ตัวบ่งชี้ที่ 2.1 ระบบและกลไกการวิจัย นวัตกรรม งานสร้างสรรค์
ปีการศึกษา 2565

ตัวบ่งชี้ที่ 2.1   ระบบและกลไกการวิจัย นวัตกรรม งานสร้างสรรค์ 

ผลการดำเนินงานและผลการประเมินตนเอง 

ตัวบ่งชี้ที่ 2.1       :      ระบบและกลไกการวิจัย นวัตกรรม งานสร้างสรรค์

ชนิดของตัวบ่งชี้       :      กระบวนการ

เป้าหมาย               :     5 ข้อ

ผลการดำเนินการ

       ในปีการศึกษา 2565 คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ ได้วางระบบและกลไกการวิจัย นวัตกรรม งานสร้างสรรค์ โดยมีผลการดำเนินงาน ครบ 7 ข้อ ดังนี้

1. คณะมีการกำหนดนโยบายและทิศทางการวิจัยที่สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ และเชื่อมโยงกับสภาพเศรษฐกิจ สังคม ศิลปวัฒนธรรม หรือสิ่งแวดล้อม ตามจุดเน้นและอัตลักษณ์ และความได้เปรียบเชิงทรัพยากรและเชิงพื้นที่ของคณะ 

   คณะครุศาสตร์มีการกำหนดนโยบายและทิศทางการวิจัยที่สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ และเชื่อมโยงกับสภาพเศรษฐกิจ สังคม ศิลปวัฒนธรรม หรือสิ่งแวดล้อม ตามจุดเน้นและอัตลักษณ์ และความได้เปรียบเชิงทรัพยากรและเชิงพื้นที่ของคณะ โดยมีการจัดทำแผนยุทธศาสตร์ คณะครุศาสตร์ พ.ศ.2563-2565 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ.2564),พ.ศ.2566-2570 แผนงานด้านการวิจัยคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ ปีงบประมาณ 2566-2570 และจัดทำแผนปฏิบัติการประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2565,2566 คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ โดยมีกรอบงานวิจัยในการสนับสนุนการจัดการเรียนการสอน เพื่อกำหนดนโยบายและทิศทางการวิจัยที่สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ ระยะ 20 ปี (พ.ศ.2561-2580) ทำให้อาจารย์คณะครุศาสตร์สามารถส่งผลงานวิจัย 31 เรื่องและได้รับการสนับสนุนงานวิจัย จำนวน 18 เรื่อง


หมายเลขเอกสาร EDU 2.1-1-1), (หมายเลขเอกสาร EDU 2.1-1-2), (หมายเลขเอกสาร EDU 2.1-1-3)

       

       2. คณะดำเนินการตามระบบสนับสนุนการบริหารจัดการงานวิจัย งานสร้างสรรค์และนวัตกรรมทรัพย์สินทางปัญญา และระบบสารสนเทศ ที่มหาวิทยาลัยจัดทำขึ้นอย่างมีประสิทธิภาพ

  คณะครุศาสตร์ ดำเนินการตามระบบสนับสนุนการบริหารจัดการงานวิจัย งานสร้างสรรค์และนวัตกรรม ทรัพย์สินทางปัญญา และระบบสารสนเทศ ที่มหาวิทยาลัยจัดทำขึ้นอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งมีการบริหารจัดการภายในคณะโดยมีการจัดทำแผนยุทธศาสตร์ประจำคณะ และมีการจัดสรรงบประมาณโดยถือปฏิบัติตามแผนปฏิบัติงานประจำปี มีการแต่งตั้งคณะกรรมการบริหารคณะครุศาสตร์เพื่อบริหารงานของคณะครุศาสตร์โดยมีการแต่งตั้งรองคณบดีฝ่ายบริหารให้การสนับสนุนการทำวิจัยให้มีประสิทธิภาพมาก อีกทั้งคณะได้มีการประชาสัมพันธ์สนับสนุนการบริหารจัดการงานวิจัย งานสร้างสรรค์และนวัตกรรม ทรัพย์สินทางปัญญาจากคู่มือบริหารงานวิจัย สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ ตลอดจนติดตามการดำเนินงานวิจัย ประกาศข้อมูลข่าวสารงานวิจัยต่างๆ ผ่านเว็บไซต์ คณะครุศาสตร์ https://edu.srru.ac.th /สื่อออนไลน์ (line ประชาสัมพันธ์ครุศาสตร์ และ facebook ประชาสัมพันธ์คณะครุศาสตร์)  

            นอกจากนี้ยังมีระบบสารสนเทศของมหาวิทยาลัยที่ช่วยในการบริหารงานวิจัยในระดับมหาวิทยาลัยซึ่งจัดทำขึ้นโดยสถาบันวิจัยและพัฒนา มีเว็บไซต์ชื่อ http://research.srru.ac.th มีการจัดเรียบเรียงเนื้อหาข้อมูลต่างๆ เกี่ยวกับงานวิจัยที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการบริหารงานวิจัยและงานสร้างสรรค์ โดยมีลิงค์เชื่อมโยงทั้งภายในและภายนอก อาทิเช่น 

1.สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.)

2.กองทุนส่งเสริมวิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรม (ววน.)

3.สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วท.)

4.หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.)

5.ทุนอุดหนุนการวิจัยเพื่อการพัฒนาการประกันคุณภาพการศึกษา (สมศ)

จะพบว่าระบบสารสนเทศบริหารงานวิจัยทั้งภายในและภายนอกคณะที่จัดทำขึ้นนั้นสามารถสนับสนุนการบริหารจัดการงานวิจัยของมหาวิทยาลัยอย่างมีประสิทธิภาพ

(หมายเลขเอกสาร EDU 2.1-2-1), (หมายเลขเอกสาร EDU 2.1-2-2), (หมายเลขเอกสาร EDU 2.1-2-3), (หมายเลขเอกสาร EDU 2.1-2-4), (หมายเลขเอกสาร EDU 2.1-2-5), (หมายเลขเอกสาร EDU 2.1-2-6), (หมายเลขเอกสาร EDU 2.1-2-7), (หมายเลขเอกสาร EDU 2.1-2-8)

   

3. คณะมีการพัฒนาศักยภาพของคณาจารย์ บุคลากร และนักศึกษาให้มีความสามารถในการสร้างผลงานวิจัยงานสร้างสรรค์และนวัตกรรม อยู่บนพื้นฐานจรรยาบรรณนักวิจัย รวมทั้งสนับสนุนและส่งเสริมการจัดหาแหล่งทุนวิจัย การจัดสรรงบประมาณ และทรัพยากร ตลอดจนบูรณาการทรัพยากรเพื่อทำให้งานวิจัยบรรลุเป้าหมายตามความได้เปรียบเชิงเปรียบเทียบในด้านทรัพยากรและในเชิงพื้นที่

คณะครุศาสตร์มีการสนับสนุนการพัฒนาศักยภาพคณาจารย์ บุคลากร และนักศึกษาให้มีความสามารถ

ในการสร้างผลงานวิจัยงานสร้างสรรค์และนวัตกรรมอยู่บนพื้นฐานจรรยาบรรณนักวิจัย โดยจัดส่งบุคลากรในคณะครุศาสตร์ เข้ารับการอบรมด้านการวิจัย

          เมื่อวันที่ 9 มิถุนายน 2565 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ภัทรพล  ทองนำ  ได้เข้าร่วมอบรมโครงการพัฒนาศักยภาพบุคลากรสายวิชาการ เรื่อง “การผลิตผลงานวิชาการรับใช้สังคมเพื่อขอกำหนดตำแหน่งทางวิชาการ” โดยสถาบันวิจัยและพัฒนา  มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์

          เมื่อวันที่ 9 มิถุนายน 2565 รองศาสตราจารย์บุญเลี้ยง ทุมทอง  ได้เข้าร่วมอบรมโครงการพัฒนาศักยภาพบุคลากรสายวิชาการ เรื่อง “การผลิตผลงานวิชาการรับใช้สังคมเพื่อขอกำหนดตำแหน่งทางวิชาการ” โดยสถาบันวิจัยและพัฒนา  มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์

          เมื่อวันที่ 9 มิถุนายน 2565 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ทิพจุฑา  สุภิมารส สิงคเสลิด  ได้เข้าร่วมอบรมโครงการพัฒนาศักยภาพบุคลากรสายวิชาการ เรื่อง “การผลิตผลงานวิชาการรับใช้สังคมเพื่อขอกำหนดตำแหน่งทางวิชาการ” โดยสถาบันวิจัยและพัฒนา  มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์

          เมื่อวันที่ 9 มิถุนายน 2565 อาจารย์ผ่องนภา  พรหมเกษ  ได้เข้าร่วมอบรมโครงการพัฒนาศักยภาพบุคลากรสายวิชาการ เรื่อง “การผลิตผลงานวิชาการรับใช้สังคมเพื่อขอกำหนดตำแหน่งทางวิชาการ” โดยสถาบันวิจัยและพัฒนา  มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์

          เมื่อวันที่ 9 มิถุนายน 2565 อาจารย์ปิยนันท์  พูลโสภา  ได้เข้าร่วมอบรมโครงการพัฒนาศักยภาพบุคลากรสายวิชาการ เรื่อง “การผลิตผลงานวิชาการรับใช้สังคมเพื่อขอกำหนดตำแหน่งทางวิชาการ” โดยสถาบันวิจัยและพัฒนา  มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์

          เมื่อวันที่ 9 มิถุนายน 2565 อาจารย์พัชรา  พานทองรักษ์  ได้เข้าร่วมอบรมโครงการพัฒนาศักยภาพบุคลากรสายวิชาการ เรื่อง “การผลิตผลงานวิชาการรับใช้สังคมเพื่อขอกำหนดตำแหน่งทางวิชาการ” โดยสถาบันวิจัยและพัฒนา  มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์

          เมื่อวันที่ 22-23 กันยายน 2565 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ทิพจุฑา สุภิมารส สิงคเสลิด         ได้เข้าร่วมอบรมโครงการฝึกอบรมบุคลากรเพื่อการดำเนินงานของคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ประจำสถาบัน (Training Course for IRB Establishment and IRB Administrative Staff ครั้งที่ 1 ประจำปี 2565 (ด้านชีวการแพทย์) และวันที่ 22-23 ธันวาคม 2565 ได้เข้าร่วมอบรมโครงการฝึกอบรมบุคลากรเพื่อการดำเนินงานของคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ประจำสถาบัน (Training Course for IRB Establishment and IRB Administrative Staff) ครั้งที่ 4 ประจำปี 2565 (ด้านสังคมศาสตร์) เพื่อพัฒนาตนเอง สร้างความรู้เพื่อการดำเนินงาน คณะกรรมการจริยธรรมวิจัยในมนุษย์ฯ โดยมหาวิทยาลัยมหิดล        และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรีสนับสนุนโดยสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ

      รวมทั้งสนับสนุนและส่งเสริมการจัดหาแหล่งทุนวิจัยปีงบประมาณ 2565  จากทุนสนับสนุนการ

วิจัยกองทุนส่งวิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรม (ววน.) จำนวน 4  โครงการ  เป็นเงินทั้งสิ้น 730,000 บาท    

คณะครุศาสตร์ได้จัดสรรงบประมาณเพื่อเป็นทุนวิจัยงบแผ่นดินของคณะครุศาสตร์ จำนวน 14 โครงการ  เป็นเงิน ทั้งสิ้น 200,000 บาท งบประมาณโครงการนักวิจัยรุ่นใหม่ 90,000 บาท


(หมายเลขเอกสาร EDU 2.1-3-1), (หมายเลขเอกสาร EDU 2.1-3-2) , (หมายเลขเอกสาร EDU 2.1-3-3) , (หมายเลขเอกสาร EDU 2.1-3-4) , (หมายเลขเอกสาร EDU 2.1-3-5) , (หมายเลขเอกสาร EDU 2.1-3-6), (หมายเลขเอกสาร EDU 2.1-3-7)


4. คณะมีการส่งเสริมการบูรณาการการวิจัยกับการเรียนการสอน เพื่อเสริมสร้างสมรรถนะการวิจัยแก่ผู้เรียนที่นำไปสู่การร่วมสร้างสรรค์งานวิจัยและนวัตกรรม ให้กับสังคม ชุมชน ท้องถิ่น

คณะมีการส่งเสริมการบูรณาการการวิจัยกับการเรียนการสอนเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะการวิจัยแก่ผู้เรีย

ที่นำไปสู่การร่วมสร้างสรรค์งานวิจัยและนวัตกรรม ให้กับสังคม ชุมชน ท้องถิ่นดังนี้

 4.1 สาขาประถมศึกษา มีการบูรณาการในรายวิชา 1081804n การวิจัยสำหรับครู ในระดับประถม

ศึกษา  มีรายละเอียดดังนี้

          4.1.1 มีการบูรณาการวิจัยในรายวิชา 1081801n การวิจัยสำหรับครูในระดับประถมศึกษา (อาจารย์กมลรัตน์ วงศ์ถามาตย์) โดยมีการบูรณาการเนื้อหารายวิชาสู่งานวิจัย มีการเรียนรู้ทั้งภาคทฤษฎี ภาคสาธิต ทดลอง ภาคปฏิบัติภาคสนามในพื้นที่จริง การศึกษาดูงาน การสรุปบทเรียน การจัดนิทรรศการ  การประชุมสัมมนา นำเนอผลงาน  การวัดผลประเมินผล ทั้งแบบสถิติตัวเลข การประเมินตามสภาพจริง การประเมินแบบรูบริค  สื่อที่ใช้สารสนเทศในการรวบรวม คัดเลือก นำเสนอเป็นระบบ หลากหลายในการนำเสนอรูปแบบผ่านโปรแกรมที่น่าสนใจ

     4.2 สาขาวิชาปฐมวัย มีการบูรณาการในรายวิชา EECE621108 รายวิชา EECE621103  และรายวิชา EECE621203  มีรายละเอียดดังนี้

      4.2.1 มีการบูรณาการวิจัยในรายวิชา EECE621108 สมรรถนะครูในยุคดิจิทัล(ผู้ช่วยศาสตราจารย์ 

ทิพจุฑา สุภิมารส สิงคเสลิด)  โดยมีการบูรณาการเนื้อหารายวิชาสู่งานวิจัย งานวิจัยเรื่อง “การศึกษาความคิดเห็นของผู้ปกครองและครูปฐมวัยเกี่ยวกับการใช้สื่อดิจิทัลของเด็กปฐมวัยในประเทศไทย”

           4.2.2 มีการบูรณาการวิจัยในรายวิชา EECE621103 การพัฒนาสุขภาวะและความปลอดภัยสำหรับเด็กปฐมวัย (อาจารย์พัชรา  พานทองรักษ์) โดยมีการบูรณาการเนื้อหารายวิชาสู่งานวิจัย งานวิจัยเรื่อง “การพัฒนาคู่มือส่งเสริมความปลอดภัยของเด็กอนุบาลสำหรับผู้ปกครอง”

          4.2.3 มีการบูรณาการในรายวิชา EECE621203 การช่วยเหลือเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษและเด็กกลุ่มเป้าหมายเฉพาะ (รองศาสตราจารย์บุญเลี้ยง ทุมทอง) โดยมีการบูรณาการเรื่องเนื้อหารายวิชาสู่งานวิจัย งานวิจัยเรื่อง “การพัฒนากิจกรรมการเรียนการสอนที่ส่งเสริมศักยภาพการเป็น ผู้เรียนรู้สมรรถนะสูงในการพัฒนากล้ามเนื้อมัดเล็กของเด็กที่มีความต้องการพิเศษสำหรับนักศึกษา

         4.3 สาขาวิชาเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อการศึกษา มีการบูรณาการในรายวิชา EDTE621301 วิทยาการคำนวณ รายวิชา EDTE621307 การเขียนโปรแกรมและพัฒนาแอปพลิเคชัน เพื่อการศึกษาและรายวิชา EEDU621005  การฝึกปฏิบัติงานวิชาชีพ ระหว่างเรียน 2 มีรายละเอียดดังนี้

4.3.1 มีการบูรณาการในรายวิชา EDTE621301  วิทยากรคำนวณ (อาจารย์ จักรพงษ์  วารี)  โดยมี

การบูรณาการเรื่องการพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ชุดโปรแกรมไมโครบิตควบคุมการทำงานหุ่นยนต์  เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ด้านเทคโนโลยีดิจิทัลของนักศึกษาและนักเรียนในจังหวัดสุรินทร์  ซึ่งผู้เรียนได้รับการพัฒนาความรู้และทักษะการสร้างชุดโปรแกรมไมโครบิตควบคุมการทำงานหุ่นยนต์

4.3.2 มีการบูรณาการในรายวิชา EDTE321307 การเขียนโปรแกรมและพัฒนาแอปพลิเคชั่นเพื่อ

การศึกษา  (อาจารย์สมเกียรติ  เพ็ชรมาก) โดยมีการบูรณาการเรื่องการวิจัยผลของวิธีการจัดการเรียนรู้ออนไลน์แบบปกติใหม่ที่มีผลต่อความสามารถในการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ของนักศึกษาครุศาสตรบัณฑิต ซึ่งผู้เรียนได้ฝึกปฏิบัติทักษะการเขียนโปรแกรมภาษาไพธอนด้วยวิธีการจัดการเรียนรู้ออนไลน์แบบปกติใหม่ที่มีผลต่อความสามารถในการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ของนักเรียน

4.3.3 มีการบูรณาการในรายวิชา EEDU621005 การฝึกปฏิบัติงานระหว่างเรียน 3 (อาจารย์

จักรพงษ์ วารี) โดยมีการบูรณาการกระบวนการฝึกปฏิบัติงานวิชาชีพระหว่างที่ไปโรงเรียนร่วมกับกระบวนการทำวิจัยในชั้นเรียน นักศึกษาได้ฝึกฝนในกระบวนการวิจัยในชั้นเรียน ตั้งแต่การวิเคราะห์ปัญหาผู้เรียน การกำหนดปัญหาในการวิจัย  การพัฒนาเค้าโครงการวิจัย การพัฒนาเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ตลอดจนการทดลองใช้เครื่องมือการสรุปผลการวิจัย และนักศึกษาชั้นปีที่ 4 ได้รับรางวัล The best of the best  การนำเสนอนวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ระดับดีเด่นจากนวัตกรรมเกมทางศึกษาเรื่องการเก็บข้อมูลที่พัฒนาจากโปรแกรมภายใต้โครงการสร้างและพัฒนานวัตกรรมสู่การปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best Practic) สำหรับนักศึกษาหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต และนักศึกษาได้พัฒนางานวิจัยร่วมกับอาจารย์ที่ปรึกษาและได้เผยแพร่ในรูปแบบของวารสาร จำนวน 1 เล่ม เรื่อง “ผลจากการจัดหาสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ในปีการศึกษาที่ผ่านมา ส่งผลให้นักศึกษามีผลงานวิจัยและได้รับการตีพิมพ์ คือ ศิวภร ศรจุดานุและ จักรพงษ์  วารี (2565) การพัฒนาทักษะการเขียนโปรแกรมเบื้องต้นด้วยเกมทางการศึกษา ร่วมกับการสอนแบบร่วมมือของนักศึกษาปีที่ 2 วารสารครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ปีที่ 2 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม–ธันวาคม 2565

               4.4 สาขาวิชาพลศึกษา  มีการบูรณาการวิจัยในรายวิชา EPED621305 การวิจัยทางพลศึกษา และรายวิชา 1094102n การสัมมนาทางพลศึกษา มีรายละเอียดดังนี้

                      4.4.1 มีการบูรณาการวิจัยในรายวิชา EPED621305 การวิจัยทางพลศึกษา และรายวิชา 1094102n การสัมมนาทางพลศึกษา (ผู้ช่วยศาสตราจารย์วารีรัตน์  แย้มประดิษฐ์) โดยมีการบูรณาการการวิจัยกับการเรียนการสอน  โครงการนำเสนอผลงานวิจัยและสัมมนาของนักศึกษาพลศึกษา ดังนี้     1) กิจกรรมนำเสนอผลงานวิจัยของนักศึกษาสาขาวิชาพลศึกษา  2) โครงการสัมมนาและนำเสนอผลงานวิชาการของนักศึกษา 3) โครงการสัมมนาเตรียมความพร้อมของนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู เรื่องงานธุรการและงานสารบัญและงานบริหารทั่วไป รายวิชาเหล่านี้มีการบูรณาการวิจัยและการเรียนการสอน

          4.5 สาขาวิชาวิทยาศาสตร์การกีฬา  มีการบูรณาการในรายวิชา EECE621108 รายวิชา EECE621103 และรายวิชา EECE621203  มีรายละเอียดดังนี้

                        4.5.1 มีการบูรณาการวิจัยในรายวิชา 24081102b วิทยาศาสตร์การกีฬาเบื้องต้น (ผู้ช่วยศาสตราจารย์ภัทรพล  ทองนำ) โดยมีการบูรณาการกับโครงการพัฒนาทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21

                       4.5.2 มีการบูรณาการวิจัยในรายวิชา 4083105o การฟื้นฟูสมรรถนะภาพทางกาย (อาจารย์เลิศวัลลภ  ศรีษะพลภูสิทธิ)  โดยมีการบูรณาการกับโครงการพัฒนาทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21

                       4.5.3 มีการบูรณาการการวิจัยในรายวิชา 4082105x สรีรวิทยาการออกกำลังกาย (อาจารย์จิรยุทธ  โสมขันเงิน) โดยมีการบูรณาการกับโครงการพัฒนาทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21

                       4.5.4 มีการบูรณาการวิจัยในรายวิชา 4083301n  การเป็นผู้ฝึกและการเป็นเจ้าหน้าที่กรีฑา (อาจารย์ภัทรพล ทองนำ) โดยมีการบูรณาการกับโครงการพัฒนาทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21

                       4.5.5 มีการบูรณาการวิจัยในรายวิชา 4083501x การสัมมนาทางวิทยาศาสตร์ การกีฬา (01) (อาจารย์ภาณุพงษ์  จำปา) โดยมีการบูรณาการกับโครงการพัฒนาทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21

                       4.5.6 รายวิชาภาคนิพนธ์  โดยมีการบูรณาการเนื้อหารายวิชาสู่งานวิจัย เพื่อให้นักศึกษาได้เข้าไปเก็บข้อมูลที่โรงเรียนในเขตจังหวัดสุรินทร์


(หมายเลขเอกสาร EDU2.1-4-1) 

         

5. คณะมีการสร้างเครือข่ายความร่วมมือด้านการวิจัย งานสร้างสรรค์และนวัตกรรมทางเทคโนโลยีหรือนวัตกรรมทางสังคม กับสถาบันอุดมศึกษาอื่น ๆ ตลอดจนองค์กรภาครัฐและภาคเอกชนทั้งในหรือต่างประเทศที่ก่อให้เกิดผลงานวิจัย งานสร้างสรรค์และนวัตกรรม

      คณะครุศาสตร์สร้างเครือข่ายความร่วมมือด้านการวิจัย โดยเข้าร่วมโครงการ Strengthening Teacher Education Program STEP ด้วยสำนักงานเลขาธิการคุรุสภา โดยสถาบันคุรุพัฒนาร่วมกับศูนย์ระดับภูมิภาคว่าด้วยสะเต็มศึกษาขององค์การรัฐมนตรีศึกษาแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (SEAMEO STEM-ED) ได้ดำเนินโครงการ Teacher Education Program Sandbox (STEP Sandbox) ซึ่งมีหลากหลายสถาบันที่เข้าร่วมเครือข่าย

      - 28 กุมภาพันธ์ 2566 ประชุมเครือข่าย STEP Sandbox ครั้งที่ 2 หัวข้อ “Planning and Launching a Math/Science Task” (Virtual) ได้รับเกียรติจาก Prof Dr. Pam Grossman Graduate School of Education, University of Pennsylvania, USA และคณะเป็นวิทยากร

   - 25 เมษายน 2566 Sandbox ประชุมเครือข่าย STEP Sandbox ครั้งที่ 3 หัวข้อ “Planning and Launching a Math/Science Task”


(หมายเลขเอกสาร EDU 2.1-5-1)


6. คณะมีการประเมินผลกระทบของผลงานวิจัย งานสร้างสรรค์และนวัตกรรมที่มีต่อการพัฒนาผู้เรียน การสร้างคุณภาพชีวิต การสร้างโอกาสตลอดจนการสร้างมูลค่าเพิ่ม และรายงานผลการดำเนินงานด้านงานวิจัยต่อคณะกรรมการประจำคณะ อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง

        ตามรอบปีการประเมินคุณภาพการศึกษาภายในคณะครุศาสตร์ที่ผ่านมานั้น คณะครุศาสตร์ได้พัฒนาผลงานการวิจัยทั้งด้านสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และสาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ โดยการนำเสนอและตีพิมพ์ในวารสารต่าง ๆ ทั้งนี้ คณะครุศาสตร์มีการเก็บรวบรวมข้อมูลผลกระทบของผลงานวิจัย พร้อมดำเนินการประเมินผลกระทบของผลงานวิจัย งานสร้างสรรค์และนวัตกรรมที่มีต่อการพัฒนาผู้เรียน การสร้างคุณภาพชีวิต การสร้างโอกาสตลอดจนการสร้างมูลค่าเพิ่ม โดยการสัมภาษณ์ผู้ทำวิจัยโดยตรงและจากรายงานผลการวิจัย พร้อมทั้งได้นำเสนอรายงานผลการดำเนินงานด้านงานวิจัยต่อคณะกรรมการประจำคณะครุศาสตร์ เมื่อวันอังคารที่ 30 พฤษภาคม 2566 ในระเบียบวาระที่ 4 เรื่องที่เสนอให้ที่ประชุมพิจารณา ข้อ 4.4 การประเมินผลกระทบผลงานวิจัยคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์

              ซึ่งในที่ประชุมมีมติเห็นชอบ และรับทราบรายงานการประเมินผลกระทบผลงานวิจัย  คณะครุศาสตร์ ทั้งนี้ ขอให้คณะครุศาสตร์สนับสนุนส่งเสริมในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับงานวิจัยให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น พร้อมทั้งกำกับ ติดตาม อย่างต่อเนื่อง


 (หมายเลขเอกสาร EDU 2.1-6-1), (หมายเลขเอกสาร EDU 2.1-6-2)


7. มีการทบทวนผลการดำเนินงานและข้อเสนอแนะของคณะกรรมการประจำคณะไปปรับปรุงนโยบายและทิศทางการวิจัย งานสร้างสรรค์และนวัตกรรม

  คณะครุศาสตร์มีการทบทวนและติดตามผลการดำเนินงานการวิจัยประจำปี 2565  โดยนำเสนอในที่ประชุมคณะกรรมการประจำคณะเมื่อวันอังคารที่ 30 พฤษภาคม  2566 ณ ห้องประชุมช้างแดง ชั้น 3 อาคาร 41 คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์

   ซึ่งที่ประชุมมีมติเห็นชอบ และรับทราบรายงานการประเมินผลกระทบผลงานวิจัยของคณะครุศาสตร์     ทั้งนี้ ขอให้คณะครุศาสตร์สนับสนุน ส่งเสริม ในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับงานวิจัยให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น พร้อมทั้งกำกับ ติดตาม อย่างต่อเนื่อง เพื่อนำไปปรับปรุงนโยบายและทิศทางการวิจัย งานสร้างสรรค์   และนวัตกรรมต่อไป


(หมายเลขเอกสาร EDU 2.1-7-1), (หมายเลขเอกสาร EDU 2.1-7-2) 

EDU 2.1-1-1,  EDU 2.1-1-2,  EDU 2.1-1-3,