มาตรฐานที่  4 ด้านศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทย


      แผนยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ พ.ศ. 2566-2570 ได้ให้ความสำคัญกับกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาคมในมหาวิทยาลัย ผ่านกลไกการระดมสมองเพื่อทบทวนแผนยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ ฉบับ พ.ศ. 2560-2564 และฉบับ พ.ศ.2565มีการวิเคราะห์สภาพแวดล้อม ขององค์กรและเงื่อนไขต่าง ๆ ภายใต้บริบทแห่งความเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วและท้าทายที่คาดว่าจะส่งผลต่อ ทิศทางการพัฒนามหาวิทยาลัย โดยเฉพาะอย่างยิ่งสถานการณ์การระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ที่ทำให้ประเทศไทยและโลกต้องปรับเปลี่ยนไปสู่วิถีชีวิตใหม่ (New Normal) และนโยบายการพลิกโฉมมหาวิทยาลัย (Reinventing University) ของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมมหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์น้อมนำพระบรมราโชบายในพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทร มหาวชิราลงกรณ พระชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่ได้ทรงมอบผ่านองคมนตรีว่า “...ยกระดับมหาวิทยาลัยราชภัฏให้ทำงาน ให้เข้าเป้าในการยกระดับคุณภาพการศึกษาและพัฒนาท้องถิ่นในท้องที่ตน ต้องวิเคราะห์ปัญหาและความต้องการของประชาชนในท้องถิ่นด้วย เมื่อตกลงกันแล้ว ให้นำยุทธศาสตร์ใหม่มาพัฒนาใช้และปรับให้เหมาะสมตามสภาพและประเพณีท้องถิ่นด้วย...”

  แผนพัฒนาความเป็นเลิศมหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ พ.ศ. 2566 – 2570 มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์เป็นสถาบันอุดมศึกษาเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นที่เสริมสร้างพลังของชุมชนให้มีความเข้มแข็งมายาวนาน มีภารกิจหลักในด้านการผลิตบัณฑิต การวิจัย การบริการวิชาการ และการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม โดยมหาวิทยาลัยมีการปรับตัวให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงปฏิรูปการจัดการศึกษา วิจัย และผลิตบัณฑิต ให้ตอบโจทย์ความต้องการของประเทศเพื่อนำไปสู่ความยั่งยืน อันนำมาสู่การพลิกโฉมสถาบันอุดมศึกษา (Reinventing University และได้กำหนดให้มหาวิทยาลัยพิจารณาเลือกกลุ่มมหาวิทยาลัยตามกฎกระทรวง การจัดกลุ่มสถาบันอุดมศึกษา พ.ศ.2564 และจัดทำแผนการพัฒนาความเป็นเลิศ แผนการผลิตกำลังคนระดับสูงตามความต้องการของประเทศ หรือแผนพัฒนาสถาบันอุดมศึกษาด้านอื่น

  คณะครุศาสตร์จึงได้ดำเนินการทบทวนแผนยุทธศาสตร์ของคณะฯ (พ.ศ. 2563 - 2565) ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2564 ขึ้น โดยการศึกษา วิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการบริหารงานคณะ ผลการประเมินคุณภาพการศึกษาของคณะในช่วงที่ผ่านมา รวมทั้งมีการวิเคราะห์  จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และอุปสรรคต่าง ๆ อย่างรอบด้าน โดยยึดหลักการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน รวมทั้งมีการรับฟังความคิดเห็น จากผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้มีส่วนได้เสียอย่างต่อเนื่อง โดยคณะสามารถกำหนดปรัชญา วิสัยทัศน์  พันธกิจ ยุทธศาสตร์  ฯลฯ ในการพัฒนาคณะให้เป็น  “แหล่งผลิตบัณฑิต พัฒนาครูบุคลากรทางการศึกษา ให้มีคุณภาพ ด้วยการบูรณาการู้องค์ความรู้และนวัตกรรมเพื่อพัฒนาท้องถิ่น” โดยมีการกำหนดยุทธศาสตร์คณะให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัย 8 ยุทธศาสตร์  ทั้งนี้เพื่อให้มีความครอบคลุมภารกิจของคณะ และสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัยในทุก ๆ ด้าน  คณะครุศาสตร์ มุ่งเน้นส่งเสริมสนับสนุนศิลปวัฒนธรรมอันดีงามให้ยั่งยืนมีงานวิจัยที่สร้างองค์ความรู้และการนำผลการวิจัยไปใช้ในการพัฒนาการเรียนการสอนและพัฒนาท้องถิ่น ตามยุทธศาสตร์ที่ 6 ทำนุบำรุงอนุรักษ์และสืบสานประยุกต์ใช้ศิลปวัฒนธรรมทรัพยากรธรรมชาติ และภูมิปัญญาท้องถิ่น  เพื่อรักษาคุณค่าและเพิ่มมูลค่า ตลอดจนการเชื่อมโยงองค์ความรู้ด้านศิลปวัฒนธรรมไปสู่กระบวนการเรียนการสอนและการวิจัยในการพัฒนาระบบและกลไกบริหารจัดการงานด้านทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม อนุรักษ์ส่งเสริม สืบสานศิลปวัฒนธรรมและประยุกต์ใช้ศิลปวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น เพื่อรักษาคุณค่าและเพิ่มมูลค่าต่อไป


      คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ มีผลการดำเนินงานในมาตรฐานที่ 4 ด้านศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทย จำนวน 1 ตัวบ่งชี้ โดยมีผลการประเมินตนเอง คะแนน 5  คะแนน อยู่ในระดับดีมาก รายละเอียดผลการดำเนินงานแสดงรายละเอียดดังต่อไปนี้





ประเพณีแซนโฎนตา บูชาบรรพบุรุษ 

คณะครุศาสตร์ ประจำปี 2565 




กิจกรรมส่งมอบความสุขให้กับนักศึกษา เนื่องในวันส่งท้ายปีเก่า ต้อนรับปีใหม่ 2566




พิธีแสดงมุทิตาจิต แด่ผู้เกษียณอายุราชการ คณะครุศาสตร์ ประจำปี 2565

  Songkran is a Thai traditional New Year which starts on April 13 every year and lasts for 3 days.  Songkran festival on April 13 is Maha Songkran Day or the day to mark the end of the old year, April 14 is Wan Nao which is the day after and April 15 is Wan Thaloeng Sok which the New Year begins.


  สงกรานต์ คือ วันปีใหม่ตามประเพณีไทย ซึ่งเริ่มต้นในวันที่ 13 เมษายนของทุกปี รวมระยะเวลา 3 วัน เทศกาลสังกรานต์ในวันที่ 13 คือวันมหาสงกรานต์ หรือวันที่บ่งบอกถึงการสิ้นสุดปีเก่า วันที่ 14 เมษายน คือวันเนา ซึ่งเป็นวันถัดมา และวันที่ 15 เมษายน คือวันเถลิงศก ซึ่งเป็นวันเริ่มต้นปีใหม่     


  In the Thai tradition, the New Year begins early in the morning when faithful Thai Buddhists give alms to Buddhist monks.  h.  Elders and parents will be visited and respected by their children and grandchildren.  The young pour scented water over their elder’s hands, they in return, wish them good health, happiness and prosperity.  This tradition of paying  respect, is called “Rod Nam Dam Hua”. April 14 is called “Family Day”.

 

  ตามประเพณีไทยแล้ว วันปีใหม่จะเริ่มในช่วงเช้าหลังจากชาวพุทธทำบุญตักบาตรแด่พระสงฆ์ผู้สูงอายุและพ่อแม่ก็จะรอรับการสักการระจากลูกหลาน ผู้น้อยจะรินน้ำอบหอมผ่านมือผู้สูงอายุ และท่านก็จะอวยพรให้ลูกหลานมีสุขภาพแข็งแรง มีความสุขและมั่งคั่ง ประเพณีการแสดงการคาราวะนี้ เรียกว่า “รดน้ำ ดำหัว” วันที่ 14 เมษายน เรียกว่า “วันครอบครัว”


เส้นทางท่องเที่ยววิถีชุมชนตำบลแก 

อำเภอรัตนบุรี จังหวัดสุรินทร์ 

โครงการออมสินยุวพัฒน์รักษ์ถิ่น 

สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย ประจำปี 2566 

เกณฑ์ข้อที่ 1 คณะมีการกำหนดนโยบายและทิศทางการส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมประวัติศาสตร์และความเป็นไทยเพื่อการพัฒนาต่อยอดและสร้างคุณค่าตามจุดเน้นและอัตลักษณ์ของมหาวิทยาลัย

             คณะครุศาสตร์ได้วางแผนเพื่อกำหนดผู้รับผิดชอบในด้านศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทย โดยมีนโยบายส่งเสริมและสนับสนุนด้านศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทย ให้ดำเนินการอย่างรอบคอบและครอบคลุมถึงเกณฑ์ที่ต้องการ ซึ่งด้านศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทยถือเป็นพันธกิจที่สำคัญประการหนึ่ง โดยคณะฯ ได้กำหนดไว้ในแผนการปฏิบัติงานประจำปี และมีการดำเนินกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง
โดยคณะครุศาสตร์ได้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงานด้านศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทย เพื่อปฏิบัติหน้าที่ในการดำเนินงานด้านศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทยและจัดทำแผนกลยุทธ์และแผน
ปฏิบัติการ

         EDU4.1-1-1 คำสั่งคณะครุศาสตร์ ที่ 396/2565 เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการประกันคุณภาพคณะการศึกษาภายใน คณะครุศาสตร์ ประจำปีการศึกษา 2565

เกณฑ์ข้อที่ 2 คณะมีการจัดทำแผนด้านศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทยตามนโยบาย กำหนดตัวบ่งชี้วัดความสำเร็จตามวัตถุประสงค์
ของแผน และกำหนดผู้รับผิดชอบ รวมทั้งจัดสรรทรัพยากรเพื่อให้สามารถดำเนินการได้ตามแผน

       คณะครุศาสตร์มีการดำเนินการด้านศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทยรองรับกับแผนกลยุทธ์ที่สอดคล้องกับพันธกิจ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ โดยคณะครุศาสตร์มีการจัดทำแผนกลยุทธ์

ด้านศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทย ด้านการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม ตามแผนปฏิบัติการประจำปีงบประมาณ 2564

                EDU 4.1-2-1 แผนยุทธศาสตร์คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ พ.ศ.2563 – 2565 ฉบับปรับปรุง พ.ศ.2564

          EDU 4.1-2-2 แผนทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม ศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทย   ข้อมูลหน้าที่ 42


เกณฑ์ข้อที่ 3 คณะมีการบริการวิชาการด้านศิลปวัฒนธรรม ฐานข้อมูล แหล่งเรียนรู้ด้านศิลปวัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ เพื่อให้บุคลากร นักศึกษา และบุคคลทั่วไป
สามารถงใช้บริการได้

        คณะครุศาสตร์มีการดำเนินการด้านศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทย ด้านทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม โดยมีศิลปวัฒนธรรม ฐานข้อมูล แหล่งเรียนรู้ด้านศิลปวัฒนธรรม ประวัติศาสตร์หลักฐาน
ทางโบราณคดีและที่ปรากฏในพื้นที่จังหวัดสุรินทร์ซึ่งเป็นแหล่งอารยธรรมอันเก่าแก่ของชุมชนโบราณยุคโลหะตอนปลายเป็นจำนวนมากซึ่งแสดงถึงความเจริญรุ่งเรืองทั้งศิลปกรรมสถาปัตยกรรมวัฒนธรรมศาสนาเศรษฐกิจและการปกครอง จากสภาพภูมิศาสตร์ที่มีอาณาเขตต่อเนื่องกับพื้นที่ที่เคยเป็นอาณาจักรขอมโบราณ ทำให้ชุมชนใน จังหวัดสุรินทร์ได้รับวัฒนธรรมขอมมาโดยตลอด เมื่อขอมเสื่อมอำนาจลง ไม่ปรากฏหลักฐานเด่นชัดที่แสดงถึงการอยู่อาศัยของชุมชนในสมัยต่อมา การเดินทางท่องเที่ยวจังหวัดสุรินทร์  จึงเสมือนการเดินทางตามรอยเส้นอารยธรรม มรดกล้ำค่าสุรินทร์ ยุคก่อนประวัติศาสตร์สมัยโลหะตอนปลาย
สู่ยุครุ่งเรืองแห่งราชอาณาจักรเจนละที่เรียกว่า สุรินทร์ถิ่นปราสาท จนถึงยุคปัจจุบันที่มอบมรดกให้ชาวสุรินทร์ถิ่นช้างใหญ่  ผ้าไหมงาม   ประคำสวย  ร่ำรวยปราสาทผักกาดหวาน  ข้าวสารหอม  งามพร้อมวัฒนธรรม 
โดยได้รับข้อมูลจากการสำนักงานการท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดสุรินทร์  นอกจากนี้คณะครุศาสตร์ จัดโครงการส่งเสริมสมรรถนะและทักษะการใช้ภาษาอังกฤษสำหรับนักศึกษาคณะครุศาสตร์ด้วยการจัดทำ
คลิปวิดีโอ มีการอบรมให้กับนักศึกษาในหัวข้อ ทักษะการพูดภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารผ่านคลิปวิดีโอ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมสมรรถนะและทักษะการใช้ภาษาอังกฤษของนักศึกษาคณะครุศาสตร์
ผ่านการจัดทำวิดีโอและเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทยสู่สากลที่มีการอธิบายเนื้อหาในรูปแบบภาษาอังกฤษ เพื่อให้บุคลากรนักศึกษาและบุคคลทั่วไปสามารถใช้บริการได้ ผ่านเว็บไซต์คณะครุศาสตร์ https://edu.srru.ac.th

        EDU 4.1-3-1 ฐานข้อมูล แหล่งเรียนรู้ด้านศิลปวัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ เส้นทางอารยธรรม มรดกล้ำค่าสุรินทร์

EDU 4.1-3-2 เส้นทางท่องเที่ยววิถีชุมชนตำบลแก อำเภอรัตนบุรี จังหวัดสุรินทร์ 

เกณฑ์ข้อที่ 4 คณะมีส่วนร่วมในโครงการหรือกิจกรรมของมหาวิทยาลัยที่เป็นการสืบสานถ่ายทอดและประยุกต์ใช้ ประวัติศาสตร์
ศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทย ตลอดจนการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมตามอัตลักษณ์ของชุมชน ท้องถิ่น มีการปรับและประยุกต์ใช้
เพื่อการสร้างคุณค่าและเพิ่มมูลค่า 

    โครงการการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมตามอัตลักษณ์ของชุมชน ท้องถิ่น มีการปรับและประยุกต์ใช้ เพื่อการสร้างคุณค่าและเพิ่มมูลค่า  เช่น โครงการออมสินยุวพัฒน์รักษ์ถิ่น พลัส ปี 2563-2564 มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์  ชื่อกลุ่มองค์กรชุมชนกลุ่มทอเสื่อกกบ้านสมบูรณ์  ดำเนินการโดยสาขาวิชาการประถมศึกษา  โดยมีแนวคิดในด้านเสริมสร้างและพัฒนาภูมิปัญญาท้องถิ่น ด้วยการบูรณาการทางภูมิปัญญาและวิทยาการสมัยใหม่ของสถาบันการศึกษาและท้องถิ่น เพื่อสร้างกระบวนการพัฒนา ยกระดับขีดความสามารถของผู้ประกอบการกลุ่มให้ตอบสนองความต้องการของตลาด ซึ่งเป็นการเสริมสร้างอาชีพและรายได้ที่มั่นคงและยั่งยืนให้กับผู้ประกอบการและเพื่อให้นักศึกษามีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชนให้มีศักยภาพในการสร้างงานสร้างอาชีพ เพื่อก่อให้เกิดรายได้ และสามารถเลี้ยงครอบครัวและอุ้มชูตัวเองได้ ตามแนวทางศาสตร์พระราชา เพื่อให้นักศึกษาได้ตระหนักและเห็นความสำคัญของชุมชนที่ต้องได้รับการพัฒนานำไปสู่ความเข้มแข็งและสามารถบริหารจัดการทรัพยากรในชุมชนเพื่อการสร้างอาชีพได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งชุมชนเป็นฟันเฟืองในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจชุมชนเพื่อก่อให้เกิดการพัฒนาที่ยั่งยืน อันเป็นการสร้างเศรษฐกิจฐานรากโดยการมีส่วนร่วมของทุกเพศทุกวัย รวมถึงเยาวชนรุ่นใหม่
ให้มีจิตสำนึกร่วมกัน รักถิ่นเกิด ร่วมคิดร่วมทำอย่างสร้างสรรค์ เพื่อชุมชนของเรา สามารถนำไปสู่การสร้างงาน สร้างเงิน และสร้างอาชีพ ได้อย่างยั่งยืนต่อไป

            กลุ่มนักศึกษาคณะครุศาสตร์ จึงได้ร่วมกันที่จะไปช่วยพัฒนาและเสริมสร้างกลุ่มเสื่อกกบ้านสมบูรณ์ ตำบล กุดหวาย อำเภอ ศีขรภูมิ จังหวัดสุรินทร์ เพื่อส่งเสริมศักยภาพและสร้างมูลค่าเพิ่มผลิตภัณฑ์
ของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนเสื่อกกบ้านสมบูรณ์ ให้นักศึกษาได้เรียนรู้ประสบการณ์การทำงานร่วมกันระหว่างนักศึกษาและกลุ่มวิสาหกิจชุมชนเสื่อกกบ้านสมบูรณ์และการถ่ายทอดองค์ความรู้สู่ชุมชนและเพิ่มช่องทาง
การตลาดในการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนเสื่อกกบ้านสมบูรณ์ได้หลากหลายขึ้น

                

EDU 4.1-4-1 กิจกรรมแสดงมุทิตาจิต งานเกษียณอายุราชการ คณะครุศาสตร์ ประจำปี 2565

EDU 4.1-4-2 โครงการประเพณีแซนโฎนตา บูชาบรรพบุรุษ ประจำปี 2565

EDU 4.1-4-3 โครงการกีฬาสีครุศาสตร์เกมส์

EDU 4.1-4-4 โครงการส่งท้ายปีเก่า ต้อนรับปีใหม่ สานสัมพันธ์ คณะครุศาสตร์ 2566

EDU 4.1-4-5 โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการเสริมหลักสูตรเพื่อพัฒนานิสิตนักศึกษาครูตามโครงการผลิตครูเพื่อพัฒนาท้องถิ่นปี พ.ศ. 2565 ชั้นปีที่ 5 (รหัส 61)

EDU 4.1-4-6 โครงการออมสินยุวพัฒน์รักษ์ถิ่น สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย 



เกณฑ์ข้อที่ 5 คณะมีการกำกับติดตามให้มีการดำเนินงาน และประเมินความสำเร็จตามตัวบ่งชี้ของแผนด้านศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทย 

คณะครุศาสตร์มีการกำกับติดตามให้มีการดำเนินงานตามแผนด้านศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทย ด้านการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมโดยมีคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงาน

ด้านศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทย เพื่อกำกับ ติดตาม ให้มีการดำเนินงานตามแผนด้านทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม และใช้ระบบและกลไกในการประชุมเพื่อกำกับติดตามการดำเนินงานตามแผน
โดยมีการเสนอผลการดำเนินงานด้านทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม จากการรายงานผลการดำเนินงานโครงการ

EDU 4.1-1-1 คำสั่งคณะครุศาสตร์ ที่ 396/2565 เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการประกันคุณภาพคณะการศึกษาภายใน คณะครุศาสตร์ ประจำปีการศึกษา 2565

           EDU 4.1-5-1 เอกสารการกำกับติดตามการดำเนินงานศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทย

EDU 4.1-5-2 รายงานผลการดำเนินงานโครงการ 

เกณฑ์ข้อที่ 6 คณะมีการประเมินความสำเร็จของตามตัวบ่งชี้ที่วัดความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ของแผนด้านทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทย และเสนอรายงานผลการดำเนินการ ต่อคณะกรรมการประจำคณะอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง

          คณะครุศาสตร์มีการกำกับติดตาม โดยให้ผู้รับผิดชอบโครงการดำเนินการรายงานการประเมินความสำเร็จของตามตัวบ่งชี้ที่วัดความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ของแผนด้านทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทย  โดยรายงานผลการดำเนินการต่อคณะกรรมการประจำคณะ 

            EDU 4.1-5-1 เอกสารการกำกับติดตามการดำเนินงานศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทย

 EDU 4.1-5-2 รายงานผลการดำเนินงานโครงการ




เกณฑ์ข้อที่ 7 นำผลการประเมินและข้อเสนอแนะของคณะกรรมการประจำคณะไปปรับปรุงนโยบาย แผนหรือกิจกรรมด้านศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทย  

คณะครุศาสตร์ได้มีการติดตามผลการดำเนินงาน โดยมีคณะกรรมการส่งเสริมกิจกรรมนักศึกษาด้านศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทย ติดตามผลการดำเนินงาน สรุปข้อเสนอแนะเพื่อปรับปรุงรูปแบบกิจกรรมในครั้งต่อไป ดังนี้ คณะครุศาสตร์ได้ร่างแผนปฏิบัติการการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรมประจำปีการศึกษา 2565 โดยคณะกรรมการผู้รับผิดชอบมาตรฐานที่  4 ด้านศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทย ได้นำผลการประเมินโครงการในปีการศึกษา 2564 ไปปรับปรุงแผน ในด้านโครงการด้านงบประมาณ และเสนอแนะโครงการหรือกิจกรรมของมหาวิทยาลัยที่เป็นการสืบสานถ่ายทอดและประยุกต์ใช้ ประวัติศาสตร์ ศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทย ตลอดจนการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมตามอัตลักษณ์ของชุมชน ท้องถิ่น มีการปรับและประยุกต์ใช้เพื่อการสร้างคุณค่าและมูลค่า 

EDU 4.1-7-1  รายงานประชุมคณะกรรมการประจำคณะครุศาสตร์ ครั้งที่ 2/2566