มาตรฐานที่ 1 ด้านผลลัพธ์ผู้เรียน
ปีการศึกษา 2565    

มาตรฐาน ที่ 1 ด้านผลลัพท์ผู้เรียน

        การพัฒนาระบบอุดมศึกษาที่ผ่านมาได้ส่งเสริมให้เกิดการเติบโตของสถาบันอุดมศึกษาและเปิดโอกาสในการเข้าถึงการศึกษาในระดับอุดมศึกษามากขึ้น สัดส่วนของผู้เข้าศึกษาในระดับอุดมศึกษา ต่อประชากรเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง แต่ขณะเดียวกันอัตราการว่างงานของผู้สำเร็จการศึกษาในระดับอุดมศึกษากลับสูงขึ้น และมีเสียงเรียกร้องจากทุกภาคส่วนในเรื่องคุณภาพของบัณฑิตที่ไม่ตรงตามความคาดหวังของตลาดแรงงาน นอกจากนี้ยังพบว่า สัดส่วนการผลิตบัณฑิตในสายวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีไม่เพียงพอกับความต้องการด้านบุคลากรในการพัฒนาประเทศและการสนับสนุนการสร้างผลงานวิจัยในเชิงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีกำลังเปลี่ยนผ่านจากยุคอุตสาหกรรม 3.0 ไปสู่อุตสาหกรรม 4.0 มหาวิทยาลัยควรปรับปรุงสัดส่วนการผลิตของตนเองให้เหมาะสม (Re-profiling) เน้นหลักสูตรที่มี คุณภาพ และตรงกับศักยภาพของสถาบัน ลดความซ้ำซ้อนของหลักสูตรภายในสถาบันรวมทั้งลดสัดส่วนการผลิตในบางหลักสูตรลง สร้างหลักสูตรที่ทันสมัยเน้นทักษะที่เป็นที่ต้องการ ปรับหลักสูตรเน้นสมรรถนะตอบสนองความต้องการในระยะสั้น ปรับเส้นทางการเข้าถึงบริการอุดมศึกษาที่หลากหลาย (Multiple Tracks) ปรับปรุงความสามารถด้านภาษาอังกฤษของบัณฑิตอย่างเป็นรูปธรรม รวมทั้งประเมินขีดความสามารถด้านทักษะภาษาอังกฤษของบัณฑิตก่อนสำเร็จการศึกษา ปรับปรุงทุกหลักสูตรเพื่อให้ทันกับทิศทางของการพัฒนาประเทศไทยในยุคเทคโนโลยีดิจิทัล เพื่อให้บรรลุผลลัพธ์ที่พึงประสงค์ของการศึกษา (Desired Outcomes of Education, DOE Thailand) ภายใต้การควบคุมกำกับการบริหารหลักสูตรให้เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตร หลักสูตรระดับปริญญาตรีและบัณฑิตศึกษา พ.ศ. 2548 และ พ.ศ. 2558 และมาตรฐานวิชาชีพที่ประกาศใช้ในขณะนั้น รวมทั้งกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติพ.ศ. 2552 ตลอดระยะเวลาที่มีการจัดการเรียนการสอนในหลักสูตรดังกล่าว

        โดยมาตรฐานที่ 1 ด้านผลลัพธ์ผู้เรียนมีตัวบ่งชี้ ทั้งหมด 8 ตัวบ่งชี้ ดังต่อไปนี้

ตัวบ่งชี้ จำนวน 8 ตัวบ่งชี้ คือ

ตัวบ่งชี้ที่ 1.1 การบริหารจัดการหลักสูตรเพื่อพัฒนาผลลัพธ์ผู้เรียน

ตัวบ่งชี้ที่ 1.2 อาจารย์ประจำคณะที่มีคุณวุฒิปริญญาเอก

ตัวบ่งชี้ที่ 1.3 อาจารย์ประจำคณะที่มีตำแหน่งทางวิชาการ

ตัวบ่งชี้ที่ 1.4 การบริการนักศึกษาระดับปริญญาตรี

ตัวบ่งชี้ที่ 1.5 กิจกรรมนักศึกษาระดับปริญญาตรี

ตัวบ่งชี้ที่ 1.6 การส่งเสริมสมรรถนะและทักษะการใช้ภาษาอังกฤษ

ตัวบ่งชี้ที่ 1.7 การส่งเสริมสมรรถนะดิจิทัลสำหรับนักศึกษา

ตัวบ่งชี้ที่ 1.8 ผลการบริหารจัดการหลักสูตรโดยรวม

ผลการดำเนินงานในมาตรฐานที่ 1   ด้านผลลัพธ์ผู้เรียน 

คณะครุศาสตร์ มีผลการดำเนินงานในมาตรฐานที่ 1 ด้านผลลัพธ์ผู้เรียน จำนวน 8 ตัวบ่งชี้ โดยมีผลการประเมินตนเอง คะแนนเฉลี่ย 4.59 คะแนน อยู่ในระดับดีมาก รายละเอียดผลการประเมินแสดงดังต่อไปนี้ 

คณะคณะกรรมการประกันคุณภาพการศึกษา คณะครุศาสตร์  มาตรฐานที่ 1 ด้านผลลัพท์ผู้เรียน