวิจัยและนวัตกรรมกับการเรียนการสอนใน มคอ.3 รายวิชาการสอนศาสนาและวัฒนธรรมในระดับประถมศึกษา รหัสวิชา 1081402 หลักสูตรและประเภทรายวิชา : หลักสูตร ครุศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการประถมศึกษาในหมวดที่ 4 การพัฒนาผลการเรียนรู้ของนักศึกษาใน 2 ด้าน ดังนี้

1. ด้านความรู้ โดยเน้นให้นักศึกษาได้ศึกษางานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการจัดการเรียนรู้ในสาระศาสนาและวัฒนธรรม ในระดับประถมศึกษาเพื่อนำไปใช้เป็นแนวทางในการออกแบบและจัดกิจกรรมการเรียนรู้ในสาระศาสนาและวัฒนธรรมในระดับประถมศึกษา

2. ด้านทักษะการจัดการเรียนรู้ โดยเน้นให้นักศึกษาได้นำเอาแผนการจัดการเรียนรู้ ที่ออกแบบและพัฒนาขึ้นไปทดลองใช้ในชั้นเรียนประถมศึกษา แล้วนำผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้มาการจัดทำรายงานเชิงวิจัยฉบับจิ๋ว (Baby Research)

4.2 มีการบูรณาการจัดการเรียนการสอนกับงานวิจัย เรื่อง การจัดประสบการณ์เกมการศึกษาแบบมีส่วนร่วม เพื่อส่งเสริมทักษะการแก้ปัญหาของเด็กปฐมวัยในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดสุรินทร์ ซึ่งได้รับทุนสนับสนุนการวิจัยจากกองทุนสนับสนุนการวิจัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 โดยมีการบูรณาการการวิจัยและนวัตกรรม กับการเรียนการสอนใน มคอ.3 รายวิชาสื่อและการเล่นสำหรับเด็กปฐมวัย รหัสวิชา EECE621107 ผู้วิจัยได้นำกระบวนวิจัยมาบูรณาการ ดังนี้

1. การจัดทำเกมการศึกษาทางด้านคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย โดยการนำสู่ห้องเรียน โดยจัดกระบวนการเรียนรู้แบบ Active Learning โดยให้นักศึกษานั้นได้ออกแบบและจัดทำสื่ออย่างง่ายจากวัสดุธรรมชาติออกมาเป็นเกมการศึกษาสำหรับเด็กปฐมวัยตามช่วงอายุวัยที่เหมาะสมโดยนักศึกษานั้นจะได้ออกแบบและจัดทำสื่อภายในห้องเรียนและนำเสนองานเพื่อแลกเปลี่ยนความรู้และแลกเปลี่ยนกระบวนการการทำงานภายในห้องเรียนร่วมกัน และประเมินผลการเรียนรู้ประโยชน์ที่ได้รับร่วมกัน

2. จัดทำเกมการศึกษาประกอบการพัฒนาความพร้อมทางด้านร่างกายสำหรับเด็กปฐมวัย โดยเน้นกระบวนการออกแบบสื่อ จัดทำสื่อที่ส่งเสริมและนำไปสู่ทักษะการแก้ปัญหาสำหรับเด็กปฐมวัย ทั้งนี้ นักศึกษาจะได้ออกแบบและจัดทำสื่อนำเสนอสื่อภายในห้องเรียนเพื่อแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ในการผลิตสื่อ และการนำสื่อไปใช้โดยมีการทดลองใช้กับเพื่อนในห้องเรียนและสรุปผลประเมินผลร่วมกันจาการนำเสนอในห้องเรียน

3. นำกระบวนการสอนแบบ Active Learning โดยผู้วิจัยแนะนำสื่อประกอบการเรียนรู้สำหรับจัดกิจกรรมเพื่อพัฒนาทักษะทางอารมณ์และจิตใจสำหรับเด็กปฐมวัย ทั้งนี้ ในการจัดกิจกรรมนั้นนักศึกษาจะได้คิดกระบวนการการจัดกิจกรรมประกอบสื่อที่มีอยู่แล้วโดยมีการวิเคราะห์ วางแผน และออกแบบ และนำเสนอในชั้นเรียน โดยนักศึกษาจัดกิจกรรมให้กับเพื่อนในห้องเรียนและร่วมกันวิเคราะห์สรุปและประเมินผลร่วมกัน

4. การประเมินคุณภาพของสื่อโดยการสร้างหลักเกณฑ์และฝึกให้นักศึกษานั้นสามารถวิเคราะห์สื่อหาจุดเด่นของสื่อและการใช้อย่างเหมาะสมสำหรับเด็กปฐมวัย ทั้งนี้ นักศึกษาจะได้ทำการวิเคราะห์จากสื่อตัวอย่างและจากสื่อที่นักศึกษาได้ผลิตขึ้นมานั้น โดยมีเกณฑ์การประเมินจากนักศึกษาเองที่ออกแบบ นักศึกษาจะวิเคราะห์และแลกเปลี่ยนองค์ความรู้และความเข้าใจในการผลิตสื่อรวมกันในห้องเรียน อีกทั้งนักศึกษาจะได้ออกแบบผลิตชุดสื่อร่วมกันในห้องเรียน อีกทั้งนักศึกษาจะได้ออกแบบผลิตชุดสื่อกิจกรรมที่ส่งเสริมพัฒนาการเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัยในมุมบทบาทสมมุติ

5. จัดอบรมเพื่อพัฒนานักศึกษาสาขาวิชาการศึกษาปฐมวัยในเรื่องการให้ความรู้ผู้ปกครอง ในการจัดกิจกรรมโดยใช้สื่อสำหรับเด็กปฐมวัยเพื่อพัฒนาทักษะการแก้ปัญหาสำหรับเด็กปฐมวัย อีกทั้งผู้วิจัยได้ให้ความรู้แก่ผู้ปกครองที่อยู่ในกลุ่มของการทดลองในการวิจัย เพื่อให้ผู้ปกครองมีความเข้าใจและสามารถใช้สื่อเกมการศึกษาแบบมีส่วนร่วมสำหรับเด็กปฐมวัยและมีความเข้าใจในกระบวนการการจัดประสบการณ์ เกมการศึกษาแบบมีส่วนร่วมสำหรับเด็กปฐมวัยเมื่ออยู่ที่บ้านได้อย่างเหมาะสม

4.3 มีการบูรณาการจัดการเรียนการสอนกับงานวิจัย เรื่อง การวิเคราะห์และพัฒนาสมรรถภาพ ที่จำเป็นในการวัดและประเมินผลการเรียนรู้สำหรับนักศึกษาครุศาสตรบัณฑิตโดยประยุกต์ใช้แนวคิด การประเมินผลการเรียนรู้สำหรับนักศึกษาครุศาสตรบัณฑิตโดยประยุกต์ใช้แนวคิดการประเมินแบบเสริมพลังอำนาจและเทคนิคการชี้แนะในเชิงการคิดผสมผสานเทคนิคการให้ข้อมูลสะท้อนกลับที่เน้นการพัฒนา ซึ่งมีลักษณะการนำมาบูรณาการการวิจัยกับการเรียนการสอนในรายวิชา EEDU621401 รายวิชา การวัดและประเมินผลการเรียนรู้ ดังนี้

1. นำกระบวนการวิจัย บูรณาการเข้ากับรายวิชาที่สอน โดยนักศึกษาเป็นกลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัย เป็นการประยุกต์ใช้แนวคิดการประเมินแบบเสริมพลังอำนาจ การให้ข้อมูลสะท้อนกลับ เพื่อมุ่งให้ผู้เรียนที่เรียนรู้ในรายวิชาการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ ได้รับการพัฒนาตามวัตถุประสงค์

2. ใช้ผลการวิจัยในประเด็นสมรรถภาพที่จำเป็นในการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ในการวางแผน ออกแบบกิจกรรม การเรียนรู้ สื่อนวัตกรรมที่เหมาะสมกับสมรรถภาพที่เป็นจุดเน้น ในรายวิชาการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ในภาคการศึกษา ซึ่งผู้วิจัย เป็นผู้สอนในรายวิชาดังกล่าว และอาจารย์ท่านอื่นในสาขาเดียวกันได้นำไปใช้ประกอบการเรียนรู้เช่นเดียวกัน

3. นำสื่อ ผลผลิตที่เกิดขึ้นจากการวิจัยมาใช้พัฒนาผู้เรียนหรือในกระบวนการจัดการเรียนรู้ในรายวิชาการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ เช่น เนื้อหาด้านการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ แบบทดสอบย่อยประจำบทในทุกบท แบบทดสอบแบบสรุปรวม เป็นต้น

(หมายเลขเอกสาร EDU 2.1-4-1, EDU 2.1-4-2, EDU 2.1-4-3 และ EDU 2.1-4-4)

5. คณะมีการสร้างเครือข่ายความร่วมมือด้านการวิจัย งานสร้างสรรค์และนวัตกรรมทางเทคโนโลยีหรือนวัตกรรมทางสังคม กับสถาบันอุดมศึกษาอื่น ๆ ตลอดจนองค์กรภาครัฐและภาคเอกชน ทั้งในหรือต่างประเทศที่ก่อให้เกิดผลงานวิจัย งานสร้างสรรค์และนวัตกรรม

คณะครุศาสตร์มีการลงนามความร่วมมือ (MOU) เพื่อเป็นการสร้างเครือข่ายความร่วมมือด้านการวิจัยงานสร้างสรรค์และนวัตกรรมทางเทคโนโลยีหรือนวัตกรรมทางสังคมกับสถาบันอุดมศึกษาอื่น ๆ ตลอดจนองค์กรภาครัฐและภาคเอกชนทั้งในหรือต่างประเทศที่ก่อให้เกิดผลงานวิจัย งานสร้างสรรค์และนวัตกรรม อีกทั้งสนับสนุนบุคลากรในการนำเสนอผลงานวิจัยหรือนวัตกรรมของคณะครุศาสตร์ ที่เกี่ยวกับการสร้างความร่วมมือด้านการวิจัยกับภาครัฐและเอกชนในประเทศและต่างประเทศดังนี้

5.1 อาจารย์สุพัตรา คำสุข ได้นำเสนอผลงานวิจัยในระดับระดับชาติ เรื่อง การศึกษาสำรวจความต้องการที่จะได้รับการพัฒนาทักษะการจัดการเรียนรู้ที่จำเป็นสำหรับครูในการเรียนรายวิชาการจัดการเรียนรู้และการจัดการชั้นเรียน : กรณีศึกษานักศึกษาหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ ในการประชุมวิชาการและเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ ครั้งที่ 3 “วิจัยและนวัตกรรมเชิงสร้างสรรค์สู่ชุมชนเมืองน่าอยู่อย่างยั่งยืน” ในวันที่ 12 กรกฎาคม 2563 ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ

5.2 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.บุญเลี้ยง ทุมทอง อาจารย์สุภนิช เครือแก้ว และอาจารย์สุพัตรา คำสุข ได้นำเสนอบทความประเภทบรรยาย เรื่อง การพัฒนากิจกรรมการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญต่อการส่งเสริมศักยภาพการเป็นผู้เรียนรู้ตลอดชีวิตกับการพัฒนาสังคมแห่งการเรียนรู้สำหรับนักศึกษาครูมหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ ในการประชุมนำเสนอผลงานวิจัยบัณฑิตศึกษา ระดับชาติ ครั้งที่ 13 ในวันที่ 31 ตุลาคม 2563 ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี

5.3 อาจารย์จักรพงษ์ วารี และนางสาวภาวิดา นิยมทอง ได้นำเสนอบทความวิจัย เรื่อง การศึกษาพฤติกรรมการใช้แอปพลิเคชันและรูปแบบการสร้างแอปพลิเคชัน ทางการศึกษาที่เหมาะสมต่อการสร้างองค์ความรู้ด้านการท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น ในการประชุมวิชาการระดับชาติ การจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรม ครั้งที่ 6 ในวันที่ 12 มีนาคม 2564 ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม

(หมายเลขเอกสาร EDU 2.1-5-1, EDU 2.1-5-2, EDU 2.1-5-3 และ EDU 2.1-5-4)

6. คณะมีการประเมินผลกระทบของผลงานวิจัย งานสร้างสรรค์และนวัตกรรมที่มีต่อการพัฒนาผู้เรียน การสร้างคุณภาพชีวิต การสร้างโอกาสตลอดจนการสร้างมูลค่าเพิ่ม และรายงานผลการดำเนินงานด้านงานวิจัยต่อคณะกรรมการประจำคณะ อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง

ตามที่ในรอบปีการประเมินคุณภาพการศึกษาภายในคณะครุศาสตร์ที่ผ่านมานั้น คณะครุศาสตร์ ได้พัฒนาผลงานการวิจัยทั้งด้านสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และสาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ โดยการนำเสนอและตีพิมพ์ในวารสารต่างๆ ทั้งนี้ คณะครุศาสตร์มีการเก็บรวบรวมข้อมูลผลกระทบของผลงานวิจัย พร้อมดำเนินการประเมินผลกระทบของผลงานวิจัย งานสร้างสรรค์และนวัตกรรมที่มีต่อการพัฒนาผู้เรียน การสร้างคุณภาพชีวิต การสร้างโอกาสตลอดจนการสร้างมูลค่าเพิ่ม โดยการสัมภาษณ์ผู้ทำวิจัยโดยตรงและจากรายงานผลการวิจัย พร้อมทั้งได้นำเสนอรายงานผลการดำเนินงานด้านงานวิจัยต่อคณะกรรมการประจำคณะครุศาสตร์ เมื่อวันศุกร์ที่ 11 มิถุนายน 2564 ทั้งนี้ เนื่องจากเกิดสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) หรือ โควิด-19 ในไทย ระลอกที่ 3 ทำให้รัฐบาลกำหนดมาตรการควบคุมโรคดังกล่าวหลายประการ ส่งผลให้คณะครุศาสตร์ไม่สามารถดำเนินการประชุมคณะกรรมการประจำคณะได้ทำให้ไม่สามารถนำเสนอรายงานผลการดำเนินงานด้านงานวิจัยต่อคณะกรรมการประจำคณะได้ ซึ่งขณะนี้สถานการณ์ได้ทุเลาลง คณะจึงได้จัดการประชุมคณะกรรมการประจำคณะขึ้นในวันดังกล่าว

(หมายเลขเอกสาร EDU 2.1-6-1, EDU 2.1-6.2)

7. มีการทบทวนผลการดำเนินงานและข้อเสนอแนะของคณะกรรมการประจำคณะไปปรับปรุงนโยบายและทิศทางการวิจัย งานสร้างสรรค์และนวัตกรรม

คณะครุศาสตร์มีการทบทวนและติดตามผลการดำเนินงานการวิจัยประจำปี 2564 โดยนำเสนอในที่ประชุมคณะกรรมการประจำคณะเมื่อวันศุกร์ที่ 11 มิถุนายน 2564 ณ ห้องประชุมช้างแดง ชั้น 3 อาคาร 41 คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ เพื่อนำไปปรับปรุงนโยบายและทิศทางการวิจัย งานสร้างสรรค์และนวัตกรรมต่อไป

(หมายเลขเอกสาร EDU 2.1-7-1, EDU 2.1-7-2)

รายการเอกสารหลักฐาน