ตัวบ่งชี้ 3.1 ระบบและกลไกการบริการวิชาการ ปี2565

มาตรฐานที่ 3 ด้านการบริการวิชาการ

ผลลัพธ์ด้านการบริการวิชาการคณะครุศาสตร์ได้เห็นความจำเป็นและสำคัญในการดำเนินภารกิจด้านการบริการวิชาการเพื่อตอบสนองยุทธศาสตร์การพัฒนาคณะและสอดคล้องกับมาตรฐานการศึกษา  สามารถรองรับการประเมินคุณภาพการศึกษาได้อย่างมีประสิทธิภาพและมีประสิทธิผลโดยในช่วงปี พ.ศ. 2560-2565 คณะครุศาสตร์ ได้กำหนดยุทธศาสตร์การพัฒนาคณะ โดยได้กำหนดไว้ในพันธกิจ          ข้อที่ 3 คือ บริการวิชาการแก่ชุมชนและท้องถิ่น  โดยมีเป้าประสงค์ ในข้อ 5 คือ ให้บริการวิชาการแก่สังคม  เพื่อการพัฒนาท้องถิ่นอย่างยั่งยืน ซึ่งสอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์คณะฯ ข้อที่ 5 คือ             ส่งเสริมการบริการวิชาการแก่ชุมชนและท้องถิ่น ซึ่งมีกลยุทธ์หลัก คือ พัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของคณะครุศาสตร์ให้เป็นศูนย์กลางเพื่อพัฒนาท้องถิ่น

คณะครุศาสตร์ จึงได้จัดตั้งงบประมาณส่งเสริมการบริการวิชาการแก่ชุมชนและท้องถิ่น เพื่อให้คณาจารย์ได้จัดทำโครงการบริการวิชาการแก่ชุมชนเป้าหมายที่คณะได้ศึกษาสำรวจความต้องการและ/ชุมชนที่ผู้เสนอโครงการเห็นสมควรจะให้บริการทางวิชาการ โดยในปีงบประมาณ 2565 นั้นซึ่งมีแนวทางและแผนการดำเนินงานภายใต้ยุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยเพื่อพัฒนาท้องถิ่น ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2565 ทั้งสิ้นจำนวน 14 โครงการ การบริการวิชาการดังกล่าวนอกจากจะช่วยแก้ไขปัญหาตามความต้องการของท้องถิ่นได้องค์ความรู้ใหม่จากชุมชนแล้ว ยังจะสามารถพัฒนาข้อมูลทางวิชาการเพื่อบริการวิชาการ แก่ท้องถิ่น และพัฒนาศักยภาพของบุคลากรตามความต้องการของท้องถิ่น อีกทั้งสร้าง  และพัฒนาเครือข่ายทางวิชาการได้อีกด้วย


ผลการดำเนินงานและผลการประเมินตนเอง

ผลการดำเนินงานและผลการประเมินตนเอง 

1.คณะมีการกำหนดนโยบายและทิศทางการบริการวิชาการเพื่อนำไปสู่การจัดทำแผนบริการวิชาการเพื่อให้เกิดประโยชน์กับสังคม ชุมชน ท้องถิ่น และประเทศ ตามจุดเน้นและอัตลักษณ์ของมหาวิทยาลัยและตามความได้เปรียบเชิงทรัพยากรและเชิงพื้นที่โดยการมีส่วนร่วมของสังคมชุมชน หรือท้องถิ่น 


คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ มีการกำหนดนโยบายและทิศทางการบริการวิชาการตามจุดเน้นและอัตลักษณ์ของมหาวิทยาลัยเพื่อให้เกิดประโยชน์กับสังคมชุมชนท้องถิ่นและประเทศและให้สอดคล้องกับมาตรฐานการศึกษาโดยได้กำหนดไว้ในพันธกิจข้อที่ ๓ คือบริการวิชาการ  แก่ชุมชนและท้องถิ่น โดยมีเป้าประสงค์ในข้อ ๕ คือ ให้บริการวิชาการแก่สังคมเพื่อพัฒนาท้องถิ่นอย่างยั่งยืน ซึ่งสอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์คณะฯ ข้อที่ ๕ คือ ส่งเสริมการบริการวิชาการแก่ชุมชนและท้องถิ่น ซึ่งมีกลยุทธ์หลัก คือ พัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของคณะครุศาสตร์ให้เป็นศูนย์กลางเพื่อพัฒนาท้องถิ่น

(หมายเลขเอกสาร EDU3.1-1-1

2. คณะมีระบบและกลไกการ การกำกับดูแลกระบวนการให้บริการวิชาการที่มีความโปร่งใส และตรวจสอบได้โดยมุ่งเน้นผลลัพธ์ที่ตอบสนองและสร้างประโยชน์แก่สังคม ชุมชน ท้องถิ่น ตามความเชี่ยวชาญและอัตลักษณ์ของมหาวิทยาลัย                   

คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ ได้ดำเนินการตามพันธกิจด้านการให้บริการทางวิชาการแก่สังคมที่เหมาะสมและสอดคล้องกับบริบทและความต้องการของท้องถิ่นโดยมุ่งเน้นผลลัพธ์ที่ตอบสนองและสร้างประโยชน์แก่สังคม ชุมชน ท้องถิ่น ตามความเชี่ยวชาญและอัตลักษณ์ของมหาวิทยาลัยโดยกำหนดหลักเกณฑ์และขั้นตอนการบริการวิชาการอย่างเป็นระบบและมีการจัดโครงสร้างภายในสภาบันเพื่อเป็นกลไกในการขับเคลื่อนระบบโดยมีการเชื่อมโยงกับการจัดการเรียนการสอนและการวิจัย และสามารถบูรณาการงานบริการวิชการแก่สังคม

(หมายเลขเอกสาร EDU3.1-1-2

3. คณะมีการประสานความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัย องค์กรภาครัฐและภาคเอกชน ภายในประเทศหรือต่างประเทศ เพื่อส่งผลให้เกิดประโยชน์ต่อสังคมและความเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้นทางด้านใดด้านหนึ่งหรือหลายด้านเกี่ยวกับสังคม ชุมชน ท้องถิ่น วิถีชีวิต ศิลปวัฒนธรรม สิ่งแวดล้อม อาชีพ เศรษฐกิจ การศึกษา การเมืองการปกครอง คุณภาพชีวิตหรือสุขภาพที่ดี

คณะครุศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏสุริทร์ ได้มีการกำหนดขั้นตอนการดำเนินโครงการบริการวิชาการไว้อย่างชัดเจน โดยมีการสำรวจความต้องการของสังคม ชุมชน ท้องถิ่น วิถีชีวิต ศิลปวัฒนธรรม สิ่งแวดล้อมอาชีพ เศรษฐกิจ องค์กรภาครัฐทั้งภาคเอกชน หน่วยงานทั้งภายในประเทศหรือต่างประเทศ คณะครุศาสตร์ จึงได้กำหนดจัดทำปฏิทิน/แผนบริการวิชาการแก่สังคม มีการวิเคราะห์บริบทพื้นที่ และศึกษาความต้องการของชุมชนในการจัดทำเป็นฐานข้อมูลแลกเปลี่ยนระหว่างคณะซึ่งก่อให้เกิดประโยชน์และลดความซ้ำซ้อนในการดำเนินกิจกรรมและการลงพื้นที่ พร้อมทั้งได้มีการกำกับติดตามประเมินผล โครงการฯ เพื่อให้เกิดความคุ้มค่าในการดำเนินงานและบรรลุวัตถุประสงค์ของโครงการ

(หมายเลขเอกสาร EDU3.1-1-3

4. สังคม ชุมชน หรือท้องถิ่นเป้าหมายของการบริการวิชาการเกิดการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้นหรือสร้างคุณค่าความเข้มแข็งอย่างยั่งยืนของผู้เรียนสังคมชุมชน และท้องถิ่น คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ ได้มีการสำรวจความต้องการตามบริบทพื้นที่ของชุมชม   โดยมีการประสานความร่วมมือกันระหว่างชุมชน หน่วยงานภาครัฐและเอกชนในพื้นที่ โดยมีเป้าหมายเพื่อให้ชุมชน เกิดการพัฒนาทางทั้งด้านการศึกษา ทักษะชีวิตและสัมมาชีพ โดยนำภูมิปัญญาท้องถิ่นผ่านการถ่ายองค์ความรู้และส่งเสริมความเข้มแข็งให้กับชุมชนจากครูภูมิปัญญาโดยให้ชุมชมนำองค์ความรู้สู่การสร้างรายได้ในระหว่างเรียนและสร้างอาชีพในอนาคต 

(หมายเลขเอกสาร EDU3.1-1-4

5. คณะมีการส่งเสริมการบริหารหรือการจัดทำหลักสูตรที่บูรณาการการเรียนการสอน การวิจัย และการบริการวิชาการเพื่อให้ผู้เรียนมีประสบการณ์ในการเรียนรู้ที่ตอบสนองความต้องการของสังคม และเรียนรู้เพื่อรับใช้สังคมรวมทั้งการส่งเสริมการเผยแพร่การบริการวิชาการในรูปแบบต่างๆคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ มีการกำหนดทิศทางและเป้าหมาย โดยให้สาขาวิชามีส่วนร่วมในการส่งเสริมการบริหารหรือการจัดทำหลักสูตรที่บูรณาการการเรียนการสอน การวิจัย และการบริการวิชาการเพื่อให้ผู้เรียนมีประสบการณ์ในการเรียนรู้ที่ตอบสนองความต้องการของสังคมและเรียนรู้เพื่อรับใช้สังคมรวมทั้งการส่งเสริมการเผยแพร่การบริการวิชาการในรูปแบบต่าง ๆ


คณะครุศาสตร์มีการดำเนินโครงการฯติดตามและตรวจสอบการดำเนินงานสรุปโครงการยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏ เพื่อพัฒนาท้องถิ่นฯ ประจำประงบประมาณ ๒๕๖๕ คณะครุศาสตร์ แต่ละสาขาวิชา    และแต่ละกลุ่มวิชา ดำเนินการจัดทำโครงการฯ และส่งมายังคณะครุศาสตร์ ตามงบประมาณที่ได้รับการจัดสรร และเป็นไปตามแบบฟอร์มที่กำหนด จำนวน 14 โครงการ คณะครุศาสตร์ ได้ดำเนินการตรวจสอบรายละเอียดความถูกต้องของโครงการและได้จัดส่งโครงการไปยังอธิการบดี เพื่อขออนุมัติเป็นที่เรียบร้อยแล้วสาขาวิชาปฐมวัย คณะครุศาสตร์ มีการดำเนินโครงการฯ  พัฒนาครูโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนโรงเรียนกองทุนผู้ใหญ่ใจดีนักศึกษาสาขาปฐมวัย และบุคลากรทางการศึกษา ตามแนวโครงการพระราชดำริประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2565 เพื่อพัฒนาครูโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน โรงเรียนและโรงเรียนผู้ใหญ่ใจดี ครูศูนย์เด็กเล็ก และนักศึกษาสาขาวิชา การศึกษาปฐมวัย ได้รับการอบรมในด้านต่างๆ ทั้งการจัดการเรียนการสอน การพัฒนาคุณภาพชีวิตของนักเรียน และบุคลากรในชุมชนต่างๆและครุศาสตร์ จัดโครงการพัฒนาคุณภาพการศึกษาและการพัฒนาท้องถิ่นโดยมีสถาบันอุดมศึกษาเป็นพี่เลี้ยงเครือข่ายอุดมศึกษาภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่างประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2565 เพื่อให้โรงเรียนเครือข่ายมหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ได้ทำหน้าที่เป็นพี่เลี้ยงในการพัฒนาการอ่านการเขียนให้กับโรงเรียนกลุ่มเป้าหมายในเขตจังหวัดสุรินทร์  โรงเรียนกลุ่มเป้าหมาย เข้าร่วมโครงการ จำนวน 17 โรงเรียน เพื่อตอบสนองความต้องการของสังคม และเรียนรู้เพื่อรับใช้สังคม รวมทั้งการส่งเสริมการเผยแพร่การบริการวิชาการในรูปแบบต่าง ๆ

(หมายเลขเอกสาร EDU3.1-1-5

6. คณะมีการประเมินความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ของแผนการบริการวิชาการ รวมทั้งประเมินผลกระทบของการบริการวิชาการและรายงานผลการดำเนินงานด้านการบริการวิชาการต่อคณะกรรมการประจำคณะ อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง    

คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ ได้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการบริหารคณะ ในการประเมินผลรายงานสรุปโครงการบริการวิชาการเพื่อเป็นไปตามความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ของแผนการบริการวิชาการรวมทั้งประเมินผลกระทบของการบริการวิชาการ และนำผลการดำเนินงานและข้อเสนอแนะของคณะกรรมการประจำคณะไปปรับปรุงนโยบายและทิศทางการบริการวิชาการต่อไป  

 (หมายเลขเอกสาร EDU3.1-1-6

7. นำผลการดำเนินงานและข้อเสนอแนะของคณะกรรมการประจำคณะ ไปปรับปรุงนโยบายและทิศทางการบริการวิชาการ

คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ ได้ดำเนินการจัดทำฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อให้สามารถตรวจผลดำเนินงานและนำข้อเสนอแนะของคณะกรรมการประจำคณะ เพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการของท้องถิ่นเพื่อเป็นการสร้างและพัฒนาเครือข่ายทางวิชาการให้เข้มแข็งมากยิ่งขึ้นดังเป้าประสงค์ที่ว่า คณะครุศาสตร์เป็นแหล่งบริการวิชาการ และเป็นที่พึ่งทางวิชาการแก่ท้องถิ่น 

 (หมายเลขเอกสาร EDU3.1-1-7