ตัวบ่งชี้ที่ 5.1 

ข้อที่ 2 ดําเนินการวิเคราะห์ข้อมูลทางการเงินที่ประกอบไปด้วยต้นทุนต่อหน่วยในแต่ละหลักสูตร สัดส่วนค่าใช้จ่ายเพื่อพัฒนานักศึกษา อาจารย์ บุคลากร การจัดการเรียนการสอนอย่างต่อเนื่องเพื่อวิเคราะห์ความคุ้มค่าของการบริหารหลักสูตร ประสิทธิภาพ ประสิทธิผลในการผลิตบัณฑิตและโอกาสในการแข่งขัน ปีการศึกษา 2565

ผลการดำเนินงานและผลการประเมินคุณภาพการศึกษา

มาตรฐานที่ 5 การบริหารจัดการ

ตัวบ่งชี้ที่ 5.1 การบริหารของคณะเพื่อการกำกับติดตามผลลัพธ์ตามพันธกิจ กลุ่มสถาบัน และเอกลัษณ์ของคณะ

คณะครุศาสตร์ร่วมกับกองคลัง กองนโยบายและแผนมหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์โดยมีคณะกรรมการจัดทำต้นทุนต่อหน่วยประจำปี 2565 (หมายเลขเอกสาร EDU 5.1-2-1    คำสั่งคณะกรรมการจัดทำต้นทุนต่อหน่วยผลิต ) เพื่อดำเนินการวิเคราะห์ข้อมูลทางการเงิน ซึ่งเป็นต้นทุนต่อหน่วยในแต่ละหลักสูตร จำนวน 8 หลักสูตรที่สังกัดคณะ เพื่อวิเคราะห์ความคุ้มค่าของการบริหารหลักสูตร  โดยทุกหลักสูตรในมหาวิทยาลัยก็จะใช้ข้อมูลมาวิเคราะห์ต้นทุนต่อหน่วยให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน  โดยมีสัดส่วนที่ใช้ในการบริหารจัดการสำหรับงบประมาณที่คณะฯได้รับจัดสรรในปีงบประมาณ 2565  ข้อมูลทางการเงินที่ประกอบไปด้วยต้นทุนต่อหน่วยนักศึกษาประจำปีงบประมาณ 2565 คณะครุศาสตร์ได้รับจัดสรรงบประมาณแผ่นดินและงบประมาณเงินรายได้ คณะได้จัดสรรให้และสาขาวิชาของคณะครุศาสตร์ ซึ่งกระบวนการจัดสรรงบประมาณได้พิจารณาเห็นชองของคณะกรรมการบริหารคณะ โดยจัดสรรให้สาขาวิชาตามนักศึกษาคงอยู่ที่สังกัดคณะครุศาสตร์ทั้ง 8  หลักสูตรดังต่อไปนี้

1.   สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย (ค.บ.)

2.   สาขาวิชาพลศึกษา(ค.บ.)

3.   สาขาวิชาประถมศึกษา(ค.บ.)

4.   สาขาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา (ค.บ.)

5.   สาขาวิทยาศาสตร์การกีฬา (วท.บ.)

6.   ป.บัณฑิตวิชาชีพครู

7.   ครุศาสตรมหาบัณฑิตสาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ  (ค.ม.)

8.   ครุศาสตรมหาบัณฑิตสาขาวิชาบริหารการศึกษา(ค.ม.)

    คณะครุศาสตร์  ได้ผลผลิตผู้สำเร็จการศึกษา ได้แก่ สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย  สาขาพลศึกษา สาขาประถมศึกษา สาขาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา  สาขาวิทยาศาสตร์การกีฬา  ป.บัณฑิตวิชาชีพครู ครุศาสตรมหาบัณฑิตสาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ  ครุศาสตรมหาบัณฑิตสาขาวิชาบริหารการศึกษา คิดค่าใช้จ่ายจากการดำเนินงานตามกิจกรรม  เช่น ค่าใช้จ่ายบุคลากร  งบดำเนินงาน  ค่าสาธารณูปโภค ค่าเสื่อมราคา เป็นต้น โดยใช้จำนวนค่า FTES ของนักศึกษาแต่ละสาขาวิชา เป็นตัวคำนวณต้นทุนต่อหน่วยผลผลิต ได้ภาพรวมของต้นทุนต่อหน่วยผลผลิตดังนี้



        คณะครุศาสตร์ได้เข้าร่วมจัดทำวิเคราะห์ต้นทุนต่อหน่วยผลผลิตประจำปี 2565 และได้เปรียบเทียบต้นทุนต่อหน่วยการผลิตระหว่างปี 2564 กับปี 2565 เพื่อให้เห็นงบประมาณที่เพิ่มขึ้นหรือลดลงในแต่ละปีเพื่อมีแนวทางในการพัฒนาให้สอดคล้องในการพัฒนานักศึกษา พัฒนาอาจารย์และบุคลากร เพื่อให้การบริหารจัดการหลักสูตรของคณะนั้นมีประสิทธิภาพ ประสิทธิผลสูงสุดดังตามภาพรวมของต้นทุนต่อหน่วยผลิตของแต่ละสาขาวิชาที่สังกัดในคณะครุศาสตร์ 

        การคำนวณต้นทุนต่อหน่วย ในปีงบประมาณ 2565 มีต้นทุนต่อหน่วยเพิ่มขึ้นจากปีงบประมาณ 2564 จำนวน 87,892.01 บาทและมีค่า (FTES)  ลดลง จากปี 2564 คิดเป็นร้อยละ   5.99  ซึ่งสาเหตุมาจากจำนวนนักศึกษาลดลง ด้วยเกณฑ์ที่ครุสภาหนดที่ต้องรับนักศึกษาแรกเข้า ให้อยู่ในเกณฑ์ (หมายเลขเอกสาร EDU 5.1-2-2รายงานต้นทุนต่อหน่วยคณะครุศาสตร์ 

                วิเคราะห์ความคุ้มค่าของการบริหารหลักสูตร


            1.ด้านประสิทธิภาพ


                จากการวิเคราะห์ต้นทุนต่อหน่วยการผลิตบัณฑิตและความคุ้มค่าของการบริหารหลักสูตรประจำปีการศึกษา 2565 พบว่าทั้ง 8 หลักสูตรที่สังกัดคณะครุศาสตร์คุ้มค่าทั้ง 8 หลักสูตร และจากการประเมินหลักสูตรทุกหลักสูตรอยู่ในระดับดี  ความคุ้มค่าของแต่ละหลักสูตรมีผลมาจากการคำนวณต้นทุนต่อรวมของแต่ละหลักสูตร โดยได้นำค่าใช้จ่ายทุกรายการ ทั้งเงินในงบประมาณ และเงินนอกงบประมาณ ทั้งครุภัณฑ์ ค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรม ค่าใช้จ่ายในการเดินทาง ค่าสาธารณูปโภค ค่าใช้จ่ายบุคลากร ค่าตอบแทน ค่าใช้สอย ค่าวัสดุ 

ค่าเสื่อมราคา เพื่อนำมาปันส่วนให้แต่ละหลักสูตร  ในขณะที่เงินรายได้นั้นคิดเฉพาะเงินรายได้จากการลงทะเบียนเรียนของนักศึกษา ผลที่ได้การบริหารจัดการในแต่หลักสูตรนั้นเกิดความคุ้มค่าอย่างมีประสิทธิภาพและคุ้มค่ามากที่สุด

      

   2. ด้านประสิทธิผลในการผลิตบัณฑิตของหลักสูตร


- ในด้านประสิทธิผลในการผลิตบัณฑิตของคณะครุศาสตร์  ร้อยละของบัณฑิตที่จบการศึกษาได้มีการทำงานหรือประกอบอาชีพอิสระ ภายใน 1 ปี หลังจากที่สำเร็จการศึกษาในภาพรวมของคณะครุศาสตร์ โดยคิดเป็นร้อยละ 100 เมื่อพิจารณาความพึงพอใจของผู้ใช้บัณฑิตในภาพรวมแล้วนั้น  ผลปรากฏว่าความพึงพอใจของผู้ใช้บัณฑิตอยู่ในระดับดี ทั้งในด้านคุณธรรม จริยธรรม ด้านความรู้  ด้านทักษะปัญญา ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ  ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข และด้านผลการพัฒนาบัณฑิตตามอัตลักษณ์  จึงถือได้ว่าการบริหารหลักสูตรในภาพรวมมีความคุ้มค่าและเกิดประสิทธิผล

         - คณะครุศาสตร์ได้ใช้งบประมาณอย่างคุ้มค่า โดยคณะได้จัดสรรงบประมาณสนับสนุนการเรียนการสอน กิจกรรมและสิ่งอำนวยความสะดวกทุกด้าน ส่งผลให้การบริหารหลักสูตร เกิดประสิทธิภาพ หลักสูตร ส่วนใหญ่ผ่านการประเมินในระดับดีทำให้นักศึกษา  ของคณะมีคุณภาพเป็นที่ยอมรับ สามารถแข่งขันกับมหาวิทยาลัยใกล้เคียง 

(หมายเลขเอกสาร EDU 5.1-2-3) ความพึงพอใจต่อผู้ใช้บัณฑิต


            ด้านโอกาสในการแข่งขัน โดยประเด็นที่เป็นโอกาสในการแข่งขันของคณะครุศาสตร์ดังต่อไปนี้


                   1.คณะครุศาสตร์ผลิตบัณฑิตด้วยหลักสูตรที่มีมาตรฐานเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนด

       2.คณะครุศาสตร์มีแหล่งฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูหรือโรงเรียนร่วมผลิตที่มีมาตรฐานเป็นไปตามเกณฑ์ที่คุรุสภากำหนด และคณะครุศาสตร์ได้ทำความร่วมมือในการผลิตที่มีคุณภาพ

          3.คณะครุศาสตร์บริหารจัดการหลักสูตรในการรับนักศึกษาหลักสูตรครุศาสตร (คบ.) และคณะครุศาสตร์ได้ทำความร่วมมือในการผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพ จำนวน 4 หลักสูตร และวิทยาศาสตร์บัณฑิต จำนวน 1 หลักสูตรที่ผ่านมาจำนวนที่รับนักศึกษาเต็มทุกหลักสูตร ซึ่งแสดงให้เห็นว่าความต้องการเรียนยังได้รับความนิยมและเป็นที่ยอมรับ

             4.ผลการผลิตบัณฑิตที่ผ่านมา จำนวนศิษย์เก่าที่ได้รับการบรรจุแต่งตั้งเป็นบุคลากรทางการศึกษา  มีจำนวนมากเป็นที่ยอมรับของสถาบันร่วมผลิตต่าง ๆ สามารถดูได้จากข้อมูลที่ได้รับการแต่งตั้ง (หมายเลขเอกสาร EDU 5.1-2-4) ผลการสอบบรรจุข้าราชการครู

            ด้านแนวทางการพัฒนา

           1.  คณะครุศาสตร์พัฒนาด้วยการจัดโครงการติวสอบข้าราชการครู  เพื่อเพิ่มอัตราในการสอบบรรจุข้าราชการครู

        2.  คณะครุศาสตร์มีการพัฒนาด้วยแหล่งฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูเพิ่มมาจากปีที่ผ่านมา  เพื่อเป็นการเสริมสร้างสมรรถนะด้านการจัดการเรียนรู้ การเป็นพี่เลี้ยงของอาจารย์นิเทศก์และครูพี่เลี้ยงในโรงเรียนเครือข่ายร่วมพัฒนาวิชาชีพครู จัดการเรียนรู้ในสถานศึกษา ด้านหลักสูตร การจัดการศึกษา การพัฒนาสถานศึกษา การพัฒนาผู้เรียน และการพัฒนาครู อาจารย์ในสาขาวิชาต่างๆ และสาขาที่เกี่ยวข้อง เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษา โดยความร่วมมือของผู้บริหารสถานศึกษา คณะครุศาสตร์ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่