ตัวบ่งชี้ที่ 5.1

ข้อที่ 4 บริหารงานด้วยหลักธรรมาภิบาลอย่างครบถ้วนทั้ง 10 ประการ
ที่อธิบายการดําเนินงานอย่างชัดเจน ปี2564

ผลการดำเนินงานและผลการประเมินคุณภาพการศึกษา

มาตรฐานที่ 5 การบริหารจัดการ

ตัวบ่งชี้ที่ 5.1 การบริหารของคณะเพื่อการกํากับติดตามผลลัพธ์ตามพันธกิจ กลุ่มสถาบัน และเอกลักษณ์ของคณะ

ชนิดของตัวบ่งชี้ กระบวน

เกณฑ์การประเมิน ค่าคะแนน

ข้อที่ 4 บริหารงานด้วยหลักธรรมาภิบาลอย่างครบถ้วนทั้ง 10 ประการที่อธิบายการดําเนินงานอย่างชัดเจน

1) หลักประสิทธิผล (Effectiveness) คณะครุศาสตร์จัดทำและดำเนินงานตามแผนปฏิบัติการประจำปีอย่างมีประสิทธิภาพ และสอดคล้องกับทิศทางยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัยตามแผนปฏิบัติการประจำปีเพื่อนําไปเปนแนวทางในการปฏิบัติงาน และเป็นกรอบในการจัดทําคําของบประมาณประจําปี รวมถึงการรายงานผลการปฏิบัติราชการเมื่อสิ้นปงบประมาณ
(เอกสารหมายเลข EDU5.1-4-1 แผนปฏิบัติการประจำปีคณะครุศาสตร์ ) (เชื่อมโยงกับ ตัวบ่งชี้ที่ 5.1 ข้อที่ 1 ซึ่งเกี่ยวข้องกับแผนยุทธศาสตร์ฯ/แผนปฏิบัติราชการฯ)

2) หลักประสิทธิภาพ (Efficiency) ผู้บริหารมีการบริหารจัดการทรัพยากรของคณะฯ ให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพโดยมีการบริหารจัดการทรัพยากรในแต่ละด้าน ให้เกิดประโยชน์สูงสุด และมีการรายงานผลการดำเนินงานตามระยะเวลาที่กำหนดต่อคณะกรรมการประจำคณะครุศาสตร์ และ คณะกรรมการบริหารคณะ เช่น การจัดสรรงบประมาณ การจัดทำแผนยุทธศาสตร์ของคณะ การรายงานผลการใช้จ่ายงบประมาณตามไตรมาส อีกทั้งยังสนับสนุนให้บุคลากรนำระบบเทคโนโลยีสารสนเทศของมหาวิทยาลัย ที่ได้พัฒนาเป็นระบบที่สมบูรณ์แล้ว มาใช้ในการบริหารจัดการที่เหมาะสม เช่น ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหาร (Management Information System) หรือ MIS คือระบบที่ให้สารสนเทศที่ผู้บริหารต้องการ เพื่อให้สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยจะรวมทั้ง สารสนเทศภายในและภายนอก สารสนเทศที่เกี่ยวพันกับองค์กรทั้งในอดีตและปัจจุบัน โดยมีระบบที่นำมาบริหารจัดการคือ ระบบงานบุคลากร ระบบงานทะเบียนนักศึกษา ระบบงานหลักสูตรการศึกษา ระบบฐานข้อมูลงานวิจัยและบทความ ระบบกองทุนพัฒนาบุคลากร ระบบงานสารบรรณ และยังมีการส่งเสริมและสนับสนุนให้ คณาจารย์ทุกท่าน จัดการเรียนการสอนผ่านระบบ online โดยใช้ Platform Moodle SRRU ในการบริหารจัดการ ซึ่งมีการอบรมให้ความรู้ในเรื่องดังกล่าว เพื่อตอบสนองนโยบายในช่วงที่มีการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 โดยปรับรูปแบบการเรียนการสอนจากเดิมให้เป็นไปในรูปแบบ online และยังสนับสนุนให้มีการเพิ่มห้องสำหรับจัดการเรียนการสอน ONLINE จำนวน 5 ห้อง เพื่ออำนวยความสะดวกในการสอน ONLINE ของคณาจารย์ทุกท่าน ส่งผลให้คณะครุศาสตร์เป็นต้นแบบในเรื่องของการจัดการเรียนการสอน ONLINE ที่มีความพร้อมและส่งเสริมสนับสนุนให้การดำเนินงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ นอกเหนือจากการพัฒนาประสิทธิภาพการเรียนการสอน online สำหรับสายวิชาการแล้ว คณะครุศาสตร์ยังสนับสนุนให้บุคลากรสายสนับสนุนได้แสดงศักยภาพในการทำงานเพื่อพัฒนาระบบระบบการจัดเก็บข้อมูลด้านงานประกันคุณภาพการศึกษาระดับคณะ และ ร่วมกันพัฒนาเว็ปไซต์ นำเสนอผลการประเมินการประกันคุณภาพการศึกษาระดับคณะ ทำให้การประกันคุณภาพ เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ในเรื่องของงานวิจัย คณะครุศาสตร์สนับสนุนงบประมาณให้กับคณาจารย์ทุกสาขาและทุกกลุ่มวิชา ทำผลงานวิจัย และสนับสนุนการตีพิมพ์ผลงานทางวิชาการ ตามแนวทางและคำแนะนำที่เกิดจากมติที่ประชุมคณะกรรมการในระดับคณะ เพื่อให้การดำเนินงานด้านการสนับสนุนส่งเสริมบุคลากรในการทำงานวิจัยเป็นอย่างมีประสิทธิภาพ อีกทั้งยังเล็งเห็นความสำคัญในเรื่องของการเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม จึงได้แต่งตั้งคณะกรรมการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมสีเขียวคณะครุศาสตร์ เพื่อปรับปรุงสิ่งแวดล้อมในด้านกายภาพ คณะครุศาสตร์ ให้เหมาะสมต่อการจัดการเรียนการสอนและการพัฒนานักศึกษา อีกทั้งส่งเสริมให้บุคลากรและนักศึกษา ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและมีส่วนร่วมในการเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากยิ่งขึ้น และดำเนินการให้สอดคล้องกับนโยบายด้านสิ่งแวดล้อมของมหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์

(เอกสารหมายเลข EDU5.1-4-2-1 รายงานการประชุมคณะกรรมการประจำคณะที่เกี่ยวข้องกับหลักประสิทธิภาพ) (เอกสารหมายเลข EDU5.1-4-2-2 ภาพระบบ MIS / ระบบ Platform Moodle SRRU /รายวิชาที่ดำเนินการในรูปแบบONLINE ผ่าน Moodle/เว็บไซต์ นำเสนอผลการประเมินการประกันคุณภาพการศึกษาระดับคณะ / ประกาศการสนับสนุนทุนวิจัย / คำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมสีเขียวคณะครุศาสตร์ )

3) หลักการตอบสนอง (Responsiveness) คณะครุศาสตร์ มีการบริหารตามพันธกิจที่สามารถตอบสนองความต้องการของผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียครอบคลุมตามยุทธศาสตร์ของคณะ เช่น มีการบริการวิชาการแก่ชุมชนและท้องถิ่น ตามโครงการยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น โดยมีการสอบถามความต้องการของชุมชนและนำไปสู่การจัดทำโครงการที่ตอบสนองต่อความต้อง การส่งเสริมและพัฒนาโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน เพื่อตอบสนองการเป็นโรงเรียนเครือข่ายพัฒนาในการดูแลของมหาวิทยาลัย ตอบสนองในเรื่อง การปรับปรุง พัฒนา อาคารสถานที่ ตามความต้องการของนักศึกษา เช่น การสร้างพื้นที่แห่งการเรียนรู้ Learning Space เพื่อเพิ่มพื้นที่ในการทำงาน การพัฒนาห้องเรียน Smart Micro Teaching เพื่อตอบสนองการจัดการเรียนการสอนแบบจุลภาค ซึ่งเป็นเทคนิคการสอนที่มุ่งจะฝึกทักษะให้แก่นักศึกษาครู และถือเป็นหัวใจสำคัญก่อนที่จะไปปฏิบัติการสอนในสถานศึกษาจริง และพัฒนาห้องเรียนให้เป็นแบบ Smart Learning เพื่อตอบสนอง การพัฒนานักศึกษาให้เป็นครูศตวรรษที่ 21 ที่ต้องคำนึงถึงทั้งวิธีการเรียนรู้ เครื่องมือที่ใช้รวมทั้งสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้สามารถต่อยอดไปสู่การทำงานในอนาคตได้ นวัตกรรมและเทคโนโลยีการศึกษาจึงมีส่วนสำคัญที่จะนำมาบูรณาการเข้ากับการเรียนการสอน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการเรียนรู้ในทุกชั้นปี สิ่งเหล่านี้ส่งผลกระทบให้เกิดการปรับเปลี่ยนห้องเรียนแบบเดิมไปสู่ห้องเรียนที่เน้นการมีปฏิสัมพันธ์และการมีส่วนร่วมของผู้เรียน ที่เรียกว่า ห้องเรียนอัจฉริยะ (Smart classroom) ซึ่งในห้องเรียนจะมี อุปกรณ์หลักที่สำคัญในการเป็นห้องเรียนอัจฉริยะ คือ Interactive Display (จอสัมผัสอัจฉริยะ) ซึ่ง สามารถใช้แทนกระดานไวท์บอร์ดในแบบเดิมๆได้ สามารถช่วยครูผู้สอนสามารถใช้เทคโนโลยีได้อย่างสะดวกสบายในการสอนหน้าชั้นเรียน อีกทั้งยังตอบสนองความต้องการของนักศึกษา ที่ต้องการการระดมความร่วมมือของคณาจารย์เจ้าหน้าที่และนักศึกษาจิตอาสาในการสร้างศาลาอาคารสโมสรชั่วคราวเพื่อเป็นพื้นในการทำกิจกรรม ทำงาน และอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับงานกิจกรรมนักศึกษา การเพิ่มแหล่งเรียนรู้ ในรูปแบบบอร์ดประชาสัมพันธ์ ให้มีความครอบคุลมทุกพื้นที่ในชั้น ที่ 1- 3 เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ทางวิชาการตอบสนองความต้องการของนักศึกษา การจัดทำโครงการกองทุนสนับสนุนการศึกษาและสิ่งเรียนรู้ให้กับนักศึกษา การเพิ่มพื้นที่จอดรถมอเตอร์ไซต์นักศึกษา การปรับปรุงสภาพแวดล้อมโดยรอบคณะครุศาสตร์ให้เป็นพื้นที่สีเขียว การส่งเสริมและสนับสนุนงบประมาณในการการทำวิจัยของบุคลากรสายวิชาการ และ สายสนับสนุน อย่างเหมาะสมเพื่อตอบสนองความต้องการตามแนวทางในการพัฒนาบุคลากรอย่างมีประสิทธิภาพ

(เอกสารหมายเลข EDU5.1-4-3 เอกสารภาพรวมการดำเนินงานตามหลักการตอบสนอง) (การส่งเสริมและสนับสนุนงบประมาณในการการทำวิจัยของบุคลากรสายวิชาการ)

4) หลักการรับผิดชอบ (Accountability) ผู้บริหารได้ดำเนินการกำหนดขอบเขตหน้าที่หรือผู้รับผิดชอบที่ชัดเจนในการบริหารจัดการ/การดำเนินงาน โดยถ่ายทอดตัวชี้วัด/เป้าหมายขององค์การสู่ระดับบุคคล และการติดตามประเมินผลการปฏิบัติราชการ นอกจากนี้ คณะครุศาสตร์ ได้แสดงความรับผิดชอบตามพันธกิจด้วยการให้บริการวิชาการแก่สังคมโดยได้รับความเชื่อมั่นและความไว้วางใจจาก หน่วยงานที่สนับสนุนงบประมาณ ตามรายละเอียดของโครงการยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น ที่อยู่ในความรับผิดชอบของคณะครุศาสตร์

(เอกสารหมายเลข EDU5.1-4-4 โครงการยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น ที่อยู่ในความรับผิดชอบของคณะครุศาสตร์)

5) หลักความโปร่งใส (Transparency) คณะครุศาสตร์ มีความมุ่งมั่นในการ บริหารงานตามหลักความโปร่งใส และหลักการมีส่วนร่วม โดยกำหนดให้มีผู้แทนบุคลากรอยู่ในคณะกรรมการประจำคณะ เพื่อให้มีโอกาสในการรับทราบ ติดตาม และตรวจสอบการบริหารงานของคณะครุศาสตร์ ตามนโยบายที่กำหนด รวมถึงรับทราบ และตรวจสอบการดำเนินงานของคณะครุศาสตร์ ได้อย่างโปร่งใส เช่น การรายงานผลการดำเนินงานและผลการเบิกจ่ายงบประมาณตามแผนปฏิบัติราชการ รายไตรมาส ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564-2565 การรายงายผลการใช้จ่ายงบประมาณโครงการกองทุนสนับสนุนการศึกษาและสิ่งเรียนรู้ให้กับนักศึกษา นอกจากนี้ เพื่อสนับสนุนการดำเนินงาน ตามหลักความโปร่งใส และคณะครุศาสตร์ ได้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการบริหารความเสี่ยงและควบคุมภายในคณะครุศาสตร์ อีกทั้งยังมีการบริหารงานอย่างมีคุณธรรมให้เป็นไปตามเจตจำนงสุจริตในการบริหารงานอย่างมีคุณธรรมและโปร่งใสตามหลักธรรมมาภิบาล ตามนโยบายและเป้าหมายที่มหาวิทยาลัยกำหนดให้ทุกหน่วยงานปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด

(เอกสารหมายเลข EDU5.1-4-5-1 รายงานการประชุมคณะกรรมการประจำคณะที่เกี่ยวข้องกับหลักความโปร่งใส ) (เอกสารหมายเลข EDU5.1-4-5-2 คำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการบริหารความเสี่ยงและควบคุมภายในคณะครุศาสตร์) (เอกสารหมายเลข EDU5.1-4-5-3 ประกาศมหาวิทยาลัยในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับนโยบายการบริหารงานอย่างมีคุณธรรมและโปร่งใสตามหลักธรรมมาภิบาล )

6) หลักการมีส่วนร่วม (Participation) ผู้บริหารเปิดโอกาสให้บุคลากรมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ และร่วมแสดงความคิดเห็นของตนเองได้ มีการใช้กระบวนการตัดสินใจ จากผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ที่เกี่ยวข้อง มีการรับฟังความคิดเห็นและข้อเสนอแนะ เพื่อนำไปปรับปรุงการบริหารงาน โดยมีการแต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับการบริหารงานในระดับคณะและระดับมหาวิทยาลัย เช่น คณะกรรมการคุรุศึกษา คณะอนุกรรมการคุรุศึกษา ที่เป็นบุคลากรที่เกี่ยวข้องในหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิตร่วมกันทำหน้าที่วางแผนและพัฒนาหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต ให้มีคุณภาพและมาตรฐานโดยการมีส่วนร่วมจากทุกฝ่าย และคณะกรรมการบริหารงานระดับบัณฑิตศึกษา โดยมีผู้แทนจากแต่ละหลักสูตร ทำหน้าที่วางแผน พัฒนา และพิจารณางานในระดับบัณฑิตศึกษาของคณะให้มีคุณภาพ

(เอกสารหมายเลข EDU5.1-4-6 คำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการที่เกี่ยวข้องกับหลักการมีส่วนร่วม)

7) หลักการกระจายอำนาจ (Decentralization) ผู้บริหารได้กระจายอำนาจในการบริหารงาน โดยได้มีการจัดทำคำสั่งมอบหมายงานรองคณบดี ผู้ช่วยคณบดี หัวหน้าสำนักงานคณบดี หัวหน้างานฝ่ายต่างๆ ดูแลกำกับติดตามงานด้านต่างๆของคณะ รวมทั้งมีการกระจายอำนาจไปยังบุคลากรภายในคณะ ให้มีส่วนร่วมในการตัดสินใจโดยผ่านคณะกรรมการดำเนินงานฝ่ายต่างๆ

(เอกสารหมายเลข EDU5.1-4-7 คำสั่งมอบหมายงานที่เกี่ยวข้องหลักการกระจายอำนาจ)

8) หลักนิติธรรม (Rule of Law) ผู้บริหาร มีแนวทาง/นโยบายในการปฏิบัติงานภายใต้ระเบียบข้อบังคับต่างๆ ของทางราชการ เพื่อยึดถือเป็นแนวปฏิบัติร่วมกัน ในการบริหารงานด้วยความเป็นธรรม เช่น ในการประชุมคณะกรรมการประจำคณะ เลขานุการจะจัดเตรียมแฟ้ม กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ ที่เกี่ยวข้องกับการบริหารงานทั้งหมด ให้กับผู้เข้าร่วมประชุมทุกท่าน เพื่อให้ที่ประชุมยึดถือเป็นหลักในการพิจารณาตัดสินใจ และ ผู้บริหารมีการมอบหมายภาระหน้าที่ความรับผิดชอบของผู้บริหารในตำแหน่งต่างๆ อย่างเหมาะสมตรงตามตำแหน่งที่รับผิดชอบ และสอดคล้องกับพันธกิจของคณะฯ โดยมีการแต่งตั้งทีมบริหารในตำแหน่งรองคณบดี ผู้ช่วยคณบดี หัวหัวหน้างาน

(เอกสารหมายเลข EDU5.1-4-8-1 ภาพแฟ้มกฎ ระเบียบ ข้อบังคับ ที่ใช้ในการประชุม) (เอกสารหมายเลข EDU5.1-4-8-2 การมอบหมายภาระหน้าที่ความรับผิดชอบของผู้บริหารในตำแหน่งต่างๆ )

9) ความเสมอภาค (Equity) ผู้บริหาร ให้ความสำคัญกับหลักความเสมอภาคทั้งในด้านการบริหารและการให้บริการ โดยผู้บริหารคณะฯ สนับสนุนให้บุคลากรทุกระดับมีส่วนร่วมในการบริหารงานและร่วมกิจกรรมต่าง ๆ ของหน่วยงาน โดยในคณะ ส่งเสริมให้บุคลากรทั้งสายวิชาการและสายสนับสนุนวิชาการ เข้ารับการอบรมและส่งเสริมพัฒนาศักยภาพ เพื่อให้บุคลากรได้พัฒนาตนเองอย่างเต็มศักยภาพ การส่งเสริมและสนับสนุนงบประมาณในการการทำวิจัยของบุคลากรสายวิชาการ และ สายสนับสนุน อย่างเหมาะสมเพื่อตอบสนองความต้องการตามแนวทางในการพัฒนาบุคลากรอย่างมีประสิทธิภาพ

(เอกสารหมายเลข EDU5.1-4-9-1 การจัดโครงการการจัดการความรู้ให้กับบุคคลากร สำหรับสายผู้สอน____สำหรับสายสนับสนุน____การส่งเสริมและสนับสนุนงบประมาณในการการทำวิจัยของบุคลากร )

10 หลักมุ่งเน้นฉันทามติ (Consensus Oriented) ผู้บริหาร ให้ความสำคัญกับการนำหลักการตัดสินใจโดยฉันทามติมาใช้ ในการตัดสินใจทางการบริหาร ตัวอย่างสำคัญที่แสดงการยึดหลักมุ่งเน้นฉันทามติ คือ กระบวนการตัดสินใจในที่ประชุมคณะกรรมการประจำคณะ ที่ประชุมคณะกรรมการบริหารคณะครุศาสตร์ หรือที่ประชุมสำคัญของคณะฯ ล้วนยึดถือประเพณีปฏิบัติที่ดีงามในการพิจารณาให้ความเห็นชอบหรือไม่เห็นชอบในเรื่องต่าง ๆ ทั้งประเด็นเชิงนโยบาย การบริหาร แนวทางปฏิบัติ และการแก้ปัญหาความขัดแย้ง โดยอาศัยฉันทามติของที่ประชุมที่มีการยอมรับใน หลักเหตุผลที่มีการประสานความคิดเห็นที่แตกต่างเพื่อให้ได้ข้อยุติร่วมกัน

(เอกสารหมายเลข EDU5.1-4-10-1 รายงานการประชุมที่เกี่ยวข้องในหลักมุ่งเน้นฉันทามติ)