ตัวบ่งชี้ที่ 1.7 การส่งเสริมสมรรถนะดิจิทัลสำหรับนักศึกษา  ปีการศึกษา 2565

ลการดำเนินงานและผลการเมินตนเอง

ชนิดของตัวบ่งชี้        :  กระบวนการ

การเก็บข้อมูล           :  ปีการศึกษา

คำอธิบายตัวบ่งชี้ : การดำเนินชีวิตในศตวรรษที่ 21 นั้นพลเมืองจะต้องมีสมรรถนะดิจิทัลที่เหมาะสม ดังนั้น มหาวิทยาลัยจะต้องพัฒนาความรู้ ประสบการณ์และคุณลักษณะ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้เรียนสามารถปรับตัวให้เท่าทันกับการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี มีสมรรถนะดิจิทัลที่เหมาะสมในการปฏิบัติงานตามบทบาทและพฤติกรรมที่คาดหวังในบริบทของการปรับเปลี่ยนเป็นสังคมเศรษฐกิจดิจิทัลและสามารถใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อการเรียนรู้และสร้างสรรค์นวัตกรรม


เกณฑ์มาตรฐาน :

1. คณะมีการกำหนดนโยบายและเป้าหมายการยกระดับพัฒนาสมรรถนะด้านดิจิทัลสำหรับนักศึกษา เพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาสมรรถนะด้านดิจิทัลสำหรับนักศึกษารองรับดิจิทัลเศรษฐกิจและสังคม
2. คณะจัดทำแผนยกระดับพัฒนาสมรรถนะด้านดิจิทัลสำหรับนักศึกษาให้เป็นไปตามนโยบายโดยมีการกำหนดวัตถุประสงค์ เป้าหมายและมีตัวชี้วัดผลสัมฤทธิ์ตามเป้าหมายที่กำหนด จากกระบวนการ การมีส่วนร่วมของทุกหลักสูตร
3. คณะมีการกำกับติดตามให้มีการดำเนินงาน ให้เป็นไปตามแผนยกระดับพัฒนาสมรรถนะด้านดิจิทัล สำหรับนักศึกษา
4. คณะมีการประเมินความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ของแผนยกระดับพัฒนาสมรรถนะด้านดิจิทัลสำหรับนักศึกษาและมีการรายงานผลการดำเนินการการยกระดับพัฒนาสมรรถนะด้านดิจิทัลต่อ คณะกรรมการประจำคณะ และมีการนำผลความสำเร็จและข้อเสนอแนะมาปรับปรุงแผนการดำเนินงานหรือกิจกรรมในปีถัดไป
5. ทุกหลักสูตรมีการประเมินสมรรถนะดิจิทัลสำหรับคุณวุฒิระดับปริญญาตรี โดยนักศึกษาชั้นปีสุดท้ายมีผลการประเมินสมรรถนะดิจิทัลสำหรับคุณวุฒิระดับปริญญาตรี ผ่านระดับที่จำเป็น ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80


ผลการดำเนินงานและผลการประเมินตนเอง

ผลการดำเนินงาน

       ในปีการศึกษา 2565 คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์มีผลการดำเนินงานด้านการส่งเสริมสมรรถนะดิจิทัลสำหรับนักศึกษา ครบ 5 ข้อ ดังนี้

1. คณะมีการกำหนดนโยบายและเป้าหมายการยกระดับพัฒนาสมรรถนะด้านดิจิทัลสำหรับนักศึกษา เพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาสมรรถนะด้านดิจิทัลสำหรับนักศึกษารองรับดิจิทัลเศรษฐกิจและสังคม

       คณะครุศาสตร์ได้มีระบบกลไกในการดำเนินการจัดทำกำหนดแผนการส่งเสริมสมรรถนะดิจิทัลสำหรับอาจารย์และนักศึกษาคณะครุศาสตร์ โดยปฏิบัติตามอ้างอิงจากแผนยกระดับสมรรถนะดิจิทัล มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ ระยะ 5 ปี พ.ศ. 2565-2569    (หมายเลขเอกสาร EDU 1.7-1)  

2. คณะจัดทำแผนยกระดับพัฒนาสมรรถนะด้านดิจิทัลสำหรับนักศึกษาให้เป็นไปตามนโยบายโดยมีการกำหนดวัตถุประสงค์ เป้าหมายและมีตัวชี้วัดผลสัมฤทธิ์ตามเป้าหมายที่กำหนด จากกระบวนการ การมีส่วนร่วมของทุกหลักสูตร

       คณะครุศาสตร์ได้มีระบบและกลไกในการดำเนินการจัดทำแผนการส่งเสริมสมรรถนะดิจิทัลสำหรับอาจารย์และนักศึกษาคณะครุศาสตร์  โดยมีการกำหนดกลยุทธ์ ตัวชี้วัดผลสัมฤทธิ์ตามเป้าหมายที่กำหนด จากกระบวนการและการมีส่วนร่วมจาก 5 สาขาวิชาในการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ e-learning และการสอบสมรรถนะด้านดิจิทัลสำหรับนักศึกษาจัดการสอบโดยสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ   (หมายเลขเอกสาร EDU 1.7-2)         

 

3. คณะมีการกำกับติดตามให้มีการดำเนินงาน ให้เป็นไปตามแผนยกระดับพัฒนาสมรรถนะด้านดิจิทัล สำหรับนักศึกษา

       คณะครุศาสตร์ได้มีระบบและกลไกในการกำกับติดตามการดำเนินงานจัดโครงการอบรมในที่มีรูปแบบออนไลน์ทั้ง 5 หลักสูตรของคณะครุศาสตร์และการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ในรูปแบบออนไลน์ผ่านระบบ e-learning โดยมีการจัดโครงการในรูปแบบออนไลน์ โดยให้เป็นไปตามแผนยกระดับพัฒนาสมรรถนะด้านดิจิทัลสำหรับนักศึกษา    (หมายเลขเอกสาร EDU1.7-3)


4. คณะมีการประเมินความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ของแผนยกระดับพัฒนาสมรรถนะด้านดิจิทัลสำหรับนักศึกษาและมีการรายงานผลการดำเนินการการยกระดับพัฒนาสมรรถนะด้านดิจิทัลต่อ คณะกรรมการประจำคณะ และมีการนำผลความสำเร็จ และข้อเสนอแนะมาปรับปรุงแผนการดำเนินงานหรือกิจกรรมในปีถัดไป

       คณะครุศาสตร์ได้มีระบบและกลไกในการประเมินความสำเร็จของแผน โดยมีสรุปนำผลการสอบสมรรถนะดิจิทัลของนักศึกษาคณะครุศาสตร์ทั้ง 5 หลักสูตร จากสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ ผ่านการประชุมคณะกรรมการประจำคณะครุศาสตร์ เพื่อกำกับและติดตามแจ้งผลนักศึกษาให้ทราบตามประกาศของสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ(หมายเลขเอกสาร     (หมายเลขเอกสาร1.7-4)


5. ทุกหลักสูตรมีการประเมินสมรรถนะดิจิทัลสำหรับคุณวุฒิระดับปริญญาตรี โดยนักศึกษาชั้นปีสุดท้ายมีผลการประเมินสมรรถนะดิจิทัลสำหรับคุณวุฒิระดับปริญญาตรี ผ่านระดับที่จำเป็น ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80

           นักศึกษาสังกัดคณะคณะครุศาสตร์ทั้ง 5 หลักสูตรมีการเข้าสอบสมรรถนะดิจิทัลสำหรับคุณวุฒิระดับปริญญาตรีและมีผลการสอบจากสำนักวิทยบริการ  ผ่านระดับที่จำเป็น ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80   (หมายเลขเอกสาร 1.7-5)              

จุดเด่น

        นักศึกษาทั้ง 5 สาขาวิชาสังกัดคณะครุศาสตร์ให้ความสำคัญกับการสอบวัดสมรรถนะดิจิทัลสำหรับนักศึกษาเป็นอย่างดีและคณะครุศาสตร์ก็ได้มีเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวกในการเตรียมความพร้อมในการจัดการเรียนการสอนหรือจัดโครงการในรูปแบบออนไลน์

 

จุดที่ควรพัฒนา

         คณะครุศาสตร์ควรมีการปรับปรุงแผนยกระดับพัฒนาสมรรถนะด้านดิจิทัลสำหรับนักศึกษาทุกๆปีเพื่อพัฒนานักศึกษาและยกระดับการเรียนการสอนคณะครุศาสตร์ทางด้านออนไลน์ให้มากขึ้น